พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ่นพิษทันควัน เจ้าหนี้ต่างชาติขวัญกระเจิง ผอ.สบน.เผยขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้กู้รัฐบาลไทย 0.4% มาอยู่ที่ดอกเบี้ยไลบอร์บวก 1.40% หรือรอบ 1 เดือนดอกเบี้ยปล่อยกู้รัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นแล้ว 0.8-0.9% ห่วงเอกชนกู้แพงและยากตามไปด้วย เผยอาจเหลือเพียง ปตท.และปูนใหญ่ ที่ยังกู้ได้ ผวา มูดีส์-เอสแอนด์พี ลดเครดิตซ้ำ
นายพงศ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ตลาดเงินต่างประเทศได้แสดงความไม่เชื่อมั่นต่อความน่าเชื่อถือในการกู้เงินของประเทศไทยอย่างชัดเจน ส่งผลให้ต้นทุนการกู้เงินในตลาดต่างประเทศของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นทันที 0.4% โดยต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลไทยวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน (Libor) บวก 1.4% จากในช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
ที่อยู่ที่ดอกเบี้ยไลบอร์บวก 1%
“ต้นทุนเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทยเป็นปัจจัยหลัก เพราะในช่วงก่อนหน้าที่ประเทศจะมีวิกฤตการเมือง ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ไลบอร์ บวก 0.5-0.6% แต่เมื่อมีความวุ่นวายทางการเมืองต้นทุนการกู้เงินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ค่อยๆ เพิ่ม กระทั่งมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้นทุนเพิ่มทันที 0.4%” นายพงศ์ภานุ กล่าว
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ เมื่อต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การกู้เงินต่างประเทศของภาคเอกชนจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากโดยขณะนี้คาดว่าเอกชนไทยน่าจะหาเงินกู้จากตลาดต่างประเทศไม่ได้เลย ยกเว้นเอกชนชั้นดีอย่าง ปตท.หรือ ปูนซิเมนต์ไทย
ที่ยังกู้เงินต่างประเทศได้ แต่ก็ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูง ส่วนสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และ เอสแอนด์พี เตรียมปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย
นายพงศ์ภาณุ ยอมรับว่า สบน.ยังเป็นห่วงอนาคต หากไทยต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นคงไม่สามารถจำกัดการกู้เงินในแหล่งเงินภาครัฐได้ แต่ต้องกู้เอกชนต่างประเทศด้วย หากปัจจัยการเมืองไม่ดี เครดิตของไทยก็จะไม่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในตลาดเงินที่สูงขึ้น ณ ขณะนี้ ไม่กระทบการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้งหมด ที่จะกู้เงินในงบประมาณปี 2552 จำนวน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะ สบน.ได้มีการเจรจากู้เงินกับแหล่งเงินภาครัฐ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศไว้แล้วก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก (worldbank) และเชื่อว่า แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมืองที่แรงขึ้น แต่แหล่งเงินภาครัฐเหล่านี้จะไม่มีปัญหาจนยกเลิกเงินกู้หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยกเว้นว่าประเทศจะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน เพราะแหล่งเงินเหล่านี้ไม่ให้กู้เงินกับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
โดยขณะนี้เงินกู้เจบิกล่าสุดที่ไทยกู้อยู่ที่ 1.4% คงที่ตลอดสัญญาและเงินกู้ธนาคารโลกอยู่ที่ไลบอร์-0.06% ส่วนเงินกู้ใหม่รวมในปีงบประมาณ 2552 ที่ สบน.วางไว้นั้น จะมีการกู้เงินใหม่เพื่อลงทุนในเมกะโปรเจกต์ และเงินขาดดุลงบประมาณรวมกันทั้งสิ้น 460,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ สบน.ยืนยันว่า จะสามารถดำเนินกู้ได้เช่นเดิม เพราะได้เจรจากับแหล่งเงินกู้ทางการไว้แล้ว การกู้ครั้งนี้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 ล้านล้านบาท หรือ 38% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 จาก 3.4 ล้านล้านบาท หรือ 36% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2551
นายพงศ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ตลาดเงินต่างประเทศได้แสดงความไม่เชื่อมั่นต่อความน่าเชื่อถือในการกู้เงินของประเทศไทยอย่างชัดเจน ส่งผลให้ต้นทุนการกู้เงินในตลาดต่างประเทศของรัฐบาลไทยเพิ่มขึ้นทันที 0.4% โดยต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลไทยวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็นอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในตลาดลอนดอน (Libor) บวก 1.4% จากในช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
ที่อยู่ที่ดอกเบี้ยไลบอร์บวก 1%
“ต้นทุนเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทยเป็นปัจจัยหลัก เพราะในช่วงก่อนหน้าที่ประเทศจะมีวิกฤตการเมือง ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ไลบอร์ บวก 0.5-0.6% แต่เมื่อมีความวุ่นวายทางการเมืองต้นทุนการกู้เงินก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ค่อยๆ เพิ่ม กระทั่งมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้นทุนเพิ่มทันที 0.4%” นายพงศ์ภานุ กล่าว
สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ เมื่อต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การกู้เงินต่างประเทศของภาคเอกชนจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมากโดยขณะนี้คาดว่าเอกชนไทยน่าจะหาเงินกู้จากตลาดต่างประเทศไม่ได้เลย ยกเว้นเอกชนชั้นดีอย่าง ปตท.หรือ ปูนซิเมนต์ไทย
ที่ยังกู้เงินต่างประเทศได้ แต่ก็ถูกคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูง ส่วนสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส และ เอสแอนด์พี เตรียมปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย
นายพงศ์ภาณุ ยอมรับว่า สบน.ยังเป็นห่วงอนาคต หากไทยต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นคงไม่สามารถจำกัดการกู้เงินในแหล่งเงินภาครัฐได้ แต่ต้องกู้เอกชนต่างประเทศด้วย หากปัจจัยการเมืองไม่ดี เครดิตของไทยก็จะไม่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในตลาดเงินที่สูงขึ้น ณ ขณะนี้ ไม่กระทบการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้งหมด ที่จะกู้เงินในงบประมาณปี 2552 จำนวน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะ สบน.ได้มีการเจรจากู้เงินกับแหล่งเงินภาครัฐ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศไว้แล้วก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก (worldbank) และเชื่อว่า แม้จะมีสถานการณ์ทางการเมืองที่แรงขึ้น แต่แหล่งเงินภาครัฐเหล่านี้จะไม่มีปัญหาจนยกเลิกเงินกู้หรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยกเว้นว่าประเทศจะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน เพราะแหล่งเงินเหล่านี้ไม่ให้กู้เงินกับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
โดยขณะนี้เงินกู้เจบิกล่าสุดที่ไทยกู้อยู่ที่ 1.4% คงที่ตลอดสัญญาและเงินกู้ธนาคารโลกอยู่ที่ไลบอร์-0.06% ส่วนเงินกู้ใหม่รวมในปีงบประมาณ 2552 ที่ สบน.วางไว้นั้น จะมีการกู้เงินใหม่เพื่อลงทุนในเมกะโปรเจกต์ และเงินขาดดุลงบประมาณรวมกันทั้งสิ้น 460,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ สบน.ยืนยันว่า จะสามารถดำเนินกู้ได้เช่นเดิม เพราะได้เจรจากับแหล่งเงินกู้ทางการไว้แล้ว การกู้ครั้งนี้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 3.8 ล้านล้านบาท หรือ 38% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ณ สิ้นปีงบประมาณ 2552 จาก 3.4 ล้านล้านบาท หรือ 36% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2551