“ทนง พิทยะ” เผย สถาบันการเงินไทยยังไม่พร้อมเปิดเสรีการเงิน ย้ำหากเปิดหมดกระทบระบบเศรษฐกิจไทยแน่นอน พร้อมแนะสถาบันการเงินเล็กหาพันธมิตรร่วมทุนเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งสู้ต่างชาติ ระบุไทยเหมาะที่จะมีแบงก์ครบวงจรขนาดใหญ่แค่ 3 รายเท่านั้น จากปัจจุบัน 6-7 ราย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังมีมุมมองที่ดีการลงทุนในประเทศไทยจากมั่นใจปัจจัยพื้นฐาน แต่จำเป็นต้องถอนการลงทุนในหุ้น ลั่นยังไม่สนใจเล่นการเมือง
นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทยและผลกระทบต่อบทบาทซีเอฟโอ” ว่า การเปิดเสรีทางการเงินนั้นทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการกำกับดูแลกับเสถียรภาพสถาบันการเงินให้เรียบร้อย เพราะหากไม่มีการเตรียมความพร้อมดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาแล้ว
ขณะเดียวกัน ซีเอฟโอ หรือผู้บริหารบริษัทเอกชนจะต้องศึกษาถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปิดเสรีทางการเงิน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงินจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารกิจการ อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีทางการเงินนั้นรัฐบาลจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่ควรเปิดเสรีถึง 100% เพราะจะส่งกระทบต่อเสถียรภาพของสถาบันการเงินขนาดเล็ก
“ปัจจุบันสถาบันการเงินครบวงจรขนาดใหญ่ของไทยมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 6-7 แห่ง ซึ่งมากเกินไป รวมทั้งศักยภาพยังไม่พร้อมรับกับการเปิดเสรี และแข่งขันกับสถาบันการเงินระดับโลก หากมีการเปิดเสรีจะทำให้กระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของไทยควรลดเหลือเพียง 3 แห่งก็เพียงพอแล้ว ส่วนสถาบันการเงินขนาดเล็กจะต้องหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อลดภาคาของรัฐบาล”
นอกจากนี้ ประเด็นที่ซีเอฟโอต้องศึกษาเพื่อรองรับกับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ความแข็งแกร่ง และอ่อนแอของสถาบันการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมือง ฯลฯ
สำหรับกรณีที่นักลงทุนต่างประเทศทยอยขายหุ้นไทยออกมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานั้น ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศยังเชื่อมั่นพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และมีความพร้อมในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เพราะไทยมีแรงงานที่มีคุณภาพความถนัดในด้านอุตสาหกรรม แต่ประเด็นที่เข้ามากระทบการลงทุน คือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างประเทศ
“นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนทางการเมือง ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาทางการเมืองให้จบโดยเร็ว เพราะปัญหาด้านเศรษฐกิจจะไม่สามารถแก้ไขได้ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่สามารถให้คำตอบชัดเจนได้ว่าจะจบเร็วหรือช้า จึงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดในช่วงครึ่งปีหลังนี้”
นายทนง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะสั้นประเทศไทยจะไม่เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีมากกว่าภาระหนี้ แต่จะมีความเสี่ยงบ้างในเรื่องของเงินลงทุนต่างชาติที่มากกว่าทุนสำรอง ขณะที่ปัญหาอัตราเงินเฟ้อเองยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจที่ 5% หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นน่าจะช่วยให้จีดีพีเป็นไปตามเป้าหมายได้
พร้อมกันนี้ นายทนง ได้กล่าวให้ความเห็นถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม) แต่งตั้งทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ โดยมี นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลต้องการสร้างความแข็งแกร่ง และเรียกความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลเหมือนกับหลายประเทศที่ดำเนินการมาแล้ว
ส่วนประเด็นของ นายวีรพงษ์ ที่ยังไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษา หรือประธานกรรมการบริหารของบริษัทเอกชนนั้น ต้องยอมรับว่าอาจจะเกิดข้อกังขาในเรื่องที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของตัวบุคคลมากกว่า
“หากคนทั่วไปมีความเชื่อมั่นในตัวบุคคลก็คงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน แต่อาจจะมีกังวลเรื่องความไม่โปร่งใส หรือผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่บ้าง เพราะที่ปรึกษาฯ จะต้องเข้าร่วมประชุม ครม.ด้วย ดังนั้น ผมเองจึงยืนยันว่าไม่สนใจรับตำแหน่งทางการเมือง หรือที่ปรึกษานายกฯ ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้ง”
นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทยและผลกระทบต่อบทบาทซีเอฟโอ” ว่า การเปิดเสรีทางการเงินนั้นทุกประเทศทั่วโลกจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับระบบการกำกับดูแลกับเสถียรภาพสถาบันการเงินให้เรียบร้อย เพราะหากไม่มีการเตรียมความพร้อมดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาแล้ว
ขณะเดียวกัน ซีเอฟโอ หรือผู้บริหารบริษัทเอกชนจะต้องศึกษาถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปิดเสรีทางการเงิน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงินจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารกิจการ อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีทางการเงินนั้นรัฐบาลจะต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่ควรเปิดเสรีถึง 100% เพราะจะส่งกระทบต่อเสถียรภาพของสถาบันการเงินขนาดเล็ก
“ปัจจุบันสถาบันการเงินครบวงจรขนาดใหญ่ของไทยมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 6-7 แห่ง ซึ่งมากเกินไป รวมทั้งศักยภาพยังไม่พร้อมรับกับการเปิดเสรี และแข่งขันกับสถาบันการเงินระดับโลก หากมีการเปิดเสรีจะทำให้กระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของไทยควรลดเหลือเพียง 3 แห่งก็เพียงพอแล้ว ส่วนสถาบันการเงินขนาดเล็กจะต้องหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อลดภาคาของรัฐบาล”
นอกจากนี้ ประเด็นที่ซีเอฟโอต้องศึกษาเพื่อรองรับกับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ความแข็งแกร่ง และอ่อนแอของสถาบันการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมือง ฯลฯ
สำหรับกรณีที่นักลงทุนต่างประเทศทยอยขายหุ้นไทยออกมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานั้น ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศยังเชื่อมั่นพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และมีความพร้อมในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เพราะไทยมีแรงงานที่มีคุณภาพความถนัดในด้านอุตสาหกรรม แต่ประเด็นที่เข้ามากระทบการลงทุน คือ ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างประเทศ
“นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนทางการเมือง ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาทางการเมืองให้จบโดยเร็ว เพราะปัญหาด้านเศรษฐกิจจะไม่สามารถแก้ไขได้ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่สามารถให้คำตอบชัดเจนได้ว่าจะจบเร็วหรือช้า จึงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดในช่วงครึ่งปีหลังนี้”
นายทนง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะสั้นประเทศไทยจะไม่เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศยังมีมากกว่าภาระหนี้ แต่จะมีความเสี่ยงบ้างในเรื่องของเงินลงทุนต่างชาติที่มากกว่าทุนสำรอง ขณะที่ปัญหาอัตราเงินเฟ้อเองยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจที่ 5% หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นน่าจะช่วยให้จีดีพีเป็นไปตามเป้าหมายได้
พร้อมกันนี้ นายทนง ได้กล่าวให้ความเห็นถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม) แต่งตั้งทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ โดยมี นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลต้องการสร้างความแข็งแกร่ง และเรียกความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลเหมือนกับหลายประเทศที่ดำเนินการมาแล้ว
ส่วนประเด็นของ นายวีรพงษ์ ที่ยังไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษา หรือประธานกรรมการบริหารของบริษัทเอกชนนั้น ต้องยอมรับว่าอาจจะเกิดข้อกังขาในเรื่องที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของตัวบุคคลมากกว่า
“หากคนทั่วไปมีความเชื่อมั่นในตัวบุคคลก็คงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน แต่อาจจะมีกังวลเรื่องความไม่โปร่งใส หรือผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่บ้าง เพราะที่ปรึกษาฯ จะต้องเข้าร่วมประชุม ครม.ด้วย ดังนั้น ผมเองจึงยืนยันว่าไม่สนใจรับตำแหน่งทางการเมือง หรือที่ปรึกษานายกฯ ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้ง”