บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์ รับทราบผลคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สรุปผลสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ 4 ราย “อาทิตย์-อวิลาส-จิรพร-จงเจตน์” ทำแบงก์เสียหาย 3 พันล้าน “ผิดวินัยร้ายแรง” เจอทั้งวินัยและอาญา ชี้ มีความผิดตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการคัดเลือก SCBT ไม่เป็นไปตามข้อบังคับและมติบอร์ด รวมทั้งการทำ IRS ส่อไปในทางทุจริตและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลเพียงรายเดียว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่ธนาคารได้รับความเสียหายจากการตกลงทำสัญญาในโครงการออกตราสารบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) เมื่อเดือนเมษายนและกรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ
ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้สรุปผลการสอบสวน พบว่า มีเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของธนาคารมีความผิดสมควรพิจารณาให้มีการกล่าวโทษทางวินัยและทางอาญากับเจ้าหน้าที่ธนาคารจำนวน 4 ราย เนื่องจากมีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ประกอบไปด้วย 1.นายอาทิตย์ ดั่นธนสาร 2.นายอวิลาส ชุณหกสิการ 3.นางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ และ 4.นายจงเจตน์ บุญเกิด
โดยความผิดที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานมานั้น ประเด็นแรก คือ เรื่องจ้าง SCBT ออกตราสารในครั้งนี้ ถูกต้องตามระเบียบของธนาคารหรือไม่ ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินการคัดเลือกผู้ออกตราสารดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับและไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริหารของเอสเอ็มอีแบงก์ จึงมีความผิดตามข้อบังคับของธนาคารว่าด้วยการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของธนาคาร
ซึ่งในกรณีนี้พบผู้กระทำความผิด 2 ราย คือ นางจิรพร และ นายอวิลาส คณะกรรมการสอบสวนจึงเห็นสมควรให้รับการลงโทษขั้นสูงในความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ลดเงินเดือน 10% เป็นระยะเวลา 1 ปี เฉพาะกรณีนี้ แต่นายอวิลาสได้พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแล้ว จึงให้บันทึกไว้ในประวัติแทน ขณะที่ นายจงเจตน์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดมิได้เป็นผู้ก่อเหตุโดยตรงแต่ในฐานะผู้บังคับบัญชาสมควรให้ตักเตือนด้วยวาจาแต่ขณะนี้พ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วจึงให้บันทึกความผิดไว้ในประวัติ
ส่วนประเด็นการทำ Interest Rate Swap (IRS) โดยกำหนด Range Accrual และเบี้ยปรับนั้น คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานกรณีนี้ ว่า จากการสอบสวนอย่างละเอียดแล้ว พบว่า การที่ นางจิรพร ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่อย่างชัดเจน ถือว่า นางจิรพร และ นายอาทิตย์ ไม่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อบังคับของเอสเอ็มอีแบงก์ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย และเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงของธนาคาร จึงเห็นสมควรลงโทษนางจิรพรให้ออกจากการเป็นพนักงานของธนาคาร นายอาทิตย์ ปัจจุบันพ้นจากการเป็นพนักงานแล้ว เห็นสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ขณะที่ นายอวิลาส ทั้งที่รับทราบว่าจะเกิดความเสียหายจากการทำธุรกรรมดังกล่าว แต่กลับนิ่งเฉย ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับของธนาคาร สมควรให้มีการลงโทษภาคทัณฑ์เป็นเวลา 1 ปี แต่ในปัจจุบันได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานของ เอสเอ็มอีแบงก์แล้วจึงสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ทั้งนี้ ในการทำ IRS ของธนาคารกับ SCBT แต่เพียงรายเดียวในครั้งนี้ โดยไม่มีการพิจารณาเงื่อนไขเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของสถาบันการเงินแห่งอื่นและไม่มีรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบแต่อย่างใด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่อไปในทางทุจริต เป็นการมุ่งหวังที่จะให้ประโยชน์กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งพฤติกรรมนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการทำ IRS ไม่ชอบตามข้อบังคับของธนาคาร และในการดำเนินธุรกรรม IRS นั้นในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากเงื่อนไขทำให้ธนาคารต้องมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 8.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปกติ คิดเป็นเงินค่าเสียหายวันละ 2.5 ล้านบาท และหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปจะทำให้ธนาคารต้องเสียเงินค่าปรับเพิ่มทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท
“การกระทำของกลุ่มบุคคลทั้ง 4 ที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานมานั้น เป็นเหตุทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏจริงมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมของเอสเอ็มอีแบงก์อย่างร้ายแรง การกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ นายอาทิตย์ นายอวิลาส และ นางจิรพร ในฐานะผู้ดำเนินการโดยตรง และ นายจงเจตน์ ในฐานะซีเอฟโอที่เป็นผู้กำกับดูแลจึงควรรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวตามฐานความผิดที่ได้กระทำไว้” แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์ระบุ
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีที่ธนาคารได้รับความเสียหายจากการตกลงทำสัญญาในโครงการออกตราสารบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) เมื่อเดือนเมษายนและกรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ
ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้สรุปผลการสอบสวน พบว่า มีเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของธนาคารมีความผิดสมควรพิจารณาให้มีการกล่าวโทษทางวินัยและทางอาญากับเจ้าหน้าที่ธนาคารจำนวน 4 ราย เนื่องจากมีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ประกอบไปด้วย 1.นายอาทิตย์ ดั่นธนสาร 2.นายอวิลาส ชุณหกสิการ 3.นางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ และ 4.นายจงเจตน์ บุญเกิด
โดยความผิดที่คณะกรรมการสอบสวนรายงานมานั้น ประเด็นแรก คือ เรื่องจ้าง SCBT ออกตราสารในครั้งนี้ ถูกต้องตามระเบียบของธนาคารหรือไม่ ปรากฏว่ากระบวนการดำเนินการคัดเลือกผู้ออกตราสารดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับและไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการบริหารของเอสเอ็มอีแบงก์ จึงมีความผิดตามข้อบังคับของธนาคารว่าด้วยการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นของธนาคาร
ซึ่งในกรณีนี้พบผู้กระทำความผิด 2 ราย คือ นางจิรพร และ นายอวิลาส คณะกรรมการสอบสวนจึงเห็นสมควรให้รับการลงโทษขั้นสูงในความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ลดเงินเดือน 10% เป็นระยะเวลา 1 ปี เฉพาะกรณีนี้ แต่นายอวิลาสได้พ้นจากการเป็นพนักงานของธนาคารแล้ว จึงให้บันทึกไว้ในประวัติแทน ขณะที่ นายจงเจตน์ ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดมิได้เป็นผู้ก่อเหตุโดยตรงแต่ในฐานะผู้บังคับบัญชาสมควรให้ตักเตือนด้วยวาจาแต่ขณะนี้พ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วจึงให้บันทึกความผิดไว้ในประวัติ
ส่วนประเด็นการทำ Interest Rate Swap (IRS) โดยกำหนด Range Accrual และเบี้ยปรับนั้น คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานกรณีนี้ ว่า จากการสอบสวนอย่างละเอียดแล้ว พบว่า การที่ นางจิรพร ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่อย่างชัดเจน ถือว่า นางจิรพร และ นายอาทิตย์ ไม่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามข้อบังคับของเอสเอ็มอีแบงก์ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบซึ่งเป็นความผิดทางอาญาด้วย และเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงของธนาคาร จึงเห็นสมควรลงโทษนางจิรพรให้ออกจากการเป็นพนักงานของธนาคาร นายอาทิตย์ ปัจจุบันพ้นจากการเป็นพนักงานแล้ว เห็นสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ขณะที่ นายอวิลาส ทั้งที่รับทราบว่าจะเกิดความเสียหายจากการทำธุรกรรมดังกล่าว แต่กลับนิ่งเฉย ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับของธนาคาร สมควรให้มีการลงโทษภาคทัณฑ์เป็นเวลา 1 ปี แต่ในปัจจุบันได้พ้นสภาพการเป็นพนักงานของ เอสเอ็มอีแบงก์แล้วจึงสมควรให้บันทึกไว้ในประวัติแทน
ทั้งนี้ ในการทำ IRS ของธนาคารกับ SCBT แต่เพียงรายเดียวในครั้งนี้ โดยไม่มีการพิจารณาเงื่อนไขเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของสถาบันการเงินแห่งอื่นและไม่มีรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบแต่อย่างใด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่อไปในทางทุจริต เป็นการมุ่งหวังที่จะให้ประโยชน์กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งพฤติกรรมนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการดำเนินการทำ IRS ไม่ชอบตามข้อบังคับของธนาคาร และในการดำเนินธุรกรรม IRS นั้นในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากเงื่อนไขทำให้ธนาคารต้องมีภาระในการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 8.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปกติ คิดเป็นเงินค่าเสียหายวันละ 2.5 ล้านบาท และหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปจะทำให้ธนาคารต้องเสียเงินค่าปรับเพิ่มทั้งสิ้น 3 พันล้านบาท
“การกระทำของกลุ่มบุคคลทั้ง 4 ที่คณะกรรมการสอบสวนได้รายงานมานั้น เป็นเหตุทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏจริงมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมของเอสเอ็มอีแบงก์อย่างร้ายแรง การกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ นายอาทิตย์ นายอวิลาส และ นางจิรพร ในฐานะผู้ดำเนินการโดยตรง และ นายจงเจตน์ ในฐานะซีเอฟโอที่เป็นผู้กำกับดูแลจึงควรรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวตามฐานความผิดที่ได้กระทำไว้” แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ เอสเอ็มอีแบงก์ระบุ