เมโทร มอลล์ ออกแรงเพิ่ม เข็นชอปปิ้งมอลล์ บริเวณรถไฟฟ้าใต้ดินให้อยู่รอด หลังพบลูกค้าถอดใจคืนพื้นที่ ทุ่ม 50 ล้านบาท ลุยทำตลาดเต็มที่ ผนึกพันธมิตรเข้าร่วม ชูกิจกรรมหวังดึงคนเข้าใช้บริการ เชื่อสิ้นปีรายได้แตะ 30 ล้านบาท
นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารพื้นที่มอลล์ ภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เปิดเผยว่า จากปัญหาที่ว่าพื้นที่มอลล์ภายในสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ จะเป็นพื้นที่ที่ห่างจากบริเวณทางเข้าสถานีนั้น ส่งผลให้ที่ผ่านมา พบว่า มอลล์ที่เปิดไปแล้ว 3 สาขา คือ สุขุมวิท พหลโยธิน และจตุจักร ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนคนใช้บริการอยู่ที่ 8-10% ในแต่ละสถานีจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 2 แสนราย
ทั้งนี้ ทางบริษัทยอมรับว่า เมโทร มอลล์ สถานีพหลโยธิน กำลังได้รับผลกระทบหนักสุด มีจำนวนลูกค้าขอยกเลิกสัญญาเช่าไปแล้วหลาย ส่งผลให้มีพื้นที่ว่างลงรวมประมาณ 30% ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่มีประมาณ 1,000 ตารางเมตร ส่งผลให้บริษัทได้มีการปรับแผนแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการนำพื้นที่ดังกล่าว มาใช้เป็นลานกิจกรรมทางด้านการศึกษา โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อร่วมจัดกิจกรรมต่างๆในแต่สัปดาห์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทีเค ปาร์ค รวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งแผนดังกล่าวได้เริ่มมาต้นแต่ช่วงต้นปีแล้ว ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงความเป็นคอนวีเนียนมอลล์ ที่มองดูแล้วไม่สามารถแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าย่านดังกล่าวได้
นอกจากนี้ เมโทร มอลล์ สาขาจตุจักร ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่พบว่า วันธรรมดาจะมีจำนวนคนเดินมาใช้บริการน้อยมาก แต่ถ้าเป็นเสาร์-อาทิตย์ จะค่อนข้างสูง เนื่องจากติดกับตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ในช่วงเดือน เม.ย.ทางบริษัทก็ได้นำเอากลยุทธ์การจัดอีเวนต์และกิจกรรมต่างๆ เข้ามาช่วย โดยได้ทาง เวอร์จิ้น เรดิโอ และทางแม็ทชิ่งกรุ๊ป เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรอีกส่วนหนึ่ง เพื่อจะช่วยให้คนเข้ามาใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ สู่รูปแบบของเอาต์เลต นำสินค้าจากผู้ประกอบการมาขายโดยตรงด้วย ขณะที่ เมโทร มอลล์ สถานีสุขุมวิท ยังไปได้ดีอยู่ พื้นที่การเช่าเต็ม 100%
ล่าสุด บริษัทได้เปิดให้บริการเมโทร มอลล์ อีก 1 สาขา คือ ที่สถานีกำแพงเพชร ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยยังคงคอนเซ็ปต์เป็น อันเดอร์ กราวนด์ ชอป วีคเอนด์ ที่จะเปิดให้บริการเฉพาะศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ซึ่งได้ทางแม็ทชิ่ง เข้ามาดูทางด้านโปรดักชัน และกิจกรรม คาดว่า จะได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนปลายปีนี้ บริษัทยังมีแผนเปิดเพิ่มอีก 1 สาขา คาดว่า จะเป็นที่สถานีพระราม 9 แต่ยังไม่สามารถสรุปรูปแบบคอนเซ็ปต์ในเวลานี้ได้
นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวต่อว่า การลงทุนเปิดให้บริการมอลล์ ภายใต้สถานีรถไฟฟ้า ที่เราได้สัมปทานมา 15 ปี กับจำนวน 11 สถานี เดิมคาดว่า ภายใน 5 ปีจากปี 2548 จะแล้วเสร็จ แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชะลอลง เราก็ต้องชะลอแผนตาม ดังนั้น จึงมองว่า 8 ปี น่าจะเริ่มเห็นผลประกอบการในทางบวก ที่จะช่วยลดการขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าเวลานี้บริษัทจะมีทุนสะสมอยู่กว่า 150 ล้านบาท หลังจากเข้ามาดำเนินธุรกิจ โดยได้มีการลงทุนปรับพื้นที่ทั้ง 11 สถานี เพื่อรองรับมอลล์ ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว เป็นเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 330 ล้านบาท ปีที่ผ่านมา มีผลประกอบการ 20 ล้านบาท จากการเปิดให้บริการ 2 สถานี คือ สุขุมวิท และพหลโยธิน ส่วนปีนี้คาดว่า จะทำได้ถึง 30 ล้านบาท จากทั้งหมด 4 สาขา คือ สุขุมวิท พหลโยธิน จตุจักร และกำแพงเพชร โดยใช้งบลงทุนไปรวม 50 ล้านบาท
นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้บริหารพื้นที่มอลล์ ภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เปิดเผยว่า จากปัญหาที่ว่าพื้นที่มอลล์ภายในสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ จะเป็นพื้นที่ที่ห่างจากบริเวณทางเข้าสถานีนั้น ส่งผลให้ที่ผ่านมา พบว่า มอลล์ที่เปิดไปแล้ว 3 สาขา คือ สุขุมวิท พหลโยธิน และจตุจักร ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนคนใช้บริการอยู่ที่ 8-10% ในแต่ละสถานีจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 2 แสนราย
ทั้งนี้ ทางบริษัทยอมรับว่า เมโทร มอลล์ สถานีพหลโยธิน กำลังได้รับผลกระทบหนักสุด มีจำนวนลูกค้าขอยกเลิกสัญญาเช่าไปแล้วหลาย ส่งผลให้มีพื้นที่ว่างลงรวมประมาณ 30% ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมดที่มีประมาณ 1,000 ตารางเมตร ส่งผลให้บริษัทได้มีการปรับแผนแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยการนำพื้นที่ดังกล่าว มาใช้เป็นลานกิจกรรมทางด้านการศึกษา โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อร่วมจัดกิจกรรมต่างๆในแต่สัปดาห์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ทีเค ปาร์ค รวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งแผนดังกล่าวได้เริ่มมาต้นแต่ช่วงต้นปีแล้ว ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงความเป็นคอนวีเนียนมอลล์ ที่มองดูแล้วไม่สามารถแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าย่านดังกล่าวได้
นอกจากนี้ เมโทร มอลล์ สาขาจตุจักร ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่พบว่า วันธรรมดาจะมีจำนวนคนเดินมาใช้บริการน้อยมาก แต่ถ้าเป็นเสาร์-อาทิตย์ จะค่อนข้างสูง เนื่องจากติดกับตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่เดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ในช่วงเดือน เม.ย.ทางบริษัทก็ได้นำเอากลยุทธ์การจัดอีเวนต์และกิจกรรมต่างๆ เข้ามาช่วย โดยได้ทาง เวอร์จิ้น เรดิโอ และทางแม็ทชิ่งกรุ๊ป เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรอีกส่วนหนึ่ง เพื่อจะช่วยให้คนเข้ามาใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบคอนวีเนียนสโตร์ สู่รูปแบบของเอาต์เลต นำสินค้าจากผู้ประกอบการมาขายโดยตรงด้วย ขณะที่ เมโทร มอลล์ สถานีสุขุมวิท ยังไปได้ดีอยู่ พื้นที่การเช่าเต็ม 100%
ล่าสุด บริษัทได้เปิดให้บริการเมโทร มอลล์ อีก 1 สาขา คือ ที่สถานีกำแพงเพชร ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยยังคงคอนเซ็ปต์เป็น อันเดอร์ กราวนด์ ชอป วีคเอนด์ ที่จะเปิดให้บริการเฉพาะศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ซึ่งได้ทางแม็ทชิ่ง เข้ามาดูทางด้านโปรดักชัน และกิจกรรม คาดว่า จะได้รับการตอบรับที่ดี ส่วนปลายปีนี้ บริษัทยังมีแผนเปิดเพิ่มอีก 1 สาขา คาดว่า จะเป็นที่สถานีพระราม 9 แต่ยังไม่สามารถสรุปรูปแบบคอนเซ็ปต์ในเวลานี้ได้
นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวต่อว่า การลงทุนเปิดให้บริการมอลล์ ภายใต้สถานีรถไฟฟ้า ที่เราได้สัมปทานมา 15 ปี กับจำนวน 11 สถานี เดิมคาดว่า ภายใน 5 ปีจากปี 2548 จะแล้วเสร็จ แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชะลอลง เราก็ต้องชะลอแผนตาม ดังนั้น จึงมองว่า 8 ปี น่าจะเริ่มเห็นผลประกอบการในทางบวก ที่จะช่วยลดการขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าเวลานี้บริษัทจะมีทุนสะสมอยู่กว่า 150 ล้านบาท หลังจากเข้ามาดำเนินธุรกิจ โดยได้มีการลงทุนปรับพื้นที่ทั้ง 11 สถานี เพื่อรองรับมอลล์ ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว เป็นเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 330 ล้านบาท ปีที่ผ่านมา มีผลประกอบการ 20 ล้านบาท จากการเปิดให้บริการ 2 สถานี คือ สุขุมวิท และพหลโยธิน ส่วนปีนี้คาดว่า จะทำได้ถึง 30 ล้านบาท จากทั้งหมด 4 สาขา คือ สุขุมวิท พหลโยธิน จตุจักร และกำแพงเพชร โดยใช้งบลงทุนไปรวม 50 ล้านบาท