"ธาริษา"แจงนโยบายแบงก์ชาติยึดหลักดูแลด้านเสถียรภาพเพื่อป้องกันผลกระทบจากสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็พร้อมที่จะผ่อนคลายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ระบุธนาคารกลางที่เน้นการเติบโตเศรษฐกิจจนละเลยการดูแลเงินเฟ้อ ทำให้ความเชื่อมั่นสาธารณชนลดลงและส่งผลให้ความพยายามลดภาวะเงินเฟ้อในระยะต่อไปทำได้ยาก พร้อมย้ำพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายในงาน Dinner Talk ในหัวข้อ “Searching for a second Wind Overcoming Short-term Obstacles for Long-term Prosperity” ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในขณะนี้ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผ่านมายังการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย โดยขณะนี้การลงทุนภาคเอกชนได้ชะลอตัวต่อเนื่องในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นทำให้ความเสี่ยงของการบริโภคเอกชนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งล่าสุดวารสาร Asia Pacific Consensus Forecasts ได้มองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวใน 3 ไตรมาสจากนี้ก่อนที่จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552
“ในขณะนี้ความยุ่งยากจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ทำให้การลงทุนโดยรวมลดลง และส่งผลให้ผลผลิตตามศักยภาพ(Potential output) ลดลงด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของนโยบายการเงินที่ต้องทำให้ผลผลิตที่แท้จริงในเศรษฐกิจใกล้เคียงกับศักยภาพผลผลิตให้มากที่สุด กล่าวคือ ธปท.จะดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว(Tightening) ในยามที่การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าระดับศักยภาพ พร้อมทั้งจะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย(Loosening) ในยามที่เศรษฐกิจเติบโตในอัตราต่ำกว่าระดับศักยภาพ”
อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.จะกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ(Inflation targeting) ซึ่งเป็นไปตามปกติของธนาคารกลางมุ่งความสนใจไปที่เสถียรภาพด้านราคามากขึ้นภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ขณะที่ราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เร่งตัว และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าการแกว่งตัวของราคาในตลาดโลกจะคาดการณ์ได้ยากขึ้น ดังนี้ ภายใต้การควบคุมการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อ จึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยรองรับเศรษฐกิจไทยจากความผันผวนด้านราคาในตลาดโลก
“การที่ธนาคารกลางไม่มีกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเหมือนรัฐบาลอาจทำให้ธนาคารกลางมีแรงจูงใจสูงในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่มีแรงจูงใจที่มองนโยบายต่างๆ ในระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ขณะเดียวกันประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนให้เราว่า ธนาคารกลางที่ได้รับความชื่นชอบจากสาธารณชนไม่ได้หมายความว่าธนาคารนั้นจะได้รับความเชื่อถือสูงสุดในการดำเนินนโยบายเสมอไป เพราะธนาคารกลางที่มองแต่เพียงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมักละเลยการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อความจริงจังของธนาคารกลางในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อลดน้อยลง เป็นผลให้ความพยายามลดภาวะเงินเฟ้อทำได้ยากขึ้นในระยะต่อไป”
ผู้ว่าการฯ ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข่งแกร่งจากปัจจัย 5 ประการ โดยประการแรก คือ ฐานะภาคการต่างประเทศแข่งแกร่งเห็นได้จากหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2523 ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 29.4% ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในระยะเวลา 3 ปี โดยเพิ่มจาก 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 มาเป็น 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน นอกจากนี้สัดส่วนของปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 4 เท่า ถือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีจากการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนเคลื่อนย้ายและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ประการที่สอง ฐานะการคลังของรัฐบาลที่ดีขึ้น เป็นปัจจัยหลักต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะปานกลาง และจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นได้ ประการที่ 3 ตลาดแรงงานไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้น แม้บรรยากาศการลงทุนชะลอลง แต่ในอนาคตจากตลาดแรงงานมีความตึงตัวอาจเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตได้
ประการที่สี่ ภาคเอกชนมีความยืนหยุ่นในการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะบริษัทเอกชนบางแห่งหันมาระดมทุนจากผู้ถือหุ้นและกำไรสะสมเป็นแหล่งเงินทุนหลัก ซึ่งเมื่อเทียบกับวิกฤตปี 40 ที่มีกู้ยืมเงินแบบเกินตัว และประการสุดท้าย คือ ภาคธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมาทั้งอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส เรโช)ในระดับสูงและยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ลดลงอย่างต่อเนื่อง
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายในงาน Dinner Talk ในหัวข้อ “Searching for a second Wind Overcoming Short-term Obstacles for Long-term Prosperity” ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยว่า อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในขณะนี้ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผ่านมายังการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย โดยขณะนี้การลงทุนภาคเอกชนได้ชะลอตัวต่อเนื่องในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถือเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นทำให้ความเสี่ยงของการบริโภคเอกชนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งล่าสุดวารสาร Asia Pacific Consensus Forecasts ได้มองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวใน 3 ไตรมาสจากนี้ก่อนที่จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552
“ในขณะนี้ความยุ่งยากจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ทำให้การลงทุนโดยรวมลดลง และส่งผลให้ผลผลิตตามศักยภาพ(Potential output) ลดลงด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของนโยบายการเงินที่ต้องทำให้ผลผลิตที่แท้จริงในเศรษฐกิจใกล้เคียงกับศักยภาพผลผลิตให้มากที่สุด กล่าวคือ ธปท.จะดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว(Tightening) ในยามที่การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าระดับศักยภาพ พร้อมทั้งจะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย(Loosening) ในยามที่เศรษฐกิจเติบโตในอัตราต่ำกว่าระดับศักยภาพ”
อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.จะกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ(Inflation targeting) ซึ่งเป็นไปตามปกติของธนาคารกลางมุ่งความสนใจไปที่เสถียรภาพด้านราคามากขึ้นภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ขณะที่ราคาพลังงานและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ที่เร่งตัว และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าการแกว่งตัวของราคาในตลาดโลกจะคาดการณ์ได้ยากขึ้น ดังนี้ ภายใต้การควบคุมการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อ จึงเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยรองรับเศรษฐกิจไทยจากความผันผวนด้านราคาในตลาดโลก
“การที่ธนาคารกลางไม่มีกำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเหมือนรัฐบาลอาจทำให้ธนาคารกลางมีแรงจูงใจสูงในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่มีแรงจูงใจที่มองนโยบายต่างๆ ในระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ขณะเดียวกันประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนให้เราว่า ธนาคารกลางที่ได้รับความชื่นชอบจากสาธารณชนไม่ได้หมายความว่าธนาคารนั้นจะได้รับความเชื่อถือสูงสุดในการดำเนินนโยบายเสมอไป เพราะธนาคารกลางที่มองแต่เพียงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมักละเลยการเกิดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อความจริงจังของธนาคารกลางในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อลดน้อยลง เป็นผลให้ความพยายามลดภาวะเงินเฟ้อทำได้ยากขึ้นในระยะต่อไป”
ผู้ว่าการฯ ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข่งแกร่งจากปัจจัย 5 ประการ โดยประการแรก คือ ฐานะภาคการต่างประเทศแข่งแกร่งเห็นได้จากหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2523 ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 29.4% ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในระยะเวลา 3 ปี โดยเพิ่มจาก 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 มาเป็น 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน นอกจากนี้สัดส่วนของปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 4 เท่า ถือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีจากการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนเคลื่อนย้ายและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ประการที่สอง ฐานะการคลังของรัฐบาลที่ดีขึ้น เป็นปัจจัยหลักต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะปานกลาง และจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นได้ ประการที่ 3 ตลาดแรงงานไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้น แม้บรรยากาศการลงทุนชะลอลง แต่ในอนาคตจากตลาดแรงงานมีความตึงตัวอาจเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคตได้
ประการที่สี่ ภาคเอกชนมีความยืนหยุ่นในการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะบริษัทเอกชนบางแห่งหันมาระดมทุนจากผู้ถือหุ้นและกำไรสะสมเป็นแหล่งเงินทุนหลัก ซึ่งเมื่อเทียบกับวิกฤตปี 40 ที่มีกู้ยืมเงินแบบเกินตัว และประการสุดท้าย คือ ภาคธนาคารมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมาทั้งอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส เรโช)ในระดับสูงและยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ลดลงอย่างต่อเนื่อง