นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ เปิดฉากในตำแหน่งใหม่ ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โจมตีการทำงานของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต่อหน้าสาธารณะชนอย่างรุนแรง ว่าการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ที่มีนางธาริษา วัฒนเกส เป็นผู้ว่าการฯ) มีความขัดแย้งกับมุมมองของกระทรวงการคลัง (ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง)
พูดถึงขนาดว่า หากตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ควรออกไป แม้แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้าไม่เห็นด้วยก็ควรเป็นฝ่ายลาออกไป เพราะผู้ว่าการฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหมือนฝ่ายรัฐบาล
ขณะนี้ ฝ่ายการเมืองในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และต้องการเห็นอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง เพื่อหวังกระตุ้นการกู้ยืมการลงทุน โดยหลังจากวันนั้น “รัฐมนตรีสุชาติ” ถึงกับพูดย้ำ ขยายความประเด็นนี้ต่อไปอีกว่า “รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (growth targeting) ไม่ใช่เรื่องของการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (inflation targeting)”
เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือยุ่งยากจนไม่อาจเข้าใจ ลองลำดับความคิดตามประเด็นเกี่ยวข้อง ต่อไปนี้
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่โดยตรงอย่างหนึ่ง คือ การดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ให้เงินฝืด ไม่ให้เงินเฟ้อ โดยใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือ หรือพูดหยาบๆ ก็คือ ใช้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือ
ลองคิดดู หากแม้นเศรษฐกิจจะขยายตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อรุนแรง เป็นต้นว่าสูงกว่าอัตราเพิ่มขึ้นของรายได้ ก็จะเท่ากับว่า รายได้ที่แท้จริงของประชาชนลดลง เพราะปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้น สูงไม่ทันระดับราคาค่าครองชีพที่แพงขึ้น
เพราะฉะนั้น การทำหน้าที่ของแบงก์ชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนไทยทุกคน และบ่อยครั้งก็ไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายการเมือง เพราะฝ่ายการเมืองมักต้องการให้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการลงทุน การกู้ยืม เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอย และเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฟู่ฟ่า เฟื่องฟู
ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จึงวางกรอบการทำงานของแบงก์ชาติให้เป็นไปตามหลักสากล คือ ให้มีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองในการใช้เครื่องมือดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพทางการเงินของระบบเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง ไม่ใช่ยอมตามความต้องการของฝ่ายการเมืองทุกอย่าง จนละเลยหน้าที่ของตนเอง แต่ถ้าหากเมื่อไหร่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันหรือถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง บีบบังคับ ผู้ว่าการฯ ก็อาจจะประท้วงได้ด้วยการลาออก และแสดงให้สาธารณะชนเห็นว่า การเมืองกำลังเข้าแทรกแซงนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ
2) การที่ “รัฐมนตรีสุชาติ” พูดในทำนองว่า หากตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ต้องไป และกล่าวว่า ฝ่ายผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะเป็นฝ่ายลาออกไป เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ย่อมทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า “รัฐมนตรีคลัง” กำลังไล่ผู้ว่าการแบงก์ชาติ หรือบีบผู้ว่าการแบงก์ชาติให้ลาออก
อย่าลืมว่า ขณะนี้ “นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช” ไม่ใช่แค่ “รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง” และไม่ใช่ “กรรมการธนาคารนครหลวงไทย-บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ฯลฯ หรือแม้แต่ “ปรึกษาพรรคไทยรักไทย” แต่มีสถานะเป็น “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง” ที่รัฐบาลชุดนี้ “แต่งตั้ง” ให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น “รัฐมนตรีสุชาติ” จึงมีสถานะอยู่ใน “ฝ่ายการเมือง” ที่เป็นคู่ขัดแย้งในคำพูดดังกล่าว ไม่ใช่นักวิชาการที่ไม่มีอำนาจ เมื่อพูดเช่นนี้ จึงทำให้คนเข้าใจว่า “รัฐมนตรี” กำลังอ้าง “อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง” อยู่เหนือการทำหน้าที่ของผู้ว่าการแบงก์ชาติ โดย
3) มาจากการเลือกตั้งใช่ว่าจะทำอะไรก็ถูกต้องเสมอ
มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถถูกไล่ออกจากตำแหน่งได้ หากทำผิดพลาด บกพร่อง
มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถติดคุกได้ หากทำผิดกฎหมาย
ยิ่งกว่านั้น มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่หมายความว่า จะเป็นตัวแทนทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องฟังเสียงของประชาชน หรือพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชน เพราะตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวแทนรับมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมใดๆ ทั้งหมด หากแต่เป็นคนที่ประชาชนเลือกให้เป็นตัวแทนในการฟังประชาชนแล้วไปดำเนินการแทนประชาชนเท่านั้น
4) เป็นความจริงว่า โดยทั่วไป รัฐบาลย่อมมีอำนาจเหนือกว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะแบงก์ชาติไม่ใช่รัฐอิสระ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่พื้นฐานที่จะต้องดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ โดยไม่ใช่เรื่องที่จะต้องรอให้รัฐบาลชุดใดมาคอยบอกว่าควรจะดูแลเสถียรภาพหรือไม่ แต่ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล แบงก์ชาติก็จะต้องทำหน้าที่
เปรียบเทียบกับการทำหน้าที่รักษากฎหมายของตำรวจ ที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยไม่เกี่ยวว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลนั่นเอง
ที่ถูกต้อง รัฐบาลจะไปสั่งให้แบงก์ชาติละเว้น ไม่ดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศมิได้เป็นอันขาด แต่อาจจะกำหนดเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายไปว่า กรอบของเงินเฟ้อปีนี้ จะให้ไม่เกินเท่าใด แล้วให้แบงก์ชาติมีอิสระในการเลือกใช้เครื่องมือนโยบายทางการเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
5) แบงก์ชาตินั้น มีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงิน โดยใช้ราคาของการกู้ยืมเงิน-การออมเงิน คือ “ดอกเบี้ย” เป็นเครื่องมือ เพื่อดูแลให้การเงินมีเสถียรภาพ ไม่ฝืด-ไม่ตึง-ไม่เฟ้อ เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาวการณ์การเงินของประเทศ ไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือเฟื่องฟูเกินตัว
การตัดสินใจใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ จึงเป็นเรื่องที่ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง จะทำตามความรู้สึก ความต้องการ หรือความคาดหวังลอยๆ ไม่ได้เด็ดขาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ส่วนตัวของคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เป็นอันขาด ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของส่วนรวมเป็นหลัก
หากว่า ขณะนี้ อัตราการกู้ยืมเงินในระบบเพิ่มขึ้นมากกว่า 9% แต่อัตราการออมกลับเพิ่มขึ้นเพียง 1% เพราะฉะนั้น ถ้าคงอัตราดอกเบี้ยไว้หรือลดอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะไม่เหมาะสม ในเมื่อคนอยากกู้เพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของเงินออม ก็ควรจะต้องขึ้นราคาเงินกู้หรือขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดึงดูดการออม ดึงเงินเข้ามาสู่ระบบ เพื่อให้เกิดความสมดุล
หากจะลดดอกเบี้ย เพียงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจเอกชนผู้กู้ เพื่อจะได้ลดภาระดอกเบี้ย ได้เงินกู้ราคาถูกลง เพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ หวังช่วยให้รัฐบาลได้คะแนนนิยม ย่อมไม่ถูกต้อง
6) ในเมื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศดังกล่าว เป็นเรื่องที่ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค
ลองพิจารณาเปรียบเทียบดูว่า ระหว่างนักการเมืองอย่าง นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี กับธนาคารแห่งประเทศไทย ใครน่าจะรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และมีองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจ ถูกต้องกว่ากัน ? น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ?
หรือแต่นักวิชาการที่เพิ่งเข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาล อย่าง “รัฐมนตรีสุชาติ” กับบรรดาเทคโนแครตในธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เขาติดตามข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง และเฝ้าอยู่วงในมาโดยตลอด
ฝ่ายรัฐบาล ควรจะรับฟังเขาบ้างไหม? หรือจะเร่งรัดตัดสินใจดำเนินการตามที่ “นักวิชาการ” คิดเอาเอง- เดาเอาเอง- คาดเอาเอง -รู้สึกเอาเอง โดยที่ยังมิได้สัมผัสข้อมูลอย่างถ่องแท้เลย ?
ยิ่งรัฐบาลชุดนี้รุกไล่แบงก์ชาติมากเท่าใด ก็ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำว่า ขบวนการเครือข่ายของระบอบทักษิณ ที่กำลังพยายามรุกคืบเข้ายึดครองอำนาจ ควบคุมนโยบายการเงินของประเทศ แทรกแซงการกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงขนาดเอาคนของตนที่ถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษในคดีทุจริต เข้าไปมีตำแหน่งใหญ่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ก็เป็นจริงชัดเจนยิ่งขึ้น
อย่าลืมว่า แบงก์ชาติยังมีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทั้งระบบ ดูว่าใครโกงใครกินในสถาบันการเงินใด จึงรู้ว่าใครเล่นพวกอย่างไร ปล่อยกู้ให้พรรคพวกอย่างไร ใครทำเจ๊ง ใครจะต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ แบงก์ชาติยังดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทแข็งอ่อน ผูกโยงกับเงินสกุลใด แค่ไหน ธุรกิจใครจะได้ประโยชน์-เสียประโยชน์ รวมถึงดูแลเงินทุนสำรองของประเทศ ดูแลความมั่นคงทางการเงินของแผ่นดิน ซึ่งมีข่าวว่า รัฐบาลชุดนี้กระเหี้ยนกระหือรือที่จะล้วงเอาเงินทุนสำรองฯ มาใช้จ่ายลงทุน
ยิ่งกว่านั้น แบงก์ชาติยังควบคุมดูแลการโอนเงินเข้า-ออกนอกประเทศ ใครจะโอนเงินออกไปซุกไว้ต่างประเทศ หรือหนีออกไปต่างประเทศ ซึ่งก็พอดีว่า ขณะนี้ ทนายความของทักษิณกำลังเร่งรีบกดดันธนาคารพาณิชย์ โดยความร่วมมือของ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ที่พยายามใช้อำนาจกดดันแบงก์ชาติและธนาคารพาณิชย์ เพื่อหวังช่วยให้ทักษิณเบิกจ่ายถ่ายโอนเงินที่ถูก คตส. อายัดไว้กว่า 7 หมื่นล้าน โดยเร็ว
ต้องระวัง.. อย่าให้วังบางขุนพรหม ตกเป็นเมืองขึ้นของระบอบทักษิณ !
พูดถึงขนาดว่า หากตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ควรออกไป แม้แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถ้าไม่เห็นด้วยก็ควรเป็นฝ่ายลาออกไป เพราะผู้ว่าการฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเหมือนฝ่ายรัฐบาล
ขณะนี้ ฝ่ายการเมืองในรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และต้องการเห็นอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง เพื่อหวังกระตุ้นการกู้ยืมการลงทุน โดยหลังจากวันนั้น “รัฐมนตรีสุชาติ” ถึงกับพูดย้ำ ขยายความประเด็นนี้ต่อไปอีกว่า “รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (growth targeting) ไม่ใช่เรื่องของการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (inflation targeting)”
เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือยุ่งยากจนไม่อาจเข้าใจ ลองลำดับความคิดตามประเด็นเกี่ยวข้อง ต่อไปนี้
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่โดยตรงอย่างหนึ่ง คือ การดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ให้เงินฝืด ไม่ให้เงินเฟ้อ โดยใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือ หรือพูดหยาบๆ ก็คือ ใช้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือ
ลองคิดดู หากแม้นเศรษฐกิจจะขยายตัว ประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อรุนแรง เป็นต้นว่าสูงกว่าอัตราเพิ่มขึ้นของรายได้ ก็จะเท่ากับว่า รายได้ที่แท้จริงของประชาชนลดลง เพราะปริมาณรายได้ที่เพิ่มขึ้น สูงไม่ทันระดับราคาค่าครองชีพที่แพงขึ้น
เพราะฉะนั้น การทำหน้าที่ของแบงก์ชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนไทยทุกคน และบ่อยครั้งก็ไม่ตรงกับความต้องการของฝ่ายการเมือง เพราะฝ่ายการเมืองมักต้องการให้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นการลงทุน การกู้ยืม เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอย และเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ฟู่ฟ่า เฟื่องฟู
ด้วยเหตุนี้ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จึงวางกรอบการทำงานของแบงก์ชาติให้เป็นไปตามหลักสากล คือ ให้มีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองในการใช้เครื่องมือดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพทางการเงินของระบบเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง ไม่ใช่ยอมตามความต้องการของฝ่ายการเมืองทุกอย่าง จนละเลยหน้าที่ของตนเอง แต่ถ้าหากเมื่อไหร่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันหรือถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซง บีบบังคับ ผู้ว่าการฯ ก็อาจจะประท้วงได้ด้วยการลาออก และแสดงให้สาธารณะชนเห็นว่า การเมืองกำลังเข้าแทรกแซงนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ
2) การที่ “รัฐมนตรีสุชาติ” พูดในทำนองว่า หากตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ต้องไป และกล่าวว่า ฝ่ายผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะเป็นฝ่ายลาออกไป เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ย่อมทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า “รัฐมนตรีคลัง” กำลังไล่ผู้ว่าการแบงก์ชาติ หรือบีบผู้ว่าการแบงก์ชาติให้ลาออก
อย่าลืมว่า ขณะนี้ “นายสุชาติ ธาดาดำรงเวช” ไม่ใช่แค่ “รองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง” และไม่ใช่ “กรรมการธนาคารนครหลวงไทย-บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ฯลฯ หรือแม้แต่ “ปรึกษาพรรคไทยรักไทย” แต่มีสถานะเป็น “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง” ที่รัฐบาลชุดนี้ “แต่งตั้ง” ให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น “รัฐมนตรีสุชาติ” จึงมีสถานะอยู่ใน “ฝ่ายการเมือง” ที่เป็นคู่ขัดแย้งในคำพูดดังกล่าว ไม่ใช่นักวิชาการที่ไม่มีอำนาจ เมื่อพูดเช่นนี้ จึงทำให้คนเข้าใจว่า “รัฐมนตรี” กำลังอ้าง “อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง” อยู่เหนือการทำหน้าที่ของผู้ว่าการแบงก์ชาติ โดย
3) มาจากการเลือกตั้งใช่ว่าจะทำอะไรก็ถูกต้องเสมอ
มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถถูกไล่ออกจากตำแหน่งได้ หากทำผิดพลาด บกพร่อง
มาจากการเลือกตั้ง ก็สามารถติดคุกได้ หากทำผิดกฎหมาย
ยิ่งกว่านั้น มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่หมายความว่า จะเป็นตัวแทนทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องฟังเสียงของประชาชน หรือพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชน เพราะตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งไม่ใช่ตัวแทนรับมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมใดๆ ทั้งหมด หากแต่เป็นคนที่ประชาชนเลือกให้เป็นตัวแทนในการฟังประชาชนแล้วไปดำเนินการแทนประชาชนเท่านั้น
4) เป็นความจริงว่า โดยทั่วไป รัฐบาลย่อมมีอำนาจเหนือกว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะแบงก์ชาติไม่ใช่รัฐอิสระ แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่พื้นฐานที่จะต้องดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ โดยไม่ใช่เรื่องที่จะต้องรอให้รัฐบาลชุดใดมาคอยบอกว่าควรจะดูแลเสถียรภาพหรือไม่ แต่ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล แบงก์ชาติก็จะต้องทำหน้าที่
เปรียบเทียบกับการทำหน้าที่รักษากฎหมายของตำรวจ ที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง โดยไม่เกี่ยวว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลนั่นเอง
ที่ถูกต้อง รัฐบาลจะไปสั่งให้แบงก์ชาติละเว้น ไม่ดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศมิได้เป็นอันขาด แต่อาจจะกำหนดเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายไปว่า กรอบของเงินเฟ้อปีนี้ จะให้ไม่เกินเท่าใด แล้วให้แบงก์ชาติมีอิสระในการเลือกใช้เครื่องมือนโยบายทางการเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
5) แบงก์ชาตินั้น มีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงิน โดยใช้ราคาของการกู้ยืมเงิน-การออมเงิน คือ “ดอกเบี้ย” เป็นเครื่องมือ เพื่อดูแลให้การเงินมีเสถียรภาพ ไม่ฝืด-ไม่ตึง-ไม่เฟ้อ เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาวการณ์การเงินของประเทศ ไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือเฟื่องฟูเกินตัว
การตัดสินใจใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาติ จึงเป็นเรื่องที่ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง จะทำตามความรู้สึก ความต้องการ หรือความคาดหวังลอยๆ ไม่ได้เด็ดขาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ส่วนตัวของคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้เป็นอันขาด ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของส่วนรวมเป็นหลัก
หากว่า ขณะนี้ อัตราการกู้ยืมเงินในระบบเพิ่มขึ้นมากกว่า 9% แต่อัตราการออมกลับเพิ่มขึ้นเพียง 1% เพราะฉะนั้น ถ้าคงอัตราดอกเบี้ยไว้หรือลดอัตราดอกเบี้ย ก็คงจะไม่เหมาะสม ในเมื่อคนอยากกู้เพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของเงินออม ก็ควรจะต้องขึ้นราคาเงินกู้หรือขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดึงดูดการออม ดึงเงินเข้ามาสู่ระบบ เพื่อให้เกิดความสมดุล
หากจะลดดอกเบี้ย เพียงเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจเอกชนผู้กู้ เพื่อจะได้ลดภาระดอกเบี้ย ได้เงินกู้ราคาถูกลง เพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ หวังช่วยให้รัฐบาลได้คะแนนนิยม ย่อมไม่ถูกต้อง
6) ในเมื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศดังกล่าว เป็นเรื่องที่ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค
ลองพิจารณาเปรียบเทียบดูว่า ระหว่างนักการเมืองอย่าง นพ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี กับธนาคารแห่งประเทศไทย ใครน่าจะรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และมีองค์ความรู้ทางเศรษฐกิจ ถูกต้องกว่ากัน ? น่าเชื่อถือมากกว่ากัน ?
หรือแต่นักวิชาการที่เพิ่งเข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาล อย่าง “รัฐมนตรีสุชาติ” กับบรรดาเทคโนแครตในธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เขาติดตามข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง และเฝ้าอยู่วงในมาโดยตลอด
ฝ่ายรัฐบาล ควรจะรับฟังเขาบ้างไหม? หรือจะเร่งรัดตัดสินใจดำเนินการตามที่ “นักวิชาการ” คิดเอาเอง- เดาเอาเอง- คาดเอาเอง -รู้สึกเอาเอง โดยที่ยังมิได้สัมผัสข้อมูลอย่างถ่องแท้เลย ?
ยิ่งรัฐบาลชุดนี้รุกไล่แบงก์ชาติมากเท่าใด ก็ยิ่งจะเป็นการตอกย้ำว่า ขบวนการเครือข่ายของระบอบทักษิณ ที่กำลังพยายามรุกคืบเข้ายึดครองอำนาจ ควบคุมนโยบายการเงินของประเทศ แทรกแซงการกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ ผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงขนาดเอาคนของตนที่ถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษในคดีทุจริต เข้าไปมีตำแหน่งใหญ่ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ก็เป็นจริงชัดเจนยิ่งขึ้น
อย่าลืมว่า แบงก์ชาติยังมีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินทั้งระบบ ดูว่าใครโกงใครกินในสถาบันการเงินใด จึงรู้ว่าใครเล่นพวกอย่างไร ปล่อยกู้ให้พรรคพวกอย่างไร ใครทำเจ๊ง ใครจะต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ แบงก์ชาติยังดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทแข็งอ่อน ผูกโยงกับเงินสกุลใด แค่ไหน ธุรกิจใครจะได้ประโยชน์-เสียประโยชน์ รวมถึงดูแลเงินทุนสำรองของประเทศ ดูแลความมั่นคงทางการเงินของแผ่นดิน ซึ่งมีข่าวว่า รัฐบาลชุดนี้กระเหี้ยนกระหือรือที่จะล้วงเอาเงินทุนสำรองฯ มาใช้จ่ายลงทุน
ยิ่งกว่านั้น แบงก์ชาติยังควบคุมดูแลการโอนเงินเข้า-ออกนอกประเทศ ใครจะโอนเงินออกไปซุกไว้ต่างประเทศ หรือหนีออกไปต่างประเทศ ซึ่งก็พอดีว่า ขณะนี้ ทนายความของทักษิณกำลังเร่งรีบกดดันธนาคารพาณิชย์ โดยความร่วมมือของ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ที่พยายามใช้อำนาจกดดันแบงก์ชาติและธนาคารพาณิชย์ เพื่อหวังช่วยให้ทักษิณเบิกจ่ายถ่ายโอนเงินที่ถูก คตส. อายัดไว้กว่า 7 หมื่นล้าน โดยเร็ว
ต้องระวัง.. อย่าให้วังบางขุนพรหม ตกเป็นเมืองขึ้นของระบอบทักษิณ !