กรมศุลกากร เปิดใช้ อี-คัสตอม ครบ 100% แล้ว พร้อมยกเลิกอีดีไอ เผย ผู้ส่งออกนำเข้า หันใช้เพียบ เหตุสะดวกสบาย
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมได้นำระบบการให้บริการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-custom) มาให้บริการในด่านศุลกากรทั่วประเทศแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ทยอยใช้มาตั้งแต่ต้นปี และยกเลิกระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) ไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ขณะนี้มีผู้นำเข้า-ส่งออกใช้ระบบอีคัสตอมแล้วกว่า 90% โดยมีการใช้ในการทำเอกสารขาเข้า 99.6% คิดเป็นจำนวนใบขนสินค้าทั้งสิ้น 103,923 ใบ และใช้ในการทำเอกสารขาออก 99.92% คิดเป็นจำนวนใบขนสินค้า 121,208 ใบ
อย่างไรก็ตาม กรมยังได้รับการตอบกลับมาจากผู้ใช้บริการถึงปัญหาและอุปสรรคของระบบดังกล่าวอยู่บ้าง เช่น มีปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งกรมได้จัดสัมมนา เพื่อติดตามปัญหาอุปสรรคและสรุปบทเรียนที่ได้จากการใช้ระบบ อี-อิมพอร์ต และ อี-เอ็กซ์ปอร์ต เพื่อจะนำไปปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยมีตัวแทนผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และตัวแทนชิปปิ้งกว่า 400 คนมาร่วมเสนอแนะความคิดเห็นในการให้บริการ
“หลังจากที่กรมฯ ได้นำระบบอีดีไอมาใช้ ปรากฏว่า จำนวนการจราจรทางอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตหนาแน่นขึ้นมาก โดยช่วง ม.ค.ที่ผ่านมา มีการใช้ระบบอีดีไอสำหรับขาเข้า 70.24% ขณะที่ใช้ อี-คัสตอม 29.76% และขาออกใช้อีดีไอ 11.61% ใช้อี-คัสตอม 88.39% หากไม่ปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่ อาจจะไม่รองรับการให้บริการในอนาคตได้ อีกทั้งเห็นว่า อนาคตกรมต้องการที่จะบริการผู้ส่งออกนำเข้าให้ครบวงจร จึงได้ปรับเปลี่ยนระบบใหม่ดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าให้มากที่สุด สามารถส่งข้อมูลมาได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเป็นการให้บริการแบบธรรมาภิบาล โดยเดือนก.ค.ที่ผ่านมา มีการใช้ระบบอีดีไอเหลือเพียง 0.31% เท่านั้น ขณะที่หันมาใช้ อี-คัสตอม ถึง 99.69% ส่วนขาออกใช้อีดีไอ 0.08% ใช้อี-คัสตอม 99.92% และอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า กรมจะพัฒนาระบบให้รองรับระบบย่อยที่เชื่อมโยงกับด่านต่างๆ ในบริเวณชายแดนทั้งหมดเข้าด้วยกันได้ด้วย”
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมได้นำระบบการให้บริการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-custom) มาให้บริการในด่านศุลกากรทั่วประเทศแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ทยอยใช้มาตั้งแต่ต้นปี และยกเลิกระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) ไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ขณะนี้มีผู้นำเข้า-ส่งออกใช้ระบบอีคัสตอมแล้วกว่า 90% โดยมีการใช้ในการทำเอกสารขาเข้า 99.6% คิดเป็นจำนวนใบขนสินค้าทั้งสิ้น 103,923 ใบ และใช้ในการทำเอกสารขาออก 99.92% คิดเป็นจำนวนใบขนสินค้า 121,208 ใบ
อย่างไรก็ตาม กรมยังได้รับการตอบกลับมาจากผู้ใช้บริการถึงปัญหาและอุปสรรคของระบบดังกล่าวอยู่บ้าง เช่น มีปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งกรมได้จัดสัมมนา เพื่อติดตามปัญหาอุปสรรคและสรุปบทเรียนที่ได้จากการใช้ระบบ อี-อิมพอร์ต และ อี-เอ็กซ์ปอร์ต เพื่อจะนำไปปรับปรุงระบบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยมีตัวแทนผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และตัวแทนชิปปิ้งกว่า 400 คนมาร่วมเสนอแนะความคิดเห็นในการให้บริการ
“หลังจากที่กรมฯ ได้นำระบบอีดีไอมาใช้ ปรากฏว่า จำนวนการจราจรทางอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตหนาแน่นขึ้นมาก โดยช่วง ม.ค.ที่ผ่านมา มีการใช้ระบบอีดีไอสำหรับขาเข้า 70.24% ขณะที่ใช้ อี-คัสตอม 29.76% และขาออกใช้อีดีไอ 11.61% ใช้อี-คัสตอม 88.39% หากไม่ปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่ อาจจะไม่รองรับการให้บริการในอนาคตได้ อีกทั้งเห็นว่า อนาคตกรมต้องการที่จะบริการผู้ส่งออกนำเข้าให้ครบวงจร จึงได้ปรับเปลี่ยนระบบใหม่ดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าให้มากที่สุด สามารถส่งข้อมูลมาได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเป็นการให้บริการแบบธรรมาภิบาล โดยเดือนก.ค.ที่ผ่านมา มีการใช้ระบบอีดีไอเหลือเพียง 0.31% เท่านั้น ขณะที่หันมาใช้ อี-คัสตอม ถึง 99.69% ส่วนขาออกใช้อีดีไอ 0.08% ใช้อี-คัสตอม 99.92% และอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า กรมจะพัฒนาระบบให้รองรับระบบย่อยที่เชื่อมโยงกับด่านต่างๆ ในบริเวณชายแดนทั้งหมดเข้าด้วยกันได้ด้วย”