เอกชนเบรก ททท.เลิกฝันตั้งเป้ารายได้ตลาดต่างประเทศปีหน้าโต 10% ชี้ เป้าหมายปีนี้ยังร่อแร่ เหตุปัญหาเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันแพง ส่วนตลาดในประเทศแนะสร้างแพกเกจทัวร์ราคาประหยัด แทนคำขวัญเที่ยวเพื่อชาติ ด้าน ททท.เข็น 6 กลุ่มสินค้า กระตุ้นตลาดคนไทย เล็งออกบัตร อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แวลู การ์ด กระตุ้นต่างชาติ
วานนี้ (3 ก.ค.) ในการประชุมแผนการตลาดการท่องเที่ยว ปี 2552 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน เปิดเผยว่า ได้วางแผนตลาดในประเทศโดยแบ่งกลุ่มสินค้าทางการท่องเที่ยวเป็น 6 กลุ่มสินค้า ใน 4 ภูมิภาคโดยแผนงานที่ได้จะใช้เป็นโจทย์ ให้ สำนักงาน ททท.ในต่างจังหวัด นำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ
ทั้งนี้ ใน 6 กลุ่มสินค้า จะใช้หลักภูมิศาสตร์ แบ่งตามภาพลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ 1.ภาคเหนือ “แหล่งวัฒนธรรมล้านนาผสานความมีระดับ” (Classy Lanna) 2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม” (The Cradle of Learning and Civilization) 3.ภาคกลาง “การท่องเที่ยวแบบถวิลหาอดีต” (Nostalgia Tourism) 4.ภาคใต้ “ป่าสวย ทะเลใส” (Blue&Green;Clean&Clear) 5.ภาคตะวันออก “เที่ยวสนุก ทุกระดับ” (Affordable Active Beach) และ 6.กรุงเทพฯ “วิถีชีวิตเมืองกรุง” (The Touch of Bangkok)
โดยทั้ง 6 กลุ่มสินค้าดังกล่าว จะถูกโปรโมตผ่านแคมเปญ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” เพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจของไทย ที่ผู้คนกำลังเครียดกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมันแพง โดยปรับเปลี่ยนจากแคมเปญปีนี้ที่ใช้ชื่อว่า “เที่ยวไทยให้สนุก เติมความสุขให้ชีวิต”
ทางด้าน นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ ททท.กล่าวว่า ในส่วนของตลาดต่างประเทศ มีแนวคิด ออกบัตร อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แวลู การ์ด นำร่องที่ประมาณ 1 แสนใบ เพื่อแจกจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่ง เบื้องต้น จะเริ่มแจกใน 3 ตลาดหลัก คือ ลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่งาน WTM, กรุงสตอกโฮม เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มสแกนดิเนเวีย และ สิงคโปร์
“บัตรดังกล่าวจะใช้เป็นส่วนลด 5-50% เมื่อใช้จ่าย ในโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา สนามกอล์ฟ ห้างสรรพสินค้า และ ดิวตี้ฟรี เป็นต้น จุดประสงค์เพื่อต้องการเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยว ในแต่ละประเทศ ว่า มีพฤติกรรมทางการท่องเที่ยวอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนการตลาดในปีต่อๆ ไป และที่สำคัญยังเป็นบัตรที่จะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสนใจที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น”
เอกชนเบรก ททท.ฝันเป้ารายได้
จากแผนงานดังกล่าวทั้งหมด ในมุมมองภาคเอกชน ได้แสดงความคิดเห็น โดย นายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า บัตร อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แวลู การ์ด เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องการให้ ททท.เตรียมความพร้อมให้สมบูรณ์ โดยมีการติดต่อทำความเข้าใจกับ โรงแรม ร้านค้าให้เสร็จสิ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถนำบัตรมาใช้เป็นส่วนลดได้จริง มิเช่นนั้น จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะที่ผ่านมา ทั้งบัตรคูปอง อะเมซิ่งไทยแลนด์แกรนด์เซล ที่ ททท.ได้ทำมาแล้ว ก็ถูกต่อว่าจากนักท่องเที่ยว ว่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามโฆษณา แม้กระทั่งบัตรอีลิทการ์ด ก็มีปัญหาเช่นกัน
นอกจากนั้น ในส่วนของเป้าหมายรายได้นักท่องเที่ยว ที่ ททท.ตั้งไว้ว่า ปี 2552 ตลาดต่างประเทศ จะมีรายได้เติบโตจากปีนี้ 10% หรือมีรายได้รวมประมาณ 6.6 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อคำนวณกลับไปเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางมาไทยประมาณ 17 ล้านคน ส่วนรายได้ตลาดในประเทศจะเติบโต จากปีนี้ราว 5% หรือเกิดรายได้เป็นเงินหมุนเวียนที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้น้อยมาก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งปีนี้เริ่มเห็นแววว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 15.7 ล้านคน เงินสะพัด 6 แสนล้านบาท เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่อาจทำให้ตลาดระยะไกลชะลอการเดินทางท่องเที่ยว เพราะต้องนำเงินที่ใช้ในการท่องเที่ยวมาใช้จ่ายซื้อสินค้าประจำวันที่มีราคาแพงขึ้น ดังนั้นอาจปรับเป็นเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้แทน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เกิดวิกฤตซับไพรม์
ส่วนตลาดในประเทศภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเป็นปัญหาเศรษฐกิจของคนไทย มองว่า ททท.ควรร่วมกับเอกชนจัดแพกเกจท่องเที่ยวในราคาที่ประชาชนสามารถจับจ่ายได้จริง มานำเสนอขาย อย่าใช้คำว่า “เที่ยวเพื่อชาติ”
วานนี้ (3 ก.ค.) ในการประชุมแผนการตลาดการท่องเที่ยว ปี 2552 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายสุรพล เศวตเศรนี รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน เปิดเผยว่า ได้วางแผนตลาดในประเทศโดยแบ่งกลุ่มสินค้าทางการท่องเที่ยวเป็น 6 กลุ่มสินค้า ใน 4 ภูมิภาคโดยแผนงานที่ได้จะใช้เป็นโจทย์ ให้ สำนักงาน ททท.ในต่างจังหวัด นำไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ
ทั้งนี้ ใน 6 กลุ่มสินค้า จะใช้หลักภูมิศาสตร์ แบ่งตามภาพลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ 1.ภาคเหนือ “แหล่งวัฒนธรรมล้านนาผสานความมีระดับ” (Classy Lanna) 2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “แหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม” (The Cradle of Learning and Civilization) 3.ภาคกลาง “การท่องเที่ยวแบบถวิลหาอดีต” (Nostalgia Tourism) 4.ภาคใต้ “ป่าสวย ทะเลใส” (Blue&Green;Clean&Clear) 5.ภาคตะวันออก “เที่ยวสนุก ทุกระดับ” (Affordable Active Beach) และ 6.กรุงเทพฯ “วิถีชีวิตเมืองกรุง” (The Touch of Bangkok)
โดยทั้ง 6 กลุ่มสินค้าดังกล่าว จะถูกโปรโมตผ่านแคมเปญ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” เพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจของไทย ที่ผู้คนกำลังเครียดกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมันแพง โดยปรับเปลี่ยนจากแคมเปญปีนี้ที่ใช้ชื่อว่า “เที่ยวไทยให้สนุก เติมความสุขให้ชีวิต”
ทางด้าน นายสันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดต่างประเทศ ททท.กล่าวว่า ในส่วนของตลาดต่างประเทศ มีแนวคิด ออกบัตร อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แวลู การ์ด นำร่องที่ประมาณ 1 แสนใบ เพื่อแจกจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่ง เบื้องต้น จะเริ่มแจกใน 3 ตลาดหลัก คือ ลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่งาน WTM, กรุงสตอกโฮม เพื่อเจาะลูกค้ากลุ่มสแกนดิเนเวีย และ สิงคโปร์
“บัตรดังกล่าวจะใช้เป็นส่วนลด 5-50% เมื่อใช้จ่าย ในโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา สนามกอล์ฟ ห้างสรรพสินค้า และ ดิวตี้ฟรี เป็นต้น จุดประสงค์เพื่อต้องการเก็บข้อมูลของนักท่องเที่ยว ในแต่ละประเทศ ว่า มีพฤติกรรมทางการท่องเที่ยวอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนการตลาดในปีต่อๆ ไป และที่สำคัญยังเป็นบัตรที่จะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสนใจที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น”
เอกชนเบรก ททท.ฝันเป้ารายได้
จากแผนงานดังกล่าวทั้งหมด ในมุมมองภาคเอกชน ได้แสดงความคิดเห็น โดย นายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวว่า บัตร อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ แวลู การ์ด เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องการให้ ททท.เตรียมความพร้อมให้สมบูรณ์ โดยมีการติดต่อทำความเข้าใจกับ โรงแรม ร้านค้าให้เสร็จสิ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถนำบัตรมาใช้เป็นส่วนลดได้จริง มิเช่นนั้น จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะที่ผ่านมา ทั้งบัตรคูปอง อะเมซิ่งไทยแลนด์แกรนด์เซล ที่ ททท.ได้ทำมาแล้ว ก็ถูกต่อว่าจากนักท่องเที่ยว ว่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามโฆษณา แม้กระทั่งบัตรอีลิทการ์ด ก็มีปัญหาเช่นกัน
นอกจากนั้น ในส่วนของเป้าหมายรายได้นักท่องเที่ยว ที่ ททท.ตั้งไว้ว่า ปี 2552 ตลาดต่างประเทศ จะมีรายได้เติบโตจากปีนี้ 10% หรือมีรายได้รวมประมาณ 6.6 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อคำนวณกลับไปเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางมาไทยประมาณ 17 ล้านคน ส่วนรายได้ตลาดในประเทศจะเติบโต จากปีนี้ราว 5% หรือเกิดรายได้เป็นเงินหมุนเวียนที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้น้อยมาก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ซึ่งปีนี้เริ่มเห็นแววว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 15.7 ล้านคน เงินสะพัด 6 แสนล้านบาท เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และปัญหาราคาน้ำมันแพง ที่อาจทำให้ตลาดระยะไกลชะลอการเดินทางท่องเที่ยว เพราะต้องนำเงินที่ใช้ในการท่องเที่ยวมาใช้จ่ายซื้อสินค้าประจำวันที่มีราคาแพงขึ้น ดังนั้นอาจปรับเป็นเดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้แทน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เกิดวิกฤตซับไพรม์
ส่วนตลาดในประเทศภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเป็นปัญหาเศรษฐกิจของคนไทย มองว่า ททท.ควรร่วมกับเอกชนจัดแพกเกจท่องเที่ยวในราคาที่ประชาชนสามารถจับจ่ายได้จริง มานำเสนอขาย อย่าใช้คำว่า “เที่ยวเพื่อชาติ”