กระทรวงท่องเที่ยวฯ เล็งโหมตลาดพยาบาล รับคนไข้ต่างชาติแห่รักษาตัวไทย ดึงเอกชนร่วมถกความเห็น ทุกฝ่ายเห็นชอบ พร้อมข้อเสนอหลากหลาย
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายที่จะผลักดันการรักษาพยาบาลของไทยให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและคนไข้ต่างชาติให้เข้ามารักษาตัวในไทยมากขึ้น เช่น การลดขั้นตอนที่สะดวกขึ้น หรือร่วมกับสถานประกอบการอื่น เช่น รีสอร์ต เพื่อกระจายการเข้าพักได้
ทั้งนี้ ได้มีการเชิญผู้ประกอบการโรงพยาบาลเข้ามาร่วมประชุมนำเสนอความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยและมีข้อเสนอแนะที่หลากหลาย โดยกระทรวงตั้งใจที่จะโปรโมตในตลาดกลุ่มระดับบนที่มีค่าใช้จ่ายและมีกำลังซื้อสูง เพื่อที่จะได้เพิ่มเวลาพำนักในเมืองไทยเป็นการสร้างรายเพิ่มได้ด้วย
สำหรับความเห็นจากกลุ่มโรงพยาบาล เช่น นายนิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวว่า ปัจจุบันสมิติเวชมีสัดส่วนลูกค้าผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มารักษาตัวประมาณ 40% ของคนไข้รวมทั้งหมด ซึ่งต้องการที่จะให้ภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริมด้วยมาตรการต่างๆ มากขึ้น โดยให้มีหน่วยงานเพียงหน่วยเดียวที่รับผิดชอบ เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้นและใกล้ชิดขึ้น
“ชาวต่างชาติมักนิยมมารักษาพยาบาลในไทย เพราะว่าที่ประเทศเขาราคาแพงไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา ดังนั้นตลาดคนระดับกลางจำนวนมากก็จะมารักษาที่ไทยมากขึ้น”
ขณะที่ นายสุรพงษ์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ โรงพยาบาลพญาไท กล่าวว่า ที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้ปรับระบบการบริการ อุปกรณ์ภายในโรงพยาบาล ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือต่างๆ เพื่อรองรับตลาดคนต่างชาติที่มารักษาตัวในไทย และยังเตรียมล่ามไว้กว่า 20 ภาษา เพื่อให้บริการในการสื่อสารระหว่างคนไข้กับโรงพยาบาล แม้ว่าจะเพิ่มเริ่มต้นเพียง 3 ปีเศษในการรุกตลาดนี้ แต่ได้รับผลตอบรับที่ดี มีการเติบโตค่อนข้างสูง จากตอนแรกๆมีรายได้ตรงนี้ประมาณ 5-6 ล้านบาทเท่านั้น แต่ปีนี้คาดว่าจะมีรายได้จากส่วนนี้มากกว่า 300 ล้านบาท
สำหรับตัวแทนจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐจัดทำวีซ่าโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนต่างชาติที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในไทย เพื่อสร้างความสะดวกในการเดินทางและใช้บริการ อีกทั้งต้องให้มีการร่วมมือและประสานงานกันระหว่างภาครัฐของแต่ละประเทศ และต้องมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้อย่างชัดเจน มีงบประมาณจากภาครัฐชัดเจน ในการผลักดันการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศต่อไป
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายที่จะผลักดันการรักษาพยาบาลของไทยให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและคนไข้ต่างชาติให้เข้ามารักษาตัวในไทยมากขึ้น เช่น การลดขั้นตอนที่สะดวกขึ้น หรือร่วมกับสถานประกอบการอื่น เช่น รีสอร์ต เพื่อกระจายการเข้าพักได้
ทั้งนี้ ได้มีการเชิญผู้ประกอบการโรงพยาบาลเข้ามาร่วมประชุมนำเสนอความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยและมีข้อเสนอแนะที่หลากหลาย โดยกระทรวงตั้งใจที่จะโปรโมตในตลาดกลุ่มระดับบนที่มีค่าใช้จ่ายและมีกำลังซื้อสูง เพื่อที่จะได้เพิ่มเวลาพำนักในเมืองไทยเป็นการสร้างรายเพิ่มได้ด้วย
สำหรับความเห็นจากกลุ่มโรงพยาบาล เช่น นายนิธิวัฒน์ กิจศรีอุไร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวว่า ปัจจุบันสมิติเวชมีสัดส่วนลูกค้าผู้ป่วยชาวต่างชาติที่มารักษาตัวประมาณ 40% ของคนไข้รวมทั้งหมด ซึ่งต้องการที่จะให้ภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริมด้วยมาตรการต่างๆ มากขึ้น โดยให้มีหน่วยงานเพียงหน่วยเดียวที่รับผิดชอบ เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้นและใกล้ชิดขึ้น
“ชาวต่างชาติมักนิยมมารักษาพยาบาลในไทย เพราะว่าที่ประเทศเขาราคาแพงไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา ดังนั้นตลาดคนระดับกลางจำนวนมากก็จะมารักษาที่ไทยมากขึ้น”
ขณะที่ นายสุรพงษ์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ โรงพยาบาลพญาไท กล่าวว่า ที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้ปรับระบบการบริการ อุปกรณ์ภายในโรงพยาบาล ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือต่างๆ เพื่อรองรับตลาดคนต่างชาติที่มารักษาตัวในไทย และยังเตรียมล่ามไว้กว่า 20 ภาษา เพื่อให้บริการในการสื่อสารระหว่างคนไข้กับโรงพยาบาล แม้ว่าจะเพิ่มเริ่มต้นเพียง 3 ปีเศษในการรุกตลาดนี้ แต่ได้รับผลตอบรับที่ดี มีการเติบโตค่อนข้างสูง จากตอนแรกๆมีรายได้ตรงนี้ประมาณ 5-6 ล้านบาทเท่านั้น แต่ปีนี้คาดว่าจะมีรายได้จากส่วนนี้มากกว่า 300 ล้านบาท
สำหรับตัวแทนจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐจัดทำวีซ่าโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคนต่างชาติที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในไทย เพื่อสร้างความสะดวกในการเดินทางและใช้บริการ อีกทั้งต้องให้มีการร่วมมือและประสานงานกันระหว่างภาครัฐของแต่ละประเทศ และต้องมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้อย่างชัดเจน มีงบประมาณจากภาครัฐชัดเจน ในการผลักดันการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศต่อไป