เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอ กับโฆษณาชวนเชื่อ 6 บริษัทอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ ประกาศความร่วมมือแสดงความรับผิดชอบ ไม่มีการโฆษณาต่อกลุ่มเป้าหมายนี้ หวังผลในอนาคต โฆษณาชวนเชื่อจะเปลี่ยนไป เน้นสื่อสารไปยังผู้ปกครองแทน
นายอาร์ชวัส เจริญศิลป์ ตัวแทนจาก 6 บริษัทชั้นนำด้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด, เคลล็อก (ประเทศไทย) จำกัด, มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์, เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, เป็บซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และ ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ทั้ง 6 บริษัท ได้ทำการตกลงร่วมกันสนับสนุนนโยบายการโฆษณาด้วยความรับผิดชอบในประเทศไทย (Thai Pledge)
โดยตามข้อตกลงดังกล่าว บริษัทพันธมิตรทั้ง 6 จะไม่โฆษณาอาหารหรือเครื่องดื่มกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เว้นแต่ผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐานโภชนาการ ซึ่งกำหนดโดยมีข้อมูลสนับสนุนด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ หรือสอดคล้องกับปริมาณอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน ที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน พันธมิตรทั้ง 6 บริษัท จะไม่จัดกิจกรรมโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โรงเรียนระดับประถมศึกษา เว้นแต่ทางโรงเรียน หรือผู้บริหารโรงเรียนจะร้องขอหรือเห็นชอบให้จัด ทั้งนี้ ทั้ง 6 บริษัท ยังจะติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน โดยจะมอบหมายให้หน่วยงานอิสระ คือ สมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย ร่วมดำเนินการตรวจสอบ และมีบทลงโทษรองรับไว้แล้วด้วย หากมีการละเมิดที่จะโฆษณาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ขึ้นในสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยระหว่างนี้อยู่ในช่วงการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อม สู่นโยบายและข้อตกลงครั้งนี้ร่วมกัน
“นโยบายไม่โฆษณาอาหาร เครื่องดื่มกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีครั้งนี้ เนื่องจากต้องการสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กเพื่อการบริโภคที่ถูกต้อง ในภาวะที่สื่อโฆษณาในปัจจุบันเข้าถึงได้ง่าย และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอ”
ทั้งนี้ คาดว่า นโยบายดังกล่าวจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมมากมายในอนาคต เพราะปัจจุบันได้มีการเจรจาพูดคุยไปยังบริษัทบ้างแล้ว ซึ่งหากมีผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศสนใจเข้าร่วมมากยิ่งขึ้นแล้ว น่าจะช่วยปรับมาตรฐานการผลิตสื่อโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆออกได้ โดยเฉพาะโฆษณากลุ่มขนมคบเคี้ยว ที่คาดว่าจะต้องโฟกัสกลุ่มเป้าหมายเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองแทน การโฆษณาที่พบในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวในระดับต่างประเทศเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอียู ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 รวมถึงอเมริกาและแคนาดาที่ทำมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในระดับโกลบอลก็ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะไม่โฆษณาอาหารเครื่องดื่มแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีด้วย ขณะที่ไทยถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่ให้ความสำคัญและตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามแผนที่บริษัทแม่ได้ดำเนินการมาแล้วในระดับโกลบอลด้วย
นายอาร์ชวัส เจริญศิลป์ ตัวแทนจาก 6 บริษัทชั้นนำด้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด, เคลล็อก (ประเทศไทย) จำกัด, มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์, เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด, เป็บซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และ ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ทั้ง 6 บริษัท ได้ทำการตกลงร่วมกันสนับสนุนนโยบายการโฆษณาด้วยความรับผิดชอบในประเทศไทย (Thai Pledge)
โดยตามข้อตกลงดังกล่าว บริษัทพันธมิตรทั้ง 6 จะไม่โฆษณาอาหารหรือเครื่องดื่มกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เว้นแต่ผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐานโภชนาการ ซึ่งกำหนดโดยมีข้อมูลสนับสนุนด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ หรือสอดคล้องกับปริมาณอาหารที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน ที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน พันธมิตรทั้ง 6 บริษัท จะไม่จัดกิจกรรมโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โรงเรียนระดับประถมศึกษา เว้นแต่ทางโรงเรียน หรือผู้บริหารโรงเรียนจะร้องขอหรือเห็นชอบให้จัด ทั้งนี้ ทั้ง 6 บริษัท ยังจะติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงาน โดยจะมอบหมายให้หน่วยงานอิสระ คือ สมาคมธุรกิจโฆษณาแห่งประเทศไทย ร่วมดำเนินการตรวจสอบ และมีบทลงโทษรองรับไว้แล้วด้วย หากมีการละเมิดที่จะโฆษณาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ขึ้นในสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยระหว่างนี้อยู่ในช่วงการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อม สู่นโยบายและข้อตกลงครั้งนี้ร่วมกัน
“นโยบายไม่โฆษณาอาหาร เครื่องดื่มกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีครั้งนี้ เนื่องจากต้องการสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ได้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กเพื่อการบริโภคที่ถูกต้อง ในภาวะที่สื่อโฆษณาในปัจจุบันเข้าถึงได้ง่าย และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอ”
ทั้งนี้ คาดว่า นโยบายดังกล่าวจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมมากมายในอนาคต เพราะปัจจุบันได้มีการเจรจาพูดคุยไปยังบริษัทบ้างแล้ว ซึ่งหากมีผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศสนใจเข้าร่วมมากยิ่งขึ้นแล้ว น่าจะช่วยปรับมาตรฐานการผลิตสื่อโฆษณาในรูปแบบใหม่ๆออกได้ โดยเฉพาะโฆษณากลุ่มขนมคบเคี้ยว ที่คาดว่าจะต้องโฟกัสกลุ่มเป้าหมายเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองแทน การโฆษณาที่พบในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือดังกล่าวในระดับต่างประเทศเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอียู ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 รวมถึงอเมริกาและแคนาดาที่ทำมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในระดับโกลบอลก็ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะไม่โฆษณาอาหารเครื่องดื่มแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีด้วย ขณะที่ไทยถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่ให้ความสำคัญและตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งถือเป็นการดำเนินงานตามแผนที่บริษัทแม่ได้ดำเนินการมาแล้วในระดับโกลบอลด้วย