รถร่วม ขสมก.ครวญติดตั้งเอ็นจีวีไม่คุ้ม เหตุช่วยลดต้นทุนได้แค่พันบาทเท่านั้น แถมใช้เวลานานกว่าจะเติมก๊าซเสร็จ เล็งลงทุน 7 ล้าน ติดตั้งสถานีบริการภายในอู่
นายฉัตรชัย ชัยวิเศษ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกรู้ดีว่าปัจจุบันมีรถร่วม ขสมก.จำนวนเท่าไรที่ติดตั้งใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี ซึ่งหากรถคันใดติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานก็จะไม่สามารถต่อทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้ และขณะนี้รถร่วม ขสมก.ต่างประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้น ทำให้วิ่งรับผู้โดยสารได้น้อยลง จากเดิมที่เคยวิ่งวันละ 5-6 รอบ ก็เหลือเพียง 3 รอบ เพราะปริมาณก๊าซเอ็นจีวี มีไม่เพียงพอ จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้ก๊าซชนิดนี้ประมาณ 1,400-1,500 เมกะตันต่อวัน แต่ปริมาณก๊าซเอ็นจีวี ในกรุงเทพมหานครมีเพียงแค่ 700 เมกะตันต่อวันเท่านั้น
ด้าน นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก.กล่าวว่า คาดว่า ปัจจุบันมีรถร่วม ซึ่งเป็นรถบัสขนาดใหญ่ ติดตั้งระบบก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 600 คัน ซึ่งแม้จะมีรถร่วมฯ ขสมก.ติดตั้งก๊าซชนิดนี้ แต่ต้นทุนก็ลดลงเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าบำรุงรักษาชุดติดตั้งและถัง นอกจากนี้ รถร่วมฯ ยังประสบปัญหาการเติมก๊าซเอ็นจีวีที่ต้องเสียเวลานานถึงคันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการรถร่วมฯ เตรียมใช้งบประมาณ 7 ล้านบาท ติดตั้งสถานีบริการภายในอู่รถของตัวเอง
นายฉัตรชัย ชัยวิเศษ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกรู้ดีว่าปัจจุบันมีรถร่วม ขสมก.จำนวนเท่าไรที่ติดตั้งใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี ซึ่งหากรถคันใดติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานก็จะไม่สามารถต่อทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้ และขณะนี้รถร่วม ขสมก.ต่างประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้น ทำให้วิ่งรับผู้โดยสารได้น้อยลง จากเดิมที่เคยวิ่งวันละ 5-6 รอบ ก็เหลือเพียง 3 รอบ เพราะปริมาณก๊าซเอ็นจีวี มีไม่เพียงพอ จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้ก๊าซชนิดนี้ประมาณ 1,400-1,500 เมกะตันต่อวัน แต่ปริมาณก๊าซเอ็นจีวี ในกรุงเทพมหานครมีเพียงแค่ 700 เมกะตันต่อวันเท่านั้น
ด้าน นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานชมรมรถร่วม ขสมก.กล่าวว่า คาดว่า ปัจจุบันมีรถร่วม ซึ่งเป็นรถบัสขนาดใหญ่ ติดตั้งระบบก๊าซเอ็นจีวีประมาณ 600 คัน ซึ่งแม้จะมีรถร่วมฯ ขสมก.ติดตั้งก๊าซชนิดนี้ แต่ต้นทุนก็ลดลงเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าบำรุงรักษาชุดติดตั้งและถัง นอกจากนี้ รถร่วมฯ ยังประสบปัญหาการเติมก๊าซเอ็นจีวีที่ต้องเสียเวลานานถึงคันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการรถร่วมฯ เตรียมใช้งบประมาณ 7 ล้านบาท ติดตั้งสถานีบริการภายในอู่รถของตัวเอง