กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ททท.เตรียมเข็นแผนตั้ง “สมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย” เข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปั้นประเทศไทยเป็นเดสติเนชันฝึกสอนและท่องเที่ยวดำน้ำ ด้าน ททท.ปูทาง จับมือ เอ็น.ซี.ซี.เอ็กซิบิชั่น ดันงานTDEX 2008 ขึ้นชั้นอินเตอร์
นางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการฝ่ายตลาดต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนโยบายการจัดตั้งสมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ล่าสุด ที่หารือกับภาคเอกชน และสมาคมดำน้ำที่มีอยู่ในประเทศไทย พบว่า ดำน้ำเป็นกิจกรรมสันทนาการ ไม่จัดอยู่ในกลุ่มของกีฬา จึงไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้เพราะไม่มีหน่วยงานเข้ามารองรับ
ดังนั้น จึงเตรียมนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ขอแนวคิดในการจัดตั้งสมาคมดังกล่าวขึ้นมา และถือเป็นการจัดระเบียนให้แก่ธุรกิจสอนดำน้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ถูกต้อง มีแนวทางการทำงานเป็นหนึ่งเดียว และยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ด้วยการเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาติดำน้ำ เพราะปัจจุบันสถาบันฝึกสอนดำน้ำในประเทศไทย ที่ออกใบรับรอง จะมาจากอเมริกา และ ยุโรป เป็นหลัก เช่น NAVI, CMAS และ PADI
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาเรียนหลักสูตรดำน้ำ จะมีค่าใช้จ่าย 3,000-10,000 บาทต่อคน เพราะผู้สอนต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องใบรับรองที่ออกให้แก่ผู้เรียน หากประเทศไทยมีสมาคมดังกล่าว ก็จะทำให้เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน เพราะค่าใช้จ่ายของประเทศไทยจะถูกกว่าประเทศออสเตรเลีย และสิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมดำเนินการ คือ การฝึกบุคลากรระดับสตาฟให้ขึ้นไปเป็นครูฝึกระดับไดรฟ์มาสเตอร์ เพื่อให้เงินตราตกอยู่ในประเทศไทยให้มากที่สุด เพราะปัจจุบันไดรฟ์มาสเตอร์ที่มีอยู่ตามโรงเรียนสอนดำน้ำจะเป็นต่างชาติ เพราะคนไทยติดปัญหาเรื่องภาษาตรงนี้จึงมีความสำคัญมาก การพัฒนาบุคลากรตรงนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้ดูแล
นางจุฑาพร กล่าวอีกว่า ททท.ได้ร่วมสนับสนุนบริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด จัดงาน “มหากรรมธุรกิจท่องเที่ยวและดำน้ำแห่งประเทศไทย 2551” หรือ Thailand Travel & Dive Expo 2008 (TDEX 2008) โดยปีนี้ ททท.ได้ผลักดันให้งานดังกล่าว ยกระดับเป็นงานอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้น ด้วยการเชิญ บายเออร์ (ผู้ซื้อ) และ สื่อมวลชน เข้ามาร่วมงานด้วย เช่น ประเทศฮ่องกง ไทเป ญี่ปุ่น ปักกิ่ง (จีน) เซี่ยงไฮ้ (จีน) สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอีกหลายประเทศในกลุ่มยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา และ รัสเซีย
ทั้งนี้ เพราะต้องการประกาศศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวดำน้ำในประเทศไทยขึ้นสู่เวทีระดับสากล เนื่องจากสถิติที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งเดสติเนชันของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดำน้ำ และยังเป็นแหล่งสอนดำน้ำ ที่ต่างชาติรู้จักค่อนข้างแพร่หลาย ขณะที่งาน TDEX ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จะเจาะเฉพาะตลาดโดเมสติก (ในประเทศ) เป็นส่วนใหญ่
โดยจะมีบายเออร์ ประมาณ 30 ราย และสื่อมวลชนต่างประเทศ 21 ราย เดินทางเข้ามาชมงานนี้ เพื่อจะได้พบปะกับผู้ขายในประเทศไทย ซึ่งงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 พ.ค.2551 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่ง ททท.ได้จัดแฟมทริปเส้นทางดำน้ำ พาสื่อมวลชน และ บายเออร์ ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ ได้ไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของจริง นอกจากนั้น ยังทำ วีซีดี แหล่งท่องเที่ยวดำน้ำทั้งหมดในประเทศไทย แจกจ่ายให้บายเออร์ และ สื่อต่างประเทศด้วย โดยในวีซีดีดังกล่าว ยังแนะนำถึงอนุสรณ์สึนามิใต้น้ำ บริเวณเกาะพีพี และ ฝูงบินประการังใต้น้ำ ที่ กองทัพอากาศ ททท.ภาคใต้ และ จ.กระบี่ ร่วมกันจัดทำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำแห่งใหม่ อีกด้วย
“งานนี้ ททท.ตั้งความหวังว่า จะจัดให้ยิ่งใหญ่เทียบชั้นหรือมากกว่างาน ADEX ของประเทศสิงคโปร์ เพื่อต้องการตอกย้ำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวดำน้ำ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอบโจทย์นโยบายของ ททท.ได้เนื่องจากตลาดนี้จัดเป็นนักท่องเที่ยวระดับบน มีการใช้จ่ายสูงต่อทริป เฉลี่ยที่ 1 แสนบาท” นางจุฑาพร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ตั้งเป้าหมายจะมีผู้เข้าชมงาน TDEX ประมาณ 1.5 แสนคน เพิ่มเกือบ 50% จากปีก่อนที่มีผู้เข้าชมงานราว 1 แสนคน เกิดการซื้อขายมีเงินสะพัดภายในงานไม่น้อยกว่า 250 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีเงินสะพัดราว 200 ล้านบาท
นางจุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการฝ่ายตลาดต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนโยบายการจัดตั้งสมาคมดำน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นแนวคิดของ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ล่าสุด ที่หารือกับภาคเอกชน และสมาคมดำน้ำที่มีอยู่ในประเทศไทย พบว่า ดำน้ำเป็นกิจกรรมสันทนาการ ไม่จัดอยู่ในกลุ่มของกีฬา จึงไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้เพราะไม่มีหน่วยงานเข้ามารองรับ
ดังนั้น จึงเตรียมนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ขอแนวคิดในการจัดตั้งสมาคมดังกล่าวขึ้นมา และถือเป็นการจัดระเบียนให้แก่ธุรกิจสอนดำน้ำที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ถูกต้อง มีแนวทางการทำงานเป็นหนึ่งเดียว และยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ด้วยการเป็นหน่วยงานออกใบอนุญาติดำน้ำ เพราะปัจจุบันสถาบันฝึกสอนดำน้ำในประเทศไทย ที่ออกใบรับรอง จะมาจากอเมริกา และ ยุโรป เป็นหลัก เช่น NAVI, CMAS และ PADI
ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาเรียนหลักสูตรดำน้ำ จะมีค่าใช้จ่าย 3,000-10,000 บาทต่อคน เพราะผู้สอนต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องใบรับรองที่ออกให้แก่ผู้เรียน หากประเทศไทยมีสมาคมดังกล่าว ก็จะทำให้เงินไม่รั่วไหลไปต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน เพราะค่าใช้จ่ายของประเทศไทยจะถูกกว่าประเทศออสเตรเลีย และสิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมดำเนินการ คือ การฝึกบุคลากรระดับสตาฟให้ขึ้นไปเป็นครูฝึกระดับไดรฟ์มาสเตอร์ เพื่อให้เงินตราตกอยู่ในประเทศไทยให้มากที่สุด เพราะปัจจุบันไดรฟ์มาสเตอร์ที่มีอยู่ตามโรงเรียนสอนดำน้ำจะเป็นต่างชาติ เพราะคนไทยติดปัญหาเรื่องภาษาตรงนี้จึงมีความสำคัญมาก การพัฒนาบุคลากรตรงนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวจะเป็นผู้ดูแล
นางจุฑาพร กล่าวอีกว่า ททท.ได้ร่วมสนับสนุนบริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด จัดงาน “มหากรรมธุรกิจท่องเที่ยวและดำน้ำแห่งประเทศไทย 2551” หรือ Thailand Travel & Dive Expo 2008 (TDEX 2008) โดยปีนี้ ททท.ได้ผลักดันให้งานดังกล่าว ยกระดับเป็นงานอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้น ด้วยการเชิญ บายเออร์ (ผู้ซื้อ) และ สื่อมวลชน เข้ามาร่วมงานด้วย เช่น ประเทศฮ่องกง ไทเป ญี่ปุ่น ปักกิ่ง (จีน) เซี่ยงไฮ้ (จีน) สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอีกหลายประเทศในกลุ่มยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกา และ รัสเซีย
ทั้งนี้ เพราะต้องการประกาศศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวดำน้ำในประเทศไทยขึ้นสู่เวทีระดับสากล เนื่องจากสถิติที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งเดสติเนชันของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการดำน้ำ และยังเป็นแหล่งสอนดำน้ำ ที่ต่างชาติรู้จักค่อนข้างแพร่หลาย ขณะที่งาน TDEX ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จะเจาะเฉพาะตลาดโดเมสติก (ในประเทศ) เป็นส่วนใหญ่
โดยจะมีบายเออร์ ประมาณ 30 ราย และสื่อมวลชนต่างประเทศ 21 ราย เดินทางเข้ามาชมงานนี้ เพื่อจะได้พบปะกับผู้ขายในประเทศไทย ซึ่งงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 พ.ค.2551 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่ง ททท.ได้จัดแฟมทริปเส้นทางดำน้ำ พาสื่อมวลชน และ บายเออร์ ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ ได้ไปสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของจริง นอกจากนั้น ยังทำ วีซีดี แหล่งท่องเที่ยวดำน้ำทั้งหมดในประเทศไทย แจกจ่ายให้บายเออร์ และ สื่อต่างประเทศด้วย โดยในวีซีดีดังกล่าว ยังแนะนำถึงอนุสรณ์สึนามิใต้น้ำ บริเวณเกาะพีพี และ ฝูงบินประการังใต้น้ำ ที่ กองทัพอากาศ ททท.ภาคใต้ และ จ.กระบี่ ร่วมกันจัดทำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำแห่งใหม่ อีกด้วย
“งานนี้ ททท.ตั้งความหวังว่า จะจัดให้ยิ่งใหญ่เทียบชั้นหรือมากกว่างาน ADEX ของประเทศสิงคโปร์ เพื่อต้องการตอกย้ำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวดำน้ำ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอบโจทย์นโยบายของ ททท.ได้เนื่องจากตลาดนี้จัดเป็นนักท่องเที่ยวระดับบน มีการใช้จ่ายสูงต่อทริป เฉลี่ยที่ 1 แสนบาท” นางจุฑาพร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ตั้งเป้าหมายจะมีผู้เข้าชมงาน TDEX ประมาณ 1.5 แสนคน เพิ่มเกือบ 50% จากปีก่อนที่มีผู้เข้าชมงานราว 1 แสนคน เกิดการซื้อขายมีเงินสะพัดภายในงานไม่น้อยกว่า 250 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีเงินสะพัดราว 200 ล้านบาท