รมช.พาณิชย์ เตรียมเปลี่ยนการบริหารตลาดผลไม้ไทย แก้ปัญหาราคาตกต่ำ เพราะเป็นสิค้าเน่าเสียง่าย โดยจะเร่งผลักดันการส่งออก 80%
วันนี้ (2 พ.ค.) นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมแผนเพื่อเปลี่ยนแนวการบริหารกาตลาดผลไม้ไทยทั้งหมด ที่กำลังจะออกสู่ตลาดช่วงนี้ ทั้งลำไย มังคุด ทุเรียน และเงาะ โดยจะมีการผลักดันให้มีการส่งออกให้มากที่สุด และบริโภคภายในประเทศให้น้อยลง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกร แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ โดยจะเริ่มจากลำไยที่คาดว่า จะมีผลผลิตออกมาประมาณ 4.36 แสนตันภายในปีนี้
"เราจะผลักดันให้มีการส่งออกให้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เหลือบริโภคภายในประเทศ 25-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขณะนี้ต่างประเทศมีคำสั่งซื้อลำไยเข้ามาเกือบ 4 แสนตัน "
โดยในวันนี้ รมว.พาณิชย์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ไปต่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบกระบวนการ สถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ในการส่งออกผักและผลไม้ไทยเพื่อนำมาพิจารณาแก้ไข หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
นายวิรุฬ กล่าวว่า การเดินทางเข้าเยี่ยมชมกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ครั้งนี้ ตนเองจะได้นำข้อเสนอแนะมาพิจารณาแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกผักและผลไม้ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
**เกษตรฯ ชิงตั้งวอร์รูม-อัดงบ 250 ล.
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ว่า ปีการผลิต 2551 จะมีผลผลิตผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ ออกสู่ตลาดรวมทั่วประ เทศประมาณ 2,143,807 ตัน แม้ว่ามีสถิติผลผลิตเฉลี่ยจะลดลงจากปีก่อน 3.08 % แต่การที่ผลผลิตออกมาพร้อมๆกันในเดือนพ.ค.-ส.ค. ที่จะมีถึง 802,000 ตัน อาจทำให้ประสบปัญหาด้านราคาได้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อนุมัติเงิน 250.25 ล้านบาท สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้วิสาหกิจชุมชน ดอกเบี้ย 1% ระบายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 85 ล้านบาท เงินจ่ายขาด 165.25 ล้านบาท ในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด และค่าการตลาด ภายใต้ 5 มาตรการหลักคือ การบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต เร่งรัดกระจายผล ผลิตในประเทศ การผลักดันการส่งออก การส่งเสริมการแปรรูป และมาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทย พร้อมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี"51 หรือวอร์รูม ขึ้นที่สำนัก งานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมีเกษตรจังหวัดจันทบุรีเป็นหัวหน้าศูนย์
วันนี้ (2 พ.ค.) นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ ได้จัดเตรียมแผนเพื่อเปลี่ยนแนวการบริหารกาตลาดผลไม้ไทยทั้งหมด ที่กำลังจะออกสู่ตลาดช่วงนี้ ทั้งลำไย มังคุด ทุเรียน และเงาะ โดยจะมีการผลักดันให้มีการส่งออกให้มากที่สุด และบริโภคภายในประเทศให้น้อยลง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกร แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ โดยจะเริ่มจากลำไยที่คาดว่า จะมีผลผลิตออกมาประมาณ 4.36 แสนตันภายในปีนี้
"เราจะผลักดันให้มีการส่งออกให้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เหลือบริโภคภายในประเทศ 25-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากขณะนี้ต่างประเทศมีคำสั่งซื้อลำไยเข้ามาเกือบ 4 แสนตัน "
โดยในวันนี้ รมว.พาณิชย์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ไปต่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบกระบวนการ สถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ในการส่งออกผักและผลไม้ไทยเพื่อนำมาพิจารณาแก้ไข หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
นายวิรุฬ กล่าวว่า การเดินทางเข้าเยี่ยมชมกระบวนการส่งออกผักและผลไม้ครั้งนี้ ตนเองจะได้นำข้อเสนอแนะมาพิจารณาแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกผักและผลไม้ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
**เกษตรฯ ชิงตั้งวอร์รูม-อัดงบ 250 ล.
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ว่า ปีการผลิต 2551 จะมีผลผลิตผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย และลิ้นจี่ ออกสู่ตลาดรวมทั่วประ เทศประมาณ 2,143,807 ตัน แม้ว่ามีสถิติผลผลิตเฉลี่ยจะลดลงจากปีก่อน 3.08 % แต่การที่ผลผลิตออกมาพร้อมๆกันในเดือนพ.ค.-ส.ค. ที่จะมีถึง 802,000 ตัน อาจทำให้ประสบปัญหาด้านราคาได้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อนุมัติเงิน 250.25 ล้านบาท สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้วิสาหกิจชุมชน ดอกเบี้ย 1% ระบายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 85 ล้านบาท เงินจ่ายขาด 165.25 ล้านบาท ในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด และค่าการตลาด ภายใต้ 5 มาตรการหลักคือ การบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต เร่งรัดกระจายผล ผลิตในประเทศ การผลักดันการส่งออก การส่งเสริมการแปรรูป และมาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทย พร้อมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี"51 หรือวอร์รูม ขึ้นที่สำนัก งานเกษตรจังหวัดจันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมีเกษตรจังหวัดจันทบุรีเป็นหัวหน้าศูนย์