จับตา ศึกช้างชนช้าง มวยคู่ระหว่าง ช่องเอ็นบีทีช่องไทยพีบีเอส งานนี้ปะทะกันเห็นๆ ภายใต้การกุมทัพของ “จักรภพ เพ็ญแข - เทพชัย หย่อง”
ปีนี้ถือเป็นปีที่ทุกคนและทุกฝ่าย ให้ความสนใจกับสื่อเป็นอย่างยิ่ง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก การผลักดันให้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เกิดขึ้น ขณะเดียวกันกระแสหนึ่งที่สร้างความสนใจต่อวงการสื่อสารมวลชนปีนี้ คือ การจัดตั้ง “องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย” ขึ้นอย่างฉุกละหุก ในสายตาคนทั่วไป เกิดขึ้นหลังจากที่พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมๆกับการรีแบรนด์ช่อง 11 ครั้งใหญ่ ตามมาติดๆ
การเกิดขึ้นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภายหลังจากการที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต้องปิดตัวลง และยังใช้ที่ตั้งของสถานีดังกล่าว เป็นที่ตั้งใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในนาม สถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส หรือทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (ทีพีบีเอส) ในเวลาต่อมา ส่งผลให้มีทั้งกลุ่มที่เข้าใจ และไม่เข้าใจ โดยเฉพาะกับรัฐบาลชุดใหม่ ที่ดูเหมือนหลังจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยก็เปิดศึกขอควบคุมสื่อทันที ซึ่งเจาะจงที่จะเข้ามาดูแล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะรับรู้แล้วว่า รัฐไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงหรือควบคุม องค์การทีวีสาธารณะครั้งนี้ได้ เพราะพระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2551 ได้กำหนดไว้ ทำให้รัฐบาลหน้าแตกเลยทีเดียว
ดังนั้น อาวุธใหม่ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ภายใต้การดูแลของ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็คือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 เพราะรัฐบาลเลือกที่จะปั้นใหม่ เพื่อสู้กับ ทีวีไทย ณ เวลานี้
สำหรับช่อง 11 ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ถูกมองเป็นสื่อทีวีที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร ทั้งที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบครัน ซึ่งหลังจากที่นายกรัฐมนตรี ประกาศเลือกช่อง 11 ขึ้นมาสู้กับไทยพีบีเอสด้วยการวางรูปแบบช่องใหม่เหมือนไทยพีบีเอสแทบจะทุกประการ ด้วยการขอเป็นสถานีโทรทัศน์รูปแบบทีวีสาธารณะอีกช่อง ชูเนื้อหารายการประเภทข่าวเข้าสู้ ภายใต้การกำกับดูแลจากนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรับมนตรี ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญทั้งของช่อง 11 และของรัฐบาลที่พยายามแสดงเจตจำนงว่า จะไม่เข้ามาแทรกแซงสื่อ ภายใต้การจับตาดูจากประชาชนทุกฝ่าย
แน่นอนว่า ความเป็นทีวีสาธารณะ ตามที่ พรบ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กำหนดขึ้นนั้น เพื่อต้องการให้เป็นองค์กรอิสระในการนำเสนอข่าวมูลข่าวสารด้วยความเป็นกลาง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งความตั้งใจของรัฐบาลที่จะเข้ามาดูแลนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน ซึ่งการที่ช่อง 11 จะขอเปลี่ยนตัวเองเป็นทีวีสาธารณะอีกช่อง ก็ต้องมารอดูกันว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้ความหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาล
ทั้งนี้ในวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาร่วมประชุม และมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน ณ กรมประชาสัมพันธ์ อย่างเป็นทางการ โดยมีนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกเด้งในภายหลัง และคณะผู้บริหาร กรมประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและรับฟังนโยบาย ซึ่งมีอยู่หลายข้อ โดยทุกข้อล้วนแต่อยู่ในวัตถุประสงค์หลักตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ซึ่งได้กล่าวถึงกรณีของ ช่อง 11 ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ไว้ว่า
“ทางด้านของช่อง 11 ตามที่เสนอปัญหามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนบุคลากรที่มีน้อย การติดขัดในเรื่องการเบิกจ่าย หรือสั่งซื้ออุปกรณ์ที่ยังมีความล่าช้า มองว่าต้องมาดูกันว่าทิศทางต่อไปของช่อง 11 จะเป็นเช่นไรก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะแก้ไขได้ ทั้งนี้ตนมองว่า ต้องการให้ช่อง11 เป็นอีก 1 ช่องที่มีความเป็นทีวีสาธารณะ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากยิ่งขึ้น จึงมองว่าเบื้องต้นควรที่พยายามทำให้อีก 12 สถานีของช่อง 11 ที่มีอยู่ทั่วประเทศ มีการทำงานเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือให้มีความเป็นเนชั่นไวด์ ภายใต้นโยบายช่อง 11 แห่งชาติ โดยยึดเอาการออกอากาศตามช่อง 11 กรุงเทพฯเป็นหลัก อีกทั้งจะผลักดันให้ทางช่อง 11 มีฝ่ายข่าวขึ้นเป็นของตัวเอง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ”
ทั้งนี้นโยบายหลักที่มอบให้ทางช่อง 11 อย่างเป็นทางการ มีอยู่ 9 ข้อ คือ1.ควรพัฒนาช่อง 11 สู่ความเป็นโทรทัศน์สาธารณะ โดยต้องเร่งแก้เชิงระบบการทำงานก่อน 2.ต้องมีอิทธิพลทางบวก แก่ผู้รับสารทั่วประเทศ 3.การประเมินสถานีย่อยสู่สถานีหลัก 4.หารสร้างรูปแบบสร้างสรรค์ของการถ่ายทอดสดให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น 5.การพัฒนาสู่ความเป็นดิจิตอลอย่างสมบูรณ์ 6.เตรียมตัวนำสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ สู่ระบบ ไว-แมกซ์ 7.พัฒนาดูแลบุคลากรต่างๆสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น 8.พัฒนารูปแบบสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับหน่วยงานอื่นๆ และ9.การฟื้นฟูฝ่ายข่าว และสนับสนุนสถานี
ล่าสุดในวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ช่อง 11 ก็ได้มีการจัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับผังรายการใหม่ และโลโก้ใหม่ ภายใต้ความเป็นทีวีสาธารณะตามที่ตั้งใจไว้ โดยวันดังกล่าว นายจักรภพ ได้กล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นนโยบายหนึ่งที่ทางรัฐบาลได้แถลงเอาไว้ในข้อ 8.3 โดยได้พิจารณาเลือกช่อง 11 ขึ้นมา เนื่องจากพบว่า มีอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆครบครันอยู่แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ จะทำให้ช่อง 11 กลายเป็นทีวีสาธารณะ ชูเรื่องข่าวเป็นจุดขาย มีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวสารและรายการต่างๆ โดยไม่ถูกรัฐบาลควบคุม และเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีคุณค่าอีกช่องหนึ่งของประเทศ หลังจากเดิมถูกมองเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนก็ตาม
สำหรับกลุ่มรายการต่างๆที่ไม่ใช่รายการข่าว ตนจะมีการเชิญผู้จัดรายการเดิมเข้ามาร่วมสนทนากันก่อน เพื่อชี้ให้เห็นถึงนโยบายใหม่ของทาง NBT พร้อมผลักดันให้ผู้จัดเหล่านี้พัฒนารายการขึ้นมาภายใต้นโยบายที่วางไว้ พร้อมทั้งพิจารณาให้ผู้จัดรายอื่นเข้ามานำเสนอรายการด้วย นอกจากนี้มองว่าเวลาหลังเที่ยงคืน จะมีการพัฒนาให้มีรายการต่างๆสำหรับกลุ่มคนนอนดึกอีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้จะทำให้ NBT มีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น จากเดิมที่ถูกมองเป็นทีวีสำหรับผู้ใหญ่ สำหรับข้าราชการเท่านั้น
ส่วนเรื่องโฆษณา เนื่องจากเดิมช่อง 11 เดิมเป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไร การที่จะมีโฆษณาได้ จึงมองว่าขอให้เป็นในรูปแบบโฆษณาในลักษณะองค์กรมากกว่าการค้า ซึ่งอาจจะมีการเชิญคนในวงการโฆษณาเข้ามาพูดคุยกัน ว่าจะมีทางใดบ้างที่จะผลิตชิ้นงานโฆษณาเชิงภาพลักษณ์องค์กรที่ดีออกมาได้ โดยตนอยากให้มีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวมากกว่า หรือแปลงเป็นสารคดีสั้นๆเกี่ยวกับสังคมก็ได้ หรือจะเป็นโฆษณาในลักษณะสปอนเซอร์ โดยท้ายรายการจะมีการขึ้นโลโก้เพื่อขอบคุณ
ทั้งนี้ทางด้านไทยพีบีเอส ก็ได้เลือกเอาวันที่ 1 เม.ย. ที่ทางช่อง 11 จะเริ่มออกอากาศตามผังรายการใหม่ เป็นวันแถลงข่าวผังรายการ ประจำเดือนเม.ย.จนถึงพ.ค.บางรายการด้วย จึงดูเหมือนเป็นการประกาศศึกชัดเจนของทางไทยพีบีเอส ถึงแม้ว่านายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส จะเลี่ยงว่า ไม่ได้เป็นการประกาศศึกก็ตาม
แน่นอนว่า ศักดิ์ศรีความเป็นทีวีสาธารณะของ ทีวีไทย คงไม่อยู่เฉยแน่ หากมีอีกช่องขอท้าชนด้วยแล้ว ต่อไปคงต้องจับตาดูกันว่า ภายใต้ความเป็นทีวีสาธารณะเต็มตัวของทางทีวีไทย กับลูกครึ่งอย่าง เอ็นบีที ที่มีรัฐบาลหนุนหลังอยู่แบบนี้ ว่าใครจะได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแท้จริง ถึงความเป็นทีวีสาธารณะมากกว่ากัน ภายใต้การทำงานของคนข่าวคุณภาพจากทีไอทีวีเดิมของทั้ง 2 สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ที่แน่ๆคนไทยคงได้รับประโยชน์มากที่สุดในการรับชมข่าวสารที่ดี มีสาระ และเป็นกลางมากยิ่งขึ้น ในภาวะที่การเมืองยังร้อนแรงอยู่แบบนี้
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส ย้ำว่า การเปิดผังรายการใหม่ไม่ได้เป็นการเปิดศึกกับทาง สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที และไม่ได้กังวลว่าเอ็นบีทีจะมาเป็นคู่แข่งแต่อย่างไร มองเป็นเรื่องที่ดีของการแข่งขันมากกว่า ถึงแม้ว่าเอ็นบีที ประกาศตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่เชื่อว่า คำว่าทีวีสาธารณะ ประชาชนเข้าใจมากพอสมควรแล้ว เพราะในหลักการทีวีสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมจากอำนาจรัฐ ขณะที่ เอ็นบีที เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์เองก็ขึ้นตรงกับรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องดูกันที่ผลงานหน้าจอว่า จะมีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว จะดีกว่า เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว เวลาสำหรับรายการประเภทข่าวทั้งของทีวีไทย และเอ็นบีที ต่างก็ใกล้เคียงกัน
หากมองในภาพของผังรายการแล้ว การที่ ช่อง 11 เพิ่มเวลารายการข่าวจากเดิม 7 ชั่วโมงเป็น 9 ชั่งโมงครึ่งนั้นก็น่าสนใจไม่น้อยที่จะมาชนกับผังของไทยพีบีเอส
ขณะที่ผังรายการใหม่ของไทยพีบีเอสนั้น แบ่งเป็น รายการข่าว 39.85% สารคดีข่าวและวิเคราะห์ข่าว 6.63% รายการสารคดี 22.63% รายการสาระประโยชน์ 14.37% รายการเด็กและเยาวชน 6.74% และสาระบันเทิง 11.94% โดยแบ่งเป็น รายการที่ผลิตโดยสถานีฯ 54.73% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 17.64% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 24.37% และรายการจ้างผลิต 3.36%
เนื่องจากทั้งสองช่องพยายามที่จะดำรงตนในสถานะของความเป็นทีวีสาธารณะเพื่อประชาชน แต่ว่าจะใช่หรือไม่ใช่นั้น ต้องดูกันที่การกระทำ และการนำเสนอข่าวสารต่างๆ ว่าจะมีความโน้มเอียงหรือเข้าข้างรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน
ปีนี้ถือเป็นปีที่ทุกคนและทุกฝ่าย ให้ความสนใจกับสื่อเป็นอย่างยิ่ง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก การผลักดันให้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 เกิดขึ้น ขณะเดียวกันกระแสหนึ่งที่สร้างความสนใจต่อวงการสื่อสารมวลชนปีนี้ คือ การจัดตั้ง “องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย” ขึ้นอย่างฉุกละหุก ในสายตาคนทั่วไป เกิดขึ้นหลังจากที่พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมๆกับการรีแบรนด์ช่อง 11 ครั้งใหญ่ ตามมาติดๆ
การเกิดขึ้นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ภายหลังจากการที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต้องปิดตัวลง และยังใช้ที่ตั้งของสถานีดังกล่าว เป็นที่ตั้งใหม่ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ในนาม สถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพีบีเอส หรือทีวีไทย ทีวีสาธารณะ (ทีพีบีเอส) ในเวลาต่อมา ส่งผลให้มีทั้งกลุ่มที่เข้าใจ และไม่เข้าใจ โดยเฉพาะกับรัฐบาลชุดใหม่ ที่ดูเหมือนหลังจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยก็เปิดศึกขอควบคุมสื่อทันที ซึ่งเจาะจงที่จะเข้ามาดูแล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะรับรู้แล้วว่า รัฐไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงหรือควบคุม องค์การทีวีสาธารณะครั้งนี้ได้ เพราะพระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2551 ได้กำหนดไว้ ทำให้รัฐบาลหน้าแตกเลยทีเดียว
ดังนั้น อาวุธใหม่ของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ภายใต้การดูแลของ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็คือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 เพราะรัฐบาลเลือกที่จะปั้นใหม่ เพื่อสู้กับ ทีวีไทย ณ เวลานี้
สำหรับช่อง 11 ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ถูกมองเป็นสื่อทีวีที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร ทั้งที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบครัน ซึ่งหลังจากที่นายกรัฐมนตรี ประกาศเลือกช่อง 11 ขึ้นมาสู้กับไทยพีบีเอสด้วยการวางรูปแบบช่องใหม่เหมือนไทยพีบีเอสแทบจะทุกประการ ด้วยการขอเป็นสถานีโทรทัศน์รูปแบบทีวีสาธารณะอีกช่อง ชูเนื้อหารายการประเภทข่าวเข้าสู้ ภายใต้การกำกับดูแลจากนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรับมนตรี ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญทั้งของช่อง 11 และของรัฐบาลที่พยายามแสดงเจตจำนงว่า จะไม่เข้ามาแทรกแซงสื่อ ภายใต้การจับตาดูจากประชาชนทุกฝ่าย
แน่นอนว่า ความเป็นทีวีสาธารณะ ตามที่ พรบ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กำหนดขึ้นนั้น เพื่อต้องการให้เป็นองค์กรอิสระในการนำเสนอข่าวมูลข่าวสารด้วยความเป็นกลาง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งความตั้งใจของรัฐบาลที่จะเข้ามาดูแลนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน ซึ่งการที่ช่อง 11 จะขอเปลี่ยนตัวเองเป็นทีวีสาธารณะอีกช่อง ก็ต้องมารอดูกันว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้ความหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาล
ทั้งนี้ในวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาร่วมประชุม และมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน ณ กรมประชาสัมพันธ์ อย่างเป็นทางการ โดยมีนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกเด้งในภายหลัง และคณะผู้บริหาร กรมประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับและรับฟังนโยบาย ซึ่งมีอยู่หลายข้อ โดยทุกข้อล้วนแต่อยู่ในวัตถุประสงค์หลักตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ซึ่งได้กล่าวถึงกรณีของ ช่อง 11 ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ไว้ว่า
“ทางด้านของช่อง 11 ตามที่เสนอปัญหามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนบุคลากรที่มีน้อย การติดขัดในเรื่องการเบิกจ่าย หรือสั่งซื้ออุปกรณ์ที่ยังมีความล่าช้า มองว่าต้องมาดูกันว่าทิศทางต่อไปของช่อง 11 จะเป็นเช่นไรก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะแก้ไขได้ ทั้งนี้ตนมองว่า ต้องการให้ช่อง11 เป็นอีก 1 ช่องที่มีความเป็นทีวีสาธารณะ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากยิ่งขึ้น จึงมองว่าเบื้องต้นควรที่พยายามทำให้อีก 12 สถานีของช่อง 11 ที่มีอยู่ทั่วประเทศ มีการทำงานเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือให้มีความเป็นเนชั่นไวด์ ภายใต้นโยบายช่อง 11 แห่งชาติ โดยยึดเอาการออกอากาศตามช่อง 11 กรุงเทพฯเป็นหลัก อีกทั้งจะผลักดันให้ทางช่อง 11 มีฝ่ายข่าวขึ้นเป็นของตัวเอง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ”
ทั้งนี้นโยบายหลักที่มอบให้ทางช่อง 11 อย่างเป็นทางการ มีอยู่ 9 ข้อ คือ1.ควรพัฒนาช่อง 11 สู่ความเป็นโทรทัศน์สาธารณะ โดยต้องเร่งแก้เชิงระบบการทำงานก่อน 2.ต้องมีอิทธิพลทางบวก แก่ผู้รับสารทั่วประเทศ 3.การประเมินสถานีย่อยสู่สถานีหลัก 4.หารสร้างรูปแบบสร้างสรรค์ของการถ่ายทอดสดให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น 5.การพัฒนาสู่ความเป็นดิจิตอลอย่างสมบูรณ์ 6.เตรียมตัวนำสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ สู่ระบบ ไว-แมกซ์ 7.พัฒนาดูแลบุคลากรต่างๆสู่ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น 8.พัฒนารูปแบบสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับหน่วยงานอื่นๆ และ9.การฟื้นฟูฝ่ายข่าว และสนับสนุนสถานี
ล่าสุดในวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ช่อง 11 ก็ได้มีการจัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับผังรายการใหม่ และโลโก้ใหม่ ภายใต้ความเป็นทีวีสาธารณะตามที่ตั้งใจไว้ โดยวันดังกล่าว นายจักรภพ ได้กล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นนโยบายหนึ่งที่ทางรัฐบาลได้แถลงเอาไว้ในข้อ 8.3 โดยได้พิจารณาเลือกช่อง 11 ขึ้นมา เนื่องจากพบว่า มีอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆครบครันอยู่แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ จะทำให้ช่อง 11 กลายเป็นทีวีสาธารณะ ชูเรื่องข่าวเป็นจุดขาย มีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวสารและรายการต่างๆ โดยไม่ถูกรัฐบาลควบคุม และเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีคุณค่าอีกช่องหนึ่งของประเทศ หลังจากเดิมถูกมองเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล และไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนก็ตาม
สำหรับกลุ่มรายการต่างๆที่ไม่ใช่รายการข่าว ตนจะมีการเชิญผู้จัดรายการเดิมเข้ามาร่วมสนทนากันก่อน เพื่อชี้ให้เห็นถึงนโยบายใหม่ของทาง NBT พร้อมผลักดันให้ผู้จัดเหล่านี้พัฒนารายการขึ้นมาภายใต้นโยบายที่วางไว้ พร้อมทั้งพิจารณาให้ผู้จัดรายอื่นเข้ามานำเสนอรายการด้วย นอกจากนี้มองว่าเวลาหลังเที่ยงคืน จะมีการพัฒนาให้มีรายการต่างๆสำหรับกลุ่มคนนอนดึกอีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้จะทำให้ NBT มีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น จากเดิมที่ถูกมองเป็นทีวีสำหรับผู้ใหญ่ สำหรับข้าราชการเท่านั้น
ส่วนเรื่องโฆษณา เนื่องจากเดิมช่อง 11 เดิมเป็นองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไร การที่จะมีโฆษณาได้ จึงมองว่าขอให้เป็นในรูปแบบโฆษณาในลักษณะองค์กรมากกว่าการค้า ซึ่งอาจจะมีการเชิญคนในวงการโฆษณาเข้ามาพูดคุยกัน ว่าจะมีทางใดบ้างที่จะผลิตชิ้นงานโฆษณาเชิงภาพลักษณ์องค์กรที่ดีออกมาได้ โดยตนอยากให้มีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวมากกว่า หรือแปลงเป็นสารคดีสั้นๆเกี่ยวกับสังคมก็ได้ หรือจะเป็นโฆษณาในลักษณะสปอนเซอร์ โดยท้ายรายการจะมีการขึ้นโลโก้เพื่อขอบคุณ
ทั้งนี้ทางด้านไทยพีบีเอส ก็ได้เลือกเอาวันที่ 1 เม.ย. ที่ทางช่อง 11 จะเริ่มออกอากาศตามผังรายการใหม่ เป็นวันแถลงข่าวผังรายการ ประจำเดือนเม.ย.จนถึงพ.ค.บางรายการด้วย จึงดูเหมือนเป็นการประกาศศึกชัดเจนของทางไทยพีบีเอส ถึงแม้ว่านายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส จะเลี่ยงว่า ไม่ได้เป็นการประกาศศึกก็ตาม
แน่นอนว่า ศักดิ์ศรีความเป็นทีวีสาธารณะของ ทีวีไทย คงไม่อยู่เฉยแน่ หากมีอีกช่องขอท้าชนด้วยแล้ว ต่อไปคงต้องจับตาดูกันว่า ภายใต้ความเป็นทีวีสาธารณะเต็มตัวของทางทีวีไทย กับลูกครึ่งอย่าง เอ็นบีที ที่มีรัฐบาลหนุนหลังอยู่แบบนี้ ว่าใครจะได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแท้จริง ถึงความเป็นทีวีสาธารณะมากกว่ากัน ภายใต้การทำงานของคนข่าวคุณภาพจากทีไอทีวีเดิมของทั้ง 2 สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ที่แน่ๆคนไทยคงได้รับประโยชน์มากที่สุดในการรับชมข่าวสารที่ดี มีสาระ และเป็นกลางมากยิ่งขึ้น ในภาวะที่การเมืองยังร้อนแรงอยู่แบบนี้
นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ หรือไทยพีบีเอส ย้ำว่า การเปิดผังรายการใหม่ไม่ได้เป็นการเปิดศึกกับทาง สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที และไม่ได้กังวลว่าเอ็นบีทีจะมาเป็นคู่แข่งแต่อย่างไร มองเป็นเรื่องที่ดีของการแข่งขันมากกว่า ถึงแม้ว่าเอ็นบีที ประกาศตัวเป็นทีวีสาธารณะ แต่เชื่อว่า คำว่าทีวีสาธารณะ ประชาชนเข้าใจมากพอสมควรแล้ว เพราะในหลักการทีวีสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมจากอำนาจรัฐ ขณะที่ เอ็นบีที เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์เองก็ขึ้นตรงกับรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องดูกันที่ผลงานหน้าจอว่า จะมีความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว จะดีกว่า เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว เวลาสำหรับรายการประเภทข่าวทั้งของทีวีไทย และเอ็นบีที ต่างก็ใกล้เคียงกัน
หากมองในภาพของผังรายการแล้ว การที่ ช่อง 11 เพิ่มเวลารายการข่าวจากเดิม 7 ชั่วโมงเป็น 9 ชั่งโมงครึ่งนั้นก็น่าสนใจไม่น้อยที่จะมาชนกับผังของไทยพีบีเอส
ขณะที่ผังรายการใหม่ของไทยพีบีเอสนั้น แบ่งเป็น รายการข่าว 39.85% สารคดีข่าวและวิเคราะห์ข่าว 6.63% รายการสารคดี 22.63% รายการสาระประโยชน์ 14.37% รายการเด็กและเยาวชน 6.74% และสาระบันเทิง 11.94% โดยแบ่งเป็น รายการที่ผลิตโดยสถานีฯ 54.73% รายการจัดซื้อลิขสิทธิ์ เช่น สารคดี 17.64% รายการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 24.37% และรายการจ้างผลิต 3.36%
เนื่องจากทั้งสองช่องพยายามที่จะดำรงตนในสถานะของความเป็นทีวีสาธารณะเพื่อประชาชน แต่ว่าจะใช่หรือไม่ใช่นั้น ต้องดูกันที่การกระทำ และการนำเสนอข่าวสารต่างๆ ว่าจะมีความโน้มเอียงหรือเข้าข้างรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน