ยูนิลีเวอร์ เร่งพัฒนาระบบทีพีเอ็มระดับ 5 รองรับพิษน้ำมัน กระทบต้นทุนการผลิตพุ่ง จ่อคิวจับมือซัพลายเออร์ 10 ราย ล่าสุดจีบบิ๊กซีเข้าร่วม หวังลดต้นทุนรอบด้าน ตั้งเป้าปี 2553 ได้รับการรองรับระบบ 5 World Class Award
นายวิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า ท่ามกลางภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น บริษัทจะพัฒนาระบบ Total Productive Maintenance (TPM) ระบบควบคุมและจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตองค์กรโดยรวม เป็นระบบการปฏิบัติงาน บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ และระเบียบการทำงานมาดำเนินการในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด
หลังจากนำระบบดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี 2539 หรือเป็นระยะเวลา 11 ปี สามารถลดความสูญเสียคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 700 ล้านบาท ล่าสุดได้ระบบดังกล่าวได้พัฒนามาถึงขั้นที่ 4 ทำให้ยูนิลีเวอร์ได้รับการรองรับ Advanced Special Award for TPM Achievement ประเภท มัลติแคธิกอรี่ หรือหมายถึงว่าโรงงานทั้ง 8 แห่ง สามารถรักษามาตรฐานเดียวกันได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถส่งสินค้าให้ครบจำนวนและตรงเวลา 93.8% จากเดิมเพียงกว่า 80% โดยจับมือร่วมกับซัพพลายเออร์ เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ และกำลังอยู่ระหว่างเจรจากับบิ๊กซี นับว่าเป็นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายแรกของเอเชียที่ได้รับการรองรับ
สำหรับขั้นต่อไปของบริษัท คือ การพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายได้รองรับในระดับที่ 5 หรือ ระดับ World Class Award ภายใน 2553 จากปัจจุบันมี 2 แบรนด์ที่ได้รับการรองรับดังกล่าว ได้แก่ ไอศกรีม วอลล์ ในประเทศอิตาลี ลิปตัน เบลเยี่ยม แต่บริษัทมีเป้าหมายให้ได้รับการรองรับในระดับมัลติ แคธิกอรี่เป็นแห่งแรก ซึ่งจะมุ่งเน้นการลดต้นทุนด้านการแปรสภาพ และระบบขนส่ง ส่วนต้นทุนวัตถุดิบและหีบห่อไม่สามารถลดต้นทุนได้แล้ว นอกจากนี้ยังเตรียมจับมือร่วมกับซัพพลายเออร์รายอื่นๆเพิ่มเป็น 10 ราย
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทได้นำระบบ TPM มาดำเนินการได้ 3 ปีแล้ว ส่งผลให้ผ่านพ้นในช่วงเวลาดังกล่าวได้ เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน หรือกระทั่งการสูญเสียจากบรรจุภัณฑ์รั่ว แตก หัก ขาด กระทั่งปัจจุบันแทบไม่มีเลย หรือประมาณ 20-30 ชิ้นต่อสินค้าหลายร้อยล้านชิ้น ขณะเดียวกันยังทำให้มาตรฐานสินค้าที่วางจำหน่ายบนชั้นวางโมเดิร์นเทรดต่ำกว่า 2% โดยปัจจุบันราว 1.3-1.4% ซึ่งมีการคำนวนจากสินค้าที่วางบนชั้นวางคิดเป็น 25% ของพื้นที่วาง หากต่ำกว่า 25% ถือว่ามีสินค้าไม่มีบนชั้นวาง ทั้งนี้ระบบดังกล่าวส่งผลให้เมื่อลูกค้าไปซื้อสินค้า ณ จุดจำหน่ายสามารถมีสินค้าตอบสนองความต้องการ
ปัจจุบันระบบ Total Productive Maintenance (TPM) มีทั้งหมด 5 ระดับ โดยบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง ได้รับการรับรอง 4 ขั้น ได้แก่ Award foe TPM Excellence,1 Category ตามด้วย Award foe TPM Excellence,2 Category ,Special Award for Achievement และล่าสุด Advanced Special Award for TPM Achievement
นายวิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผยว่า ท่ามกลางภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น บริษัทจะพัฒนาระบบ Total Productive Maintenance (TPM) ระบบควบคุมและจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตองค์กรโดยรวม เป็นระบบการปฏิบัติงาน บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ และระเบียบการทำงานมาดำเนินการในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด
หลังจากนำระบบดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี 2539 หรือเป็นระยะเวลา 11 ปี สามารถลดความสูญเสียคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 700 ล้านบาท ล่าสุดได้ระบบดังกล่าวได้พัฒนามาถึงขั้นที่ 4 ทำให้ยูนิลีเวอร์ได้รับการรองรับ Advanced Special Award for TPM Achievement ประเภท มัลติแคธิกอรี่ หรือหมายถึงว่าโรงงานทั้ง 8 แห่ง สามารถรักษามาตรฐานเดียวกันได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสามารถส่งสินค้าให้ครบจำนวนและตรงเวลา 93.8% จากเดิมเพียงกว่า 80% โดยจับมือร่วมกับซัพพลายเออร์ เทสโก้ โลตัส คาร์ฟูร์ และกำลังอยู่ระหว่างเจรจากับบิ๊กซี นับว่าเป็นบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายแรกของเอเชียที่ได้รับการรองรับ
สำหรับขั้นต่อไปของบริษัท คือ การพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายได้รองรับในระดับที่ 5 หรือ ระดับ World Class Award ภายใน 2553 จากปัจจุบันมี 2 แบรนด์ที่ได้รับการรองรับดังกล่าว ได้แก่ ไอศกรีม วอลล์ ในประเทศอิตาลี ลิปตัน เบลเยี่ยม แต่บริษัทมีเป้าหมายให้ได้รับการรองรับในระดับมัลติ แคธิกอรี่เป็นแห่งแรก ซึ่งจะมุ่งเน้นการลดต้นทุนด้านการแปรสภาพ และระบบขนส่ง ส่วนต้นทุนวัตถุดิบและหีบห่อไม่สามารถลดต้นทุนได้แล้ว นอกจากนี้ยังเตรียมจับมือร่วมกับซัพพลายเออร์รายอื่นๆเพิ่มเป็น 10 ราย
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทได้นำระบบ TPM มาดำเนินการได้ 3 ปีแล้ว ส่งผลให้ผ่านพ้นในช่วงเวลาดังกล่าวได้ เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน หรือกระทั่งการสูญเสียจากบรรจุภัณฑ์รั่ว แตก หัก ขาด กระทั่งปัจจุบันแทบไม่มีเลย หรือประมาณ 20-30 ชิ้นต่อสินค้าหลายร้อยล้านชิ้น ขณะเดียวกันยังทำให้มาตรฐานสินค้าที่วางจำหน่ายบนชั้นวางโมเดิร์นเทรดต่ำกว่า 2% โดยปัจจุบันราว 1.3-1.4% ซึ่งมีการคำนวนจากสินค้าที่วางบนชั้นวางคิดเป็น 25% ของพื้นที่วาง หากต่ำกว่า 25% ถือว่ามีสินค้าไม่มีบนชั้นวาง ทั้งนี้ระบบดังกล่าวส่งผลให้เมื่อลูกค้าไปซื้อสินค้า ณ จุดจำหน่ายสามารถมีสินค้าตอบสนองความต้องการ
ปัจจุบันระบบ Total Productive Maintenance (TPM) มีทั้งหมด 5 ระดับ โดยบริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง ได้รับการรับรอง 4 ขั้น ได้แก่ Award foe TPM Excellence,1 Category ตามด้วย Award foe TPM Excellence,2 Category ,Special Award for Achievement และล่าสุด Advanced Special Award for TPM Achievement