โอสถสภาเปิดเกมรุกตลาดต่างประเทศ เป้าหมาย เพิ่มรายได้เป็น 5,000 ล้านบาท ในปี 2554 ส่วนปีนี้มั่นใจโตแบบก้าวกระโดด อ้าง 3 ปีที่ผ่านมาปีเป็นการเรียนรู้ตลาด เปิดแผนลุยจีน ชูกลยุทธ์โออีเอ็ม ลดปัญหาภาษีนำเข้าที่สูงถึง 27%
นายสุนทร เก่งวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบดูแลเครื่องดื่มชูกำลังในตลาดต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปีนี้ตลาดต่างประเทศ โดยรวมทั้งหมดของบริษัทจะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่า 30-40% หลังจากที่ทำตลาดมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว เป็นการลองผิดลองถูก ตั้งเป้าหมายภายในปี 2554 จะต้องมีรายได้จากเครื่องดื่มชูกำลังทั้ง เอ็ม-150 และ ชาร์ค ที่มาจากตลาดต่างประเทศประมาณ 5,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนรายได้เป็นตลาดที่นายสุนทรดูแล คือ ตลาดเอเชีย จีน และ อเมริกา 2,000 ล้านบาท และตลาดยุโรปที่มีอีกทีมดูแลประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งยอดขายจากต่างประเทศจะเป็น 50%ของยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศ ส่วนรายได้ร่วมทั้งบริษัทจะอยู่ที่ 17,000 ล้านบาท
เครื่องดื่มชูกำลังยังคงเป็นตลาดที่ดีมีโอกาสสูงในต่างประเทศ สังเกตจากปริมาณการดื่มนั้นยังมีน้อย แต่บางประเทศก็ดื่มมาก เช่น อเมริกา ประมาณ 4,000 ล้านยูนิตต่อปี ญี่ปุ่น 3,500 ล้านยูนิตต่อปี และไทย อยู่ที่ 1,500 ล้านยูนิต อินโดนีเซีย ประมาณ 900 ล้านยูนิต จีนประมาณ 200 ล้านยูนิต อังกฤษ ประมาณ 200 ล้านยูนิต ซึ่งหากสังเกตให้ดีแล้วตลาดจีนยังบริโภคกันน้อย จึงน่าจะมีช่องว่างในการทำตลาดได้อีกนาน เพราะประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังราว 10% ของตลาดอเมริกา หรือ 1 ใน 4 ของประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายที่บริษัทจะเจาะไปถึง คือ ระดับกลาง ถึงระดับบน
ทั้งนี้ การทำงานในต่างประเทศ จะใช้กลยุทธ์การหาพันธมิตรร่วมทุน ทั้งผลิต และจัดจำหน่าย เพราะคนท้องถิ่นจะมี เข้าใจตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีกว่า รวมทั้งกลยุทธ์สปอร์ตและมิวสิคมาร์เก็ตติ้ง โดยตั้งงบการตลาดไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท มากกว่าทุกปีด้วยซ้ำไป
ล่าสุด บริษัทตัดสินใจใช้วิธีการว่าจ้างผู้ผลิตในท้องถิ่นของประเทศจีน และอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตสินค้าให้ โดยจะผลิตเป็น เอ็ม-150 ชนิดผง และผลิตเอ็ม-150 และชาร์กในบังกลาเทศด้วย โดยในจีนเลือกทำที่มณฑลกวางตุ้ง เป็นอันดับแรก เพราะมีประชากรกว่า 90 ล้านคน จากนั้นจะขยายไปพื้นที่โดยรอบ กลยุทธ์นี้ทำสำเร็จมาแล้วจากตลาดอเมริกา ซึ่งการผลิตในจีนนั้นจะทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำกว่าการนำเข้า เพราะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากกว่า 27% ส่งผลให้สินค้าราคาแพงกว่าสินค้าที่เป็นโลคอลแบรนด์ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่การทำตลาดของโลคอลแบรนด์ไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดอินโดนีเซียเสียภาษีนำเข้า 40% บังกลาเทศ ภาษีนำเข้า 100% ก่อนที่อนาคตจะสร้างฐานผลิตเองในต่างประเทศ
ส่วนตลาดอเมริกานั้นก็เป็นที่น่าสนใจ เพราะตลาดมีการแข่งขันที่สูงและพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปิดรับสิ่งใหม่ๆมาก โดยบริษัทมีแผนที่จะออกสินค้าใหม่ เลือกใช้ดิสทริบิวเตอร์ที่แข็งแกร่งช่วยกระจายสินค้าให้ นอกจากนั้น ตลาดใหม่ๆ ที่มีแผนจะไปเปิดตลาดเพิ่มอีกได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น
นายสุนทร เก่งวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอสถสภา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งรับผิดชอบดูแลเครื่องดื่มชูกำลังในตลาดต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปีนี้ตลาดต่างประเทศ โดยรวมทั้งหมดของบริษัทจะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่า 30-40% หลังจากที่ทำตลาดมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว เป็นการลองผิดลองถูก ตั้งเป้าหมายภายในปี 2554 จะต้องมีรายได้จากเครื่องดื่มชูกำลังทั้ง เอ็ม-150 และ ชาร์ค ที่มาจากตลาดต่างประเทศประมาณ 5,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยแบ่งสัดส่วนรายได้เป็นตลาดที่นายสุนทรดูแล คือ ตลาดเอเชีย จีน และ อเมริกา 2,000 ล้านบาท และตลาดยุโรปที่มีอีกทีมดูแลประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งยอดขายจากต่างประเทศจะเป็น 50%ของยอดขายเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศ ส่วนรายได้ร่วมทั้งบริษัทจะอยู่ที่ 17,000 ล้านบาท
เครื่องดื่มชูกำลังยังคงเป็นตลาดที่ดีมีโอกาสสูงในต่างประเทศ สังเกตจากปริมาณการดื่มนั้นยังมีน้อย แต่บางประเทศก็ดื่มมาก เช่น อเมริกา ประมาณ 4,000 ล้านยูนิตต่อปี ญี่ปุ่น 3,500 ล้านยูนิตต่อปี และไทย อยู่ที่ 1,500 ล้านยูนิต อินโดนีเซีย ประมาณ 900 ล้านยูนิต จีนประมาณ 200 ล้านยูนิต อังกฤษ ประมาณ 200 ล้านยูนิต ซึ่งหากสังเกตให้ดีแล้วตลาดจีนยังบริโภคกันน้อย จึงน่าจะมีช่องว่างในการทำตลาดได้อีกนาน เพราะประชากรกว่า 1,300 ล้านคน มีการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังราว 10% ของตลาดอเมริกา หรือ 1 ใน 4 ของประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายที่บริษัทจะเจาะไปถึง คือ ระดับกลาง ถึงระดับบน
ทั้งนี้ การทำงานในต่างประเทศ จะใช้กลยุทธ์การหาพันธมิตรร่วมทุน ทั้งผลิต และจัดจำหน่าย เพราะคนท้องถิ่นจะมี เข้าใจตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคได้ดีกว่า รวมทั้งกลยุทธ์สปอร์ตและมิวสิคมาร์เก็ตติ้ง โดยตั้งงบการตลาดไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท มากกว่าทุกปีด้วยซ้ำไป
ล่าสุด บริษัทตัดสินใจใช้วิธีการว่าจ้างผู้ผลิตในท้องถิ่นของประเทศจีน และอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตสินค้าให้ โดยจะผลิตเป็น เอ็ม-150 ชนิดผง และผลิตเอ็ม-150 และชาร์กในบังกลาเทศด้วย โดยในจีนเลือกทำที่มณฑลกวางตุ้ง เป็นอันดับแรก เพราะมีประชากรกว่า 90 ล้านคน จากนั้นจะขยายไปพื้นที่โดยรอบ กลยุทธ์นี้ทำสำเร็จมาแล้วจากตลาดอเมริกา ซึ่งการผลิตในจีนนั้นจะทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำกว่าการนำเข้า เพราะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากกว่า 27% ส่งผลให้สินค้าราคาแพงกว่าสินค้าที่เป็นโลคอลแบรนด์ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่การทำตลาดของโลคอลแบรนด์ไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ขณะที่ตลาดอินโดนีเซียเสียภาษีนำเข้า 40% บังกลาเทศ ภาษีนำเข้า 100% ก่อนที่อนาคตจะสร้างฐานผลิตเองในต่างประเทศ
ส่วนตลาดอเมริกานั้นก็เป็นที่น่าสนใจ เพราะตลาดมีการแข่งขันที่สูงและพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปิดรับสิ่งใหม่ๆมาก โดยบริษัทมีแผนที่จะออกสินค้าใหม่ เลือกใช้ดิสทริบิวเตอร์ที่แข็งแกร่งช่วยกระจายสินค้าให้ นอกจากนั้น ตลาดใหม่ๆ ที่มีแผนจะไปเปิดตลาดเพิ่มอีกได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น