บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานสถานการณ์ตลาดเบียร์ในปี 2551 ว่า เป็นอีกปีหนึ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากประชาชนยังมีความกังวลต่อกำลังซื้อของตนเอง ภายหลังจากภาวะเศรษฐกิจมีความไม่ชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะถูกปัจจัยกดดันทั้งจากภาวะเศรษฐกิจโลก ปัจจัยด้านราคาสินค้าที่ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายรายการ จนส่งผลกระทบต่อรายได้ และค่าครองชีพ ทำให้ภาคประชาชนประหยัด และระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลทำให้ตลาดเบียร์ในปี 2551 จะมีการขยายตัวใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ ประมาณร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 110,000 ล้านบาท โดยตลาดเบียร์ราคาถูกจะเติบโตประมาณร้อยละ 10 ส่วนตลาดเบียร์ระดับราคาปานกลางกลุ่มสแตนดาร์ด และตลาดเบียร์ราคาสูงกลุ่มพรีเมียม มูลค่าตลาดน่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อย ท่ามกลางภาพรวมการแข่งขันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งกลยุทธ์ด้านราคา เบียร์นำเข้าจากต่างประเทศมีมากขึ้น และการตั้งโรงงานเบียร์ใหม่จากผู้ผลิตต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตลาดเบียร์ ในปี 2550 จบลงด้วยสถานการณ์ที่ไม่แจ่มใสนัก เป็นผลพวงจากปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง โดยจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่ายอดจำหน่ายเบียร์ในปี 2550 มี 2,079.2 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 6 ต่ำกว่าช่วงปี 2549 ที่ปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.5 ด้านของมูลค่าตลาดผู้ประกอบการเบียร์ประเมินว่าจะมีมูลค่าประมาณ 105,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5-6 ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 10 เนื่องจากการเติบโตของตลาดเบียร์จะอยู่ในกลุ่มเบียร์ราคาถูก ขณะที่ตลาดเบียร์ราคาปานกลางถึงสูงยอดจำหน่ายอยู่ในภาวะทรงตัว
จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดเบียร์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการผลิตเบียร์จำเป็นต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มจะหันมาใช้ปัจจัยทางด้านราคาเป็นตัวตัดสินใจเลือกซื้อเบียร์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่มที่มีกำลังซื้อน้อย ขณะเดียวกัน การเพิ่มงบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้ภาคประชาชนเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น และการพึ่งพาตลาดในประเทศอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับภาวการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการขยายตัวที่มีจำกัดรวมทั้งการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้น การมุ่งสู่ตลาดต่างประเทศจึงนับเป็นทิศทางหนึ่งที่เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการตลาดโดยเฉพาะทางด้านมูลค่าจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการเบียร์ได้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ตลาดเบียร์ ในปี 2550 จบลงด้วยสถานการณ์ที่ไม่แจ่มใสนัก เป็นผลพวงจากปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง โดยจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่ายอดจำหน่ายเบียร์ในปี 2550 มี 2,079.2 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 6 ต่ำกว่าช่วงปี 2549 ที่ปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.5 ด้านของมูลค่าตลาดผู้ประกอบการเบียร์ประเมินว่าจะมีมูลค่าประมาณ 105,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5-6 ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 10 เนื่องจากการเติบโตของตลาดเบียร์จะอยู่ในกลุ่มเบียร์ราคาถูก ขณะที่ตลาดเบียร์ราคาปานกลางถึงสูงยอดจำหน่ายอยู่ในภาวะทรงตัว
จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดเบียร์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการผลิตเบียร์จำเป็นต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มจะหันมาใช้ปัจจัยทางด้านราคาเป็นตัวตัดสินใจเลือกซื้อเบียร์มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่มที่มีกำลังซื้อน้อย ขณะเดียวกัน การเพิ่มงบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้ภาคประชาชนเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น และการพึ่งพาตลาดในประเทศอย่างเดียวคงไม่เพียงพอสำหรับภาวการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากการขยายตัวที่มีจำกัดรวมทั้งการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้น การมุ่งสู่ตลาดต่างประเทศจึงนับเป็นทิศทางหนึ่งที่เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการตลาดโดยเฉพาะทางด้านมูลค่าจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการเบียร์ได้เพิ่มขึ้น