สก๊อต อัดฉีด 330 ล้านบาท รุกตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชูนโยบายสุขภาพและความงามชนแบรนด์ เล็งปั้นเครื่องดื่มใหม่ทะลวงผู้ชายเจ้าสำอาง รับกระแสเมโทรเซ็กชัวร์บูม เทงบกว่า 30 ล้านบาท ระเบิดแคมเปญโฆษณาใหม่ สก๊อต คอลลาเจน อี สิ้นปีตั้งเป้าโกยยอด 200 ล้านบาท โตกว่า 30% โอดต้นทุนพุ่ง สิ้นปีพิจารณาปรับราคา 3-5%
นายสมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย ) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสก๊อต คอลลาเจน-อี เปิดเผยว่า นโยบายปีนี้บริษัททำตลาดสินค้ากลุ่มเพื่อสุขภาพและความงามในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่มาแรงและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เริ่มมองหาสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามควบคู่กัน โดยปีนี้บริษัทจะเปิดตัวเครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย เนื่องจากแนวโน้มผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายเติบโตขึ้นและพฤติกรรมของผู้ชายสำอางมีเพิ่มขึ้น
เครื่องดื่มสก๊อตสำหรับผู้ชาย ชูคอนเซปต์ “เพื่อสุขภาพและดูดี” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 5-6 ตัว โดยพบว่าผู้ชายไทยกังวลเกี่ยวกับความอ้วนและการเผาผลาญอาหาร ทั้งนี้ การออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อต่อยอดจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สก๊อต คอลลาเจน-อี เจาะกลุ่มผู้หญิงอายุ 25-30 ปี หรือผู้ที่ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ ซึ่งหลังจากทำตลาดมากกว่า 1 ปี ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยยอดขายปีที่ผ่านมาเติบโต 300% หรือมีรายได้จาก 50 ล้านบาท เป็น 150 ล้านบาท
ล่าสุด บริษัทได้ทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท จากงบการตลาด 330 ล้านบาท เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “แองเจิล” นำ ศรีริต้า เจนเซ่น มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ปีที่ 2 ซึ่งมีแผนจะดำเนินการตลาดทั้งอะโบฟเดอะไลน์ และบีโลว์เดอะไลน์ เพื่อรองรับกับแนวโน้มการแข่งขันเครื่องดื่มคอลลาเจน ซึ่งคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยจะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาทำตลาดมากขึ้น สำหรับการรุกตลาดในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 200 ล้านบาท หรือเติบโต 30%
แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปีนี้มูลค่า 3,800 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 15% อย่างต่อเนื่องทุกปี แบ่งเป็น เครื่องดื่มรังนก 1,600 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 15% โดยสก๊อตครองส่วนแบ่ง 55% เครื่องดื่มซุปไก่สกัด มูลค่า 1,750 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตชะลอตัวลง คือ ราว 5% สก๊อต มีส่วนแบ่ง 25% ส่วน คอลลาเจน มูลค่า 150 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 200% สก๊อตเป็นผู้ประกอบการเดียวในตลาด
นายสมโภช กล่าวว่า แนวโน้มเครื่องดื่มคอลลาเจนที่มีส่วนผสมมากเป็นตลาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนเครื่องดื่มที่มีคอลลาเจนผสมส่วนน้อยตลาดเริ่มลดลง ซึ่งคาดว่าในประเทศไทยจะเป็นลักษณะเดียวกัน ส่วนด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 3-5% ในช่วง 2 ปี ผลพวงจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจะมีการพิจารณาปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งอาจปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน คือ 3-5%
นายสมโภช ชวาลเวชกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สก๊อต อินดัสเตรียล (ประเทศไทย ) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสก๊อต คอลลาเจน-อี เปิดเผยว่า นโยบายปีนี้บริษัททำตลาดสินค้ากลุ่มเพื่อสุขภาพและความงามในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่มาแรงและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เริ่มมองหาสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามควบคู่กัน โดยปีนี้บริษัทจะเปิดตัวเครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย เนื่องจากแนวโน้มผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชายเติบโตขึ้นและพฤติกรรมของผู้ชายสำอางมีเพิ่มขึ้น
เครื่องดื่มสก๊อตสำหรับผู้ชาย ชูคอนเซปต์ “เพื่อสุขภาพและดูดี” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 5-6 ตัว โดยพบว่าผู้ชายไทยกังวลเกี่ยวกับความอ้วนและการเผาผลาญอาหาร ทั้งนี้ การออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อต่อยอดจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สก๊อต คอลลาเจน-อี เจาะกลุ่มผู้หญิงอายุ 25-30 ปี หรือผู้ที่ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ ซึ่งหลังจากทำตลาดมากกว่า 1 ปี ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยยอดขายปีที่ผ่านมาเติบโต 300% หรือมีรายได้จาก 50 ล้านบาท เป็น 150 ล้านบาท
ล่าสุด บริษัทได้ทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท จากงบการตลาด 330 ล้านบาท เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “แองเจิล” นำ ศรีริต้า เจนเซ่น มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ปีที่ 2 ซึ่งมีแผนจะดำเนินการตลาดทั้งอะโบฟเดอะไลน์ และบีโลว์เดอะไลน์ เพื่อรองรับกับแนวโน้มการแข่งขันเครื่องดื่มคอลลาเจน ซึ่งคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยจะมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาทำตลาดมากขึ้น สำหรับการรุกตลาดในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 200 ล้านบาท หรือเติบโต 30%
แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปีนี้มูลค่า 3,800 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 15% อย่างต่อเนื่องทุกปี แบ่งเป็น เครื่องดื่มรังนก 1,600 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 15% โดยสก๊อตครองส่วนแบ่ง 55% เครื่องดื่มซุปไก่สกัด มูลค่า 1,750 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตชะลอตัวลง คือ ราว 5% สก๊อต มีส่วนแบ่ง 25% ส่วน คอลลาเจน มูลค่า 150 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 200% สก๊อตเป็นผู้ประกอบการเดียวในตลาด
นายสมโภช กล่าวว่า แนวโน้มเครื่องดื่มคอลลาเจนที่มีส่วนผสมมากเป็นตลาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนเครื่องดื่มที่มีคอลลาเจนผสมส่วนน้อยตลาดเริ่มลดลง ซึ่งคาดว่าในประเทศไทยจะเป็นลักษณะเดียวกัน ส่วนด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 3-5% ในช่วง 2 ปี ผลพวงจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทจะมีการพิจารณาปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งอาจปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน คือ 3-5%