อีลิทการ์ด ปรับโครงสร้างอีกครั้ง รับแผนงานผู้จัดการใหญ่คนใหม่ รื้อระบบไอที สร้างฐานข้อมูล รุกสร้างรายได้ เป็น 2 ขา ทั้งขายบัตร และจากธุรกิจ อี-บิสสิเนส ดึง 2 ขุนพล จาก แคทเทเลคอม และ ตลท.เสริมทัพ เกี่ยวก้อย บีโอไอ ตลท.ดึงนักลงทุนเข้าไทย บอร์ดไฟเขียวงบการตลาดปี 2551 รวม 460 ล้านบาท อัดโฆษณาล้างภาพเน่า
นายรพี ม่วงนนท์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ไทยแลนด์ อีลิท) หรือ ทีพีซี เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทได้ปรับโครงสร้างองค์กร ภายใต้การจัดทำแผนการทำงาน 4 ปี นับจากปี 2551-2554 โดยโครงสร้างใหม่ได้เพิ่มสายงานบริหารความเสี่ยง หวังลดความผิดพลาดในการทำงาน และเพิ่มในส่วนงานด้านระบบไอที ดูและงานด้านการวางระบบและปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อสร้างรายได้ด้าน อี-บิสสิเนส นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจากับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จัดทำข้อตกลงในการประสานงานเพื่อให้สมาชิก และผู้ลงทุน ทั้งในประเทศและนอกประเทศใช้เวทีของ ไทยแลนด์อีลิท ในการเชื่อมโยงขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
“นอกจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว เรายังได้เจรจากับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กรมส่งเสริมการส่งออก และ ภาคเอกชน ได้แก่ กองทุนรวมภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ ภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคบริการและเทคโนโลยี โดยไทยแลนด์อีลิท ขอเป็นองค์กรผู้ประสานงาน และเป็นแพลนเนอร์ ให้แก่สมาชิกของไทยแลนด์อีลิท กับ องค์กรต่างๆ เหล่านั้น ได้มาเจรจาพบปะก่อให้เกิดการเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นลำดับต่อไป”
***ดึง 2 ขุนพลเสริมแกร่ง***
ทั้งนี้ จากการเพิ่มสายงานดังกล่าว ยังได้เพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ร่วม 2 ท่าน คือ 1.นายยอดชาย แก้วเพ็ญศรี อดีตผู้ช่วยอาวุโส จากบริษัท แคท เทเลคอม มาดูงานด้านไอที ปรับปรุงเว็บไซต์ ให้เป็นเว็บ portal และวางระบบการจัดเก็บข้อมูล ดาต้าเบส ของสมาชิกทั้งหมด เพื่อให้รู้ถึงการทำธุรกิจ และความสนใจด้านการลงทุน ตลอดจนการจับจ่ายใช้เงิน เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทย บริการที่ชอบเป็นต้น และ 2.อดีตผู้อำนวยการฝ่ายรีเลชันชิพ ดูแลงานด้านระบบเครือข่ายซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะเข้ามาดูแลเครือข่ายสมาชิกของบัตรอีลิท พร้อมดูแลงานด้านการจัดอีเวนต์ ด้านการลงทุนต่างๆ ซึ่งการจัดทำระบบ และโครงสร้างภายในจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้
นายรพี กล่าวว่า แผนงาน 4 ปี ของ ทีพีซี จะดำเนินการภายใต้พันธกิจ 5 ประการ คือ เลี้ยงตัวเองได้ ให้บริการครบวงจร มีความทันสมัย บรรลุการดึงเม็ดเงินนักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายในประเทศ และการต่อยอดให้สมาชิก หรือเครือข่ายนำเงินมาลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งนับจากปี 2552 บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจ อี-บิสสิเนส เป็นเงิน 30 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 70 ล้านบาท และ 100 ล้านบาท ในปี 2553 และ ปี 2554 ตามลำดับ และ ใน 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจนี้จะสร้างรายได้ให้องค์กรได้ถึง 200 ล้านบาท
ขณะที่รายได้จากการขายบัตรสมาชิก ปี 2551 ตั้งเป้ามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 800 ราย จากปีก่อนมี 2,496 ราย โดยจะเพิ่มสัดส่วนสมาชิกประเภท คอปอเรท การ์ด ให้เป็น 5% ของสมาชิกทั้งหมด วางเป้าหมายยอดขายบัตรต้องโตปีละ 10% ส่วนเงินสดหมุนเวียน ที่ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้นราว 700 ล้านบาท จะเพิ่มเป็น 4,300 ล้านบาท ในปี 2554 และเริ่มมีกำไรสุทธิทางบัญชีเป็นเงิน 57 ล้านบาท
“รายได้ที่จะมาจาก อี-บิสสิเนส จะมาจากสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการ จองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และบริการอื่นๆ ที่นอกเหนือ จากบริการพื้นฐานที่สมาชิกอีลิทจะได้รับ ในเว็บไซต์ของเราจะต้องมีภาษาที่หลากหลาย ไม่น้อยกว่า 8 ภาษา เช่น อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สเปน เยอรมัน และภาษาอาหรับ เพื่อรับลูกค้าตลาดตะวันออกกลางและจะร่วมกับบริษัทนำเที่ยวจัดแพกเกจทัวร์ที่เหมาะกับสมาชิกเข้ามาบริการ เป็นต้น”
**อัด 460 ล้านทำตลาดเชิงรุก***
สำหรับแผนงานด้านการตลาด บอร์ดได้อนุมัติให้ใช้เงินได้ในปีนี้วงเงิน 460 ล้านบาท ในที่นี้จะแบ่ง 10% ไปใช้จัดทำข้อมูลและปรับปรุงเว็บไซต์ ส่วนที่เหลือแบ่ง 50 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ สร้างการรับรู้แบรนด์ของอีลิท เพื่อให้คนในประเทศมีทัศนคติที่ดีแก่องค์กร ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะใช้เพื่อจัดกิจกรรมในต่างประเทศ เช่น การโรดโชว์ อย่างน้อย ไตรมาสละ 2 ครั้ง และกิจกรรมในประเทศ เชิญนักลงทุน และ ทูตต่างประเทศ มาร่วมงานโชว์ศักยภาพเมืองไทยอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ส่วนการขายบัตรยังคงยึดตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่ อย่าง ยุโรป อินเดีย และ จีน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานงบปี 2550 ขาดทุน 145.131 ล้านบาท ซึ่งเป็นขาดทุนทางบัญชีเท่านั้น เรายังมีเงินสดที่จะดำเนินงานต่อไป โดยไม่ต้องขอรัฐบาลเข้ามาเพิ่มทุน ส่วนราคาบัตรที่ได้ปรับเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาท จากเดิม 1 ล้านบาท อาจเป็นอุปสรรคต่อการหาสมาชิกบ้าง แต่บริษัทได้เพิ่มเรื่องการบริการในการอำนายความสะดวกและเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้แก่สมาชิกก็คงไม่น่าจะมีปัญหาและแผนงาน 4 ปีนี้ ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดการลงทุน และการดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าประเทศไทย
นายรพี ม่วงนนท์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ไทยแลนด์ อีลิท) หรือ ทีพีซี เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทได้ปรับโครงสร้างองค์กร ภายใต้การจัดทำแผนการทำงาน 4 ปี นับจากปี 2551-2554 โดยโครงสร้างใหม่ได้เพิ่มสายงานบริหารความเสี่ยง หวังลดความผิดพลาดในการทำงาน และเพิ่มในส่วนงานด้านระบบไอที ดูและงานด้านการวางระบบและปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อสร้างรายได้ด้าน อี-บิสสิเนส นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการเจรจากับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จัดทำข้อตกลงในการประสานงานเพื่อให้สมาชิก และผู้ลงทุน ทั้งในประเทศและนอกประเทศใช้เวทีของ ไทยแลนด์อีลิท ในการเชื่อมโยงขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
“นอกจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว เรายังได้เจรจากับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กรมส่งเสริมการส่งออก และ ภาคเอกชน ได้แก่ กองทุนรวมภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ ภาคอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคบริการและเทคโนโลยี โดยไทยแลนด์อีลิท ขอเป็นองค์กรผู้ประสานงาน และเป็นแพลนเนอร์ ให้แก่สมาชิกของไทยแลนด์อีลิท กับ องค์กรต่างๆ เหล่านั้น ได้มาเจรจาพบปะก่อให้เกิดการเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นลำดับต่อไป”
***ดึง 2 ขุนพลเสริมแกร่ง***
ทั้งนี้ จากการเพิ่มสายงานดังกล่าว ยังได้เพิ่มตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ร่วม 2 ท่าน คือ 1.นายยอดชาย แก้วเพ็ญศรี อดีตผู้ช่วยอาวุโส จากบริษัท แคท เทเลคอม มาดูงานด้านไอที ปรับปรุงเว็บไซต์ ให้เป็นเว็บ portal และวางระบบการจัดเก็บข้อมูล ดาต้าเบส ของสมาชิกทั้งหมด เพื่อให้รู้ถึงการทำธุรกิจ และความสนใจด้านการลงทุน ตลอดจนการจับจ่ายใช้เงิน เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทย บริการที่ชอบเป็นต้น และ 2.อดีตผู้อำนวยการฝ่ายรีเลชันชิพ ดูแลงานด้านระบบเครือข่ายซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะเข้ามาดูแลเครือข่ายสมาชิกของบัตรอีลิท พร้อมดูแลงานด้านการจัดอีเวนต์ ด้านการลงทุนต่างๆ ซึ่งการจัดทำระบบ และโครงสร้างภายในจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับจากนี้
นายรพี กล่าวว่า แผนงาน 4 ปี ของ ทีพีซี จะดำเนินการภายใต้พันธกิจ 5 ประการ คือ เลี้ยงตัวเองได้ ให้บริการครบวงจร มีความทันสมัย บรรลุการดึงเม็ดเงินนักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายในประเทศ และการต่อยอดให้สมาชิก หรือเครือข่ายนำเงินมาลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งนับจากปี 2552 บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจ อี-บิสสิเนส เป็นเงิน 30 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 70 ล้านบาท และ 100 ล้านบาท ในปี 2553 และ ปี 2554 ตามลำดับ และ ใน 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจนี้จะสร้างรายได้ให้องค์กรได้ถึง 200 ล้านบาท
ขณะที่รายได้จากการขายบัตรสมาชิก ปี 2551 ตั้งเป้ามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 800 ราย จากปีก่อนมี 2,496 ราย โดยจะเพิ่มสัดส่วนสมาชิกประเภท คอปอเรท การ์ด ให้เป็น 5% ของสมาชิกทั้งหมด วางเป้าหมายยอดขายบัตรต้องโตปีละ 10% ส่วนเงินสดหมุนเวียน ที่ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้นราว 700 ล้านบาท จะเพิ่มเป็น 4,300 ล้านบาท ในปี 2554 และเริ่มมีกำไรสุทธิทางบัญชีเป็นเงิน 57 ล้านบาท
“รายได้ที่จะมาจาก อี-บิสสิเนส จะมาจากสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการ จองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และบริการอื่นๆ ที่นอกเหนือ จากบริการพื้นฐานที่สมาชิกอีลิทจะได้รับ ในเว็บไซต์ของเราจะต้องมีภาษาที่หลากหลาย ไม่น้อยกว่า 8 ภาษา เช่น อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สเปน เยอรมัน และภาษาอาหรับ เพื่อรับลูกค้าตลาดตะวันออกกลางและจะร่วมกับบริษัทนำเที่ยวจัดแพกเกจทัวร์ที่เหมาะกับสมาชิกเข้ามาบริการ เป็นต้น”
**อัด 460 ล้านทำตลาดเชิงรุก***
สำหรับแผนงานด้านการตลาด บอร์ดได้อนุมัติให้ใช้เงินได้ในปีนี้วงเงิน 460 ล้านบาท ในที่นี้จะแบ่ง 10% ไปใช้จัดทำข้อมูลและปรับปรุงเว็บไซต์ ส่วนที่เหลือแบ่ง 50 ล้านบาท ประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ สร้างการรับรู้แบรนด์ของอีลิท เพื่อให้คนในประเทศมีทัศนคติที่ดีแก่องค์กร ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะใช้เพื่อจัดกิจกรรมในต่างประเทศ เช่น การโรดโชว์ อย่างน้อย ไตรมาสละ 2 ครั้ง และกิจกรรมในประเทศ เชิญนักลงทุน และ ทูตต่างประเทศ มาร่วมงานโชว์ศักยภาพเมืองไทยอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ส่วนการขายบัตรยังคงยึดตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่ อย่าง ยุโรป อินเดีย และ จีน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานงบปี 2550 ขาดทุน 145.131 ล้านบาท ซึ่งเป็นขาดทุนทางบัญชีเท่านั้น เรายังมีเงินสดที่จะดำเนินงานต่อไป โดยไม่ต้องขอรัฐบาลเข้ามาเพิ่มทุน ส่วนราคาบัตรที่ได้ปรับเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาท จากเดิม 1 ล้านบาท อาจเป็นอุปสรรคต่อการหาสมาชิกบ้าง แต่บริษัทได้เพิ่มเรื่องการบริการในการอำนายความสะดวกและเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนให้แก่สมาชิกก็คงไม่น่าจะมีปัญหาและแผนงาน 4 ปีนี้ ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดการลงทุน และการดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าประเทศไทย