ออกฉบับวันที่ 9-1-51
ผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการท่องเที่ยวฯเร่งปรับโครงสร้างองค์กร ระบบการทำงานใหม่ รองรับพ.ร.บ.ท่องเที่ยวฯใหม่ คาดมีนาคมนี้ประกาศใช้ ให้สพท.เก็บสถิติแทน ททท. เผยเตรียมตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัย เตรียมชงเมกะโปรเจกต์ให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พิจารณาวันที่ 14 ม.ค.นี้
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรองรับกับการทำงานภายใต้ พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2550 ที่คาดว่าจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในเดือนมีนาคม 2551 นี้ ขณะนี้ ททท. จึงอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรและการทำงานใหม่หมด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับพ.ร.บ.ฯใหม่
โดยตามโครงสร้างใหม่นั้น การทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบ้าง เช่น เรื่องของหน้าที่การรับผิดชอบ เช่น โครงสร้างใหม่ ได้กำหนดให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) มีหน้าที่รับผิดชอบเก็บสถิตินักท่องเที่ยว แทน ททท. ซึ่งจัดเก็บใน 3 ส่วนหลักคือ 1. จำนวนนักท่องเที่ยว 2.ความพึงพอใจ และ 3. การใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหลัก ในการนำมาวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและวิธีการทำตลาดต่อไป
ทั้งนี้ ทางศูนย์พัฒนาข้อมูลและสถิติการท่องเที่ยว จะใช้งบประมาณเดิมที่เป็นของ ททท. ซึ่งเฉลี่ยแล้วมี 27 ล้านบาทต่อปี มาดำเนินการ แต่รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ จะเน้นความถูกต้องและรวดเร็วเป็นหลัก และจะต้องสามารถทำการประมวลผลสถิติที่เก็บมานั้นได้ทุกเดือน ซึ่งจะรวดเร็วกว่าของ ททท. ที่เคยทำมาเพราะล่าช้ามาก เพราะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะประมวลผลเสร็จ ส่งผลเสียต่อการวางแผนที่ล่าช้าไม่ทันกับเหตุการณ์
นอกจากนั้น จะมีการถ่ายโอนกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาขึ้นตรงต่อ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อที่จะให้การทำงานคล่องตัวและตรงมากขึ้น ในการวางแผนรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว และจะทำการตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันภัยและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยด้านชีวิตและทรัพย์สิน
นางสาวศศิธารา กล่าวต่อว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 มกราคมศกนี้ ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะเสนอแผนเมกะโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ๆที่สำคัญประมาณ 10 โครงการ ให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งหมด ก่อนที่จะนำเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศพิจารณาเป็นลำดับต่อไป
“ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะเป็นรัฐบาลที่รักษาการ แต่เราเองก็ไม่ยึดติดอะไร ซึ่งเราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมถึงแผนงานล่วงหน้าต่างๆว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ไม่หยุดชะงัก ไม่สะดุด สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ไม่มีปัญหา อีกทั้งเราเองก็มั่นใจว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาบริหารประเทศ โครงการที่นำเสนอไปนั้นต้องเข้าตากรรมการแน่นอน เพราะทุกโครงการเป็นเรื่องดีที่เน้นการพัฒนา เพราะประเทศไทยเราต้องปรับตัวเรื่องการท่องเที่ยวรับมือกับการแข่งขัน เนื่องจากว่าเวลานี้ ประเทศ เพื่อนบ้านมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งกันมากมาย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆด้วย”
สำหรัโครงการเมกะโปรเจกต์ที่จะเสนอนั้น จะเป็นการเน้นพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบการกระจายการพัฒนาครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น 1.ฟื้นโครงการเก่าคือ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบนเพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนหรือ โครงการริเวียร่า ใน 4 จังหัด คือ เพชรบุรี ,ประจวบคีรีขันธ์ ,ชุมพร และระนอง เพราะเป็นโครงการที่สามารถดึงนักท่องเที่ยวและการลงทุนเข้าสู่ประเทศได้มากมาย
2.โครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอารยะธรรมขอม ที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่ประเทศลาว กัมพูชา เส้นทางไดโนเสาร์ ภาคเหนือเส้นทางน้ำพุร้อน ภาคตะวันออก ชลบุรี ,ระยอง ,จันทบุรี และตราด และเส้นทางเดินรถเชื่อมกับกัมพูชา เป็นต้น
ผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการท่องเที่ยวฯเร่งปรับโครงสร้างองค์กร ระบบการทำงานใหม่ รองรับพ.ร.บ.ท่องเที่ยวฯใหม่ คาดมีนาคมนี้ประกาศใช้ ให้สพท.เก็บสถิติแทน ททท. เผยเตรียมตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัย เตรียมชงเมกะโปรเจกต์ให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พิจารณาวันที่ 14 ม.ค.นี้
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรองรับกับการทำงานภายใต้ พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2550 ที่คาดว่าจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในเดือนมีนาคม 2551 นี้ ขณะนี้ ททท. จึงอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรและการทำงานใหม่หมด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับพ.ร.บ.ฯใหม่
โดยตามโครงสร้างใหม่นั้น การทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบ้าง เช่น เรื่องของหน้าที่การรับผิดชอบ เช่น โครงสร้างใหม่ ได้กำหนดให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) มีหน้าที่รับผิดชอบเก็บสถิตินักท่องเที่ยว แทน ททท. ซึ่งจัดเก็บใน 3 ส่วนหลักคือ 1. จำนวนนักท่องเที่ยว 2.ความพึงพอใจ และ 3. การใช้จ่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหลัก ในการนำมาวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและวิธีการทำตลาดต่อไป
ทั้งนี้ ทางศูนย์พัฒนาข้อมูลและสถิติการท่องเที่ยว จะใช้งบประมาณเดิมที่เป็นของ ททท. ซึ่งเฉลี่ยแล้วมี 27 ล้านบาทต่อปี มาดำเนินการ แต่รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ จะเน้นความถูกต้องและรวดเร็วเป็นหลัก และจะต้องสามารถทำการประมวลผลสถิติที่เก็บมานั้นได้ทุกเดือน ซึ่งจะรวดเร็วกว่าของ ททท. ที่เคยทำมาเพราะล่าช้ามาก เพราะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะประมวลผลเสร็จ ส่งผลเสียต่อการวางแผนที่ล่าช้าไม่ทันกับเหตุการณ์
นอกจากนั้น จะมีการถ่ายโอนกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาขึ้นตรงต่อ สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อที่จะให้การทำงานคล่องตัวและตรงมากขึ้น ในการวางแผนรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว และจะทำการตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันภัยและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยด้านชีวิตและทรัพย์สิน
นางสาวศศิธารา กล่าวต่อว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 มกราคมศกนี้ ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะเสนอแผนเมกะโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ๆที่สำคัญประมาณ 10 โครงการ ให้ที่ประชุมพิจารณา เพื่อที่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งหมด ก่อนที่จะนำเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศพิจารณาเป็นลำดับต่อไป
“ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะเป็นรัฐบาลที่รักษาการ แต่เราเองก็ไม่ยึดติดอะไร ซึ่งเราก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมถึงแผนงานล่วงหน้าต่างๆว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ไม่หยุดชะงัก ไม่สะดุด สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ไม่มีปัญหา อีกทั้งเราเองก็มั่นใจว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาบริหารประเทศ โครงการที่นำเสนอไปนั้นต้องเข้าตากรรมการแน่นอน เพราะทุกโครงการเป็นเรื่องดีที่เน้นการพัฒนา เพราะประเทศไทยเราต้องปรับตัวเรื่องการท่องเที่ยวรับมือกับการแข่งขัน เนื่องจากว่าเวลานี้ ประเทศ เพื่อนบ้านมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งกันมากมาย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆด้วย”
สำหรัโครงการเมกะโปรเจกต์ที่จะเสนอนั้น จะเป็นการเน้นพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวรูปแบบการกระจายการพัฒนาครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น 1.ฟื้นโครงการเก่าคือ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบนเพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนหรือ โครงการริเวียร่า ใน 4 จังหัด คือ เพชรบุรี ,ประจวบคีรีขันธ์ ,ชุมพร และระนอง เพราะเป็นโครงการที่สามารถดึงนักท่องเที่ยวและการลงทุนเข้าสู่ประเทศได้มากมาย
2.โครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอารยะธรรมขอม ที่มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่ประเทศลาว กัมพูชา เส้นทางไดโนเสาร์ ภาคเหนือเส้นทางน้ำพุร้อน ภาคตะวันออก ชลบุรี ,ระยอง ,จันทบุรี และตราด และเส้นทางเดินรถเชื่อมกับกัมพูชา เป็นต้น