กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เตรียมรวมข้อมูลส่ง ป.ป.ช.ฟันอดีตผู้ว่าการ ททท.คดีสินบนงานบางกอกฟิล์ม ระบุ หากผลชี้ชัดกระทำผิดจริง บทลงโทษต้องมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ได้กระทำผิด และสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างนับแต่วันนั้นทันที เป็นผลให้ต้องคืนเงินเดือนย้อนหลังทั้งหมดแก่รัฐ พร้อมบทลงโทษอื่นๆ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า คดีสินบนงานบางกอกฟิล์ม ททท.ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะได้เร่งดำเนินการรวบรวมเอกสาร เพื่อส่งให้แก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากพบว่า นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มีความผิดจริง ก็จะต้องใช้กฎหมายของ ป.ป.ช.ในการลงโทษผู้กระทำผิด เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรงกว่า พ.ร.บ.ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นคดีใหญ่ ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากเอฟบีไอ ประเทศสหรัฐฯ เข้ามาประกอบการพิจารณา จึงเกินอำนาจหน้าที่ของกระทรวงที่จะเข้าไปตัดสิน จึงให้อำนาจ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้ขาด เพราะตามระเบียบปฏิบัติ หากเป็นคดีเดียวกัน เมื่อมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งพิจารณาตัดสินไปแล้วถือเป็นอันสิ้นสุด เราจึงต้องเลือกหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุดที่ตรงกับรูปคดีที่เกิดขึ้น เพราะการทุจริตโครงการขนาดใหญ่มูลค่าโครงการหลายร้อยล้านบาท ถือเป็นคดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายระดับประเทศ
สำหรับคดีนี้ หากพิสูจน์ว่า มีความผิดจริง บทลงโทษก็จะมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ได้กระทำความผิด ซึ่งคดีนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าการลงโทษ จะต้องมีผลย้อนไปถึงปี 2546-2549 ขณะที่ นางจุฑามาศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ตามสัญญาว่าจ้างที่ได้ทำไว้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยจะได้รับบทลงโทษเทียบเท่ากับเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่กระทำความผิดเช่นกัน
“เมื่อกระทำความผิดก็ต้องพ้นจากสัญญาว่าจ้าง ตามกฏหมายจะต้องคืนเงินเดือน เบี้ยประชุม โบนัส และ สวัสดิการทั้งหมดให้แก่รัฐ ซึ่ง นางจุฑามาศ ได้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทนประมาณปีละ 1,800,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 150,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่า บทลงโทษ ของ ป.ป.ช.จะตัดสินออกมาเช่นใด เพราะขณะนี้ถือว่าเขาเป็นหน่วยงานที่ดูแลคดีดังกล่าวอยู่ โดยเบื้องต้นตามรายงานแจ้งว่า จะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 3 และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า คดีสินบนงานบางกอกฟิล์ม ททท.ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะได้เร่งดำเนินการรวบรวมเอกสาร เพื่อส่งให้แก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หากพบว่า นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มีความผิดจริง ก็จะต้องใช้กฎหมายของ ป.ป.ช.ในการลงโทษผู้กระทำผิด เพราะมีบทลงโทษที่รุนแรงกว่า พ.ร.บ.ของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นคดีใหญ่ ที่ต้องอาศัยข้อมูลจากเอฟบีไอ ประเทศสหรัฐฯ เข้ามาประกอบการพิจารณา จึงเกินอำนาจหน้าที่ของกระทรวงที่จะเข้าไปตัดสิน จึงให้อำนาจ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้ขาด เพราะตามระเบียบปฏิบัติ หากเป็นคดีเดียวกัน เมื่อมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งพิจารณาตัดสินไปแล้วถือเป็นอันสิ้นสุด เราจึงต้องเลือกหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุดที่ตรงกับรูปคดีที่เกิดขึ้น เพราะการทุจริตโครงการขนาดใหญ่มูลค่าโครงการหลายร้อยล้านบาท ถือเป็นคดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายระดับประเทศ
สำหรับคดีนี้ หากพิสูจน์ว่า มีความผิดจริง บทลงโทษก็จะมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ได้กระทำความผิด ซึ่งคดีนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าการลงโทษ จะต้องมีผลย้อนไปถึงปี 2546-2549 ขณะที่ นางจุฑามาศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. ตามสัญญาว่าจ้างที่ได้ทำไว้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยจะได้รับบทลงโทษเทียบเท่ากับเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่กระทำความผิดเช่นกัน
“เมื่อกระทำความผิดก็ต้องพ้นจากสัญญาว่าจ้าง ตามกฏหมายจะต้องคืนเงินเดือน เบี้ยประชุม โบนัส และ สวัสดิการทั้งหมดให้แก่รัฐ ซึ่ง นางจุฑามาศ ได้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทนประมาณปีละ 1,800,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 150,000 บาท แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่า บทลงโทษ ของ ป.ป.ช.จะตัดสินออกมาเช่นใด เพราะขณะนี้ถือว่าเขาเป็นหน่วยงานที่ดูแลคดีดังกล่าวอยู่ โดยเบื้องต้นตามรายงานแจ้งว่า จะเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 3 และ พ.ร.บ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522” แหล่งข่าวกล่าว