คุณหญิงจารุวรรณ เร่งมือตรวจสอบทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยกและกำหนดค่าให้รอบคอบ ยันมีรายการที่ปตท. ต้องส่งคืนกระทรวงการคลัง มีมากกว่าที่ ปตท. เสนอมา ลั่น สตง. ไม่เข้าข้างใครแน่นอน
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะรีบเร่งในการนำเสนอรายชื่อคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงานให้กับคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งในวันอังคารที่จะถึงนี้ (22 ม.ค.51) โดยคำพิพากษาของศาลได้กำหนดให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินให้แล้วเสร็จก่อนการตั้ง คณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งได้มีกรอบระยะเวลาในการแต่งตั้ง 120 วัน ขณะนี้ สตง.อยู่ในระหว่างการรวบรวมตรวจสอบรายการทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยก และกำหนดค่าอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงหายแก่ประชาชนเจ้าของสินทรัพย์
ทั้งนี้ มีหลายรายการที่คณะผู้ตรวจสอบของ สตง.เห็นว่าควรจะส่งคืนกระทรวงการคลังมากกว่าที่ปรากฏ ที่มีการเสนอโดย ปตท. เช่นระบบท่อทั้งหมด ท่อส่งและ ท่อจำหน่ายที่ใช้พื้นที่สาธารณะ และหรือใช้อำนาจมหาชน ณ. 31 ธันวาคม 2549 ได้แก่ ระบบท่อส่งก๊าซบนบก ระบบท่อส่งก๊าซในทะเล ระบบท่อจัดจำหน่าย ซึ่งทั้ง 3 รายการรวมยาวประมาณ 3,000 กิโลเมตร มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 47,000 ล้านบาท เป็นต้น
ส่วนเหตุผลที่คณะกรรมการ สตง.ใช้ประกอบการพิจารณา เพราะทางประกาศกำหนดและดำเนินการในระบบเหล่านี้ได้ใช้อำนาจมหาชน ม.29-34 ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการปิโตรเลียม เป็นการใช้สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งมูลค่าทางบัญชีมีมูลค่าต่ำมาก เนื่องจาการตัดค่าเสื่อมราคาเป็นวิชาการทางบัญชี โดยไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงในการใช้ประโยชน์และทำรายได้ ซึ่งตรงกันข้ามเมื่อคำนวณอัตราค่าผ่านทางทราบว่าทาง ปตท.กลับไม่ใช้มูลค่าทางบัญชีในการคำนวณแต่ใช้มูลค่าทดแทน(Replacement Value) ซึ่งเท่ากับต้นทุนในการก่อสร้างปัจจุบัน จะมีมูลค่าสูงมาก ทำให้ค่าผ่านท่อมีอัตราสูง ผู้บริโภคก็ต้องรับภาระสูง
"สตง.ยืนยันที่จะไม่เข้าข้างฝ่ายใด แต่มุ่งมั่นใช้ข้อมูลที่มีอยู่ตรวจสอบ เพื่อแสดงความเห็นที่เกิดความยุติธรรม ดังนั้นครม.จึงน่าจะให้เวลาในการตรวจสอบด้วย และขณะนี้ก็ยังต้องคอยข้อมูลจาก ปตท.อยู่" คุณหญิงจารุวรรณกล่าว
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะรีบเร่งในการนำเสนอรายชื่อคณะกรรมการประกอบกิจการพลังงานให้กับคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งในวันอังคารที่จะถึงนี้ (22 ม.ค.51) โดยคำพิพากษาของศาลได้กำหนดให้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินให้แล้วเสร็จก่อนการตั้ง คณะกรรมการประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งได้มีกรอบระยะเวลาในการแต่งตั้ง 120 วัน ขณะนี้ สตง.อยู่ในระหว่างการรวบรวมตรวจสอบรายการทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยก และกำหนดค่าอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงหายแก่ประชาชนเจ้าของสินทรัพย์
ทั้งนี้ มีหลายรายการที่คณะผู้ตรวจสอบของ สตง.เห็นว่าควรจะส่งคืนกระทรวงการคลังมากกว่าที่ปรากฏ ที่มีการเสนอโดย ปตท. เช่นระบบท่อทั้งหมด ท่อส่งและ ท่อจำหน่ายที่ใช้พื้นที่สาธารณะ และหรือใช้อำนาจมหาชน ณ. 31 ธันวาคม 2549 ได้แก่ ระบบท่อส่งก๊าซบนบก ระบบท่อส่งก๊าซในทะเล ระบบท่อจัดจำหน่าย ซึ่งทั้ง 3 รายการรวมยาวประมาณ 3,000 กิโลเมตร มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 47,000 ล้านบาท เป็นต้น
ส่วนเหตุผลที่คณะกรรมการ สตง.ใช้ประกอบการพิจารณา เพราะทางประกาศกำหนดและดำเนินการในระบบเหล่านี้ได้ใช้อำนาจมหาชน ม.29-34 ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการปิโตรเลียม เป็นการใช้สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งมูลค่าทางบัญชีมีมูลค่าต่ำมาก เนื่องจาการตัดค่าเสื่อมราคาเป็นวิชาการทางบัญชี โดยไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงในการใช้ประโยชน์และทำรายได้ ซึ่งตรงกันข้ามเมื่อคำนวณอัตราค่าผ่านทางทราบว่าทาง ปตท.กลับไม่ใช้มูลค่าทางบัญชีในการคำนวณแต่ใช้มูลค่าทดแทน(Replacement Value) ซึ่งเท่ากับต้นทุนในการก่อสร้างปัจจุบัน จะมีมูลค่าสูงมาก ทำให้ค่าผ่านท่อมีอัตราสูง ผู้บริโภคก็ต้องรับภาระสูง
"สตง.ยืนยันที่จะไม่เข้าข้างฝ่ายใด แต่มุ่งมั่นใช้ข้อมูลที่มีอยู่ตรวจสอบ เพื่อแสดงความเห็นที่เกิดความยุติธรรม ดังนั้นครม.จึงน่าจะให้เวลาในการตรวจสอบด้วย และขณะนี้ก็ยังต้องคอยข้อมูลจาก ปตท.อยู่" คุณหญิงจารุวรรณกล่าว