รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – 63 ชาติทั่วโลกใน COP28ที่เมืองดูไบ สหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ เช้าวันอังคาร(5 ธ.ค) ประกาศปฎิญญาร่วมที่จะจำกัดการปล่อยเกี่ยวข้องกับการทำความเย็น (cooling-related emissions )ให้ได่ไม่ต่ำกว่า 68% ภายในปี 2050 ระหว่างวิกฤตหนักทำให้ปี 2023 โลกทำลายสถิติครั้งใหม่อุ่นขึ้น 1.4 องศาเซลเซียสนับตั้งแต่ก่อนยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม
รอยเตอร์รายงานวันอังคารท( 5 ธ.ค)ว่า ขณะที่โลกกำลังมุ่งหน้าไปสู่ปี 2024 ที่มีหลายเสียงชี้ว่าอาจจะร้อนมากกว่าเดิม อ้างอิงจาก CNN ของสหรัฐฯรายงานวันพุธ(6)ว่า โลกในปี 2023 ได้ทำสถิติใหม่ที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้นตั้งแต่ระดับก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรมมาอยู่ที่ 1.4 องศาลเซลเซียสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใกล้เป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสตามข้อตกลงปารีสและเกินกว่าในสิ่งที่มนุษย์และระบบนิเวศน์ทั้งหลายที่บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ายากที่จะปรับตัวได้
ภายในการประชุม COP28 ที่ดูไบ วันอังคาร(5) พบว่า ได้มีการให้คำปฎิญาณร่วมกันกันต่อการป้องการปล่อยความอุ่นทางสภาพอากาศ (climate-warming emissions) ที่มาจากระบบทำความเย็นรวมไปถึง “ตู้เย็น” และ “เครื่องปรับอากาศ”
ปฎิญญานี้ให้ประเทศที่เป็นภาคีตั้งเป้าลดการปล่อยให้ได้ไม่ต่ำกว่า 68% ภายในปี 2050 เมื่อเปรียบเทียบกับระดับของปี 2022 พร้อมไปกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆรวมไปถึงการตั้งระดับมาตรฐานความสามารถพลังงานขั้นต่ำภายในปี 2030
รอยเตอร์เคยรายงานก่อนหน้าว่า โนอาห์ โฮโรวิตซ์ (Noah Horowitz) ผู้อำนวยการโครงการไม่แสวงหาผลกำไรความร่วมมือการทำความเย็นสะอาด( the Clean Cooling Collaborative nonprofit) แสดงความเห็นว่า “จะมีเครื่องปรับอากาศมากกว่า 3 พันล้านเครื่องได้รับการติดตั้งทั่วโลกนอกเหนือไปจากราว 2 พันล้านเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบัน”
ด้านจอห์น เคียร์รีย์ (John Kerry) ทูตสภาพอากาศสหรัฐฯได้กล่าวภายในงานว่า “พวกเราต้องการวางแผนเพื่อลดการปล่อยเกี่ยวข้องกับการทำความเย็นทั่วทุกภาคส่วน แต่เพิ่มการเข้าถึงการทำความเย็นอย่างยั่งยืน”
ด้านอีวอนน์ อาคี-ซอวเยอร์ (Yvonne Aki-Sawyerr) นายกเทศมนตรีเมืองฟรีทาวน์ (Freetown) ของเซียร์ราลีโอนกล่าวใน COP28 ว่า
“ขอให้มองภาพชุมชนแออัด ชุมชนที่ตั้งแบบไม่ถูกกฎหมาย บ้านที่ทำจากแผ่นสังกะสี และตั้งอยู่ข้างกับเครื่องปรับอากาศ”
และเสริมต่อว่า “เป็นความปราถนาของทุกคนจากการที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นและรายได้เพิ่มขึ้นคือว่าที่ความร่ำรวยของเขานั้นถูกวัดได้โดยการทำความเย็นของพวกเขา”
เจอร์เกน ฟิสเชอร์ (Jürgen Fischer) ประธานแห่งผลลัพท์สภาพอากาศประจำบริษัทเดนมาร์กชื่อดัง Danfoss ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการทำความร้อนและการทำความเย็นกล่าวว่า
“ผู้คนจะพากันหาซื้อเครื่องปรับอากาศราคาถูกที่ผลิตบางแห่งในเอเชียในราคา 100 ดอลลาร์สและเสียบปลักใช้” พร้อมเสริมต่อว่า “ที่จะะเป็นการทำให้ระบบพลังงานต้องทำงานหนักมากและอาจจะล้มได้” และชี้ว่า “ผมไม่คิดว่าจะเป็นความคิดที่ดีที่จะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ที่เป็นส่วนตัวสามารถเสียบปลั๊กได้อีกต่อไป”
ทั้งนี้รอยเตอร์รายงานเป็นเจ้าแรกในรายงานที่ สหรัฐฯสนับสนุนการปฎิญญาการลดการปล่อยทางความเย็นที่ชี้ไปว่า อาจมีกระบวนการในการสร้างมาตรการหรือแรงจูงใจสำหรับอุตสหากรรมภายในสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน “อินเดีย” ที่กำลังเฟื่องฟูในเวลานี้นั้นถูกมองว่าจะมีความความต้องการมากที่สุดสำหรับการทำความเย็นในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่อินเดียไม่ได้เข้าร่วมในปฎิญญาเช้าวันอังคาร(5)