เอเจนซีส์ - มีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จำนวนหนึ่งรวมไปถึงนักการเมืองอเมริกันจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮกเกอร์ที่ทำงานให้รัฐบาลเวียดนามระหว่างการเจรจาที่นำไปสู่พันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์แบบครอบคลุมระหว่างสหรัฐฯ-เวียดนาม อ้างอิงการวิเคราะห์จากสื่อชื่อดังทั้งวอชิงตันโพสต์ มีเดียพาร์ท และแดร์ชปีกัล
หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันนี้ (10 ต.ค.) ว่า การรายงานที่เผยแพร่วันจันทร์ (9) โดยหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ที่จับมือร่วมกันกับมีเดียพาร์ท (Mediapart) และแดร์ชปีกัล (Der Spiegel) ในปฏิบัติการฟิชชิง (Phishing) ลวงทางแพลตฟอร์ม X หรือทวิตเตอร์ในอดีตต่อเป้าหมาย รวมทั้งจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการต่างประเทศประจำสภาสูงสหรัฐฯ และสภาล่างสหรัฐฯ
อ้างอิงจากเดอะฮิลล์ของสหรัฐฯ พบว่า มีอย่างน้อย 4 คนที่ตกเป็นเป้าได้แก่ ส.ส. ไมเคิล แม็คคอล (Michael McCaul) ส.ว. จอห์น โฮเวน (John Hoeven) ส.ว. คริส เมอร์ฟี( Chris Murphy) และ ส.ว.แกรี ปีเตอร์ส (Gary Peters)
นอกจากนี้ พบว่าหัวหน้านักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงสหรัฐฯ ของ Jim Sciutto และนักข่าวอีก 2 คนที่ประจำอยู่ในไต้หวันตกเป็นเป้าโจมตีนี้เช่นกันอ้างอิงจากการสอบสวน
เป้าหมายแฮกนี้เพื่อต้องการรวบรวมข้อมูลระหว่างฮานอยกำลังอยู่ในการเจรจาสำคัญร่วมกับวอชิงตันที่ในภายหลังมีข้อตกลงกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกันให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดยมีเป้าหมายไปเพื่อทำให้อิทธิพลปักกิ่งในภูมิภาคอ่อนลง และบริษัทสัญชาติอเมริกันเพิ่มมากขึ้นมองมาที่เวียดนามในทางเลือกของการเป็นฐานผลิตแทนจีน
สื่ออังกฤษชี้ว่า ไม่มีหลักฐานว่าเป้าหมายที่มีทั้งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ คนใดจะตกเป็นเหยื่อหลงกลที่ล่อหลอกให้ผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ต้องสงสัยก่อนที่โทรศัพท์มือถือของคนเหล่านี้จะเริ่มต้นลงมือดาวน์โหลดสปายแวร์สอดแนมชื่อ Predator ที่คล้ายกับสปายแวร์ Pegasus ที่โด่งดัง
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากกูเกิลเป็นคนแรกที่ค้นพบลิงก์แฮกเกอร์อื้อฉาว อ้างอิงจากวอชิงตันโพสต์ และได้มีการติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามดิจิทัลที่ซิติเซน แล็บ (Citizen Lab) ประจำมหาวิทยาลัยโทรอนโต
พบว่าจากการตรวจสอบความพยายามของการแฮกที่เกิดขึ้นผู้เชี่ยวชาญต่างฟันธงว่า น่าจะเป็นฝีมือกลุ่มแฮกเกอร์ที่ขาดประสบการณ์
ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศอังกฤษไม่ได้ยืนยันว่าถึงการแฮกตามการรายงานของวอชิงตันโพสต์ แต่ทว่าได้มีการชี้อย่างคลุมเครือไปว่าข้อตกลงที่มีการลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ร่วมกับรัฐบาลฮานอยนั้นจะเป็นการเปิดเวทีให้มีการนำประเด็นเหล่านั้นออกมา