xs
xsm
sm
md
lg

ไม่เอาเจรจาสันติภาพ! นายกฯ ลิทัวเนียยุสหรัฐฯ-ยุโรปถึงเวลามอบขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อิงกริดา ซิโมไนต์ นายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ว่า ถึงเวลาแล้วที่สหรัฐฯ หรือประเทศในยุโรป จะมอบขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน พร้อมไม่เห็นด้วยกับความพยายามผลักดันให้เกิดการเจรจาสันติภาพ เนื่องจากมองว่าเวลานี้เคียฟเป็นฝ่ายได้เปรียบในสนามรบและทางรัสเซียก็ไม่ได้สนใจในสันติภาพใดๆ

ซิโมไนต์ เดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ โดยได้พบปะกับ กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีอเมริกา บรรดาสมาชิกสภาคองเกรส และชาวลิทัวเนียที่โยกย้ายถิ่นฐานมายังสหรัฐฯ ในเพนซิลเวเนีย เธอใช้โอกาสส่งสารถึงทุกคนด้วยข้อความที่เข้าใจง่ายไม่สลับซับซ้อนว่า "ขอทุกคนอยู่ในความสงบและอยู่บนเส้นทางแห่งการเดินหน้าสนับสนุนยูเครนต่อไป"

อย่างไรก็ตาม ในความคิดของเธอนั้น เธอมองว่าตะวันตกสามารถทำอะไรได้มากกว่าเป็นที่อยู่ในความพยายามช่วยเหลือเคียฟปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย "ยูเครนต้องการอาวุธชนิดนี้" ซิโมไนต์ พร้อมระบุ "ด้วยระบบขีปนาวุธยุทธวิธี ATACMS ของสหรัฐฯ หรืออาวุธเท่าเทียมกันของยุโรป กองทัพยูเครนควรได้รับระบบอาวุธทั้ง 2 อย่างรวดเร็ว และจำเป็นต้องมีอาวุธที่สามารถโจมตีฐานที่มั่นต่างๆ ของรัสเซียภายในยูเครนได้ดีกว่าเดิม"

นายกรัฐมนตรีรายนี้ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวที่ระบุว่า ยูเครนกำลังใช้โดรนโจมตีฐานทัพทหารต่างๆ ที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย โดยเธอบอกว่ามันยากจะที่ยืนยันถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะว่ามอสโกมีประวัติกล่าวอ้างปฏิบัติการอันเป็นเท็จต่างๆ แต่ยืนยันว่าเธอจะสนับสนุนยูเครนทุกอย่างเท่าที่เคียฟต้องการ ในการปกป้องตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย

ซิโมไนต์ วัย 48 ปี มีจุดยืนเหมือนกับบรรดาผู้นำประเทศแถบบอลติกอื่นๆ ซึ่งใช้สุ้มเสียงเชิงแข็งกร้าวมากกว่าบรรดาผู้นำประเทศแถบยุโรปตะวันตก เธอผลักดันให้กำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียต่ำกว่าที่ตกลงกัน 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเชื่อว่าแรงกดดันของมาตรการคว่ำบาตรจะทำให้เครมลินอ่อนแอลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ เธอพยายามกำหนดข้อจำกัดเพิ่มเติมในด้านการทำการค้ากับคาลินินกราดอีกด้วย

นายกรัฐมนตรีลิทัวเนีย แสดงความไม่เข้าใจว่าทำไมบรรดาผู้นำยุโรปบางส่วนถึงพยายามผลักดันการเจรจาสันติภาพ ในเมื่อทหารยูเครนกำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ไม่ส่งสัญญาณใดๆ เกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างจริงจัง "ปูตินไม่สนใจสันติภาพ" พร้อมระบุการยื่นข้อเสนอแก่ปูติน เกี่ยวกับการมอบคำรับประกันด้านความปลอดภัยแก่รัสเซีย ในการพูดคุยเจรจาใดๆ "เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลแม้แต่น้อย"

ในการให้สัมภาษณ์สถานีทีวีทีเอฟ 1 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส กล่าวว่า ยุโรปจำเป็นต้องเตรียมโครงสร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงสำหรับอนาคต และคิดหาวิธีรับประกันความมั่นคงสำหรับรัสเซียด้วย หากรัสเซียกลับสู่โต๊ะเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอาทิตย์ (4) มิกไคโล โปโดลยัค ผู้ช่วยระดับสูงของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ตอบโต้ว่า โลกต้องการให้รัสเซียรับประกันความมั่นคงมากกว่าที่จะต้องไปรับประกันความมั่นคงให้รัสเซีย

(ที่มา : politico)


กำลังโหลดความคิดเห็น