ไข้หวัดใหญ่มีอัตราการแพร่เชื้อมากกว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ถึง 2 เท่า จากผลการวิจัยใหม่ของผู้เชี่ยวชาญในยุโรปที่เผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าผู้ติดเชื้อรายใดที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ด้วยก็จะสามารถแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 สู่คนอื่นๆ ได้ในวงกว้างกว่าเดิม
ผลการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันแม็กซ์ แพลงค์ ในเยอรมนี และสถาบันปาสเตอร์ เผยให้เห็นว่าตามค่าเฉลี่ย คนไข้ที่ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 virus สามารถแพร่เชื้อโควิด-19 สู่คนอื่นๆ อีก 2 ราย แต่หากว่าเขาหรือเธอป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วด้วยนั้น มันจะช่วยให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แพร่กระจายสู่คนอื่นๆ ได้ 4 หรือ 5 คน
“ผลศึกษาชัดเจน” บรรดาวิจัยที่นำโดยดอคเตอร์มัตเตอู โดโมเนค เดอะ เซลเลส นักระบาดวิทยาชาวเยอรมนี ระบุในเอกสารที่ยังไม่ผ่านการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ และโพสต์ลงบนเว็บไซต์ Medrxiv.org ในวันพุธ (9 ก.ย.)
ด้วยมีความกังวลว่าอาจเกิดแพร่ระบาดระลอกสองของโควิด-19 เล่นงานซีกโลกเหนือในฤดูใบไม้ร่วงนี้ ก่อความเป็นไปได้ว่ามันจะทำให้วิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในปัจจุบันเลวร้ายลงไปอีก
โดโมเนค เดอะ เซลเลส และเพื่อนร่วมวิจัย ได้จัดทำโมเดลหนึ่งซึ่งจำลองการแพร่กระจายร่วมกันของไข้หวัดตามฤดูกาลและโควิด-19 รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ของยุโรป ในนั้นรวมถึงเบลเยียม, อิตาลี, สเปน และนอร์เวย์ เพื่อแยกผลกระทบของโรคติดต่อทั้ง 2 ชนิด
ในข้อถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบของไข้หวัดใหญ่กับโรคระบาดใหญ่ พวกนักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะก่อการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันข้ามสายพันธุ์ ที่อาจช่วยปกป้องไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้บางส่วน
แต่คนอื่นๆ มองว่ามันรังแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เพราะว่าคนไข้ที่ติดเชื้อร่วมกันทั้ง 2 ชนิด จำเป็นต้องต่อสู้กับไวรัส 2 สายพันธุ์ที่ต่างกันในเวลาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น อาการของคนเป็นไข้หวัดตามฤดูกาล อย่างเช่นไอหรือจาม ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริมการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19
“การศึกษาที่นำโดย โดโมเนค เดอะ เซลเลส พบหลักฐานอย่างต่อเนื่องว่าระหว่างช่วงเวลาที่พวกมันวนเวียนอยู่พร้อมๆ กัน ไข้หวัดใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับค่าเฉลี่ยการแพร่กระจายเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เพิ่มขึ้นในหมู่ประชากร” บรรดานักวิจัยจากฝรั่งเศสและเยอรมนีระบุ
จากการวิเคราะห์ของพวกเขายังระบุด้วยว่า การลดลงของเคสผู้ติดเชื้อใหม่หลังการแพร่ระบาดระลอกแรกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแค่เพียงมาตรการล็อกดาวน์และเว้นระยะห่างทางสังคมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการที่ไขัหวัดตามฤดูกาลสิ้นสุดลงด้วย
นอจากนี้แล้ว บรรดานักวิจัยยังพบว่า 30 ถึง 50% ของผู้ติดเชื้อทั้ง 2 ชนิด ดูเหมือนว่าจะไม่แสดงอาการใดๆ โดยหนึ่งในเหตุผลที่เป็นไปได้ก็คือไวรัสทั้ง 2 เริ่มแสดงอาการปวยในเวลาที่ต่างกัน โดยปกติแล้วไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะใช้เวลามากกว่า 5 วันในการเริ่มแสดงอาการ นานกว่าช่วงฟักตัวของไข้หวัด ซึ่งมีระยะเวลา 1 หรือ 2 วัน ดังนั้นเมื่อตอนคนไข้ตรวจพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อาการหวัดก็อาจหายไปจากผู้ป่วยแล้ว
โรคระบาดใหญ่ซึ่งมีต้นตอจากไวรัส H1N1 ในปี 1918 ได้แพร่เชื้อสู่ประชากรโลกราว 1 ใน 3 และคร่าชีวิตผู้คนไปราวๆ 50 ล้านราย โดยมันแพร่ระบาดหลายระลอก และพวกนักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อมั่นว่าการแพร่ระบาดแต่ละระลอกสัมพันธ์กับไข้หวัดตามฤดูกาล และไข้หวัดฤดูกาลเป็นตัวซ้ำเติมให้สถานการณ์การแพร่ระบาดเลวร้ายลง
(ที่มา : เซาท์ไชน่า มอร์นิงโพสต์)