xs
xsm
sm
md
lg

In Clip : ตื่นโคโรนาไวรัส สาวอิตาลีพบร้านขายยาให้ “หน้ากากอนามัยผลิตจากอู่ฮั่น” สุดอึ้ง! ผู้เชี่ยวชาญยุโรป-อเมริกา ตั้งข้อสงสัยหน้ากากอนามัยกันได้จริงเหรอ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์ - ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในยุโรป-อเมริกา ต่างออกมาตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพการป้องกันโรคไวรัสโคโรนาจากการสวมหน้ากากอนามัย พบอิตาลีมีพลเมืองผู้หญิง 1 รายทำงานที่สนามบินกรุงโรม ประหลาดใจสุดๆ ที่ร้านยาแห่งหนึ่งจำหน่ายหน้ากากอนามัยผลิตจากเมืองอู่ฮั่น ต้นทางโรคระบาด

ยูโรนิวส์รายงานเมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) ว่าชาวยุโรปได้พากันออกไปหาซื้อหน้ากากป้องกันโรคไวรัสโคโรนา แต่ทว่ามีเรื่องที่น่าเหลือเชื่อได้เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงชาวอิตาลีรายหนึ่งพบว่าหน้ากากป้องกันที่เธอได้ซื้อมาจากร้านขายยาซึ่งสถานที่ผลิตจากเมืองอู่ฮั่น ต้นทางการระบาดของโรค

ผู้ใช้ทวิตเตอร์นามว่า ลารา (Lara) ทำงานอยู่ภายในท่าอากาศยานนานาชาติกรุงโรม ได้ให้สัมภาษณ์กับยูโรนิวส์ว่า หลังจากที่เธอได้ซื้อหน้ากากมาเพื่อป้องกันแล้ว บังเอิญเหลือบไปเห็นแหล่งผลิตที่แสดงบนซองพลาสติก และต้องประหลาดใจเมื่อพบว่ามีที่มาจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย

หน้ากากที่หญิงรายนี้ซื้อถูกผลิตขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี 2019 และถูกจำหน่ายโดยบริษัทยาอิตาลี ฟาร์มาคซาบบาน (Farmaczabban)

โดย ดร.มาเรีย คาเทนา อิงเกรีย (Maria Catena Ingria) ซึ่งทำงานในร้านขายยาฟาร์มาซี อีเกีย (Farmacie Igea) ที่ลาราได้ซื้อหน้ากากมาเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสำหรับหน้ากากนั้นเกิดขึ้นล่วงหน้ามานานหลายเดือนและถูกส่งเข้าอิตาลีทุกวัน และหน้ากากเหล่านี้ถูกสั่งมาจากเมืองอู่ฮั่น อิงเกรียยืนยัน

แต่การระบาดของโรคทำให้ร้านขายยาทั่วจีนต่างรายงานการขาดแคลนหน้ากากอนามัย ส่งผลทำให้มีบางส่วนถูกส่งกลับไปโดยเธอกล่าวว่า “จำนวนราว 2,000 ชิ้นที่เราได้รับในแต่ละวันและเก็บไว้สำหรับในประเทศ แต่มีบางส่วนเราได้ส่งกลับไป”

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหน้ากากอนามัยจะได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นหนทางที่จะป้องกันจากโรคไวรัสโคโรนาได้ แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญบางคนยังตั้งข้อสงสัย โดยเมโทร สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวันพุธ (29) ว่า มาร์ก วูลเฮาส์ (Mark Woolhouse) ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ (Infectious Disease Epidemiology) ประจำมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ออกมาแสดงความเห็นในสื่อนิวไซน์เอนทิส (New Scientist)” ว่า “หน้ากากพวกนี้อาจช่วยได้ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันจะสามารถปกป้องได้ 100%”

ด้าน เอริก โทนเนอร์ (Eric Toner) ประจำศูนย์ความมั่นคงสุขภาพประจำมหาวิทยาลัยจอห์นฮอฟกินของสหรัฐฯ ได้แสดงความเห็นที่คล้ายกันในสื่อบิสิเนสอินไซเดอร์ว่า มีความเสี่ยงเล็กน้อยในการสวมหน้ากากป้องกัน แต่ชี้ว่า “มันไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการป้องกันที่ได้ผล”

ในเวลานี้มีหน้ากากป้องกันที่เป็นที่นิยม คือ หน้ากากสำหรับแพทย์ผ่าตัด และหน้ากากป้องกันฝุ่น PM95 เมโทรรายงานว่า หน้ากากอนามัย สำหรับการผ่าตัดถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการหยดของของเหลวร่างกาย ดังนั้นจึงลดโอกาสในการติดเชื้อ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก WHO ได้ให้ข้อแนะนำให้ผู้ปฏิบัติการทางแพทย์สวมหน้ากากประเภทนี้ รวมไปถึงถุงมือ แว่นตาป้องกัน และเสื้อกาวน์

แต่ทว่าหน้ากากอนามัยสำหรับการผ่าตัดถูกออกแบบมาให้ใช้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

ส่วน หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ถูกออกแบบมาให้ป้องกันเป็นพิเศษที่บริเวณจมูกและปากโดยรับรองสามารถป้องกันอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 95% แต่จะมีประสิทธิภาพรับรองก็ต่อเมื่อหน้ากากมีความพอดีกับใบหน้าผู้สวมเท่านั้น เพราะหากไม่ หยดของเหลวยังสามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ และอีกทั้งเด็กและผู้ที่มีหนวดเคราอาจมีปัญหาในการหายใจ

เป็นที่น่าแปลกใจว่า การสวมหน้ากากอนามัยป้องกันไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับประธานเยอรมันโซไซตีด้านการติดเชื้อวิทยาประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเรเกนส์บวร์ก (German Society for Infectiology at Regensburg University Hospital)

โดยสื่อ thelocal.de รายงานในวันพุธ (29) ว่า เบอร์นด์ ซาลซเบอร์เกอร์ (Bernd Salzberger) ยืนยันว่า หน้ากากเหล่านี้ “ไม่มีความเหมาะสม” กับสถานการณ์ปัจจุบันในเยอรมนี

มีคนทั้งหมด 4 คนมาจากแคว้นบาวาเรียติดเชื้อโคโรนาไวรัส และเขาเสริมต่อว่า “การปกป้องส่วนบุคคลนี้ถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดในเวลานี้” ซาลซ์เบอร์เกอร์ให้สัมภาษณ์กับ DPA

อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญรายนี้ เขาชี้ว่าหน้ากากอนามัยสำหรับการผ่าตัด ไม่ได้ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม ต่อการป้องกันการติดเชื้อ แต่เป็นการป้องกันของเหลวติดเชื้อที่ออกมาจากระบบทางเดินหายใจของศัลยแพทย์เท่านั้น โดยเขายืนยันว่าการป้องกันการติดเชื้อจากด้านนอกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ซึ่งการสวมหน้ากากเป็นการป้องกันไม่ให้คนอื่นติดหวัดจากการไอและจามของผู้สวมเท่านั้น







กำลังโหลดความคิดเห็น