รอยเตอร์ - ซาอุดีอาระเบียระบุในวันนี้ (18 พ.ค.) ว่าพวกเขากำลังปรึกษากับผู้ผลิตน้ำมันในและนอกโอเปกเพื่อทำให้แน่ใจว่าโลกจะมีอุปทานเพียงพอที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังจากราคาน้ำมันแตะ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014
รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโอเปก คาลิด อัล-ฟาลีห์ ของซาอุดีอาระเบีย กล่าวในโพสต์ทวิตเตอร์ว่า เขาเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงพลังงงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐฯ และรัสเซีย รวมทั้งผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อย่างเกาหลีใต้ “ร่วมมือกันเพื่อลดความวิตกกังวลของตลาด”
ฟาลีห์ ยังกล่าวด้วยว่า เขาย้ำกับผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ถึง “ข้อผูกมัดต่อเสถียรภาพของตลาดน้ำมันและเศรษฐกิจโลก” และว่า เขาจะติดต่อกับผู้อื่นในช่วงสองสามวันข้างหน้า
เมื่อวานนี้ (17) ฟาลีห์เรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงปิโตรเลียมของอินเดีย ธาร์เมนดรา ปราธาน เพื่อทำให้เขามั่นใจว่าการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของราชอาณาจักร รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ระบุในถ้อยแถลง หลังจากอินเดียแสดงความไม่พอใจต่อการเพิ่มขึ้นสูงของราคาน้ำมันเมื่อไม่นานมานี้
ราคาน้ำมนคงตัวในวันนี้ (18) โดยน้ำมันดิบเบรนต์ซื้อขายที่ราคาประมาณ 79.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเกณฑ์มาตรฐานทั่วโลกพุ่งทะลุ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2014 เมื่อวานนี้
เมื่อวานนี้ (17) กระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบียระบุว่า ราชอาณาจักรและผู้ผลิตรายอื่นๆ จะทำให้แน่ใจว่าอุปาทานจะมีเพียงพอที่จะชดเชยอุปทานส่วนที่หายไป
รัฐมนตรีปราธานจของอินเดียแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบจากราคาที่เพิ่มขึ้นต่อผู้บริโภคและโดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจของอินเดีย ผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก
อินเดียเป็นหนึ่งในผู้บริโภคพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และการใช้น้ำมันของประเทศเป็นรองเพียงแค่สหรัฐฯ และจีนเท่านั้น
องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม และรัสเซีย ปรับลดปริมาณการผลิตนับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2017 เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำมันสะสมส่วนเกินทั่วโลก
จนถึงตอนนี้ โอเปกระบุว่า พวกเขาไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องผ่อนคลายการจำกัดผลผลิตถึงแม้ว่าปริมาณน้ำมันส่วนเกินทั่วโลกจะลดลงมาในระดับตามเป้าหมายของกลุ่มแล้วก็ตาม และความกังวลในหมู่ประเทศผู้บริโภคที่ว่าการเพิ่มขึ้นของราคาอาจนำไปสู่การลดต่ำลงของอุปสงค์
เมื่อวานนี้ (17) สมาชิกโอเปก ยูเออี ระบุว่า โอเปกมีเรื่องใหญ่ให้ต้องพิจารณามากกว่าผลกระทบของการที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างประเทศกับอิหร่าน เช่น เรื่องผลผลิตน้ำมันที่ลดลงอย่างมากของเวเนซุเอลา
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังเรียกร้องให้โอเปกช่วยชะลอราคาน้ำมัน โดยระบุว่ามันเป็นราคาที่สูงเกินจริง