xs
xsm
sm
md
lg

In Pics : “มาครง” เข้ารับ “รางวัลคาร์ล” ในเยอรมนี พร้อมตบหลังแมร์เคิล “อย่ารอ ต้องลงมือเลยเพื่อยุโรป”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.) ในระหว่างเข้ารับรางวัลคาร์ล หรือชาร์เลอมาญ ที่เมืองอาเคิน (Aachen) เยอรมนี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กดดันนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ให้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการเดินหน้าเพื่อปฎิรูปสหภาพยุโรป โดยเตือนว่าในเวลานี้อียูกำลังยืนอยู่ระหว่างทางแยกที่มีสหรัฐฯ นำโดยประธานาธิบดีทรัมป์กำลังมุ่งหน้ามา

เอเอฟพีรายงานวันนี้ (11 พ.ค.) ว่า รางวัลคาร์ล หรือชาร์เลอมาญ (Charlemagne prize) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคล ที่เสนอความคิดเห็นที่ดีในการสร้างสันติและการพัฒนาทวีปยุโรป ซึ่งในปีนี้ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูแอล มาครง เป็นผู้ได้รับ ซึ่งมีพิธีการมอบรางวัลในวันพฤหัสบดี (10) ที่เมืองเมืองอาเคิน (Aachen) เยอรมนี

โดยทางผู้นำฝรั่งเศสได้ถือโอกาสการเข้ารับมอบรางวัลจากการที่เป็นผู้กระตุ้นให้มีความเป็นปึกแผ่นของสหภาพยุโรป มาครงที่ตั้งแต่หลังเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 ปีก่อนหน้า มักแสดงความเห็นต่อเยอรมนี ซึ่งที่ผ่านมามักแสดงความเห็นขัดแย้งต่อข้อเสนอการปฏิรูปของเขาในการลดความเสียหายจากเหตุ BREXITของอังกฤษ

โดยเมื่อวานนี้ (10) มาครงได้กล่าวกระตุ้นต่อผู้นำหญิงเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ให้เดินหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อการปฏิรูปยุโรป

“อย่ารอ..ขอให้เริ่มลงมือทำเดี๋ยวนี้” ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าว

พร้อมกันนี้มาครงกระตุ้นเยอรมนีให้เอาชนะต่อความรู้สึกที่เป็นสุข ที่เมืองเบียร์สามารถกดขี่ต่อการจัดทำงบประมาณประเทศ ที่มีรายได้จำนวนมหาศาล และการค้าเกินดุลของตัวเอง และหันมาสนับสนุนแนวคิดการปฎิรูปที่ถึงแม้จะต้องทำให้เยอรมนีต้องยอมรัดเข็มขัดก็ตาม

ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ทางสหรัฐฯ ตัดสินใจถอนตัวออกจากการร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน และปฎิญญาข้อตกลงว่าด้วยสภาวะอากาศปารีส และการขู่คุกคามจะตอบโต้ชาติพันธมิตรด้วยการเพิ่มการลงโทษทางมาตรการภาษี

โดยทางมาครงชี้ว่า นี่เป็นช่วงเวลาคัญที่ยุโรปต้องร่วมกันเป็นปึกแผ่นมากกว่าที่เคย และแสดงความแข็งแกร่งออกมาให้ปรากฏ

“หากเรายอมรับอำนาจอื่น รวมไปถึงจากชาติพันธมิตรของเรา...ให้พวกเขาอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินการทูตของเรา ความมั่นคงของเรา และบางครั้งทำให้เราต้องตกอยู่ในความเสี่ยงกว่าที่เคย และดังนั้นแล้วพวกเราไม่ถือว่ามีอำนาจอธิปไตยมากกว่า และเราไม่อาจมีความน่าเชื่อถือมากกว่าต่อความเห็นสาธารณะ” ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งได้แถลงการถอนตัวสหรัฐฯจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน

นอกจากนี้ ทรัมป์ยังข่มขู่บรรดาบริษัทของยุโรปให้ล้มเลิกการค้ากับอิหร่าน หรือต้องเผชิญหน้ากับมาตรการลงโทษทางการคว่ำบาตร และทำให้ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวให้ยุโรปลุกขึ้นเผชิญหน้าต่อเสียงคำสั่งและการชี้นิ้วจากอีกฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก “อย่าอ่อนแอ” มาครงในวัย 40 ปีชี้

และเมื่อวานนี้ (10) นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้กล่าวซ้ำอีกครั้งว่า สหภาพยุโรปไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐฯ ได้อีกต่อไป “ไม่มีสิ่งนั้นอีกต่อไปที่สหรัฐฯจะแค่ต้องการปกป้องพวกเรา แต่ยุโรปต้องลุกขึ้นเพื่อกำหนดโชคชะตาที่อยู่ในมือของตัวเอง นี่เป็นภารกิจแห่งอนาคต”

แต่อย่างไรก็ตาม เอเอฟพีชี้ว่า แมร์เคิลยอมรับว่า ความเห็นต่างทำให้เป็นอุปสรรคต่อข้อเสนอสำหรับการรวมตัวของสหภาพยุโรปในอนาคต ที่ถึงแม้ว่าทั้งตัวแมร์เคิลและมาครงจะให้คำมั่นในความเห็นร่วมกันต่อโรดแมปสำหรับอนาคตของยุโรปในการประชุมครั้งสำคัญของสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งทางมาครงได้เสนอการปฏิรูปหลายประการ โดยเฉพาะในด้านการทำงบประมาณร่วมยุโรป จัดตั้งกระทรวงการคลังสหภาพยุโรป มีการทหารร่วม “หน่วยกองกำลังตอบโต้เร็ว” และภาษีอียูต่อบริษัทไฮเทคยักษ์ใหญ่

เอเอฟพีรายงานว่า แมร์เคิลยอมรับว่า ระบบเศรษฐกิจยุโรป และสกุลเงิยยูโรของทางหสภาพยุโรปสมควรที่ต้องถูกทำให้มีความยั่งยืน แต่กระนั้นในเวลานี้ผู้นำเยอรมันยังเงียบเสียงต่อข้อเสนอของมาครงในการจัดทำ “งบประมาณเขตเศรษฐกิจยุโรปร่วม” (Common eurozone budget)

แต่ทว่าผู้นำฝรั่งเศส มาครง กล่าวว่า งบประมาณเขตเศรษฐกิจยุโรปร่วมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวยุโรปมากขึ้น ซึ่งยุโรปจำเป็นต้องมีงบประมาณเป็นของตัวเอง

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าว โดยชี้ไปที่การทำงบประมาณของเยอรมัน ซึ่งถึงแม้ว่าทางเยอรมันจะมีรายได้เข้ามามากกว่ารายจ่าย แต่รัฐบาลเยอรมันมักจะถูกขึ้นชื่อในยุโรปว่า มีการเข้มงวดในการจัดทำงบประมาณ

มาคงได้โจมตีไปที่ความลังเลใจของฝ่ายเยอรมันที่จะควักกระเป๋าที่จะจ่าย รวมไปถึงความวิตกกังวลต่อแผนการใดๆ ที่จะดึงทรัพยากรสำคัญออกมาจากชาติร่ำรวยในกลุ่มเพื่อช่วยเหลือชาติที่ยากจนกว่า

นอกจากนี้ เอเอฟพีชี้ว่า ทางพรรคคริสเตียน เดโมแครต CDU ของแมร์เคิลยังกล่าวประณามต่อแนวคิดการตั้งกระทรวงการคลังสหภาพยุโรปของมาครงอีกด้วย













กำลังโหลดความคิดเห็น