xs
xsm
sm
md
lg

เยอรมันยุติค้นหา “เหยื่อสูญหาย” กว่าล้านคน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังพยายามมานานหลายสิบปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ - ล่าสุดองค์การกาชาดเยอรมันแภลงวันอังคาร(23 ม.ค)ประกาศยุติโครงการตามหาเหยื่อผู้สูญหายที่มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากโครงการนี้เกิดขึ้นมานานหลายสิบปี ด้านกระทรวงหมาดไทยเมืองเบียร์แถลงชี้แจง ยอดความสำเร็จมีแต่ลดลงตามปี

DW สื่อเยอรมันรายงานเมื่อวานนี้(23 ม.ค)ว่า โทมาส ฮูเบอร์ (Thomas Huber)หัวหน้าแผนกตามหาเหยื่อผู้สูญหายประจำองค์การกาชาดเยอรมันที่มีรัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว DPA ล่าสุดว่า ชะตากรรมของผู้สูญหายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีจำนวนร่วม 1.2 ล้านคนคาดว่าน่าจะยังคงเป็นปริศนาต่อไป “เราไม่สามารถที่จะเข้าไปถึงชะตาชีวิตของคนเหล่านั้นได้” ฮูเบอร์กล่าว

ทั้งนี้พบว่าในวันอังคาร(23) กระทรวงมหาดไทยเยอรมันออกแถลงการณ์ถึงโครงการตามหาผู้สูญหายที่ว่า มีเปอร์เซนต์ความสำเร็จต่ำลงไปเรื่อยๆปีต่อปีที่ต้องตามหาผู้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่จากช่วงเวลานั้น ในขณะที่กลับพบว่ามีช่องทางอื่นที่มีเปอร์เซนต์ความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นตามเวลาในการติดตามหาคนเหล่านี้

ฮูเบอร์กล่าวต่อว่าการตัดสินใจนั้นถูกชี้ขาดในข้อตกลงร่วมกับทางกระทรวงมหาดไทยเยอรมันแล้วถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการติดตามผู้สูญหายเหล่านี้ก็ตาม ซึ่งเมื่อวานนี้(23) องค์การกาชาดเยอรมันของเขาประกาศผ่านแถลงการณ์ว่า ทางหน่วยงานจะทำการยุติการตามหาเหยื่อผู้สูญหายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2023 สิ้นสุดโครงการที่ทำมานานหลายสิบปี

ทั้งนี้พบว่ามีการยื่นคำร้องราว 9,000 เรื่องเกิดขึ้นในปี 2017 อ้างอิงตัวเลขจากองค์การกาชาดเยอรมัน

โดยหัวหน้าหน่วยงานตามหาคนสูญหายของกาชาดเยอรมันชี้ว่า “สำหรับญาติคนสูญหายจำนวนมาก มันจะยังคงเป็นเหมือนหลุมดำต่อไปในสารบบสายตระกูลของคนเหล่านั้น” และชี้ว่า “พวกเรายังคงทำงานอย่างแข็งขันในเคสเหล่านี้”

DW สื่อเยอรมันรายงานว่า โครงการตามหาผู้สูญหายถูกตั้งขึ้นไม่นานหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายในการตามหาเหยื่อผู้สูญหายมากกว่า 20 ล้านคนที่เกิดหายตัวไปในช่วงสงคราม ทั้งนี้ตัวเลขสูญหายยังรวมไปถึงทหารที่ถูกสังหารในสมรภูมิและเป็นเชลยสงคราม

แต่พบว่าภายในปี 1959 องค์การกาชาดเยอรมันยังคงมีตัวเลขผู้สูญหายมากกว่า 2 ล้านเคสในมือ ซึ่งทางหน่วยงานที่ตามหาได้ทำงานที่น่าทึ่ง เป็นต้นว่า การที่ทางองค์การกาชาดเยอรมันสามารถทำให้พี่น้องชายคู่หนึ่งกลับมาพบกันใหม่อีกครั้งได้สำเร็จในปี 2010 หลังจากไม่เคยพบกันอีกเลยก่อนหน้าเป็นเวลานานร่วม 60 ปี

นอกจากนี้ทางองค์การกาชาดเยอรมันยังได้ทำคดีใหม่ๆในเรื่องการตามหาคนสูญหายในข้อตกลงที่ทำไว้กับกระทรวงมหาดไทยเยอรมันในสัญญา 11.5 ล้านยูโร หรือราว 14.1ล้านดอลลาร์ ต่อปี โดยเป็นการตาหมาบุคคลสูญหายแทนกระทรวงมหาดไทยเมืองเบียร์ ซึ่งสื่อเยอรมันชี้ว่าถือเป็นสิ่งดีท เพราะเป็นการเปิดโอกาสสำหรับใครก็ตามที่คิดว่าญาติของคนเหล่านั้นอาจอยู่ในเยอรมัน หรือบางทีเจ้าหน้าที่เยอรมันอาจมีข้อมูลของญาติของพวกเขาหรือเธอ

ซึ่งในปี 2016 ที่มาของประเทศของเรื่องร้องเรียนเหล่านี้มากที่สุดมาจากอัฟกานิสถาน ซีเรีย และโซมาเลีย




กำลังโหลดความคิดเห็น