xs
xsm
sm
md
lg

“มูกาเบ” โผล่ออกงานครั้งแรกนับตั้งแต่ถูกควบคุมตัว สหรัฐฯ แบะท่าสนับสนุนยึดอำนาจในซิมบับเว!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

 มูกาเบ วัย 93 ปี เข้าร่วมพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยซับบับเว โอเพ่น ในกรุงฮาราเร
รอยเตอร์ - ประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ ของซิมบับเว ในวันศุกร์ (17 พ.ย.) ปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ถูกทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อกลางสัปดาห์ ขณะที่พรรครัฐบาลมีแผนบีบให้เขาลงจากตำแหน่ง หลังจากครองอำนาจมานานกว่า 3 ทศวรรษ ด้านสหรัฐฯ บ่งชี้เป็นนัยสนับสนุนการยึดอำนาจในครั้งนี้ ระบุมันเป็นคือการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ของซิมบับเว

มูกาเบ วัย 93 ปี เข้าร่วมพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัยซับบับเว โอเพน ในกรุงฮาราเร โดยเขาสวมชุดครุยสีน้ำเงินแถบเหลือง และหมวกรับปริญญา และดูเหมือนจะเผลอหลับคาเก้าอี้เป็นบางครั้ง

ประธานาธิบดีรายนี้เป็นผู้นำปลดปล่อยซิมบับเวและปกครองการเมืองของประเทศมาตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1980 โดยเขายืนยันว่าตนองยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของพรรครัฐบาล ZANU-PF เผยว่าทางพรรคต้องการให้เขาลงจากอำนาจ “หากเขายังดื้อดึง เราจะเตรียมการในวันอาทิตย์สำหรับปลดเขาออก” แหล่งข่าวระบุ “หากมันแล้วเสร็จ การถอดถอนจะมีขึ้นในวันอังคาร”

ในทางตรงกันข้าม กองทัพระบุในถ้อยแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์ว่าพวกเขากำลังพยายามไกล่เกลี่ยกับมูกาเบ โดยอ้างถึงเขาในฐานะผู้บัญชาการสูงสุด และบอกว่าจะแถลงผลลัพธ์ของการเจรจาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

มูกาเบ เป็นที่เคารพนับถือในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส และเป็นหนึ่งในผู้นำยุคประกาศเอกราชของแอฟริกา แต่ในแอฟริกา เขาก็ถูกมองอีกด้านว่าเป็นประธานาธิบดีที่ครองอำนาจนานเกินไป ขณะที่เขาเรียกตัวเองว่ารัฐบุรุษผู้เฒ่าแห่งการเมืองแอฟริกา

หนังสือพิมพ์แห่งรัฐของซิมเบเว เมื่อช่วงค่ำวันพฤหัสบดี (16 พ.ย.) เป็นภาพที่เขายิ้มกว้างและจับมือกับพลเอกคอนสแตนติโน ชิเวนกา ผู้นำกองทัพที่ยึดอำนาจเมื่อช่วงกลางสัปดาห์

ภาพดังกล่าวสร้างความฉงนงงงวยแก่ชาวซิมบับเวเป็นย่างมาก โดยหลายคิดว่าบางทีมันอาจหมายความว่า มูกาเบ กำลังพยายามเตะถ่วงการยึดอำนาจของ ชิเวนกา ขณะที่แหล่งข่าวการเมืองบางส่วนแสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าเขาพยายามยื้อเก้าอี้เอาไว้จนถึงศึกเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวของพรรค ZANU-PF บอกว่ามันจะไม่เป็นแบบนั้น และเผยว่าพวกแกนนำพรรคกำลังร่างแผนสำหรับปลดมูกาเบในช่วงสุดสัปดาห์หากเขาปฏิเสธลาอก “มันไม่มีทางย้อนกลับ” แหล่งข่าวบอกกับรอยเตอร์ “มันก็เหมือนฟุตบอลที่ต้องเลื่อนการแข่งขันหลังจากฝนตกหนัก ในขณะที่เกมเข้าสู่นาทีที่ 89 และเจ้าบ้านเป็นฝ่ายนำ 90-0”

กองทหารปักหลักตั้งแคมป์อยู่หน้าบ้านของมูกาเบ โดยที่ เกรซ ภรรยาของเขาถูกกักบริเวณ ส่วนพันธมิตรทางการเมืองสำคัญของประธานาธิบดีรายนี้อยู่ควบคุมตัวในเรือนจำทหาร ขณะที่ตำรวจซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นฐานสนับสนุน มูกาเบ ไม่ได้แสดงการต่อต้านการรัฐประหารใดๆ

ยิ่งไปกว่านั้น มูกาเบ ไม่เป็นที่นิยมนักในเมืองหลวง โดยในกรุงฮาราเร เป็นฐานเสียงสำคัญของเหล่าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ด้วยประชาชนส่วนใหญ่ต่างรู้สึกขุ่นเคืองและผิดหวังต่อแนวทางบริหารเศรษฐกิจของประธานาธิบดีนี้ โดยเศรษฐกิจของประเทศพังครืนลง หลังจาก มูกาเบ ออกคำสั่งยึดฟาร์มของชาวซิมบับเวผิวขาวหลายพันแห่ง นำไปสู่การล่มสลายของภาคการเกษตร

ปัจจุบันตัวเลขคนว่างงานแตะระดับเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์และปัญหาขาดแคลนเงินแข็ง( hard currency)เรื้อรัง กระตุ้นให้เเงินเฟ้อขั้นสูง โดยราคานำเข้าเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ในหนึ่งเดือน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านแอฟริกาของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ มูกาเบ มาอย่างยาวนาน ระบุว่าอเมริกากำลังแสวงหายุคสมัยใหม่ของซิมบับเว บ่งชี้เป็นนัยว่าพวกเขาเรียกร้องให้ มูกาเบ ลาออกจากตำแหน่ง

ในการให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ ดูเหมือนว่า โดนัลด์ ยามาโมโต ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการแอฟริกา ปฏิเสธแนวคิดให้ มูกาเบ อยู่ในอำนาจต่อแบบชั่วคราวหรือมีบทบาทเพียงด้านพิธีการ “มันคือการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ของซิมบับเว มันคือสิ่งที่เราหวังไว้อย่างแท้จริง”

ดูเหมือนว่ากองทัพต้องการให้ มูกาเบ ซึ่งปกครองซิมบับเวมานับตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1980 ยอมถ่ายโอนอำนาจอย่างราบรื่นและปราศจากการนองเลือดแก่เอ็มเมอร์สัน เอ็มนันกากวา อดีตรองประธานาธิบดีของมูกาเบ ที่เพิ่งถูกปลดไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลายเป็นชนวนเหตุโหมกระพือการเข้ายึดอำนาจ

เป้าหมายหลักของพวกนายพลก็คือขัดขวางไม่ให้ มูกาเบ ส่งมอบอำนาจแก่นางเกรซ ภรรยาวัย 41 ปีของเขา ซึ่งเสริมสร้างบารมีในปีกเยาวชนของพรรครัฐบาลและดูเหมือนจะก้าวขึ้นมากุมอำนาจหลังจาก เอ็มนันกากวา กระเด็นออกจากตำแหน่งและถูกขับออกจากพรรค

เกรซ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการยึดอำนาจครั้งนี้ หลังจากทำให้สถานการณ์การเมืองตึงเครียดจนพรรครัฐบาลแตก เมื่อเปิดศึกภายในพรรคกับเอ็มนันกากวา แย่งชิงเป็นทายาทผู้นำการเมืองต่อจากสามี โดยนางเกรซได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังตำรวจ ส่วน เอ็มนันกากวา มีทหารหนุนหลัง
กำลังโหลดความคิดเห็น