(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
The aircraft Kim Jong-un fears most. Or ought to.
By Todd Crowell
01/09/2017
เอฟ-35 เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ล่าสุดของอเมริกา กำลังเดินทางมายังเอเชียในจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในจังหวะเวลาเดียวกันกับที่ความตึงเครียดทางทหารระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯก็กำลังไต่ระดับเพิ่มขึ้นไปทุกที
เอฟ-35 เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดรุ่นล่าสุดของอเมริกา กำลังเดินทางเข้ามายังเอเชียในจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯไต่ระดับสูงขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ คิม จองอึน ควรต้องรู้สึกวิตกกังวล
“เรา (เครื่องบินเอฟ-35) มีชั่วโมงบินมากกว่าระดับ 100,000 ชั่วโมงไปแล้ว (แน่นอนทีเดียวว่า ชั่วโมงบินจำนวนมากมาจากพวกนักบินทดสอบ) และเครื่องบินเหล่านี้ก็พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่การสู้รบ” ฮีทเธอร์ วิลสัน (Heather Wilson) รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศสหรัฐฯ (US Secretary of the air force) กล่าวเอาไว้เช่นนี้ระหว่างการบรรยายสรุปครั้งหนึ่งเมื่อช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ขณะนี้มี เอฟ-35 จำนวน 1 ฝูงบิน (squadron) ประจำอยู่ในญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และอีกหลายสิบลำกำลังถูกส่งมายังฐานทัพของสหรัฐฯและชาติพันธมิตรในญี่ปุ่นและในเกาหลีใต้
เอฟ-35 ฝูงแรกซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินจำนวน 16 ลำ เดินทางมาถึงสถานีเหล่านาวิกโยธิน อิวากูนิ (Iwakuni Marine Corp Station) ของสหรัฐฯในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และในการซ้อมรบประจำปี “โฟลอีเกิล” (Foal Eagle) ระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไม่กี่วันก่อน เอฟ-35 ฝูงนี้ได้เข้าร่วมด้วย โดยได้แสดงการทิ้งระเบิดใส่ฐานขีปนาวุธเกาหลีเหนือจำลอง
เป็นที่ชัดเจนว่า คิม จองอึน มีความกลัวเกรงเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลรุ่น บี-1 ของอเมริกัน ซึ่งประจำการอยู่บนเกาะกวม เครื่องบินรุ่นนี้ถูกส่งออกมาปฏิบัติภารกิจสำแดงกำลังตามแนวเขตปลอดทหารเกาหลี (ซึ่งเป็นเสมือนเส้นพรมแดนในทางพฤตินัยระหว่างสองเกาหลี) เหมือนอย่างที่ได้กระทำเช่นนี้อีกในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธบินข้ามญี่ปุ่น และข่มขู่ที่จะส่งขีปนาวุธ 4 ลูกไปตกแถวๆ น่านน้ำใกล้เกาะกวม
แต่คิมอาจจะมีความวิตกกังวลมากขึ้นกับเที่ยวบินของเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด เอฟ-35 ที่ขึ้นจากฐานทัพต่างๆ ในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ถ้าหากการสู้รบขัดแย้งทางการทหารระเบิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี
เอฟ-35 “ไลต์นิ่ง” (F-35 “Lightning” ) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นก้าวหน้าล้ำสมัยที่สุดในคลังแสงอเมริกัน โดยมีการผลิตออกมาด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ เอฟ-35 เอ ที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับกองทัพอากาศ, เอฟ-35 บี สำหรับนาวิกโยธิน, และ เอฟ-35 ซี ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับกองทัพเรือ เวอร์ชั่นของนาวิกโยธินนั้นมีศักยภาพในการบินขึ้นลงในแนวดิ่ง (vertical takeoff and landing หรือ VTOL)
เครื่องบิน เอฟ-35 สามารถทำความเร็วได้สูงถึง มัค 1.6 หรือก็คือ 1.6 เท่าของความเร็วเสียง ขณะที่รูปร่างของมันซึ่งออกแบบให้สามารถกำบังหลีกเร้นการตรวจจับของเรดาร์ และพื้นผิวเคลือบของมันก็มีคุณสมบัติในการดูดซับสัญญาณเรดาร์ ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วมันจึงเหมือนกับหายตัวได้ เอฟ-35 นับเป็นเครื่องบินขับไล่ “รุ่นที่ 5” (Fifth Generation) เทคโนโลยี “สเตลธ์” (stealth) รุ่นแรกที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคแถบนี้
ตามข้อมูลของนิตยสาร “อะวิเอชั่นวีก” (Aviation Week) กองทัพอากาศของ 3 ชาติ (สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้) ที่กำลังเผชิญหน้าเกาหลีเหนืออยู่ จะมีเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้เป็นจำนวนราว 100 ลำภายในปี 2020 ซึ่งเข้าประจำการตามฐานทัพต่างๆ ในลักษณะเป็นพื้นที่รูปโค้ง ตั้งแต่ฐานทัพอากาศคุนซัน (Kunsan) ของเกาหลีใต้ ไปจนถึงฐานทัพอากาศมิซาวะ (Misawa) ของญี่ปุ่น บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอนชู
เมื่อพิจารณาจากแผ่นกระดาษแล้ว เอฟ-35 ดูน่าจะสามารถจัดการกับกำลังการป้องกันทางอากาศของเกาหลีเหนือที่เก่าแก่โบราณกว่ากันมากได้อย่างไม่ยากลำบากอะไร ถ้ามีการโจมตีอย่างต่อเนื่องใส่โสมแดงขึ้นมา เครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของเกาหลีเหนือคือ ซูคอย-15 จำนวนหยิบมือหนึ่ง และ มิก-29 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นต่างเป็นแบบที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคปลายๆ สงครามเย็นแล้ว
เกาหลีใต้ได้สั่งซื้อเครื่องบินเอฟ-35 ไปเป็นจำนวน 40 ลำ ซึ่งกำลังจะเดินทางมาถึงในช่วงสิ้นปีหน้า ขณะที่ญี่ปุ่นซื้อเอาไว้ 42 ลำ ซึ่งเวลานี้กำลังทยอยออกมาจากโรงงานประกอบในรัฐเทกซัสของบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) ทั้งนี้ 4 ลำแรกจะสร้างกันสำเร็จเสร็จสรรพที่นั่น ส่วนที่เหลืออีก 38 ลำจะมาประกอบโดยบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries) ในญี่ปุ่น
การมี เอฟ-35 เอาไว้ในครอบครองจะทำให้ฝ่ายทหารของญี่ปุ่น มีอะไรบางอย่างที่มักขาดแคลนเสมอมา นั่นก็คือสมรรถนะในการโจมตีกลับใส่ฐานทัพต่างๆ ของเกาหลีเหนือ ถ้าโสมแดงยิงขีปนาวุธเล่นงานญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งเปิดฉากถล่มโจมตีก่อนต่อแดนอาทิตย์อุทัย
สถานการณ์สมมุติเช่นนี้ยิ่งดูมีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้น หลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยปานกลาง (intermediate range) เหินฟ้าข้ามเกาะฮอกไกโด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รัฐมนตรีกลาโหม อิสึโนริ โอโนเดระ (Itsunori Onodera) ของญี่ปุ่นแถลงว่า โตเกียวไม่ได้คิดที่จะลองพยายามยิงทำลายขีปนาวุธเกาหลีเหนือลูกดังกล่าวเลย เนื่องจากมันไม่ได้มีทีท่าจะดำดิ่งลงมาเล่นงานดินแดนของญี่ปุ่น
โอโนเดระแสดงความเห็นด้วยว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นตามที่มีการตีความกันในปัจจุบัน มีข้อสรุปว่า อนุญาตให้ญี่ปุ่นสามารถโจมตีฐานทัพของข้าศึกซึ่งกำลังยิงขีปนาวุธเข้าเล่นงานญี่ปุ่นได้ แต่เอาเข้าจริงญี่ปุ่นก็ยังขาดไร้เครื่องมือที่จะกระทำเช่นนั้นอยู่ดี เรื่องนี้แหละที่อาจกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง
เอฟ-35 เวอร์ชั่นขึ้นลงแนวดิ่ง ยังมีสมรรถนะเพิ่มเติมตรงที่สามารถทะยานขึ้นจากเรือรบได้ เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกอเนกประสงค์ ยูเอสเอส วาสป์ (USS Wasp) ได้รับการดัดแปลงให้สามารถส่งและรับเครื่องบินเอฟ-35 บี ได้ เรือรบลำนี้ประจำอยู่ที่ฐานทัพซาเซโบ (Sasebo) ในญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของกองกำลังรบนอกประเทศประจำญี่ปุ่น ของเหล่านาวิกโยธินอเมริกันด้วย
ยูเอสเอส (USS America) เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกลำแรกในชั้นใหม่ของสหรัฐฯ ก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถรองรับการขึ้นลงของเอฟ-35 บีเช่นกัน
เรือรบลำนี้มีฐานอยู่ที่เมืองซานดิเอโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา แต่ระยะหลังๆ นี้กำลังแล่นอยู่ในทะเลจีนใต้ (เรือลำนี้เองที่เป็นเรือลำแรกซึ่งไปถึงจุดเกิดเหตุในกรณีการชนกันระหว่างเรือบรรทุกน้ำมันกับเรือพิฆาต ยูเอสเอส จอห์น แมคเคน USS John McCain เมื่อเร็วๆ นี้)
มีคำถามอยู่ข้อหนึ่งว่า เรือรบที่ญี่ปุ่นเรียกขานว่า “เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์” (helicopter destroyers) อย่างเรือ “อิซุโมะ” (Izumo) และเรือในชั้นเดียวกันอย่าง “คางะ” (Kaga) สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินฉบับมินิ ซึ่งมีศักยภาพในการส่งเอฟ-35 ออกไปปฏิบัติการโจมตีได้หรือไม่
มองกันว่าหากจะทำกันจริงๆ คงต้องมีการปรับปรุงกันขนานใหญ่ทีเดียว ตัวอย่างเช่น ดาดฟ้าสำหรับขึ้นบิน จะต้องเคลือบด้วยสารต้านทานการติดไฟ ไม่เช่นนั้นเครื่องบินจะทำให้ดาดฟ้าไหม้เป็นรูในเวลาที่มันทะยานขึ้น
ในขณะนี้ ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีเครื่องบินขับไล่ใดๆ ซึ่งมีศักยภาพที่จะขึ้นบินในแนวดิ่งได้ รวมทั้งยังไม่มีเครื่องบ่งชี้ใดๆ ว่าปรารถนาจะได้ไว้ด้วย อากาศยานขึ้นลงทางดิ่งเพียงรุ่นเดียวที่มีอยู่ในคลังแสงของญี่ปุ่นเวลานี้ คือ ออสพรีย์ (Osprey) เครื่องบินลูกผสมเฮลิคอปเตอร์ใช้สำหรับการขนส่งนาวิกโยธิน ซึ่งมีปัญหาในการใช้งานจนก่อให้เกิดการโต้แย้งกันเกรียวกราวทีเดียว
ท็อดด์ โครเวลล์ ทำงานในตำแหน่งนักเขียนอาวุโสของนิตยสารเอเชียวีก (Asiaweek) อยู่ 16 ปี เขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่ม เช่น Farewell My Colony, Last years in the life of British Hong Kong ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นเอดิชั่นวาระครบรอบ 20 ปี โดยสำนักพิมพ์แบล็กสมิธบุ๊กส์ (Blacksmith Books) และ The Coming War Between China and Japan ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของ Amazon Single Kindle
The aircraft Kim Jong-un fears most. Or ought to.
By Todd Crowell
01/09/2017
เอฟ-35 เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ล่าสุดของอเมริกา กำลังเดินทางมายังเอเชียในจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในจังหวะเวลาเดียวกันกับที่ความตึงเครียดทางทหารระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯก็กำลังไต่ระดับเพิ่มขึ้นไปทุกที
เอฟ-35 เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดรุ่นล่าสุดของอเมริกา กำลังเดินทางเข้ามายังเอเชียในจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯไต่ระดับสูงขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ คิม จองอึน ควรต้องรู้สึกวิตกกังวล
“เรา (เครื่องบินเอฟ-35) มีชั่วโมงบินมากกว่าระดับ 100,000 ชั่วโมงไปแล้ว (แน่นอนทีเดียวว่า ชั่วโมงบินจำนวนมากมาจากพวกนักบินทดสอบ) และเครื่องบินเหล่านี้ก็พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่การสู้รบ” ฮีทเธอร์ วิลสัน (Heather Wilson) รัฐมนตรีทบวงกองทัพอากาศสหรัฐฯ (US Secretary of the air force) กล่าวเอาไว้เช่นนี้ระหว่างการบรรยายสรุปครั้งหนึ่งเมื่อช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ขณะนี้มี เอฟ-35 จำนวน 1 ฝูงบิน (squadron) ประจำอยู่ในญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และอีกหลายสิบลำกำลังถูกส่งมายังฐานทัพของสหรัฐฯและชาติพันธมิตรในญี่ปุ่นและในเกาหลีใต้
เอฟ-35 ฝูงแรกซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินจำนวน 16 ลำ เดินทางมาถึงสถานีเหล่านาวิกโยธิน อิวากูนิ (Iwakuni Marine Corp Station) ของสหรัฐฯในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และในการซ้อมรบประจำปี “โฟลอีเกิล” (Foal Eagle) ระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีใต้ที่เพิ่งสิ้นสุดลงไม่กี่วันก่อน เอฟ-35 ฝูงนี้ได้เข้าร่วมด้วย โดยได้แสดงการทิ้งระเบิดใส่ฐานขีปนาวุธเกาหลีเหนือจำลอง
เป็นที่ชัดเจนว่า คิม จองอึน มีความกลัวเกรงเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลรุ่น บี-1 ของอเมริกัน ซึ่งประจำการอยู่บนเกาะกวม เครื่องบินรุ่นนี้ถูกส่งออกมาปฏิบัติภารกิจสำแดงกำลังตามแนวเขตปลอดทหารเกาหลี (ซึ่งเป็นเสมือนเส้นพรมแดนในทางพฤตินัยระหว่างสองเกาหลี) เหมือนอย่างที่ได้กระทำเช่นนี้อีกในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธบินข้ามญี่ปุ่น และข่มขู่ที่จะส่งขีปนาวุธ 4 ลูกไปตกแถวๆ น่านน้ำใกล้เกาะกวม
แต่คิมอาจจะมีความวิตกกังวลมากขึ้นกับเที่ยวบินของเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิด เอฟ-35 ที่ขึ้นจากฐานทัพต่างๆ ในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ถ้าหากการสู้รบขัดแย้งทางการทหารระเบิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี
เอฟ-35 “ไลต์นิ่ง” (F-35 “Lightning” ) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นก้าวหน้าล้ำสมัยที่สุดในคลังแสงอเมริกัน โดยมีการผลิตออกมาด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ เอฟ-35 เอ ที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับกองทัพอากาศ, เอฟ-35 บี สำหรับนาวิกโยธิน, และ เอฟ-35 ซี ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับกองทัพเรือ เวอร์ชั่นของนาวิกโยธินนั้นมีศักยภาพในการบินขึ้นลงในแนวดิ่ง (vertical takeoff and landing หรือ VTOL)
เครื่องบิน เอฟ-35 สามารถทำความเร็วได้สูงถึง มัค 1.6 หรือก็คือ 1.6 เท่าของความเร็วเสียง ขณะที่รูปร่างของมันซึ่งออกแบบให้สามารถกำบังหลีกเร้นการตรวจจับของเรดาร์ และพื้นผิวเคลือบของมันก็มีคุณสมบัติในการดูดซับสัญญาณเรดาร์ ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วมันจึงเหมือนกับหายตัวได้ เอฟ-35 นับเป็นเครื่องบินขับไล่ “รุ่นที่ 5” (Fifth Generation) เทคโนโลยี “สเตลธ์” (stealth) รุ่นแรกที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคแถบนี้
ตามข้อมูลของนิตยสาร “อะวิเอชั่นวีก” (Aviation Week) กองทัพอากาศของ 3 ชาติ (สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้) ที่กำลังเผชิญหน้าเกาหลีเหนืออยู่ จะมีเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้เป็นจำนวนราว 100 ลำภายในปี 2020 ซึ่งเข้าประจำการตามฐานทัพต่างๆ ในลักษณะเป็นพื้นที่รูปโค้ง ตั้งแต่ฐานทัพอากาศคุนซัน (Kunsan) ของเกาหลีใต้ ไปจนถึงฐานทัพอากาศมิซาวะ (Misawa) ของญี่ปุ่น บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอนชู
เมื่อพิจารณาจากแผ่นกระดาษแล้ว เอฟ-35 ดูน่าจะสามารถจัดการกับกำลังการป้องกันทางอากาศของเกาหลีเหนือที่เก่าแก่โบราณกว่ากันมากได้อย่างไม่ยากลำบากอะไร ถ้ามีการโจมตีอย่างต่อเนื่องใส่โสมแดงขึ้นมา เครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของเกาหลีเหนือคือ ซูคอย-15 จำนวนหยิบมือหนึ่ง และ มิก-29 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นต่างเป็นแบบที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคปลายๆ สงครามเย็นแล้ว
เกาหลีใต้ได้สั่งซื้อเครื่องบินเอฟ-35 ไปเป็นจำนวน 40 ลำ ซึ่งกำลังจะเดินทางมาถึงในช่วงสิ้นปีหน้า ขณะที่ญี่ปุ่นซื้อเอาไว้ 42 ลำ ซึ่งเวลานี้กำลังทยอยออกมาจากโรงงานประกอบในรัฐเทกซัสของบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) ทั้งนี้ 4 ลำแรกจะสร้างกันสำเร็จเสร็จสรรพที่นั่น ส่วนที่เหลืออีก 38 ลำจะมาประกอบโดยบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries) ในญี่ปุ่น
การมี เอฟ-35 เอาไว้ในครอบครองจะทำให้ฝ่ายทหารของญี่ปุ่น มีอะไรบางอย่างที่มักขาดแคลนเสมอมา นั่นก็คือสมรรถนะในการโจมตีกลับใส่ฐานทัพต่างๆ ของเกาหลีเหนือ ถ้าโสมแดงยิงขีปนาวุธเล่นงานญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งเปิดฉากถล่มโจมตีก่อนต่อแดนอาทิตย์อุทัย
สถานการณ์สมมุติเช่นนี้ยิ่งดูมีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้น หลังจากเกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยปานกลาง (intermediate range) เหินฟ้าข้ามเกาะฮอกไกโด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รัฐมนตรีกลาโหม อิสึโนริ โอโนเดระ (Itsunori Onodera) ของญี่ปุ่นแถลงว่า โตเกียวไม่ได้คิดที่จะลองพยายามยิงทำลายขีปนาวุธเกาหลีเหนือลูกดังกล่าวเลย เนื่องจากมันไม่ได้มีทีท่าจะดำดิ่งลงมาเล่นงานดินแดนของญี่ปุ่น
โอโนเดระแสดงความเห็นด้วยว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นตามที่มีการตีความกันในปัจจุบัน มีข้อสรุปว่า อนุญาตให้ญี่ปุ่นสามารถโจมตีฐานทัพของข้าศึกซึ่งกำลังยิงขีปนาวุธเข้าเล่นงานญี่ปุ่นได้ แต่เอาเข้าจริงญี่ปุ่นก็ยังขาดไร้เครื่องมือที่จะกระทำเช่นนั้นอยู่ดี เรื่องนี้แหละที่อาจกำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง
เอฟ-35 เวอร์ชั่นขึ้นลงแนวดิ่ง ยังมีสมรรถนะเพิ่มเติมตรงที่สามารถทะยานขึ้นจากเรือรบได้ เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกอเนกประสงค์ ยูเอสเอส วาสป์ (USS Wasp) ได้รับการดัดแปลงให้สามารถส่งและรับเครื่องบินเอฟ-35 บี ได้ เรือรบลำนี้ประจำอยู่ที่ฐานทัพซาเซโบ (Sasebo) ในญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของกองกำลังรบนอกประเทศประจำญี่ปุ่น ของเหล่านาวิกโยธินอเมริกันด้วย
ยูเอสเอส (USS America) เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกลำแรกในชั้นใหม่ของสหรัฐฯ ก็ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถรองรับการขึ้นลงของเอฟ-35 บีเช่นกัน
เรือรบลำนี้มีฐานอยู่ที่เมืองซานดิเอโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา แต่ระยะหลังๆ นี้กำลังแล่นอยู่ในทะเลจีนใต้ (เรือลำนี้เองที่เป็นเรือลำแรกซึ่งไปถึงจุดเกิดเหตุในกรณีการชนกันระหว่างเรือบรรทุกน้ำมันกับเรือพิฆาต ยูเอสเอส จอห์น แมคเคน USS John McCain เมื่อเร็วๆ นี้)
มีคำถามอยู่ข้อหนึ่งว่า เรือรบที่ญี่ปุ่นเรียกขานว่า “เรือพิฆาตบรรทุกเฮลิคอปเตอร์” (helicopter destroyers) อย่างเรือ “อิซุโมะ” (Izumo) และเรือในชั้นเดียวกันอย่าง “คางะ” (Kaga) สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินฉบับมินิ ซึ่งมีศักยภาพในการส่งเอฟ-35 ออกไปปฏิบัติการโจมตีได้หรือไม่
มองกันว่าหากจะทำกันจริงๆ คงต้องมีการปรับปรุงกันขนานใหญ่ทีเดียว ตัวอย่างเช่น ดาดฟ้าสำหรับขึ้นบิน จะต้องเคลือบด้วยสารต้านทานการติดไฟ ไม่เช่นนั้นเครื่องบินจะทำให้ดาดฟ้าไหม้เป็นรูในเวลาที่มันทะยานขึ้น
ในขณะนี้ ญี่ปุ่นยังไม่ได้มีเครื่องบินขับไล่ใดๆ ซึ่งมีศักยภาพที่จะขึ้นบินในแนวดิ่งได้ รวมทั้งยังไม่มีเครื่องบ่งชี้ใดๆ ว่าปรารถนาจะได้ไว้ด้วย อากาศยานขึ้นลงทางดิ่งเพียงรุ่นเดียวที่มีอยู่ในคลังแสงของญี่ปุ่นเวลานี้ คือ ออสพรีย์ (Osprey) เครื่องบินลูกผสมเฮลิคอปเตอร์ใช้สำหรับการขนส่งนาวิกโยธิน ซึ่งมีปัญหาในการใช้งานจนก่อให้เกิดการโต้แย้งกันเกรียวกราวทีเดียว
ท็อดด์ โครเวลล์ ทำงานในตำแหน่งนักเขียนอาวุโสของนิตยสารเอเชียวีก (Asiaweek) อยู่ 16 ปี เขาเขียนหนังสือเอาไว้หลายเล่ม เช่น Farewell My Colony, Last years in the life of British Hong Kong ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นเอดิชั่นวาระครบรอบ 20 ปี โดยสำนักพิมพ์แบล็กสมิธบุ๊กส์ (Blacksmith Books) และ The Coming War Between China and Japan ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของ Amazon Single Kindle