Goodbye Pacific Pivot, Hello Pacific Retreat: Who Will Take America’s Place in Asia?
By John Feffer
01/06/2017
ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดที่เมื่อพวกชนชั้นนำในด้านนโยบายการต่างประเทศขบคิดกันว่า อะไรจะเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ อภิมหาอำนาจซึ่งเวลานี้อยู่ในช่วงค่อนข้างเสื่อมถอย โดยที่การคาดเดากันในทิศทางนี้ยิ่งขยายตัวเบ่งบานกันใหญ่โตขึ้นอีกมากในยุคสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ พวกเขาก็พากันเหลียวหันมามองทางตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน
มากกว่า 1 ชั่วคนแล้วที่อเมริกันมองเอเชียว่าคืออนาคต
เมื่อชาวอเมริกันพยายามที่จะชะแง้มองดูว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น ภาพต่างๆ ของดินแดนริมฝั่งอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกก็ไหลทะลักพรั่งพรูเข้ามาสู่จินตนาการ สำหรับพวกผู้ชมภาพยนตร์เมื่อปี 1982 นครลอสแองเจลิสที่ฝนตกเปียกโชกของเรื่อง Blade Runner ดูเหมือนกับย่านดาวน์ทาวน์ของโตเกียวเป็นอย่างมาก พอถึงปี 2014 เมืองแอลเอในหนังเรื่อง Her ของ สไปค์ จอนเซ (Spike Jonze) กลับมีอารมณ์ความรู้สึกของนครเซี่ยงไฮ้มากกว่า ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Blade Runner 2049 มีกำหนดนำออกฉาย ลองแองเจลิสน่าจะละม้ายคล้ายๆ กับกรุงโซล
นอกจอภาพยนตร์ก็เช่นเดียวกัน เอเชียแทบจะใช้การได้ดีระดับเดียวกันกับเครื่องไทม์แมชชีนทีเดียว เมื่อผมกำลังย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เอเชียคือสถานที่ซึ่งจะต้องเดินทางไปสำหรับใครก็ตามที่มีความมุ่งมาดปรารถนาจะสัมผัสกับสิ่งบิ๊กๆ ลำดับถัดไปที่กำลังย่างกรายเข้ามา ภายหลังเรียบจบจากมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมรุ่นของผมจำนวนหนึ่งเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อขุดทองสร้างความร่ำรวยด้วยการสอนภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้ พวกผู้สำเร็จการศึกษารุ่นหลังๆ มานี้นิยมที่จะไปเยือนประดาเมืองใหญ่ๆ ของเกาหลีใต้และจีนมากกว่า หรือไม่ก็บ่ายหน้าไกลออกไปอีกทางใต้สู่สิงคโปร์และมาเลเซีย พวกเขาทั้งหมดจะเดินทางกลับบ้าน เฉกเช่นเดียวกับที่ผมก็กลับสหรัฐฯในปี 2001 ภายหลังใช้ชีวิต 3 ปีในเอเชีย พร้อมกับเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอนาคต เป็นต้นว่า รถไฟหัวกระสุน, ภูมิทัศน์ที่เขตเมืองใหญ่ที่เหมือนกับเป็นโลกอีกโลกหนึ่ง, อุปกรณ์เครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์รุ่นล่าสุด
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่เมื่อพวกชนชั้นนำในด้านนโยบายการต่างประเทศขบคิดกันว่า อะไรจะเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ อภิมหาอำนาจซึ่งเวลานี้อยู่ในช่วงค่อนข้างเสื่อมถอย –การคาดเดากันในทิศทางนี้ยิ่งขยายตัวเบ่งบานกันใหญ่โตขึ้นอีกมากในยุคสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์— พวกเขาก็เช่นกันพากันเหลียวหันมามองทางตะวันออก ทว่าไม่ใช่ดูไปที่ญี่ปุ่นอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากประเทศนั้นอยู่ในอาการชราร่วงโรย และก็ไม่ใช่แลไปที่เกาหลีใต้ ซึ่งบางทีอาจจะเลยจุดสูงสุดไปเสียแล้ว ตรงกันข้าม พวกเขาตัวสั่นขวัญแขวนทีเดียวต่อหน้าประเทศจีน ซึ่งได้แซงหน้าสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้วในเรื่องผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันก็กำลังเพิ่มพูนสมรรถนะทางทหารของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนว่าจีนเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ซึ่งน่าจะมีศักยภาพแม้ยังคงห่างไกลอยู่ ที่จะมาท้าทายฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงเจ้าเดียวในโลกของสหรัฐอเมริกาได้
ความกระวนกระวายใจเกี่ยวกับการเสื่อมทรุดของอิทธิพลบารมีของสหรัฐฯเคยอยู่ในระดับเข้มข้นมากในระหว่างหลายๆ ปีในยุคประธานาธิบดีบารัค โอบามา จนกระทั่งความคิดเรื่อง “กลุ่ม จี2” (G2 ย่อมาจาก Group of Two) ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณากันอย่างกว้างขวางทีเดียว โดยสิ่งที่ขบคิดกันในเวลานั้นก็เข้าทำนองคำพังเพยแบบอเมริกันที่ว่า ถ้าเราไม่สามารถโค่นล้มพวกเขาได้ เราก็ควรเข้าร่วมกับพวกเขาเสียเลย ไม่ว่าข้อเสนอที่จะให้สหรัฐฯกับจีนปกครองโลกร่วมกันเช่นนี้มีเจตนาความตั้งใจจริงจังแค่ไหนก็ตามที แต่คณะบริหารโอบามาก็ไม่เคยกระทำตามเลยนอกเหนือจากการทำความตกลงกับแดนมังกรในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการลงทุนระดับทวิภาคี
ด้วยความทะเยอทะยานฝันไกลและในอารมณ์หงุดหงิดไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย ปักกิ่งได้ตัดสินใจที่จะฟันฝ่าบุกเบิกเส้นทางของตนเอง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯได้ประกาศแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ซึ่งทุ่มเทเงินทองมากมายมหาศาลเข้าไปอุ้มชูเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของยุโรปที่พินาศบอบช้ำหนักหนาสาหัสจากสงครามให้พลิกฟื้นกลับลุกยืนขึ้นมาได้อีกคำรบหนึ่ง ในตอนนี้จีนก็ได้ประกาศแผนการมาร์แชลเวอร์ชั่นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ของตนออกมา อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ของจีนนั้นโฟกัสเน้นหนักอยู่ที่การหนุนส่งทุกๆ ประเทศซึ่งอยู่รายล้อมรอบๆ ตนเองและแม้กระทั่งบางประเทศที่อยู่ไกลออกไปอีกในเรื่องการลงหลักปักฐาน ขณะเดียวกับที่ปักกิ่งใช้ความพยายามเพื่อดึงลากเอาทั่วทั้งมหาทวีปยูเรเชีย (Eurasia) เข้ามาอยู่ในเขตอิทธิพลของตน ถึงแม้เป็นที่คาดหมายกันว่าจีนอาจจะต้องทุ่มเทงบประมาณสูงถึงราว 1 ล้านล้านดอลลาร์เข้าไปช่วยเหลือประเทศต่างๆ เหล่านี้รวมแล้วมากกว่า 60 ประเทศ แต่แผนการ “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) นี้ก็มิได้เป็นกิจกรรมทำการกุศลแต่อย่างใด มันจะนำทางให้ทรัพยากรต่างๆ จำนวนมากมายทะลักทลายเข้ามายังพวกบริษัทก่อสร้างของจีน, นำเอาแร่ธาตุและพลังงานเข้ามายังพวกโรงงานจีน, และนำเอาลู่ทางโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานบางโครงการยังจะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลด้านความมั่นคงได้ด้วย อย่างเช่นสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งจะสร้างผ่านประเทศพม่านั้น ก็จะสามารถเลี่ยงจุดที่เป็นคอขวดของเส้นทางขนส่งทางทะเลอย่างช่องแคบมะละกา ซึ่งศัตรูที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่อาจหาทางเข้าปิดกั้นและมีศักยภาพที่จะตัดลดน้ำมันนำเข้าของปักกิ่งลงได้ถึง 80% ทีเดียว
ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ยิ่งทำให้พวกผู้วางนโยบายและเหล่าผู้รู้ในแวดวงวอชิงตัน ยิ่งทวีความไม่สบายใจเกี่ยวกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ระหว่างการรณรงค์หาเสียงของเขา ทรัมป์สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ทั้งพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neocons) และทั้งนักลัทธินิยมการใช้กำลังทหาร (militarist) ซึ่งมีแนวคิดตามแบบแผนดั้งเดิมมากกว่า เมื่อเขาป่าวร้องเรื่องต้องการหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวพัวพันทางทหารในต่างประเทศ ครั้นเมื่อขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว เขาให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มงบประมาณทางทหารให้สูงขึ้นไปอีกมาก ทว่ากลับไม่มีไอเดียใดๆ เกี่ยวกับวิธีการใช้ของเล่นใหม่ๆ ทั้งหมดของเพนตากอน นอกเหนือไปจากแค่นำเอาไปใช้ทิ้งระเบิดเพื่อขับไล่ให้พวกนักรบหัวรุนแรงของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) หลบหนีออกมาจากที่ซุกซ่อน
ทรัมป์ไม่ได้แยแสอะไรสักนิดเช่นกันเกี่ยวกับอำนาจละมุน (soft power) ซึ่งสหรัฐฯได้นำไปใช้ในการบ่มเพาะเพิ่มขยายพลังสนับสนุนระหว่างประเทศมาแต่ไหนแต่ไร ตัวอย่างเช่น วอชิงตันได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนมานมนานแล้วแก่พวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ และข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ ทว่าทรัมป์กลับประณามกล่าวโทษสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น “บทเพลงเก๊ๆ ของลัทธิอุดมการณ์นิยมโลกาภิวัตน์” (false song of globalism) ทว่าในเวลาเดียวกันนั้นเอง จีนกลับกำลังวางฐานะตนเองให้กลายเป็นเจ้านายคนใหม่ของลัทธิทุนนิยมโลก กระทั่งยังกำลังไปไกลถึงขนาดจัดสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศคู่ขนานขึ้นมาเพื่อทำให้วิสัยทัศน์ของตนได้รับการปฏิบัติให้กลายเป็นความจริงรูปธรรม ทั้งนี้ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ซึ่งจีนเป็นตัวตั้งตัวตีนี้ ได้เริ่มต้นดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2016 โดยที่ไม่ได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯหรือสหภาพยุโรป ธนาคารแห่งนี้จะทำหน้าที่ทำนองเดียวกับธนาคารโลก (World Bank) ในการจัดหาความสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงสร้างก่อสร้างอันหลากหลายในต่างแดนของจีน ขณะที่ปักกิ่งควบคุมคะแนนเสียงโหวตได้ไม่ถึง 5% ในธนาคารโลก แต่สำหรับธนาคาร AIIB แล้วกลับควบคุมจำนวนหุ้นได้ถึง 28% ถึงแม้การดำเนินงานของ AIIB ยังอยู่ในระดับเล็กๆ เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพวกแบงก์พาณิชย์ของจีนเอง แต่ธนาคารแห่งนี้ก็จะสามารถขยายเพิ่มพูนศักยภาพขึ้นมาได้มหาศาลทีเดียวเมื่อลู่ทางโอกาสปรากฏขึ้นมา
ภาพที่ตัดแย้งกันระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันยิ่งชัดเจนเตะตามากขึ้นไปอีกในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การที่ทรัมป์ปฏิเสธไม่ยอมรับว่าโลกกำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้น –ครั้งหนึ่งเขาถึงกับตีตราประทับกล่าวหาว่าเรื่องนี้เป็นเพียง “การโกหกหลอกลวง” ของพวกคนจีนเท่านั้นเอง— กำลังกลายเป็นการกระตุ้นให้คณะผู้นำของปักกิ่งมีความกระหายในอิทธิพลบารมีระดับโลกขึ้นมา ดังที่หนึ่งในคณะผู้เจรจาระดับสูงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของจีน กล่าวเอาไว้ไม่นานนักหลังจากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า “อิทธิพลของจีนและปากเสียงของจีนน่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเรื่องการบริหารเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งต่อจากนั้นก็จะกระเซ็นต่อเข้าไปในพื้นที่อื่นๆ ของการบริหารในระดับโลกอีกด้วย และจะเพิ่มพูนทั้งฐานะ, อำนาจ, และความเป็นผู้นำในระดับโลกของจีน”
ทั้งหมดเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของแนวโน้มขนาดใหญ่ในเรื่องที่อำนาจกำลังหลั่งไหลออกจากตะวันตกไปสู่ตะวันออก ในปี 2010 อเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติของโลกอยู่ราว 40% แต่ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit) หน่วยงานศึกษาวิจัยในเครือนิตยสารอีโคโนมิสต์ ประมาณการว่า ภายในปี 2050 อัตราส่วนนี้จะลดลงมาเหลือเพียง 21% ขณะที่ส่วนแบ่งรับผิดชอบของเอเชียจะเพิ่มสูงขึ้นไปสู่ระดับครอบงำเหนือภูมิภาคอื่นๆ ที่ 48.1%
ทว่าไม่ต้องถึงกับรีบร้อนดิ้นรนออกไปเริ่มเรียนคอร์สภาษาจีนกลางหลักสูตรเร่งรัด และแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ของคุณให้เป็นเงินหยวนหรอกนะครับ การเผชิญหน้าประลองกำลังกันระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันนั้นไม่น่าที่จะมีผลออกมาตรงเป๊ะอย่างที่ฝ่ายจีนวาดหวังและฝ่ายอเมริกันหวาดหวั่น
การเสื่อมถอยของสหรัฐฯ
ระหว่างที่เขาไปเยือนกรุงปักกิ่งในเดือนตุลาคม 2016 ขณะอยู่ต่อหน้าคณะผู้นำของจีน ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต แห่งฟิลิปปินส์ ประกาศว่า “อเมริกาตอนนี้พ่ายแพ้แล้ว ผมได้ปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่แล้วให้อยู่ในกระแสอุดมการณ์ของพวกคุณ” เขายังประกาศต่อไปโดยจินตนาการถึงกลุ่มสัมพันธมิตรใหม่ที่มีรัสเซีย, จีน, และฟิลิปปินส์ เรียงแถวกันต่อต้านความผยองโอหังของมหาอำนาจอเมริกัน
เมื่อพูดกันถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกช็อกได้อย่างใหญ่โตมโหฬารแล้ว คำพูดเช่นนี้ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ควรจัดอยู่ในข่ายนี้ได้สำหรับอเมริกัน เนื่องจากฟิลิปปินส์แต่ไหนแต่ไรมาก็คือเสาหลักต้นหนึ่งของอิทธิพลสหรัฐฯในเอเชีย แดนตากาล็อกเป็นสถานที่ซึ่งวอชิงตันนำเอากองทหารเข้าไปประจำ นำเอาเรือเข้าไปจอดพัก และในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยายนสหรัฐฯได้จัดส่งพวกที่ปรึกษาทางทหารเข้าไปช่วยเหลือปราบปรามการก่อความไม่สงบของชาวมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นมะนิลายังได้เคยแสดงความกล้าหาญที่จะยืนขึ้นมาต่อสู้กับปักกิ่งในการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ กระทั่งยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อขอให้ดำเนินการชี้ขาด ทว่านั่นคือช่วงก่อนที่ดูเตอร์เตจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2016 และตีตราประทับประณามประธานาธิบดีโอบามาว่าเป็น “ลูกกะหรี่” (son of a whore) หลังจากโอบามาแสดงความคิดเห็นแบบหมดหวังต่อประวัติอันชวนสยดสยองของดูเตอร์เตในเรื่องการเข่นฆ่าแบบใช้อำนาจศาลเตี้ยนอกกระบวนการยุติธรรม
การที่ฟิลิปปินส์แสดงการแปรพักตร์อย่างชัดเจนเช่นนี้ จึงเท่ากับเป็นการปล่อยหมัดน็อกเข้าใส่ความพยายามด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งมีการนำมาโหมประโคมกันอย่างเกรียวกราวที่สุดประการหนึ่งของคณะบริหารโอบามา โดยเป็นความพยายามด้านการต่างประเทศซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งดึงรั้งสกัดกั้นการเสื่อมถอยของอเมริกัน ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม 2011 เพียงไม่นานนักก่อนที่กระแส “อาหรับ สปริง” (Arab Spring) จะลั่นเปรี้ยงตูมตามขึ้นมา รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งเผยแพร่ในวารสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) วาดภาพแบบแปลนของสิ่งซึ่งต่อมาจะเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก” (Pacific pivot) สหรัฐฯในเวลานั้นกำลังมีความพยายามอยู่เป็นช่วงๆ แต่ไม่ต่อเนื่อง ในการสลัดตัวเองให้หลุดออกมาจากสงครามในอิรักและในอัฟกานิสถาน เงื่อนไขประการสำคัญทีเดียวคือวอชิงตันไม่ได้คิดว่าสหรัฐฯจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันตะวันออกกลางอย่างมากมายมหาศาลเหมือนที่เคยเป็นมาอีกต่อไป นี่ต้องขอบคุณน้ำมันนำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา รวมทั้งการลงทุนในสหรัฐฯเองทั้งการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สด้วยวิธีฉีดน้ำ, ทราย, และสารเคมีกระแทกใส่ชั้นหินน้ำมัน (shale fracking) และทั้งการลงทุนในพวกพลังงานหมุนเวียน คณะบริหารโอบามามีความรู้สึกกันว่าในที่สุดก็อาจมีความเป็นไปได้เสียทีที่จะปิดฉากความล้มเหลวทั้งหลายในยุคของบุช และหันมามุ่งสู่ขอบฟ้าใหม่ๆ ซึ่งกำลังทวีความสำคัญยิ่งกว่า
“การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก”นี้ ผมคิดว่าควรที่จะเรียกชื่อว่า นโยบายวิลลี่ ซัตตัน (Willie Sutton policy) กล่าวกันว่าเมื่อ วิลลี่ ซัตตัน (โจรปล้นธนาคารชื่อดังชาวอเมริกัน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1901 – 1980) ถูกถามว่าทำไมเขาจึงปล้นแบงก์ เขาก็ตอบว่า “เพราะมีเงินอยู่ในนั้นไง” สำหรับเอเชียมันก็เป็นอย่างเดียวกันนี่แหละ ปัจจุบันในบรรดา 11 ระบบเศรษฐกิจระดับท็อปของโลก มีอยู่ 4 รายทีเดียวอยู่ในเอเชีย ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจของจีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, และเกาหลีใต้ ในตอนที่สหรัฐฯเอาแต่โฟกัสเน้นหนักสนใจอยู่กับการวางเดิมพันที่มีแต่เสียลูกเดียวทั้งในอิรัก, อัฟกานิสถาน, ซีเรีย, และเยเมนอยู่นั้น จีนกลับกำลังเข้าควบคุมตลาดเอเชียอันมั่งคั่งร่ำรวยนี้ กระทั่งเมื่อถึงเวลานี้ แดนมังกรได้กลายเป็นคู่ค้าชั้นนำทั้งของเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, และทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทางเป็นจริง
เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้กลับคืนมา คณะบริหารโอบามาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีที่รู้จักเรียกขานกันในนามว่า “ข้อตกลงหุ้นส่วนภูมิภาคแปซิฟิก” (Trans Pacific Partnership หรือ TPP) คณะผู้เจรจาของสหรัฐฯใช้ความพากเพียรพยายามอย่างหนักจนกระทั่งประสบความสำเร็จในสิ่งที่เกือบเป็นไปไม่ได้เอาเลย นั่นคือการนำเอาประเทศต่างๆ ที่มีความผิดแผกกันอย่างมากมาย 12 ประเทศมาอยู่บนเรือลำเดียวกันขณะที่กีดกันทำให้จีนหลุดออกจากภาพไปเลย แต่แล้วรัฐสภาอเมริกันกลับแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แยแสกระตือรือร้นอะไรกับดีลนี้ ยิ่งอารมณ์ความรู้สึกในหมู่สาธารณชนอเมริกันด้วยแล้วยิ่งเย็นชาหนักข้อเข้าไปใหญ่ --ในทางเป็นจริงนั้น มันเย็นชาเสียจนกระทั่งหนึ่งในสถาปนิกใหญ่ของข้อตกลงนี้ ซึ่งก็คือ ฮิลลารี คลินตัน หวั่นกลัวว่า TPP อาจจะทำให้ความพยายามในการเอาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเธอต้องกลายเป็นหมันไป เธอจึงออกมาคัดค้านข้อตกลงนี้ด้วยซ้ำระหว่างการรณรงค์หาเสียงในปี 2016 แน่นอนทีเดียว ยิ่งสำหรับโดนัลด์ ทรัมป์ ด้วยแล้ว การถอนตัวออกจากข้อตกลง TPP คือการปฏิบัติการอย่างแรกๆ เมื่อเขาขึ้นเป็นประธานาธิบดี
อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่การท้าทายทางเศรษฐกิจเท่านั้นหรอก สหรัฐฯกำลังเผชิญกับการท้าทายอย่างอื่นๆ ในเอเชียด้วย วอชิงตันนั้นเคยมองและยึดถือมานานแล้วว่ามหาสมุทรแปซิฟิกนั้นเป็นเสมือนกับ “ทะเลสาบของอเมริกัน” ปัจจุบันสหรัฐฯยังคงมีทหารและบุคลากรที่เป็นพลเรือนรวม 375,000 คน ประจำอยู่ภายในอาณาเขตรับผิดชอบของกองบัญชาการทหารภาคพื้นแปซิฟิกของตน และศักยภาพทางนาวีถึงราวๆ ครึ่งหนึ่งของอเมริกันทีเดียวอยู่ในน่านน้ำต่างๆ ของแปซิฟิก สหรัฐฯยังคงมีสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และฟิลิปปินส์ ตลอดจนมีฐานทัพและที่มั่นทางทหารหลายสิบแห่งอยู่ในภูมิภาคนี้ แต่ว่าในอีกด้านหนึ่ง จีนก็ได้เพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารในระดับตัวเลขสองหลักเรื่อยมาเป็นเวลาสิบกว่าปี ทำให้เวลานี้กำลังเริ่มสามารถผลักดันตอบโต้การอวดโอ่ของเมริกันที่ว่าเป็นเพียงมหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลกที่แผ่แสนยานุภาพไปทั่วแปซิฟิก จีนยังได้พัฒนาระบบอาวุธใหม่ๆ ซึ่งสามารถขัดขวางปฏิเสธไม่ให้กองทัพสหรัฐฯเข้าไปถึงน่านน้ำชายฝั่งของตน อีกทั้งยังลับคมปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยมในสงครามไซเบอร์ จนสามารถดูดเอาข้อมูลลับจำนวนมากมายมหาศาลไปได้จากการแอบแฮกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของพวกสำนักงานต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ เวลาเดียวกันนั้น ในโลกของสปายปะทะต่อกรกับสปาย จีนก็พากเพียรพยายามในการอุดรูรั่วช่องโหว่ของตนเอง ด้วยการขังคุกหรือสังหารทรัพย์สินด้านข่าวกรองของสหรัฐฯไปสิบกว่าราย
แม้กระทั่งตั้งแต่ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะก้าวขึ้นครองบัลลังก์ด้วยซ้ำไป ความพยายามของเพนตากอนที่จะปักหมุดมุ่งให้ความสำคัญที่สุดแก่ทางด้านตะวันออก ก็ปรากฏผลออกมาว่าทำได้ไม่ถึงเป้าหมายที่ประสงค์ ถึงแม้มีความได้เปรียบทางการทหารอย่างท่วมท้นเหลือล้น แต่วอชิงตันกลับพบมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าตนเองไม่สามารถที่จะใช้กำลังบังคับบงการให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตามทีในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) การผงาดขึ้นมาของกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย, การฟื้นชีพขึ้นอีกครั้งของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถาน, และความปั่นป่วนวุ่นวายในเยเมนและลิเบีย ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงตามหลอกหลอนฝ่ายทหารของสหรัฐฯอย่างไม่ยอมเลิกรา
ขณะเดียวกัน คณะบริหารโอบามาได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนจัดกำลังทหารในแปซิฟิกของสหรัฐฯกันใหม่ในเชิงสัญลักษณ์อยู่บ้างบางอย่างบางประการ นอกจากนั้นยังขายอาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทคบางประเภทให้แก่เหล่าชาติพันธมิตรของอเมริกันในภูมิภาค รวมทั้งยังก่อกวนทำสงครามประสาทใส่ปักกิ่งอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราวเหมือนกัน ทว่าลงท้ายแล้ว มันก็เหมือนๆ กับความริเริ่มจำนวนมากของโอบามานั่นแหละ “การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก” กลายเป็นแค่ความมุ่งมาดปรารถนาเสียเป็นส่วนใหญ่ สหรัฐฯไม่เคยสามารถถอนหมุดถอยการให้ความสำคัญที่สุดแก่มหาภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างแท้จริงได้เลย
เมื่อครั้งที่โดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีฐานะเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาพออกพอใจกับการตะโกนคำรามเกี่ยวกับภัยคุกคามจากจีนก็จริงอยู่ ทว่าเขาก็เคยถึงกับขู่ที่จะยุติบทบาทของสหรัฐฯในการเป็นผู้ค้ำประกันทำหน้าที่ปกป้องด้วยอาวุธนิวเคลียร์ให้แก่ทั้งโตเกียวและโซล โดยที่เขาเรียกร้องให้เหล่าชาติพันธมิตรของสหรัฐฯจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้นสำหรับความช่วยเหลือและการพิทักษ์คุ้มครองของอเมริกันเหล่านี้ ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ได้เคยเสนอวิถีทางใหม่ใดๆ ในการนำพาสหรัฐฯให้สามารถรวมศูนย์เพ่งความสนใจอยู่ในแปซิฟิกได้
ปัจจุบันนี้เมื่อเข้ามานั่งอยู่ในห้องทำงานรูปไข่ที่ทำเนียบขาว ทรัมป์ก็กำลังส่งสัญญาณที่สับสนไร้ความชัดเจน ในด้านหนึ่งเขากำลังซ่อมแซมแก้ไขความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับผู้นำจีน สี จิ้นผิง แต่ในอีกด้านหนึ่งเขาก็กำลังผลักดันเพิ่มงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมครั้งใหญ่ แล้วประเทศอะไรล่ะที่จะเป็นเป้าหมายของเงินจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในการใช้จ่ายทางทหารเหล่านี้? แน่นอนทีเดียวว่ากองทัพเรือสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องมีกองเรือรบเป็นจำนวนถึง 350 ลำเพียงเพื่อเอาไว้ตอบโต้กับรัฐอิสลามหรอก ในทำนองเดียวกัน ทรัมป์ได้แสดงความยินดีกับ มุน แจอิน ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ ทว่าก็ยืนกรานด้วยว่าเขาต้องการที่จะเปิดเจรจากันใหม่เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงทางการค้า “เลวๆ” และข้อตกลงด้านความมั่นคง “เลวๆ” ซึ่งสหรัฐฯทำไว้กับเกาหลีใต้ แล้วยังในเรื่องเกาหลีเหนืออีก ในขณะหนึ่งเขามีความพยายามที่จะหาเรื่องระรานเปียงยาง แต่ในอีกขณะหนึ่งเขากลับบอกว่ายังคงมองเห็นถึงความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะพบปะเจรจาเป็นการส่วนตัวกับ คิม จองอึน ซึ่งเขาบรรยายว่าเป็น “คนที่ฉลาดมาก”
ต้องขอบคุณการเที่ยวแถลงป่าวร้องอย่างเอาแน่เอานอนไม่ได้เช่นนี้ของเขานี่แหละ จึงทำให้ทั้งๆ ที่ยุคของทรัมป์เพิ่งเริ่มต้นเดินหน้ามาได้แค่ครึ่งปี แต่อิทธิพลบารมีของอเมริกันในภูมิภาคนี้ก็กำลังตกต่ำฮวบฮาบอย่างชนิดไม่อาจหยุดยั้งได้ ทำนองเดียวกับเรตติ้งการยอมรับผลงานความเป็นประธานาธิบดีของเขาภายในสหรัฐฯเอง เมื่อนำส่วนผสมนี้มาบวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าเขาเป็นประธานาธิบดีซึ่งต้องการแต่จะได้ชัยชนะครั้งใหญ่ ทว่าไม่ได้เห็นว่าจะมีเรื่องเช่นนั้นบังเกิดขึ้นในเอเชียได้เลย แล้วคุณก็จะสามารถมองเห็นเนื้อหาคำจำกัดความของคำว่า เสื่อมถอย
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเสื่อมถอยของสหรัฐฯเช่นนี้ มักถูกนำมาคาดคำนวณกันในรูปของสภาวการณ์รูปธรรมที่อาจจะบังเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อขีปนาวุธของเกาหลีเหนือสามารถยิงมาถึงชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯได้, เมื่อการใช้จ่ายทางทหารของจีนวิ่งเข้ามาใกล้ๆ งบประมาณของเพนตากอน, เมื่อญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ทำนองเดียวกับฟิลิปปินส์ เริ่มต้นพิจารณาทบทวนถึงความสวามิภักดิ์ของพวกเขาที่มีกับสหรัฐฯ ครั้นเมื่อมาถึงเวลานี้ ในยุคของทรัมป์ เราควรต้องเพิ่มสภาวการณ์รูปธรรมอีกอย่างหนึ่งเข้ามาไว้ในรายการ นั่นคือ เมื่อเอเชียเผชิญกับคณะบริหารในวอชิงตันที่ทั้งด้อยความรู้ความสามารถ, ฉ้อฉล, และนำความพ่ายแพ้มาสู่ตัวเอง
เมื่อสหรัฐฯโดยเฉพาะในยุคของทรัมป์กลายเป็นเช่นนี้ไปเสียแล้ว หนทางจึงดูเหมือนกับปลอดโปร่งเปิดโล่งผ่านตลอดสำหรับจีน ซึ่งเป็นประเทศเข้มแข็งที่สุดในเอเชีย ที่จะก้าวเข้ามาเติมเต็มสุญญากาศที่ทำท่าจะเกิดขึ้นนี้ ทว่าก็อย่างที่มีคำพังเพยพูดเอากันเอาไว้นั่นแหละ แม้กระทั่งแผนการที่วางกันเอาไว้อย่างดิบดีที่สุด ก็ยังมักเกิดจุดอ่อนความผิดพลาดขึ้นมาจนได้
จุดอ่อนของเอเชีย
เป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ก็เป็นความจริง ญี่ปุ่นนั้นกำลังกลายเป็นประเทศที่หดเล็กลงเรื่อยๆ ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2015 ประชากรของชาติพันธมิตรผู้เหนียวแน่นมั่นคงที่สุดของอเมริกาในแปซิฟิกรายนี้ ได้ลดน้อยลงไปประมาณ 1 ล้านคน กระทั่งอยู่ในระดับเกิน 127 ล้านคนเพียงนิดเดียว สืบเนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำมากจนน่าตกใจและการที่แทบไม่มีผู้อพยพเข้าประเทศเลย ตามการคาดการณ์อย่างเป็นทางการจึงออกมาว่า ชาวญี่ปุ่นอาจจะลดลงเหลือเพียง 85 – 95 คนเท่านั้นภายในปี 2050 และภายในปี 2135 หลังจากพำนักอาศัยอยู่ในสังคมที่เหมือนกับกลายเป็นซากฟอสซิลมายาวนาน ชาวญี่ปุ่นคนสุดท้ายซึ่งอยู่ในวัย 118 ปีก็อาจจะได้หายใจเป็นเฮือกสุดท้ายของเขาหรือของเธอ เป็นอันปิดฉากไม่มีญี่ปุ่นกันอีกต่อไป ภาพสมมุติสถานการณ์แบบเลวร้ายที่สุดเช่นนี้ ซึ่งวาดภาพคาดคำนวณโดยอดีตนักเจรจาทางการค้า ไคลด์ เพรสโตวิตช์ (Clyde Prestowitz) ในหนังสือซึ่งเพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ของเขาที่ชื่อ “Japan Restored” บางทีอาจจะเลยเถิดเกินไป กระนั้นข้อเท็จจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า ญี่ปุ่นกำลังอยู่บนเส้นทางมุ่งสู่สิ่งที่ดูเหมือนกับเป็นการทำ “เซปปุกุ” (seppuku การฆ่าตัวตายด้วยการคว้านท้องในยุคซามูไร) ระดับชาติ มันเป็นการเข้าพิธีกรรมฆ่าตัวตายที่จำนวนประชากรของประเทศลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
คุณอาจจะคิดว่า อ้าว ก้อนี่คือญี่ปุ่น ประเทศนี้เขาตกอยู่ในความสลดหดหู่ทางการคลังมายาวนานตั้งแต่ที่เศรษฐกิจฟองสบู่ของเขาแตกระเบิดขึ้นมา ย้อนหลังไปถึงในช่วงทศวรรษ 1990 โน่นแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นนี้ไม่ใช่เป็นกรณีเฉพาะตัว แท้ที่จริงแล้วการก้าวขึ้นมา, การชะงักงัน, และการหดตัวลงของแดนอาทิตย์อุทัย ยังคงสามารถใช้เป็นเครื่องเตือนภัยให้ระมัดระวังตัวสำหรับดินแดนอื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวงที่เดินตามเส้นทางของญี่ปุ่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขยายตัวโดยเน้นหนักใช้การส่งออกเป็นตัวนำ และมีภาครัฐคอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวก
ไม่ต้องอื่นไกลเลย เกาหลีใต้ก็ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงระยะที่ความคาดหวังต่างๆ ทางเศรษฐกิจพากันหดตัวแล้วเช่นกัน โดยที่อัตราเติบโตอยู่ในระดับกะปริบกะปรอย, ความไม่เท่าเทียมถ่างกว้างออกไปเรื่อยๆ , และการทุจริตคอร์รัปชั่นของภาคบริษัทเอกชนแผ่ซ่านไปกว้างขวาง คนหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้เมื่อเผชิญหน้ากับทิศทางอนาคตที่จะต้องกลายเป็นคนว่างงาน หรือเป็นได้แค่แรงงานสัญญาจ้างที่แทบไม่ได้รับค่าชดเชยเลยเมื่อต้องออกจากงาน ต่างพากันเรียกขานประเทศของพวกเขาว่าเป็น “นรกโชซอน” (Hell Choson) ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงราชวงศ์โชซอนที่ปกครองเกาหลีตั้งแต่ปี 1392 ถึง 1897 ไต้หวัน ผู้เป็นสมาชิกอีกรายหนึ่งของ “ฝูงห่านบินแห่งกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม” (flying geese of industrialization) ซึ่งรับผิดชอบทำให้เอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าอัศจรรย์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เวลานี้ก็เผชิญกับปัญหาชุดหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จนน่าตื่นตะลึง ทั้งนี้ตามปากคำของนักเศรษฐศาสตร์ แฟรงก์ เจียว (Frank Hsiao) เป็นต้นว่า “อัตราค่าจ้างที่ต่ำและชะงักอยู่กับที่, ความไม่เท่าเทียมทางรายได้ที่แผ่กว้างขึ้นเรื่อยๆ, ภาวะกลวงโบ๋ของพวกอุตสาหกรรมภายในประเทศ, และการส่งออกที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง”
แม้กระทั่งประเทศจีน รัศมีเรืองรองของความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของแดนมังกรก็กำลังมัวหมองลบเลือนไปเป็นบางส่วนแล้ว วันเวลาที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติของจีนมีอัตราเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักนั้นได้ผ่านเลยไปนานแล้ว เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่แดนมังกรพร้อมที่จะแสดงความปีติยินดีกัน ถ้าพวกเขาสามารถอ้างอิงตัวเลขการเติบโตที่อยู่ในระดับเกือบๆ ถึง 7% (และแม้กระทั่งในระดับนั้น ก็ยังมีผู้คนไม่น้อยที่เชื่อว่ามันเป็นตัวเลขที่สูงเกินจริง) กำลังแรงงานของจีนยังกำลังหดลดลงเรื่อยๆ นับแต่ปี 2012 เป็นต้นมา การนัดหยุดงานและการประท้วงของแรงงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างนาตื่นใจในปี 2016 ขณะเดียวกับที่ความไม่สงบยังคงปกคลุมซินเจียงและทิเบต 2 มณฑลทางตะวันตกสุดประเทศจีน การรณรงค์ต่อสู้ปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ถึงแม้กำลังไล่ล่าได้ตัวบุคคลที่มีตำแหน่งสูงๆ อยู่บ้าง ทว่าก็เพียงแต่ผลักดันพวกคนทุจริตให้เข้าสู่รูปแบบการฉ้อฉลที่แนบเนียนอำพรางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น
ในเวลาเดียวกัน มันไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงญี่ปุ่นหรอกที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตการณ์ทางประชากร อัตราการเจริญพันธุ์ของทั้งไต้หวัน (1.12) และเกาหลีใต้ (1.25) อยู่ในระดับต่ำกว่าญี่ปุ่น (1.41) เสียด้วยซ้ำ ขณะที่ของจีน (1.6) ก็แค่สูงกว่าของญี่ปุ่นเล็กน้อย ทว่าพวกเขาทั้งหมดไม่มีรายใดเลยที่อัตราเจริญพันธุ์อยู่ใกล้ๆ ระดับ 2.1 ซึ่งถือกันว่าเป็นอัตราที่จะมีคนเกิดใหม่ทดแทนคนที่เสียชีวิตไปอย่างเหมาะสม ยิ่งขยับเข้าใกล้ปี 2050 มากเท่าใด ทั้ง 4 รายนี้ต่างล้วนจะต้องเผชิญภาระหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ ในการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ จากการเกษียณอายุ ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านดูแลรักษาสุขภาพของพวกคนงานอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ปัจจุบันกำลังสร้างผลงานได้โดดเด่นเหนือกว่าคนงานอุตสาหกรรมในที่อื่นๆ ของโลก สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเรียกขานกันว่า “การมองข้ามญี่ปุ่น” (Japan passing) –หมายถึงการที่พวกนักลงทุนกำลังมองข้ามแดนอาทิตย์อุทัย และหันไปเสาะแสวงหาลู่ทางโอกาสที่ดีกว่าในพื้นที่อื่นๆ ของภูมิภาคเอเชีย—กำลังค่อยๆ เปลี่ยนเป็น “การมองข้ามจีน” (China passing) ไปเรียบร้อยแล้ว กระแสการไหลเวียนทางการเงินในเอเชีย ยังกำลังจะถูกกระทบกระเทือนจากปัญหาใหญ่ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในระยะต่อไปของศตวรรษนี้ จะกลายเป็นภัยคุกคามมหานครใหญ่ๆ ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตเกียว, เซี่ยงไฮ้, ฮ่องกง, หรือสิงคโปร์
ในโลกตะวันตกเวลานี้ การเที่ยวทำนายทายทักว่าตะวันออกกำลังจะกลายเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในโลกแห่งอนาคตนั้น กำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนไปแล้วจริงๆ และหุ้นของแวดวงนี้ยังคงขยับสูงขึ้นไปอยู่เรื่อยๆ จากการที่เวลานี้จีนประกาศแผนการลงทุน “หนึ่งแถบเศรษฐกิจหนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) ซึ่งมุ่งหมายที่จะผูกพันมหาทวีปยูเรเชียอันกว้างใหญ่เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตัดแย้งกับการที่ทรัมป์ประกาศว่า ทุกๆ ประเทศจะต้องทำตามสิ่งที่เขาบอกไม่เช่นนั้นก็จะถูกตัดทิ้งออกจากบัญชี อย่างไรก็ตาม อนาคตที่เป็นจริงนั้นทำท่าว่าจะยุ่งเหยิงซับซ้อนกว่ายิ่งที่จีนหรือประดาพวกที่ส่งเสียงเชียร์จีนคาดคิดจินตนาการกันเอาไว้มากมายนัก มิหนำซ้ำ ปัญหาหนักๆ ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ ก็ไม่ได้มีเพียงเฉพาะพวกปัญหาด้านประชากร, การทุจริตคอร์รัปชั่น, และอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดต่ำลง หรือเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการที่อุดมการณ์ของพรรคผู้ปกครองจีนกำลังสูญเสียความชอบธรรมของตนมากขึ้นเรื่อยๆ
กระแสลัทธิชาตินิยมใหม่ของเอเชีย
ครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง สหรัฐฯเคยวางตัวเองให้อยู่ในฐานะเป็นยาถอนพิษสำหรับต่อสู้กับลัทธิชาตินิยมในเอเชีย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯได้จัดตั้งฐานทัพต่างๆ ตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ เพื่อป้องกันขัดขวางไม่ให้ลัทธินิยมการใช้กำลังทหาร (militarism) ของญี่ปุ่นฟื้นชีพขึ้นมาใหม่ วอชิงตันยังวาดภาพตัวเองว่ามีฐานะเป็นฝ่ายเป็นกลาง โดยที่ไม่มีความทะเยอทะยานต้องการครอบครองดินแดนใดๆ ขณะที่ได้คืนเกาะโอกินาวากลับไปอยู่ในความปกครองของญี่ปุ่นแล้วในปี 1972 อีกทั้งปฏิเสธไม่ยอมเข้าข้างใครในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนหลายๆ แห่งในภูมิภาค ด้วยวัตรปฏิบัติเช่นนี้เอง ลัทธิสากลนิยมแบบเสรี (liberal internationalism) ของสหรัฐฯยังอยู่ในสภาพประจันหน้าแข่งขันต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ไม่เสรี (illiberal Communisms) ซึ่งปกครองจีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนาม, กัมพูชา, และลาว อีกด้วย
อุดมการณ์ประเภทเหนือชาติทั้งสองอย่างนี้ เคยเจริญรุ่งเรืองในเอเชียระหว่างช่วงสงครามเย็น ทว่าต่างก็เข้าไปพำนักอยู่ในหอดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเสียแล้วเมื่อวันเวลาย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นในทางปฏิบัติได้หายสูญไปจากภูมิภาคนี้เสียแล้ว สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือลัทธิชาตินิยมที่มีระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ลัทธิชาตินิยมในเอเชียไม่ใช่จะหยั่งรากลงหลักปักฐานเฉพาะแต่ใน จีนของสี จิ้นผิง และเกาหลีเหนือของคิม จองอิน เท่านั้น
ตัวอย่างเช่นในญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังสาละวนอยู่กับความพยายามที่จะรื้อฟื้นสร้างลัทธินิยมการใช้กำลังทหารชนิดที่ครั้งหนึ่งสหรัฐฯเคยแสดงความชิงชังขยะแขยงนั่นแหละขึ้นมาใหม่ แล้วคณะบริหารของสหรัฐฯหลายชุดต่อเนื่องกันกลับให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ความพยายามของนักชาตินิยมฝ่ายขวาผู้นี้ในการทอดทิ้ง “รัฐธรรมนูญฉบับสันติภาพ” ที่ญี่ปุ่นใช้เรื่อยมาตลอดช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯยังหนุนหลังผลักดันให้กองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces) ของญี่ปุ่นเข้าแสดงบทบาทในเชิงรุกอีกด้วย
เวลาเดียวกันนั้นเอง พวกผู้นำชาตินิยมทั้งหลายก็เข้าครองอำนาจในตลอดทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทีเดียว เป็นต้นว่า โรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีฆาตกรแห่งฟิลิปปินส์, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเวลานี้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย, และ นาจิบ ราซัก ผู้คดโกง นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย สิ่งที่ดูเป็นลางร้ายมากกว่านี้อีกก็คือ ลัทธิชาตินิยมยังได้แผ่อิทธิพลเข้าไปปักหลักอยู่ในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้แซงหน้าเข้าแทนที่สหราชอาณาจักร ในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก โดยที่นายกรัฐมนตรีนเรนทราโมดี กำลังสถาปนาให้ลัทธิชาตินิยมฮินดู กลายเป็นหัวใจและวิญญาณของพรรคการเมืองซึ่งกำลังปกครองแดนภารตะของเขา
ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งของกระแสลัทธิชาตินิยมที่กำลังยืนผงาดขึ้นมานี้ก็คือ ตลอดทั่วทั้งภูมิภาคกำลังมีการนำเข้าอาวุธเพิ่มทวีขึ้น ตามรายงานการศึกษาของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติแห่งสต็อกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute) อินเดียได้กลายเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธใหญ่ที่สุดอันดับหนึ่งของโลกในช่วงปี 2012 ถึงปี 2016 และระหว่างระยะเวลานั้นเอง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็นำเข้าอาวุธสูงขึ้น 6% โดยเฉพาะเวียดนามนั้นกำลังกระโจนพรวดขึ้นสู่อันดับ 10 ของโลกทีเดียว ในปี 2012 ยังเป็นครั้งแรกด้วยที่เอเชียแซงหน้ายุโรปในเรื่องงบประมาณใช้จ่ายทางทหารโดยองค์รวม
ทั้งการใช้ถ้อยคำวาทะแบบนักชาตินิยม และการนำเข้าอาวุธเหล่านี้ แน่นอนทีเดียวว่ามีความเกี่ยวพันโยงใยกับความรับรู้ความเข้าใจของภูมิภาค ในเรื่องเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความตกต่ำเสื่อมถอยของมหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง ทั้งนี้พวกประเทศในภูมิภาคนี้มีความรู้สึกกันว่า เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้และดินแดนพิพาทอื่นๆ จำนวนมากของพวกเขา มีความจำเป็นที่พวกเขาต้องติดอาวุธเพิ่มแสนยานุภาพของตัวเอง ในการรับมือกับจีนที่กำลังหันมาแสดงท่าทีใหม่ซึ่งแข็งกร้าวยืนกรานยิ่งขึ้น และในการรับมือกับสหรัฐฯที่มีแต่ความสับสนวอกแวกอยู่ตลอดเวลา
ในขณะปัจจุบัน สองมหาประเทศนี้กำลังร่วมมือกันในพื้นที่สำคัญที่สุดพื้นที่หนึ่ง ได้แก่การทุ่มเทเงินทองเข้าไปในฮาร์ดแวร์ทางการทหารประเภทที่วันหนึ่งอาจจะนำไปสู่การประจันหน้าที่ก่อให้เกิดความวิบัติหายนะ ความเป็นจริงข้อนี้ทำให้พวกนักวิเคราะห์ด้านนโยบายการต่างประเทศพากันหยิบยกนำเอาเรื่อง “กับดักของทิวซีดิดีส” (Thucydides trap) ขึ้นมาพูดกันใหม่ เนื่องจากแนวความคิดสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ มหาอำนาจที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาอย่างเช่นนครรัฐเอเธนส์ (เปรียบเทียบกับในเวลานี้ย่อมต้องเป็นประเทศจีน) ในที่สุดแล้วก็ตอบโต้การท้าทายของมหาอำนาจที่มีฐานะครอบงำเจ้าเดิมอย่างนครรัฐสปาตาร์ (เวลานี้ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯ) จึงเกิดเป็นความขัดแย้งและการสู้รบกันอย่างยาวนานและเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสอย่างสงครามเปโลปอนนีเซียน (เปรียบเทียบกับเวลานี้ก็คือสงครามโลกครั้งที่ 3)
ทว่าในทางเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งในเอเชียอาจจะมีรูปร่างลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างออกไปก็ได้ ในเมื่อกระแสความเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งเรียกร้องต้องการสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (self-determination) ให้มากขึ้นของภูมิภาคนี้ ก็กำลังสำแดงการบั่นทอนอิทธิพลบารมีของอภิมหาอำนาจทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นอภิมหาอำนาจรายที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา หรืออภิมหาอำนาจรายซึ่งครองอำนาจอยู่เดิม ทั้งนี้มีตัวอย่างของพม่าและเกาหลีใต้ซึ่งควรนำมาศึกษาพิจารณา โดยที่ทั้งสองตัวอย่างนี้ก็มีความแตกต่างผิดแผกกันเองเป็นอย่างมากด้วย
ในพม่านั้น จีนมีฐานะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุด และมีอยู่ยุคหนึ่งประเทศทั้งสองมีความสนิทสนมกันเหลือเกิน ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งกับเนปิดอเวลานี้กลับมีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เสียแล้ว ในปี 2011 รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าที่นำโดยพลเรือน ได้สั่งระงับโครงการสร้างเขื่อนมิตโสน (Myitsone) หนึ่งในหลายๆ เมกะโปรเจ็กต์ซึ่งได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากจีน โดยที่ “ชาวพม่าจำนวนมากทีเดียวกล่าวโทษประณามจีนที่เข้าไปช่วยเหลือประคับประคองคณะทหารผู้ครองอำนาจปกครองประเทศในลักษณะเช่นนี้” นักหนังสือพิมพ์ ทอม มิลเลอร์ (Tom Miller) เขียนเอาไว้เช่นนี้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ใช้ชื่อว่า “China’s Asian Dream” ไม่นานนักภายหลังกลับได้รับสิทธิเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง ชาวพม่าก็เล็งเป้าหมายมุ่งเล่นงานพวกโครงการอย่างเช่นเขื่อนมิตโสนนี้แหละ โดยที่กระแสไฟฟ้าซึ่งเขื่อนแห่งนี้ผลิตได้ถึงราว 90% ทีเดียวจะถูกส่งไปขายให้จีนใช้สอย มาถึงตอนนี้ อองซานซูจี ผู้นำตัวจริงของพม่าจะต้องตัดสินใจเลือกแล้ว ระหว่างการแช่แข็งโครงการนี้เอาไว้อย่างถาวร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องหาเงินจำนวน 800 ล้านดอลลาร์มาจ่ายคืนหนี้สินที่ค้างชำระพวกนักการเงินชาวจีนอยู่ หรือไม่ก็จะต้องเดินหน้าโครงการนี้ซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนเอาเลยอีกทั้งตัวเธอเองก็เคยประกาศคัดค้านมาก่อน
ตัวอย่างของพม่านี้ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องเฉพาะตัว ศรีลังกาเมื่อเร็วๆ นี้ก็เหวี่ยงตัวถอยห่างออกมาจากจีนและหันกลับไปหาอินเดียมากขึ้น ประธานาธิบดีดูเตอร์เตของฟิลิปปินส์เมื่อไม่นานมานี้เองเขยิบถอยกลับไปหาสหรัฐฯในยุคที่นำโดยโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ซึ่งกล่าวยกย่องสรรเสริญสงครามปราบยาเสพติดของผู้นำฟิลิปปินส์ผู้นี้ (ถึงแม้ดูเตอร์เตมีพฤติการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางก็ตามที) เวียดนามก็ระแวงสงสัยไม่หยุดไม่หย่อนต่อเจตนารมณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีน และอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านจีนยังกำลังสะสมตัวทั้งในลาว, อินโดนีเซีย, และมาเลเซีย แผนการ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อาจจะแซงหน้าแผนการมาร์แชล หากวัดกันที่ขนาดเพียงอย่างเดียว ทว่าแผนการใหญ่โตมหึมาของแดนมังกรนี้ ยังคงขาดไร้ความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวทางการเมืองของภูมิภาคมาคอยหนุนหลังประคับประคอง ขณะที่เรื่องนี้เป็นคุณสมบัติข้อสำคัญที่รับประกันให้โครงการใหญ่ของสหรัฐฯในยุโรปยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประสบความสำเร็จ
แล้วก็ไม่ใช่มีแค่จีนเพียงลำพังหรอกที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าเจอปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทางลบอย่างรุนแรงในภูมิภาคนี้ ตัวอย่างเช่นในเกาหลีใต้ หลังจากพวกอนุรักษนิยมขึ้นปกครองประเทศมาเป็นเวลาราว 1 ทศวรรษแล้ว การปกครองนี้ก็มาถึงจุดจบแบบแตกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยการที่ประธานาธิบดีพัค กึน-ฮเย ถูกพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่งในข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น และการเลือกตั้งที่ติดตามมาซึ่งจัดขึ้นอย่างรีบเร่ง มีผลลัพธ์ทำให้ผู้มีแนวคิดก้าวหน้าอย่าง มุน แจอิน ได้รับชัยชนะ ผู้นำเกาหลีใต้คนใหม่ผู้นี้ไม่ได้เป็นนักปลุกระดมหรือชมชอบการทะเลาะวิวาท ดังนั้นอย่าได้คาดหมายว่าจะมีการตัดเป็นตัดตายกับวอชิงตันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจใดๆ ว่ากันไปแล้วเกาหลีใต้นั้นได้ยินยอมอ่อนน้อมรับใช้สหรัฐฯมาเป็นเวลายาวนานเกินไปแล้ว จนไม่กล้าที่จะเสี่ยงกระทำอะไรเช่นนั้นหรอก อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในเร็ววันนี้ อย่างไรก็ตาม มุนก็ให้คำมั่นสัญญาที่จะพิจารณาทบทวนเรื่องการอนุญาตให้สหรัฐฯนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธที่เรียกว่า “ระบบป้องกันที่มุ่งยิงสกัดขีปนาวุธข้าศึกในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูง” (Terminal High Altitude Area Defense ใช้อักษรย่อว่า THAAD) เข้ามาติดตั้งประจำการในเกาหลีใต้ หลังจากที่วอชิงตันใช้ความพยายามอย่างมากมายในช่วงก่อนที่มุนจะเข้ารับตำแหน่ง จนกระทั่งสามารถนำเอา “ทาด” เข้ามาติดตั้งในแดนโสมขาวได้สำเร็จ ประธานาธิบดีคนใหม่ผู้นี้ยังแสดงความต้องการที่จะปรับปรุงแก้ไขสายสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกับจีน ซึ่งถึงยังไงก็มีฐานะเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ รวมทั้งยังต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในแบบร่วมไม้ร่วมมือกันมากขึ้นกับเกาหลีเหนืออีกด้วย
เวลาเดียวกันนั้นเอง ในญี่ปุ่น กลุ่มพลังฝ่ายค้านที่มีทั้งนักการเมือง, นักเคลื่อนไหว, และพลเรือนสามัญธรรมดาในเกาะโอกินาวา ได้สกัดกั้นขัดขวางแผนการที่โตเกียวกับวอชิงตันตกลงเสร็จสรรพกันแล้ว ในการที่จะปิดฐานทัพเก่าของสหรัฐฯในเมืองฟูเตนมะ (Futenma) เพียงเพื่อที่จะโยกย้ายไปสร้างฐานทัพแห่งใหม่ในพื้นที่บริเวณอื่นๆ ของเกาะแห่งนี้ โอกินาวาเป็นสถานที่ซึ่งอเมริกานำเอาแสนยานุภาพในแปซิฟิกของตนจำนวนมากมายทีเดียวเข้ามาติดตั้งเข้ามาประจำการ การที่ประชากรของโอกินาวาปฏิเสธไม่ให้ความสนับสนุนการก่อสร้างฐานทัพแห่งใหม่เช่นนี้ จึงไม่เพียงรบกวนแผนการต่างๆ ในแปซิฟิกทั้งของบารัค โอบามา และฮิลลารี คลินตัน เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความชอบธรรมใหม่ๆ แก่แนวความคิดที่เสนอให้ถอนกำลังทหารสหรัฐฯออกมาจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และถอยไปอยู่ในแนวหมู่เกาะแนวที่สอง (secondary tier of islands) อย่างเช่นเกาะกวม
อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของพวกประเทศเอเชีย ในการยึดถือผลประโยชน์ของพวกเขาเองอยู่เหนือผลประโยชน์ของผู้ที่เคยเห็นกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์พวกเขามาเช่นนี้ ยังทำให้เป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้นที่ภูมิภาคนี้จะสามารถเสาะแสวงหาพื้นที่ร่วมสำหรับการร่วมไม้ร่วมมือกัน “เอเชียไม่ได้อยู่ในสภาพที่เกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวกัน แม้กระทั่งในระดับห่างๆ” เจสซิกา แมทธิวส์ (Jessica Mathews) แห่ง กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) เขียนเอาไว้เช่นนี้ “ ไม่มี ‘ตะวันออก’ ชนิดซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับ ‘ตะวันตก’ ที่มีอยู่ ถึงแม้ภูมิภาคนี้ (เอเชีย) กำลังมีการบูรณาการกันในทางเศรษฐกิจ แต่ก็กำลังฉีกขาดแยกห่างกันออกมา ทั้งด้วยความขัดแย้งต่างๆ ที่ยังคงมีพลัง, ความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันขมขื่น, และความผิดแผกกันทางวัฒนธรรมอย่างล้ำลึก”
หรืออดีตจะกลายเป็นอารัมภบทของอนาคต?
ถ้าลัทธิสากลนิยมแบบเสรีไม่ได้มีเสน่ห์ดึงดูดใจพวกพันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียอีกต่อไป –ในทางเป็นจริงแล้ว มันไร้เสน่ห์ดึงดูดใจคณะผู้นำใหม่ในวอชิงตันด้วย— ก็อาจเป็นการง่ายดายเลยที่จะตั้งสมมุติฐานขึ้นมาว่าอนาคตจะเป็นการนำเอาอดีตมารีเพลย์กันใหม่ ซึ่งสำหรับเอเชียแล้ว คือการหวนกลับมาของจักรวาลแบบที่มีจีนเป็นศูนย์กลางที่เคยปรากฏขึ้นเป็นเวลากว่า 1,000 ปีในภูมิภาคนี้ เพียงแต่ว่าแทนที่จะมีข้าหลวงผู้ปกครองท้องถิ่นลำเลียงเอาของขวัญเครื่องบรรณาการต่างๆ ไปจิ้มก้องถวายพระจักรพรรดิในกรุงปักกิ่ง ในยุคนี้พวกผู้นำของกัมพูชา, ลาว, พม่า, และฟิลิปปินส์ จะทำการก่อสร้างเขื่อนและท่าเรือและสายท่อส่งน้ำมันด้วยเงินทองของฝ่ายจีน จากนั้นก็ส่งคืนดอกผลเงินรายได้จำนวนมากกลับคืนไปยังแดนมังกร
กระนั้นสิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นมาจริงๆ ในเวลานี้ ปรากฏว่ากระแสชาตินิยมที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย กำลังทำให้ภาพดังกล่าวนี้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล และอาจจะเปิดทางให้ผู้นำอย่างเช่นดูเตอร์เตสามารถเล่นไพ่ปักกิ่งเพื่อต่อรองเรียกร้องอะไรเพิ่มมากขึ้นจากวอชิงตัน, หรือกระทั่งตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวพวกเขาเอง, หรือบางทีอาจจะไปขอความช่วยเหลือจากพวกประเทศอย่างเช่นอินเดีย —หรือกระทั่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งก็กำลังพยายามหาทางเพิ่มอิทธิพลบารมีของตนในหมู่พวกประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อย่างเช่นอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ถ้าหากการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเป็นสาเหตุทำให้เกิดความกังวลวุ่นวายอย่างมากมายในโลกตะวันตกแล้ว เป็นไปได้ว่าสิ่งที่ปรากฏออกมาจริงๆ อาจจะไม่มีประเทศใดเลยที่จะก้าวขึ้นมีฐานะครอบงำในเอเชียในลักษณะแทนที่สหรัฐฯที่กำลังตกต่ำลงไป และความโกลาหลวุ่นวายอย่างใหม่จะเข้าปกคลุมภูมิภาคนี้
“แนวความคิดเกี่ยวกับโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ แต่ไม่มีมหาอำนาจใดอยู่ในฐานะครอบงำเลย และชี้นำกันด้วยหลักนิติธรรมเพียงอย่างเดียวนั้น ในทางทฤษฎีมันดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจ” กีเดียน รัชแมน (Gideon Rachman) นักหนังสือพิมพ์สังกัดไฟแนนเชียลไทมส์ เขียนเอาไว้เช่นนี้ในหนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ของเขาชื่อ Easternization ทว่าเขาก็เขียนต่อไปว่า “ผมกลัวว่าโลกที่มีหลายขั้วอำนาจเช่นนี้แหละกำลังปรากฏขึ้นมาให้เห็นเรียบร้อยแล้ว และกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่ามันทั้งไร้เสถียรภาพและมีอันตราย เนื่องจาก “การปกครอง” เป็นสิ่งที่จะนำมาบังคับใช้ได้อย่างลำบากยากเย็นมาก ถ้าหากไม่มีมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำสักรายหนึ่งยืนอยู่ในฉากหลัง”
เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว เอเชียมีการขบคิดตรึกตรองเกี่ยวกับทางเลือกอย่างอื่นนอกเหนือจากการมีประเทศหนึ่งซึ่งครองฐานะเป็นเจ้าเหนือผู้อื่นอยู่ในภูมิภาค ไม่ว่าผู้เป็นเจ้านี้จะเป็นอเมริกาหรือเป็นจริงก็ตามที และจากตัวอย่างของสหภาพยุโรป ทำให้มีนักการเมืองและนักวิชาการไม่น้อยคิดฝันจินตนาการถึงอนาคตของเอเชียในลักษณะที่มีการบูรณาการในทางเศรษฐกิจและในทางการเมือง ทว่าไม่ว่าสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization), ตลอดจนความพยายามอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ก็ยังคงล้มเหลวก็ยังคงห่างไกลมากจากสภาพอุดมคติแบบอียู (โดยที่อียูเองในเวลานี้ก็กำลังเกิดการสั่นคลอนและการแตกแยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกัน)
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถึงแม้มีความฝันกันอย่างมากมายเกี่ยวกับอนาคตอันสดใสของเอเชีย ทว่าภูมิภาคนี้ไม่น่าที่จะบังเกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างสันติในลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับสิ่งที่ปรากฏในยุโรป รวมทั้งก็ไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่สหรัฐฯครองฐานะความเป็นเจ้าเอาไว้ต่อไป หรือว่าระบบที่จีนเป็นศูนย์กลางแบบในอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อนจะหวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นได้แก่ เอเชียน่าที่จะต้องเผชิญกับภาวะประชากรลดต่ำ, เศรษฐกิจหดตัว, ลัทธิชาตินิยมเข้มข้นขึ้น, และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ --พูดโดยสรุปก็คือ อนาคตที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากและอันตรายนานาชนิด
ถึงแม้วอชิงตันยังคงสามารถที่จะบงการใช้อำนาจอิทธิพลในภูมิภาคนี้ได้อย่างมากมายมหาศาล แต่ก็อาจเลือกที่จะถอยออกมายืนข้างหลัง--แบบที่ทรัมป์กำลังคิดจะทำ และอยู่เฉยๆ เฝ้ามองสิ่งต่างๆ คลี่คลายไปเรื่อยๆ หรือไม่เช่นนั้น วอชิงตันอาจจับมือกับปักกิ่ง และเข้าลงทุนอย่างจริงจังในองค์การเพื่อความร่วมมือทางด้านความมั่นคงและทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ ซึ่งสหรัฐฯกับจีนจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาก็อาจจะมีส่วนมีเสียงร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของภูมิภาค และกระแสลัทธิชาตินิยมใหม่ก็จะขาดไร้เหตุผลสำคัญแห่งการดำรงคงอยู่ของมัน
หากปราศจากวิสัยทัศน์ชนิดเหนือชาติดังที่กล่าวมา ซึ่งจะสามารถนำเอาภูมิภาคนี้มาร่วมมือกันต่อสู้กับภัยคุกคามคู่แฝดแห่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจแล้ว ก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งรับประกันได้อย่างแน่นอนทีเดียวว่าจะต้องเกิดขึ้น นั่นคือเอเชียในอนาคตจะไม่วาบวับและใหม่ใสเหมือนกับที่ปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดบางเรื่อง อนาคตที่กำลังจะมาถึงอาจไม่ได้ดูเหมือนกับเป็นเอเชียเลยแม้แต่นิดเดียว หากคล้ายคลึงมากกว่ากับยุโรปในช่วงประมาณปี 1913 ขณะอยู่ตรงขอบเหวแห่งความขัดแย้งและความพินาศของสงครามโลกครั้งที่ 1
จอห์น เฟฟเฟอร์ เป็นผู้เขียนนวนิยายแนวดิสโทเปียเล่มใหม่ชื่อ Splinterlands (โดยสำนักพิมพ์ Dispatch Books จากเดิมโดยสำนักพิมพ์ Haymarket Books) ซึ่งนิตยสาร “พับลิชเชอร์ส วีกลี่” (Publishers Weekly) วิจารณ์ยกย่องว่า เป็นนวนิยายที่ “ระทึกใจ, ช่างคิด, และตักเตือนอย่างเป็นธรรมชาติ” เขาเป็นผู้อำนวยการของ “ฟอเรนจ์ โพลิซี อิน โฟกัส” (Foreign Policy in Focus หรือ FPIF) ซึ่งมุ่งเสนอบทวิเคราะห์อันทันการณ์ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯและด้านกิจการระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอแนะทางเลือกต่างๆ ทางด้านนโยบาย FPIF เป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อนโยบายศึกษา (Institute for Policy Studies) กลุ่มคลังสมองที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ซึ่งมีแนวทางความคิดแบบก้าวหน้า เขายังเขียนบทความให้เว็บไซต์ ทอมดิสแพตช์ (www.tomdispatch.com) อย่างสม่ำเสมอ
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)
By John Feffer
01/06/2017
ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดที่เมื่อพวกชนชั้นนำในด้านนโยบายการต่างประเทศขบคิดกันว่า อะไรจะเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ อภิมหาอำนาจซึ่งเวลานี้อยู่ในช่วงค่อนข้างเสื่อมถอย โดยที่การคาดเดากันในทิศทางนี้ยิ่งขยายตัวเบ่งบานกันใหญ่โตขึ้นอีกมากในยุคสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ พวกเขาก็พากันเหลียวหันมามองทางตะวันออก โดยเฉพาะประเทศจีน
มากกว่า 1 ชั่วคนแล้วที่อเมริกันมองเอเชียว่าคืออนาคต
เมื่อชาวอเมริกันพยายามที่จะชะแง้มองดูว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น ภาพต่างๆ ของดินแดนริมฝั่งอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกก็ไหลทะลักพรั่งพรูเข้ามาสู่จินตนาการ สำหรับพวกผู้ชมภาพยนตร์เมื่อปี 1982 นครลอสแองเจลิสที่ฝนตกเปียกโชกของเรื่อง Blade Runner ดูเหมือนกับย่านดาวน์ทาวน์ของโตเกียวเป็นอย่างมาก พอถึงปี 2014 เมืองแอลเอในหนังเรื่อง Her ของ สไปค์ จอนเซ (Spike Jonze) กลับมีอารมณ์ความรู้สึกของนครเซี่ยงไฮ้มากกว่า ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Blade Runner 2049 มีกำหนดนำออกฉาย ลองแองเจลิสน่าจะละม้ายคล้ายๆ กับกรุงโซล
นอกจอภาพยนตร์ก็เช่นเดียวกัน เอเชียแทบจะใช้การได้ดีระดับเดียวกันกับเครื่องไทม์แมชชีนทีเดียว เมื่อผมกำลังย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เอเชียคือสถานที่ซึ่งจะต้องเดินทางไปสำหรับใครก็ตามที่มีความมุ่งมาดปรารถนาจะสัมผัสกับสิ่งบิ๊กๆ ลำดับถัดไปที่กำลังย่างกรายเข้ามา ภายหลังเรียบจบจากมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมรุ่นของผมจำนวนหนึ่งเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อขุดทองสร้างความร่ำรวยด้วยการสอนภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้ พวกผู้สำเร็จการศึกษารุ่นหลังๆ มานี้นิยมที่จะไปเยือนประดาเมืองใหญ่ๆ ของเกาหลีใต้และจีนมากกว่า หรือไม่ก็บ่ายหน้าไกลออกไปอีกทางใต้สู่สิงคโปร์และมาเลเซีย พวกเขาทั้งหมดจะเดินทางกลับบ้าน เฉกเช่นเดียวกับที่ผมก็กลับสหรัฐฯในปี 2001 ภายหลังใช้ชีวิต 3 ปีในเอเชีย พร้อมกับเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอนาคต เป็นต้นว่า รถไฟหัวกระสุน, ภูมิทัศน์ที่เขตเมืองใหญ่ที่เหมือนกับเป็นโลกอีกโลกหนึ่ง, อุปกรณ์เครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์รุ่นล่าสุด
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่เมื่อพวกชนชั้นนำในด้านนโยบายการต่างประเทศขบคิดกันว่า อะไรจะเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ อภิมหาอำนาจซึ่งเวลานี้อยู่ในช่วงค่อนข้างเสื่อมถอย –การคาดเดากันในทิศทางนี้ยิ่งขยายตัวเบ่งบานกันใหญ่โตขึ้นอีกมากในยุคสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์— พวกเขาก็เช่นกันพากันเหลียวหันมามองทางตะวันออก ทว่าไม่ใช่ดูไปที่ญี่ปุ่นอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากประเทศนั้นอยู่ในอาการชราร่วงโรย และก็ไม่ใช่แลไปที่เกาหลีใต้ ซึ่งบางทีอาจจะเลยจุดสูงสุดไปเสียแล้ว ตรงกันข้าม พวกเขาตัวสั่นขวัญแขวนทีเดียวต่อหน้าประเทศจีน ซึ่งได้แซงหน้าสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้วในเรื่องผลผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันก็กำลังเพิ่มพูนสมรรถนะทางทหารของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเหมือนว่าจีนเป็นเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ซึ่งน่าจะมีศักยภาพแม้ยังคงห่างไกลอยู่ ที่จะมาท้าทายฐานะความเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงเจ้าเดียวในโลกของสหรัฐอเมริกาได้
ความกระวนกระวายใจเกี่ยวกับการเสื่อมทรุดของอิทธิพลบารมีของสหรัฐฯเคยอยู่ในระดับเข้มข้นมากในระหว่างหลายๆ ปีในยุคประธานาธิบดีบารัค โอบามา จนกระทั่งความคิดเรื่อง “กลุ่ม จี2” (G2 ย่อมาจาก Group of Two) ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณากันอย่างกว้างขวางทีเดียว โดยสิ่งที่ขบคิดกันในเวลานั้นก็เข้าทำนองคำพังเพยแบบอเมริกันที่ว่า ถ้าเราไม่สามารถโค่นล้มพวกเขาได้ เราก็ควรเข้าร่วมกับพวกเขาเสียเลย ไม่ว่าข้อเสนอที่จะให้สหรัฐฯกับจีนปกครองโลกร่วมกันเช่นนี้มีเจตนาความตั้งใจจริงจังแค่ไหนก็ตามที แต่คณะบริหารโอบามาก็ไม่เคยกระทำตามเลยนอกเหนือจากการทำความตกลงกับแดนมังกรในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการลงทุนระดับทวิภาคี
ด้วยความทะเยอทะยานฝันไกลและในอารมณ์หงุดหงิดไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย ปักกิ่งได้ตัดสินใจที่จะฟันฝ่าบุกเบิกเส้นทางของตนเอง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯได้ประกาศแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ซึ่งทุ่มเทเงินทองมากมายมหาศาลเข้าไปอุ้มชูเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของยุโรปที่พินาศบอบช้ำหนักหนาสาหัสจากสงครามให้พลิกฟื้นกลับลุกยืนขึ้นมาได้อีกคำรบหนึ่ง ในตอนนี้จีนก็ได้ประกาศแผนการมาร์แชลเวอร์ชั่นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ของตนออกมา อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ของจีนนั้นโฟกัสเน้นหนักอยู่ที่การหนุนส่งทุกๆ ประเทศซึ่งอยู่รายล้อมรอบๆ ตนเองและแม้กระทั่งบางประเทศที่อยู่ไกลออกไปอีกในเรื่องการลงหลักปักฐาน ขณะเดียวกับที่ปักกิ่งใช้ความพยายามเพื่อดึงลากเอาทั่วทั้งมหาทวีปยูเรเชีย (Eurasia) เข้ามาอยู่ในเขตอิทธิพลของตน ถึงแม้เป็นที่คาดหมายกันว่าจีนอาจจะต้องทุ่มเทงบประมาณสูงถึงราว 1 ล้านล้านดอลลาร์เข้าไปช่วยเหลือประเทศต่างๆ เหล่านี้รวมแล้วมากกว่า 60 ประเทศ แต่แผนการ “หนึ่งแถบเศรษฐกิจ หนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) นี้ก็มิได้เป็นกิจกรรมทำการกุศลแต่อย่างใด มันจะนำทางให้ทรัพยากรต่างๆ จำนวนมากมายทะลักทลายเข้ามายังพวกบริษัทก่อสร้างของจีน, นำเอาแร่ธาตุและพลังงานเข้ามายังพวกโรงงานจีน, และนำเอาลู่ทางโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานบางโครงการยังจะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลด้านความมั่นคงได้ด้วย อย่างเช่นสายท่อส่งน้ำมันและก๊าซซึ่งจะสร้างผ่านประเทศพม่านั้น ก็จะสามารถเลี่ยงจุดที่เป็นคอขวดของเส้นทางขนส่งทางทะเลอย่างช่องแคบมะละกา ซึ่งศัตรูที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่อาจหาทางเข้าปิดกั้นและมีศักยภาพที่จะตัดลดน้ำมันนำเข้าของปักกิ่งลงได้ถึง 80% ทีเดียว
ชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 ของโดนัลด์ ทรัมป์ ยิ่งทำให้พวกผู้วางนโยบายและเหล่าผู้รู้ในแวดวงวอชิงตัน ยิ่งทวีความไม่สบายใจเกี่ยวกับการก้าวผงาดขึ้นมาของจีน ระหว่างการรณรงค์หาเสียงของเขา ทรัมป์สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ทั้งพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neocons) และทั้งนักลัทธินิยมการใช้กำลังทหาร (militarist) ซึ่งมีแนวคิดตามแบบแผนดั้งเดิมมากกว่า เมื่อเขาป่าวร้องเรื่องต้องการหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวพัวพันทางทหารในต่างประเทศ ครั้นเมื่อขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว เขาให้คำมั่นสัญญาที่จะเพิ่มงบประมาณทางทหารให้สูงขึ้นไปอีกมาก ทว่ากลับไม่มีไอเดียใดๆ เกี่ยวกับวิธีการใช้ของเล่นใหม่ๆ ทั้งหมดของเพนตากอน นอกเหนือไปจากแค่นำเอาไปใช้ทิ้งระเบิดเพื่อขับไล่ให้พวกนักรบหัวรุนแรงของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) หลบหนีออกมาจากที่ซุกซ่อน
ทรัมป์ไม่ได้แยแสอะไรสักนิดเช่นกันเกี่ยวกับอำนาจละมุน (soft power) ซึ่งสหรัฐฯได้นำไปใช้ในการบ่มเพาะเพิ่มขยายพลังสนับสนุนระหว่างประเทศมาแต่ไหนแต่ไร ตัวอย่างเช่น วอชิงตันได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนมานมนานแล้วแก่พวกสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ และข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ ทว่าทรัมป์กลับประณามกล่าวโทษสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น “บทเพลงเก๊ๆ ของลัทธิอุดมการณ์นิยมโลกาภิวัตน์” (false song of globalism) ทว่าในเวลาเดียวกันนั้นเอง จีนกลับกำลังวางฐานะตนเองให้กลายเป็นเจ้านายคนใหม่ของลัทธิทุนนิยมโลก กระทั่งยังกำลังไปไกลถึงขนาดจัดสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศคู่ขนานขึ้นมาเพื่อทำให้วิสัยทัศน์ของตนได้รับการปฏิบัติให้กลายเป็นความจริงรูปธรรม ทั้งนี้ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) ซึ่งจีนเป็นตัวตั้งตัวตีนี้ ได้เริ่มต้นดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2016 โดยที่ไม่ได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯหรือสหภาพยุโรป ธนาคารแห่งนี้จะทำหน้าที่ทำนองเดียวกับธนาคารโลก (World Bank) ในการจัดหาความสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงสร้างก่อสร้างอันหลากหลายในต่างแดนของจีน ขณะที่ปักกิ่งควบคุมคะแนนเสียงโหวตได้ไม่ถึง 5% ในธนาคารโลก แต่สำหรับธนาคาร AIIB แล้วกลับควบคุมจำนวนหุ้นได้ถึง 28% ถึงแม้การดำเนินงานของ AIIB ยังอยู่ในระดับเล็กๆ เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพวกแบงก์พาณิชย์ของจีนเอง แต่ธนาคารแห่งนี้ก็จะสามารถขยายเพิ่มพูนศักยภาพขึ้นมาได้มหาศาลทีเดียวเมื่อลู่ทางโอกาสปรากฏขึ้นมา
ภาพที่ตัดแย้งกันระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันยิ่งชัดเจนเตะตามากขึ้นไปอีกในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การที่ทรัมป์ปฏิเสธไม่ยอมรับว่าโลกกำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้น –ครั้งหนึ่งเขาถึงกับตีตราประทับกล่าวหาว่าเรื่องนี้เป็นเพียง “การโกหกหลอกลวง” ของพวกคนจีนเท่านั้นเอง— กำลังกลายเป็นการกระตุ้นให้คณะผู้นำของปักกิ่งมีความกระหายในอิทธิพลบารมีระดับโลกขึ้นมา ดังที่หนึ่งในคณะผู้เจรจาระดับสูงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของจีน กล่าวเอาไว้ไม่นานนักหลังจากทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า “อิทธิพลของจีนและปากเสียงของจีนน่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเรื่องการบริหารเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งต่อจากนั้นก็จะกระเซ็นต่อเข้าไปในพื้นที่อื่นๆ ของการบริหารในระดับโลกอีกด้วย และจะเพิ่มพูนทั้งฐานะ, อำนาจ, และความเป็นผู้นำในระดับโลกของจีน”
ทั้งหมดเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของแนวโน้มขนาดใหญ่ในเรื่องที่อำนาจกำลังหลั่งไหลออกจากตะวันตกไปสู่ตะวันออก ในปี 2010 อเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติของโลกอยู่ราว 40% แต่ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit) หน่วยงานศึกษาวิจัยในเครือนิตยสารอีโคโนมิสต์ ประมาณการว่า ภายในปี 2050 อัตราส่วนนี้จะลดลงมาเหลือเพียง 21% ขณะที่ส่วนแบ่งรับผิดชอบของเอเชียจะเพิ่มสูงขึ้นไปสู่ระดับครอบงำเหนือภูมิภาคอื่นๆ ที่ 48.1%
ทว่าไม่ต้องถึงกับรีบร้อนดิ้นรนออกไปเริ่มเรียนคอร์สภาษาจีนกลางหลักสูตรเร่งรัด และแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ของคุณให้เป็นเงินหยวนหรอกนะครับ การเผชิญหน้าประลองกำลังกันระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันนั้นไม่น่าที่จะมีผลออกมาตรงเป๊ะอย่างที่ฝ่ายจีนวาดหวังและฝ่ายอเมริกันหวาดหวั่น
การเสื่อมถอยของสหรัฐฯ
ระหว่างที่เขาไปเยือนกรุงปักกิ่งในเดือนตุลาคม 2016 ขณะอยู่ต่อหน้าคณะผู้นำของจีน ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต แห่งฟิลิปปินส์ ประกาศว่า “อเมริกาตอนนี้พ่ายแพ้แล้ว ผมได้ปรับเปลี่ยนตัวเองใหม่แล้วให้อยู่ในกระแสอุดมการณ์ของพวกคุณ” เขายังประกาศต่อไปโดยจินตนาการถึงกลุ่มสัมพันธมิตรใหม่ที่มีรัสเซีย, จีน, และฟิลิปปินส์ เรียงแถวกันต่อต้านความผยองโอหังของมหาอำนาจอเมริกัน
เมื่อพูดกันถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกช็อกได้อย่างใหญ่โตมโหฬารแล้ว คำพูดเช่นนี้ของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ควรจัดอยู่ในข่ายนี้ได้สำหรับอเมริกัน เนื่องจากฟิลิปปินส์แต่ไหนแต่ไรมาก็คือเสาหลักต้นหนึ่งของอิทธิพลสหรัฐฯในเอเชีย แดนตากาล็อกเป็นสถานที่ซึ่งวอชิงตันนำเอากองทหารเข้าไปประจำ นำเอาเรือเข้าไปจอดพัก และในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยายนสหรัฐฯได้จัดส่งพวกที่ปรึกษาทางทหารเข้าไปช่วยเหลือปราบปรามการก่อความไม่สงบของชาวมุสลิม ยิ่งไปกว่านั้นมะนิลายังได้เคยแสดงความกล้าหาญที่จะยืนขึ้นมาต่อสู้กับปักกิ่งในการพิพาทช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ กระทั่งยื่นฟ้องร้องต่อศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเพื่อขอให้ดำเนินการชี้ขาด ทว่านั่นคือช่วงก่อนที่ดูเตอร์เตจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีในเดือนพฤษภาคม 2016 และตีตราประทับประณามประธานาธิบดีโอบามาว่าเป็น “ลูกกะหรี่” (son of a whore) หลังจากโอบามาแสดงความคิดเห็นแบบหมดหวังต่อประวัติอันชวนสยดสยองของดูเตอร์เตในเรื่องการเข่นฆ่าแบบใช้อำนาจศาลเตี้ยนอกกระบวนการยุติธรรม
การที่ฟิลิปปินส์แสดงการแปรพักตร์อย่างชัดเจนเช่นนี้ จึงเท่ากับเป็นการปล่อยหมัดน็อกเข้าใส่ความพยายามด้านนโยบายการต่างประเทศซึ่งมีการนำมาโหมประโคมกันอย่างเกรียวกราวที่สุดประการหนึ่งของคณะบริหารโอบามา โดยเป็นความพยายามด้านการต่างประเทศซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งดึงรั้งสกัดกั้นการเสื่อมถอยของอเมริกัน ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม 2011 เพียงไม่นานนักก่อนที่กระแส “อาหรับ สปริง” (Arab Spring) จะลั่นเปรี้ยงตูมตามขึ้นมา รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งเผยแพร่ในวารสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี” (Foreign Policy) วาดภาพแบบแปลนของสิ่งซึ่งต่อมาจะเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก” (Pacific pivot) สหรัฐฯในเวลานั้นกำลังมีความพยายามอยู่เป็นช่วงๆ แต่ไม่ต่อเนื่อง ในการสลัดตัวเองให้หลุดออกมาจากสงครามในอิรักและในอัฟกานิสถาน เงื่อนไขประการสำคัญทีเดียวคือวอชิงตันไม่ได้คิดว่าสหรัฐฯจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันตะวันออกกลางอย่างมากมายมหาศาลเหมือนที่เคยเป็นมาอีกต่อไป นี่ต้องขอบคุณน้ำมันนำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา รวมทั้งการลงทุนในสหรัฐฯเองทั้งการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สด้วยวิธีฉีดน้ำ, ทราย, และสารเคมีกระแทกใส่ชั้นหินน้ำมัน (shale fracking) และทั้งการลงทุนในพวกพลังงานหมุนเวียน คณะบริหารโอบามามีความรู้สึกกันว่าในที่สุดก็อาจมีความเป็นไปได้เสียทีที่จะปิดฉากความล้มเหลวทั้งหลายในยุคของบุช และหันมามุ่งสู่ขอบฟ้าใหม่ๆ ซึ่งกำลังทวีความสำคัญยิ่งกว่า
“การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก”นี้ ผมคิดว่าควรที่จะเรียกชื่อว่า นโยบายวิลลี่ ซัตตัน (Willie Sutton policy) กล่าวกันว่าเมื่อ วิลลี่ ซัตตัน (โจรปล้นธนาคารชื่อดังชาวอเมริกัน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1901 – 1980) ถูกถามว่าทำไมเขาจึงปล้นแบงก์ เขาก็ตอบว่า “เพราะมีเงินอยู่ในนั้นไง” สำหรับเอเชียมันก็เป็นอย่างเดียวกันนี่แหละ ปัจจุบันในบรรดา 11 ระบบเศรษฐกิจระดับท็อปของโลก มีอยู่ 4 รายทีเดียวอยู่ในเอเชีย ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจของจีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, และเกาหลีใต้ ในตอนที่สหรัฐฯเอาแต่โฟกัสเน้นหนักสนใจอยู่กับการวางเดิมพันที่มีแต่เสียลูกเดียวทั้งในอิรัก, อัฟกานิสถาน, ซีเรีย, และเยเมนอยู่นั้น จีนกลับกำลังเข้าควบคุมตลาดเอเชียอันมั่งคั่งร่ำรวยนี้ กระทั่งเมื่อถึงเวลานี้ แดนมังกรได้กลายเป็นคู่ค้าชั้นนำทั้งของเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, และทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทางเป็นจริง
เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้กลับคืนมา คณะบริหารโอบามาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีที่รู้จักเรียกขานกันในนามว่า “ข้อตกลงหุ้นส่วนภูมิภาคแปซิฟิก” (Trans Pacific Partnership หรือ TPP) คณะผู้เจรจาของสหรัฐฯใช้ความพากเพียรพยายามอย่างหนักจนกระทั่งประสบความสำเร็จในสิ่งที่เกือบเป็นไปไม่ได้เอาเลย นั่นคือการนำเอาประเทศต่างๆ ที่มีความผิดแผกกันอย่างมากมาย 12 ประเทศมาอยู่บนเรือลำเดียวกันขณะที่กีดกันทำให้จีนหลุดออกจากภาพไปเลย แต่แล้วรัฐสภาอเมริกันกลับแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แยแสกระตือรือร้นอะไรกับดีลนี้ ยิ่งอารมณ์ความรู้สึกในหมู่สาธารณชนอเมริกันด้วยแล้วยิ่งเย็นชาหนักข้อเข้าไปใหญ่ --ในทางเป็นจริงนั้น มันเย็นชาเสียจนกระทั่งหนึ่งในสถาปนิกใหญ่ของข้อตกลงนี้ ซึ่งก็คือ ฮิลลารี คลินตัน หวั่นกลัวว่า TPP อาจจะทำให้ความพยายามในการเอาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเธอต้องกลายเป็นหมันไป เธอจึงออกมาคัดค้านข้อตกลงนี้ด้วยซ้ำระหว่างการรณรงค์หาเสียงในปี 2016 แน่นอนทีเดียว ยิ่งสำหรับโดนัลด์ ทรัมป์ ด้วยแล้ว การถอนตัวออกจากข้อตกลง TPP คือการปฏิบัติการอย่างแรกๆ เมื่อเขาขึ้นเป็นประธานาธิบดี
อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่การท้าทายทางเศรษฐกิจเท่านั้นหรอก สหรัฐฯกำลังเผชิญกับการท้าทายอย่างอื่นๆ ในเอเชียด้วย วอชิงตันนั้นเคยมองและยึดถือมานานแล้วว่ามหาสมุทรแปซิฟิกนั้นเป็นเสมือนกับ “ทะเลสาบของอเมริกัน” ปัจจุบันสหรัฐฯยังคงมีทหารและบุคลากรที่เป็นพลเรือนรวม 375,000 คน ประจำอยู่ภายในอาณาเขตรับผิดชอบของกองบัญชาการทหารภาคพื้นแปซิฟิกของตน และศักยภาพทางนาวีถึงราวๆ ครึ่งหนึ่งของอเมริกันทีเดียวอยู่ในน่านน้ำต่างๆ ของแปซิฟิก สหรัฐฯยังคงมีสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และฟิลิปปินส์ ตลอดจนมีฐานทัพและที่มั่นทางทหารหลายสิบแห่งอยู่ในภูมิภาคนี้ แต่ว่าในอีกด้านหนึ่ง จีนก็ได้เพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายทางทหารในระดับตัวเลขสองหลักเรื่อยมาเป็นเวลาสิบกว่าปี ทำให้เวลานี้กำลังเริ่มสามารถผลักดันตอบโต้การอวดโอ่ของเมริกันที่ว่าเป็นเพียงมหาอำนาจหนึ่งเดียวของโลกที่แผ่แสนยานุภาพไปทั่วแปซิฟิก จีนยังได้พัฒนาระบบอาวุธใหม่ๆ ซึ่งสามารถขัดขวางปฏิเสธไม่ให้กองทัพสหรัฐฯเข้าไปถึงน่านน้ำชายฝั่งของตน อีกทั้งยังลับคมปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยมในสงครามไซเบอร์ จนสามารถดูดเอาข้อมูลลับจำนวนมากมายมหาศาลไปได้จากการแอบแฮกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของพวกสำนักงานต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ เวลาเดียวกันนั้น ในโลกของสปายปะทะต่อกรกับสปาย จีนก็พากเพียรพยายามในการอุดรูรั่วช่องโหว่ของตนเอง ด้วยการขังคุกหรือสังหารทรัพย์สินด้านข่าวกรองของสหรัฐฯไปสิบกว่าราย
แม้กระทั่งตั้งแต่ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์ จะก้าวขึ้นครองบัลลังก์ด้วยซ้ำไป ความพยายามของเพนตากอนที่จะปักหมุดมุ่งให้ความสำคัญที่สุดแก่ทางด้านตะวันออก ก็ปรากฏผลออกมาว่าทำได้ไม่ถึงเป้าหมายที่ประสงค์ ถึงแม้มีความได้เปรียบทางการทหารอย่างท่วมท้นเหลือล้น แต่วอชิงตันกลับพบมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าตนเองไม่สามารถที่จะใช้กำลังบังคับบงการให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตามทีในมหาภูมิภาคตะวันออกกลาง (Greater Middle East) การผงาดขึ้นมาของกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย, การฟื้นชีพขึ้นอีกครั้งของกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถาน, และความปั่นป่วนวุ่นวายในเยเมนและลิเบีย ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงตามหลอกหลอนฝ่ายทหารของสหรัฐฯอย่างไม่ยอมเลิกรา
ขณะเดียวกัน คณะบริหารโอบามาได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนจัดกำลังทหารในแปซิฟิกของสหรัฐฯกันใหม่ในเชิงสัญลักษณ์อยู่บ้างบางอย่างบางประการ นอกจากนั้นยังขายอาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทคบางประเภทให้แก่เหล่าชาติพันธมิตรของอเมริกันในภูมิภาค รวมทั้งยังก่อกวนทำสงครามประสาทใส่ปักกิ่งอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราวเหมือนกัน ทว่าลงท้ายแล้ว มันก็เหมือนๆ กับความริเริ่มจำนวนมากของโอบามานั่นแหละ “การปักหมุดให้ความสำคัญที่สุดแก่แปซิฟิก” กลายเป็นแค่ความมุ่งมาดปรารถนาเสียเป็นส่วนใหญ่ สหรัฐฯไม่เคยสามารถถอนหมุดถอยการให้ความสำคัญที่สุดแก่มหาภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างแท้จริงได้เลย
เมื่อครั้งที่โดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีฐานะเป็นผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาพออกพอใจกับการตะโกนคำรามเกี่ยวกับภัยคุกคามจากจีนก็จริงอยู่ ทว่าเขาก็เคยถึงกับขู่ที่จะยุติบทบาทของสหรัฐฯในการเป็นผู้ค้ำประกันทำหน้าที่ปกป้องด้วยอาวุธนิวเคลียร์ให้แก่ทั้งโตเกียวและโซล โดยที่เขาเรียกร้องให้เหล่าชาติพันธมิตรของสหรัฐฯจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้นสำหรับความช่วยเหลือและการพิทักษ์คุ้มครองของอเมริกันเหล่านี้ ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ได้เคยเสนอวิถีทางใหม่ใดๆ ในการนำพาสหรัฐฯให้สามารถรวมศูนย์เพ่งความสนใจอยู่ในแปซิฟิกได้
ปัจจุบันนี้เมื่อเข้ามานั่งอยู่ในห้องทำงานรูปไข่ที่ทำเนียบขาว ทรัมป์ก็กำลังส่งสัญญาณที่สับสนไร้ความชัดเจน ในด้านหนึ่งเขากำลังซ่อมแซมแก้ไขความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับผู้นำจีน สี จิ้นผิง แต่ในอีกด้านหนึ่งเขาก็กำลังผลักดันเพิ่มงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมครั้งใหญ่ แล้วประเทศอะไรล่ะที่จะเป็นเป้าหมายของเงินจำนวนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในการใช้จ่ายทางทหารเหล่านี้? แน่นอนทีเดียวว่ากองทัพเรือสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องมีกองเรือรบเป็นจำนวนถึง 350 ลำเพียงเพื่อเอาไว้ตอบโต้กับรัฐอิสลามหรอก ในทำนองเดียวกัน ทรัมป์ได้แสดงความยินดีกับ มุน แจอิน ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้ ทว่าก็ยืนกรานด้วยว่าเขาต้องการที่จะเปิดเจรจากันใหม่เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงทางการค้า “เลวๆ” และข้อตกลงด้านความมั่นคง “เลวๆ” ซึ่งสหรัฐฯทำไว้กับเกาหลีใต้ แล้วยังในเรื่องเกาหลีเหนืออีก ในขณะหนึ่งเขามีความพยายามที่จะหาเรื่องระรานเปียงยาง แต่ในอีกขณะหนึ่งเขากลับบอกว่ายังคงมองเห็นถึงความเป็นไปได้ที่เขาอาจจะพบปะเจรจาเป็นการส่วนตัวกับ คิม จองอึน ซึ่งเขาบรรยายว่าเป็น “คนที่ฉลาดมาก”
ต้องขอบคุณการเที่ยวแถลงป่าวร้องอย่างเอาแน่เอานอนไม่ได้เช่นนี้ของเขานี่แหละ จึงทำให้ทั้งๆ ที่ยุคของทรัมป์เพิ่งเริ่มต้นเดินหน้ามาได้แค่ครึ่งปี แต่อิทธิพลบารมีของอเมริกันในภูมิภาคนี้ก็กำลังตกต่ำฮวบฮาบอย่างชนิดไม่อาจหยุดยั้งได้ ทำนองเดียวกับเรตติ้งการยอมรับผลงานความเป็นประธานาธิบดีของเขาภายในสหรัฐฯเอง เมื่อนำส่วนผสมนี้มาบวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าเขาเป็นประธานาธิบดีซึ่งต้องการแต่จะได้ชัยชนะครั้งใหญ่ ทว่าไม่ได้เห็นว่าจะมีเรื่องเช่นนั้นบังเกิดขึ้นในเอเชียได้เลย แล้วคุณก็จะสามารถมองเห็นเนื้อหาคำจำกัดความของคำว่า เสื่อมถอย
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเสื่อมถอยของสหรัฐฯเช่นนี้ มักถูกนำมาคาดคำนวณกันในรูปของสภาวการณ์รูปธรรมที่อาจจะบังเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อขีปนาวุธของเกาหลีเหนือสามารถยิงมาถึงชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯได้, เมื่อการใช้จ่ายทางทหารของจีนวิ่งเข้ามาใกล้ๆ งบประมาณของเพนตากอน, เมื่อญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ทำนองเดียวกับฟิลิปปินส์ เริ่มต้นพิจารณาทบทวนถึงความสวามิภักดิ์ของพวกเขาที่มีกับสหรัฐฯ ครั้นเมื่อมาถึงเวลานี้ ในยุคของทรัมป์ เราควรต้องเพิ่มสภาวการณ์รูปธรรมอีกอย่างหนึ่งเข้ามาไว้ในรายการ นั่นคือ เมื่อเอเชียเผชิญกับคณะบริหารในวอชิงตันที่ทั้งด้อยความรู้ความสามารถ, ฉ้อฉล, และนำความพ่ายแพ้มาสู่ตัวเอง
เมื่อสหรัฐฯโดยเฉพาะในยุคของทรัมป์กลายเป็นเช่นนี้ไปเสียแล้ว หนทางจึงดูเหมือนกับปลอดโปร่งเปิดโล่งผ่านตลอดสำหรับจีน ซึ่งเป็นประเทศเข้มแข็งที่สุดในเอเชีย ที่จะก้าวเข้ามาเติมเต็มสุญญากาศที่ทำท่าจะเกิดขึ้นนี้ ทว่าก็อย่างที่มีคำพังเพยพูดเอากันเอาไว้นั่นแหละ แม้กระทั่งแผนการที่วางกันเอาไว้อย่างดิบดีที่สุด ก็ยังมักเกิดจุดอ่อนความผิดพลาดขึ้นมาจนได้
จุดอ่อนของเอเชีย
เป็นเรื่องเหลือเชื่อแต่ก็เป็นความจริง ญี่ปุ่นนั้นกำลังกลายเป็นประเทศที่หดเล็กลงเรื่อยๆ ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2015 ประชากรของชาติพันธมิตรผู้เหนียวแน่นมั่นคงที่สุดของอเมริกาในแปซิฟิกรายนี้ ได้ลดน้อยลงไปประมาณ 1 ล้านคน กระทั่งอยู่ในระดับเกิน 127 ล้านคนเพียงนิดเดียว สืบเนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำมากจนน่าตกใจและการที่แทบไม่มีผู้อพยพเข้าประเทศเลย ตามการคาดการณ์อย่างเป็นทางการจึงออกมาว่า ชาวญี่ปุ่นอาจจะลดลงเหลือเพียง 85 – 95 คนเท่านั้นภายในปี 2050 และภายในปี 2135 หลังจากพำนักอาศัยอยู่ในสังคมที่เหมือนกับกลายเป็นซากฟอสซิลมายาวนาน ชาวญี่ปุ่นคนสุดท้ายซึ่งอยู่ในวัย 118 ปีก็อาจจะได้หายใจเป็นเฮือกสุดท้ายของเขาหรือของเธอ เป็นอันปิดฉากไม่มีญี่ปุ่นกันอีกต่อไป ภาพสมมุติสถานการณ์แบบเลวร้ายที่สุดเช่นนี้ ซึ่งวาดภาพคาดคำนวณโดยอดีตนักเจรจาทางการค้า ไคลด์ เพรสโตวิตช์ (Clyde Prestowitz) ในหนังสือซึ่งเพิ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ของเขาที่ชื่อ “Japan Restored” บางทีอาจจะเลยเถิดเกินไป กระนั้นข้อเท็จจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า ญี่ปุ่นกำลังอยู่บนเส้นทางมุ่งสู่สิ่งที่ดูเหมือนกับเป็นการทำ “เซปปุกุ” (seppuku การฆ่าตัวตายด้วยการคว้านท้องในยุคซามูไร) ระดับชาติ มันเป็นการเข้าพิธีกรรมฆ่าตัวตายที่จำนวนประชากรของประเทศลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
คุณอาจจะคิดว่า อ้าว ก้อนี่คือญี่ปุ่น ประเทศนี้เขาตกอยู่ในความสลดหดหู่ทางการคลังมายาวนานตั้งแต่ที่เศรษฐกิจฟองสบู่ของเขาแตกระเบิดขึ้นมา ย้อนหลังไปถึงในช่วงทศวรรษ 1990 โน่นแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นนี้ไม่ใช่เป็นกรณีเฉพาะตัว แท้ที่จริงแล้วการก้าวขึ้นมา, การชะงักงัน, และการหดตัวลงของแดนอาทิตย์อุทัย ยังคงสามารถใช้เป็นเครื่องเตือนภัยให้ระมัดระวังตัวสำหรับดินแดนอื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวงที่เดินตามเส้นทางของญี่ปุ่น ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขยายตัวโดยเน้นหนักใช้การส่งออกเป็นตัวนำ และมีภาครัฐคอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวก
ไม่ต้องอื่นไกลเลย เกาหลีใต้ก็ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงระยะที่ความคาดหวังต่างๆ ทางเศรษฐกิจพากันหดตัวแล้วเช่นกัน โดยที่อัตราเติบโตอยู่ในระดับกะปริบกะปรอย, ความไม่เท่าเทียมถ่างกว้างออกไปเรื่อยๆ , และการทุจริตคอร์รัปชั่นของภาคบริษัทเอกชนแผ่ซ่านไปกว้างขวาง คนหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้เมื่อเผชิญหน้ากับทิศทางอนาคตที่จะต้องกลายเป็นคนว่างงาน หรือเป็นได้แค่แรงงานสัญญาจ้างที่แทบไม่ได้รับค่าชดเชยเลยเมื่อต้องออกจากงาน ต่างพากันเรียกขานประเทศของพวกเขาว่าเป็น “นรกโชซอน” (Hell Choson) ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงราชวงศ์โชซอนที่ปกครองเกาหลีตั้งแต่ปี 1392 ถึง 1897 ไต้หวัน ผู้เป็นสมาชิกอีกรายหนึ่งของ “ฝูงห่านบินแห่งกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม” (flying geese of industrialization) ซึ่งรับผิดชอบทำให้เอเชียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าอัศจรรย์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เวลานี้ก็เผชิญกับปัญหาชุดหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จนน่าตื่นตะลึง ทั้งนี้ตามปากคำของนักเศรษฐศาสตร์ แฟรงก์ เจียว (Frank Hsiao) เป็นต้นว่า “อัตราค่าจ้างที่ต่ำและชะงักอยู่กับที่, ความไม่เท่าเทียมทางรายได้ที่แผ่กว้างขึ้นเรื่อยๆ, ภาวะกลวงโบ๋ของพวกอุตสาหกรรมภายในประเทศ, และการส่งออกที่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง”
แม้กระทั่งประเทศจีน รัศมีเรืองรองของความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของแดนมังกรก็กำลังมัวหมองลบเลือนไปเป็นบางส่วนแล้ว วันเวลาที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติของจีนมีอัตราเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักนั้นได้ผ่านเลยไปนานแล้ว เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่แดนมังกรพร้อมที่จะแสดงความปีติยินดีกัน ถ้าพวกเขาสามารถอ้างอิงตัวเลขการเติบโตที่อยู่ในระดับเกือบๆ ถึง 7% (และแม้กระทั่งในระดับนั้น ก็ยังมีผู้คนไม่น้อยที่เชื่อว่ามันเป็นตัวเลขที่สูงเกินจริง) กำลังแรงงานของจีนยังกำลังหดลดลงเรื่อยๆ นับแต่ปี 2012 เป็นต้นมา การนัดหยุดงานและการประท้วงของแรงงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างนาตื่นใจในปี 2016 ขณะเดียวกับที่ความไม่สงบยังคงปกคลุมซินเจียงและทิเบต 2 มณฑลทางตะวันตกสุดประเทศจีน การรณรงค์ต่อสู้ปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ถึงแม้กำลังไล่ล่าได้ตัวบุคคลที่มีตำแหน่งสูงๆ อยู่บ้าง ทว่าก็เพียงแต่ผลักดันพวกคนทุจริตให้เข้าสู่รูปแบบการฉ้อฉลที่แนบเนียนอำพรางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น
ในเวลาเดียวกัน มันไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงญี่ปุ่นหรอกที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตการณ์ทางประชากร อัตราการเจริญพันธุ์ของทั้งไต้หวัน (1.12) และเกาหลีใต้ (1.25) อยู่ในระดับต่ำกว่าญี่ปุ่น (1.41) เสียด้วยซ้ำ ขณะที่ของจีน (1.6) ก็แค่สูงกว่าของญี่ปุ่นเล็กน้อย ทว่าพวกเขาทั้งหมดไม่มีรายใดเลยที่อัตราเจริญพันธุ์อยู่ใกล้ๆ ระดับ 2.1 ซึ่งถือกันว่าเป็นอัตราที่จะมีคนเกิดใหม่ทดแทนคนที่เสียชีวิตไปอย่างเหมาะสม ยิ่งขยับเข้าใกล้ปี 2050 มากเท่าใด ทั้ง 4 รายนี้ต่างล้วนจะต้องเผชิญภาระหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ ในการจ่ายผลประโยชน์ต่างๆ จากการเกษียณอายุ ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านดูแลรักษาสุขภาพของพวกคนงานอุตสาหกรรมทั้งหมดที่ปัจจุบันกำลังสร้างผลงานได้โดดเด่นเหนือกว่าคนงานอุตสาหกรรมในที่อื่นๆ ของโลก สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเรียกขานกันว่า “การมองข้ามญี่ปุ่น” (Japan passing) –หมายถึงการที่พวกนักลงทุนกำลังมองข้ามแดนอาทิตย์อุทัย และหันไปเสาะแสวงหาลู่ทางโอกาสที่ดีกว่าในพื้นที่อื่นๆ ของภูมิภาคเอเชีย—กำลังค่อยๆ เปลี่ยนเป็น “การมองข้ามจีน” (China passing) ไปเรียบร้อยแล้ว กระแสการไหลเวียนทางการเงินในเอเชีย ยังกำลังจะถูกกระทบกระเทือนจากปัญหาใหญ่ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในระยะต่อไปของศตวรรษนี้ จะกลายเป็นภัยคุกคามมหานครใหญ่ๆ ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตเกียว, เซี่ยงไฮ้, ฮ่องกง, หรือสิงคโปร์
ในโลกตะวันตกเวลานี้ การเที่ยวทำนายทายทักว่าตะวันออกกำลังจะกลายเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในโลกแห่งอนาคตนั้น กำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนไปแล้วจริงๆ และหุ้นของแวดวงนี้ยังคงขยับสูงขึ้นไปอยู่เรื่อยๆ จากการที่เวลานี้จีนประกาศแผนการลงทุน “หนึ่งแถบเศรษฐกิจหนึ่งเส้นทาง” (One Belt, One Road) ซึ่งมุ่งหมายที่จะผูกพันมหาทวีปยูเรเชียอันกว้างใหญ่เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตัดแย้งกับการที่ทรัมป์ประกาศว่า ทุกๆ ประเทศจะต้องทำตามสิ่งที่เขาบอกไม่เช่นนั้นก็จะถูกตัดทิ้งออกจากบัญชี อย่างไรก็ตาม อนาคตที่เป็นจริงนั้นทำท่าว่าจะยุ่งเหยิงซับซ้อนกว่ายิ่งที่จีนหรือประดาพวกที่ส่งเสียงเชียร์จีนคาดคิดจินตนาการกันเอาไว้มากมายนัก มิหนำซ้ำ ปัญหาหนักๆ ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ ก็ไม่ได้มีเพียงเฉพาะพวกปัญหาด้านประชากร, การทุจริตคอร์รัปชั่น, และอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดต่ำลง หรือเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการที่อุดมการณ์ของพรรคผู้ปกครองจีนกำลังสูญเสียความชอบธรรมของตนมากขึ้นเรื่อยๆ
กระแสลัทธิชาตินิยมใหม่ของเอเชีย
ครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง สหรัฐฯเคยวางตัวเองให้อยู่ในฐานะเป็นยาถอนพิษสำหรับต่อสู้กับลัทธิชาตินิยมในเอเชีย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯได้จัดตั้งฐานทัพต่างๆ ตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ เพื่อป้องกันขัดขวางไม่ให้ลัทธินิยมการใช้กำลังทหาร (militarism) ของญี่ปุ่นฟื้นชีพขึ้นมาใหม่ วอชิงตันยังวาดภาพตัวเองว่ามีฐานะเป็นฝ่ายเป็นกลาง โดยที่ไม่มีความทะเยอทะยานต้องการครอบครองดินแดนใดๆ ขณะที่ได้คืนเกาะโอกินาวากลับไปอยู่ในความปกครองของญี่ปุ่นแล้วในปี 1972 อีกทั้งปฏิเสธไม่ยอมเข้าข้างใครในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนหลายๆ แห่งในภูมิภาค ด้วยวัตรปฏิบัติเช่นนี้เอง ลัทธิสากลนิยมแบบเสรี (liberal internationalism) ของสหรัฐฯยังอยู่ในสภาพประจันหน้าแข่งขันต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ไม่เสรี (illiberal Communisms) ซึ่งปกครองจีน, เกาหลีเหนือ, เวียดนาม, กัมพูชา, และลาว อีกด้วย
อุดมการณ์ประเภทเหนือชาติทั้งสองอย่างนี้ เคยเจริญรุ่งเรืองในเอเชียระหว่างช่วงสงครามเย็น ทว่าต่างก็เข้าไปพำนักอยู่ในหอดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเสียแล้วเมื่อวันเวลาย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นในทางปฏิบัติได้หายสูญไปจากภูมิภาคนี้เสียแล้ว สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือลัทธิชาตินิยมที่มีระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ลัทธิชาตินิยมในเอเชียไม่ใช่จะหยั่งรากลงหลักปักฐานเฉพาะแต่ใน จีนของสี จิ้นผิง และเกาหลีเหนือของคิม จองอิน เท่านั้น
ตัวอย่างเช่นในญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังสาละวนอยู่กับความพยายามที่จะรื้อฟื้นสร้างลัทธินิยมการใช้กำลังทหารชนิดที่ครั้งหนึ่งสหรัฐฯเคยแสดงความชิงชังขยะแขยงนั่นแหละขึ้นมาใหม่ แล้วคณะบริหารของสหรัฐฯหลายชุดต่อเนื่องกันกลับให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ความพยายามของนักชาตินิยมฝ่ายขวาผู้นี้ในการทอดทิ้ง “รัฐธรรมนูญฉบับสันติภาพ” ที่ญี่ปุ่นใช้เรื่อยมาตลอดช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯยังหนุนหลังผลักดันให้กองกำลังป้องกันตนเอง (Self-Defense Forces) ของญี่ปุ่นเข้าแสดงบทบาทในเชิงรุกอีกด้วย
เวลาเดียวกันนั้นเอง พวกผู้นำชาตินิยมทั้งหลายก็เข้าครองอำนาจในตลอดทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทีเดียว เป็นต้นว่า โรดริโก ดูเตอร์เต ประธานาธิบดีฆาตกรแห่งฟิลิปปินส์, พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเวลานี้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย, และ นาจิบ ราซัก ผู้คดโกง นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย สิ่งที่ดูเป็นลางร้ายมากกว่านี้อีกก็คือ ลัทธิชาตินิยมยังได้แผ่อิทธิพลเข้าไปปักหลักอยู่ในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้แซงหน้าเข้าแทนที่สหราชอาณาจักร ในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก โดยที่นายกรัฐมนตรีนเรนทราโมดี กำลังสถาปนาให้ลัทธิชาตินิยมฮินดู กลายเป็นหัวใจและวิญญาณของพรรคการเมืองซึ่งกำลังปกครองแดนภารตะของเขา
ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งของกระแสลัทธิชาตินิยมที่กำลังยืนผงาดขึ้นมานี้ก็คือ ตลอดทั่วทั้งภูมิภาคกำลังมีการนำเข้าอาวุธเพิ่มทวีขึ้น ตามรายงานการศึกษาของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติแห่งสต็อกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute) อินเดียได้กลายเป็นชาติผู้นำเข้าอาวุธใหญ่ที่สุดอันดับหนึ่งของโลกในช่วงปี 2012 ถึงปี 2016 และระหว่างระยะเวลานั้นเอง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็นำเข้าอาวุธสูงขึ้น 6% โดยเฉพาะเวียดนามนั้นกำลังกระโจนพรวดขึ้นสู่อันดับ 10 ของโลกทีเดียว ในปี 2012 ยังเป็นครั้งแรกด้วยที่เอเชียแซงหน้ายุโรปในเรื่องงบประมาณใช้จ่ายทางทหารโดยองค์รวม
ทั้งการใช้ถ้อยคำวาทะแบบนักชาตินิยม และการนำเข้าอาวุธเหล่านี้ แน่นอนทีเดียวว่ามีความเกี่ยวพันโยงใยกับความรับรู้ความเข้าใจของภูมิภาค ในเรื่องเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความตกต่ำเสื่อมถอยของมหาอำนาจผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง ทั้งนี้พวกประเทศในภูมิภาคนี้มีความรู้สึกกันว่า เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้และดินแดนพิพาทอื่นๆ จำนวนมากของพวกเขา มีความจำเป็นที่พวกเขาต้องติดอาวุธเพิ่มแสนยานุภาพของตัวเอง ในการรับมือกับจีนที่กำลังหันมาแสดงท่าทีใหม่ซึ่งแข็งกร้าวยืนกรานยิ่งขึ้น และในการรับมือกับสหรัฐฯที่มีแต่ความสับสนวอกแวกอยู่ตลอดเวลา
ในขณะปัจจุบัน สองมหาประเทศนี้กำลังร่วมมือกันในพื้นที่สำคัญที่สุดพื้นที่หนึ่ง ได้แก่การทุ่มเทเงินทองเข้าไปในฮาร์ดแวร์ทางการทหารประเภทที่วันหนึ่งอาจจะนำไปสู่การประจันหน้าที่ก่อให้เกิดความวิบัติหายนะ ความเป็นจริงข้อนี้ทำให้พวกนักวิเคราะห์ด้านนโยบายการต่างประเทศพากันหยิบยกนำเอาเรื่อง “กับดักของทิวซีดิดีส” (Thucydides trap) ขึ้นมาพูดกันใหม่ เนื่องจากแนวความคิดสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ มหาอำนาจที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาอย่างเช่นนครรัฐเอเธนส์ (เปรียบเทียบกับในเวลานี้ย่อมต้องเป็นประเทศจีน) ในที่สุดแล้วก็ตอบโต้การท้าทายของมหาอำนาจที่มีฐานะครอบงำเจ้าเดิมอย่างนครรัฐสปาตาร์ (เวลานี้ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯ) จึงเกิดเป็นความขัดแย้งและการสู้รบกันอย่างยาวนานและเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสอย่างสงครามเปโลปอนนีเซียน (เปรียบเทียบกับเวลานี้ก็คือสงครามโลกครั้งที่ 3)
ทว่าในทางเป็นจริงแล้ว ความขัดแย้งในเอเชียอาจจะมีรูปร่างลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างออกไปก็ได้ ในเมื่อกระแสความเคลื่อนไหวซึ่งมุ่งเรียกร้องต้องการสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (self-determination) ให้มากขึ้นของภูมิภาคนี้ ก็กำลังสำแดงการบั่นทอนอิทธิพลบารมีของอภิมหาอำนาจทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นอภิมหาอำนาจรายที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา หรืออภิมหาอำนาจรายซึ่งครองอำนาจอยู่เดิม ทั้งนี้มีตัวอย่างของพม่าและเกาหลีใต้ซึ่งควรนำมาศึกษาพิจารณา โดยที่ทั้งสองตัวอย่างนี้ก็มีความแตกต่างผิดแผกกันเองเป็นอย่างมากด้วย
ในพม่านั้น จีนมีฐานะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุด และมีอยู่ยุคหนึ่งประเทศทั้งสองมีความสนิทสนมกันเหลือเกิน ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งกับเนปิดอเวลานี้กลับมีความตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ เสียแล้ว ในปี 2011 รัฐบาลชุดใหม่ของพม่าที่นำโดยพลเรือน ได้สั่งระงับโครงการสร้างเขื่อนมิตโสน (Myitsone) หนึ่งในหลายๆ เมกะโปรเจ็กต์ซึ่งได้รับความสนับสนุนทางการเงินจากจีน โดยที่ “ชาวพม่าจำนวนมากทีเดียวกล่าวโทษประณามจีนที่เข้าไปช่วยเหลือประคับประคองคณะทหารผู้ครองอำนาจปกครองประเทศในลักษณะเช่นนี้” นักหนังสือพิมพ์ ทอม มิลเลอร์ (Tom Miller) เขียนเอาไว้เช่นนี้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ใช้ชื่อว่า “China’s Asian Dream” ไม่นานนักภายหลังกลับได้รับสิทธิเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง ชาวพม่าก็เล็งเป้าหมายมุ่งเล่นงานพวกโครงการอย่างเช่นเขื่อนมิตโสนนี้แหละ โดยที่กระแสไฟฟ้าซึ่งเขื่อนแห่งนี้ผลิตได้ถึงราว 90% ทีเดียวจะถูกส่งไปขายให้จีนใช้สอย มาถึงตอนนี้ อองซานซูจี ผู้นำตัวจริงของพม่าจะต้องตัดสินใจเลือกแล้ว ระหว่างการแช่แข็งโครงการนี้เอาไว้อย่างถาวร ซึ่งจำเป็นที่จะต้องหาเงินจำนวน 800 ล้านดอลลาร์มาจ่ายคืนหนี้สินที่ค้างชำระพวกนักการเงินชาวจีนอยู่ หรือไม่ก็จะต้องเดินหน้าโครงการนี้ซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนเอาเลยอีกทั้งตัวเธอเองก็เคยประกาศคัดค้านมาก่อน
ตัวอย่างของพม่านี้ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องเฉพาะตัว ศรีลังกาเมื่อเร็วๆ นี้ก็เหวี่ยงตัวถอยห่างออกมาจากจีนและหันกลับไปหาอินเดียมากขึ้น ประธานาธิบดีดูเตอร์เตของฟิลิปปินส์เมื่อไม่นานมานี้เองเขยิบถอยกลับไปหาสหรัฐฯในยุคที่นำโดยโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ซึ่งกล่าวยกย่องสรรเสริญสงครามปราบยาเสพติดของผู้นำฟิลิปปินส์ผู้นี้ (ถึงแม้ดูเตอร์เตมีพฤติการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางก็ตามที) เวียดนามก็ระแวงสงสัยไม่หยุดไม่หย่อนต่อเจตนารมณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีน และอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านจีนยังกำลังสะสมตัวทั้งในลาว, อินโดนีเซีย, และมาเลเซีย แผนการ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อาจจะแซงหน้าแผนการมาร์แชล หากวัดกันที่ขนาดเพียงอย่างเดียว ทว่าแผนการใหญ่โตมหึมาของแดนมังกรนี้ ยังคงขาดไร้ความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวทางการเมืองของภูมิภาคมาคอยหนุนหลังประคับประคอง ขณะที่เรื่องนี้เป็นคุณสมบัติข้อสำคัญที่รับประกันให้โครงการใหญ่ของสหรัฐฯในยุโรปยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประสบความสำเร็จ
แล้วก็ไม่ใช่มีแค่จีนเพียงลำพังหรอกที่กำลังเกิดความรู้สึกว่าเจอปฏิกิริยาสะท้อนกลับในทางลบอย่างรุนแรงในภูมิภาคนี้ ตัวอย่างเช่นในเกาหลีใต้ หลังจากพวกอนุรักษนิยมขึ้นปกครองประเทศมาเป็นเวลาราว 1 ทศวรรษแล้ว การปกครองนี้ก็มาถึงจุดจบแบบแตกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยการที่ประธานาธิบดีพัค กึน-ฮเย ถูกพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่งในข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น และการเลือกตั้งที่ติดตามมาซึ่งจัดขึ้นอย่างรีบเร่ง มีผลลัพธ์ทำให้ผู้มีแนวคิดก้าวหน้าอย่าง มุน แจอิน ได้รับชัยชนะ ผู้นำเกาหลีใต้คนใหม่ผู้นี้ไม่ได้เป็นนักปลุกระดมหรือชมชอบการทะเลาะวิวาท ดังนั้นอย่าได้คาดหมายว่าจะมีการตัดเป็นตัดตายกับวอชิงตันอย่างน่าตื่นตาตื่นใจใดๆ ว่ากันไปแล้วเกาหลีใต้นั้นได้ยินยอมอ่อนน้อมรับใช้สหรัฐฯมาเป็นเวลายาวนานเกินไปแล้ว จนไม่กล้าที่จะเสี่ยงกระทำอะไรเช่นนั้นหรอก อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในเร็ววันนี้ อย่างไรก็ตาม มุนก็ให้คำมั่นสัญญาที่จะพิจารณาทบทวนเรื่องการอนุญาตให้สหรัฐฯนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธที่เรียกว่า “ระบบป้องกันที่มุ่งยิงสกัดขีปนาวุธข้าศึกในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูง” (Terminal High Altitude Area Defense ใช้อักษรย่อว่า THAAD) เข้ามาติดตั้งประจำการในเกาหลีใต้ หลังจากที่วอชิงตันใช้ความพยายามอย่างมากมายในช่วงก่อนที่มุนจะเข้ารับตำแหน่ง จนกระทั่งสามารถนำเอา “ทาด” เข้ามาติดตั้งในแดนโสมขาวได้สำเร็จ ประธานาธิบดีคนใหม่ผู้นี้ยังแสดงความต้องการที่จะปรับปรุงแก้ไขสายสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกับจีน ซึ่งถึงยังไงก็มีฐานะเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ รวมทั้งยังต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ในแบบร่วมไม้ร่วมมือกันมากขึ้นกับเกาหลีเหนืออีกด้วย
เวลาเดียวกันนั้นเอง ในญี่ปุ่น กลุ่มพลังฝ่ายค้านที่มีทั้งนักการเมือง, นักเคลื่อนไหว, และพลเรือนสามัญธรรมดาในเกาะโอกินาวา ได้สกัดกั้นขัดขวางแผนการที่โตเกียวกับวอชิงตันตกลงเสร็จสรรพกันแล้ว ในการที่จะปิดฐานทัพเก่าของสหรัฐฯในเมืองฟูเตนมะ (Futenma) เพียงเพื่อที่จะโยกย้ายไปสร้างฐานทัพแห่งใหม่ในพื้นที่บริเวณอื่นๆ ของเกาะแห่งนี้ โอกินาวาเป็นสถานที่ซึ่งอเมริกานำเอาแสนยานุภาพในแปซิฟิกของตนจำนวนมากมายทีเดียวเข้ามาติดตั้งเข้ามาประจำการ การที่ประชากรของโอกินาวาปฏิเสธไม่ให้ความสนับสนุนการก่อสร้างฐานทัพแห่งใหม่เช่นนี้ จึงไม่เพียงรบกวนแผนการต่างๆ ในแปซิฟิกทั้งของบารัค โอบามา และฮิลลารี คลินตัน เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความชอบธรรมใหม่ๆ แก่แนวความคิดที่เสนอให้ถอนกำลังทหารสหรัฐฯออกมาจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และถอยไปอยู่ในแนวหมู่เกาะแนวที่สอง (secondary tier of islands) อย่างเช่นเกาะกวม
อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นของพวกประเทศเอเชีย ในการยึดถือผลประโยชน์ของพวกเขาเองอยู่เหนือผลประโยชน์ของผู้ที่เคยเห็นกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์พวกเขามาเช่นนี้ ยังทำให้เป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้นที่ภูมิภาคนี้จะสามารถเสาะแสวงหาพื้นที่ร่วมสำหรับการร่วมไม้ร่วมมือกัน “เอเชียไม่ได้อยู่ในสภาพที่เกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวกัน แม้กระทั่งในระดับห่างๆ” เจสซิกา แมทธิวส์ (Jessica Mathews) แห่ง กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) เขียนเอาไว้เช่นนี้ “ ไม่มี ‘ตะวันออก’ ชนิดซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับ ‘ตะวันตก’ ที่มีอยู่ ถึงแม้ภูมิภาคนี้ (เอเชีย) กำลังมีการบูรณาการกันในทางเศรษฐกิจ แต่ก็กำลังฉีกขาดแยกห่างกันออกมา ทั้งด้วยความขัดแย้งต่างๆ ที่ยังคงมีพลัง, ความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันขมขื่น, และความผิดแผกกันทางวัฒนธรรมอย่างล้ำลึก”
หรืออดีตจะกลายเป็นอารัมภบทของอนาคต?
ถ้าลัทธิสากลนิยมแบบเสรีไม่ได้มีเสน่ห์ดึงดูดใจพวกพันธมิตรของสหรัฐฯในเอเชียอีกต่อไป –ในทางเป็นจริงแล้ว มันไร้เสน่ห์ดึงดูดใจคณะผู้นำใหม่ในวอชิงตันด้วย— ก็อาจเป็นการง่ายดายเลยที่จะตั้งสมมุติฐานขึ้นมาว่าอนาคตจะเป็นการนำเอาอดีตมารีเพลย์กันใหม่ ซึ่งสำหรับเอเชียแล้ว คือการหวนกลับมาของจักรวาลแบบที่มีจีนเป็นศูนย์กลางที่เคยปรากฏขึ้นเป็นเวลากว่า 1,000 ปีในภูมิภาคนี้ เพียงแต่ว่าแทนที่จะมีข้าหลวงผู้ปกครองท้องถิ่นลำเลียงเอาของขวัญเครื่องบรรณาการต่างๆ ไปจิ้มก้องถวายพระจักรพรรดิในกรุงปักกิ่ง ในยุคนี้พวกผู้นำของกัมพูชา, ลาว, พม่า, และฟิลิปปินส์ จะทำการก่อสร้างเขื่อนและท่าเรือและสายท่อส่งน้ำมันด้วยเงินทองของฝ่ายจีน จากนั้นก็ส่งคืนดอกผลเงินรายได้จำนวนมากกลับคืนไปยังแดนมังกร
กระนั้นสิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นมาจริงๆ ในเวลานี้ ปรากฏว่ากระแสชาตินิยมที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในเอเชีย กำลังทำให้ภาพดังกล่าวนี้มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นอย่างมหาศาล และอาจจะเปิดทางให้ผู้นำอย่างเช่นดูเตอร์เตสามารถเล่นไพ่ปักกิ่งเพื่อต่อรองเรียกร้องอะไรเพิ่มมากขึ้นจากวอชิงตัน, หรือกระทั่งตัดสินใจทำอะไรด้วยตัวพวกเขาเอง, หรือบางทีอาจจะไปขอความช่วยเหลือจากพวกประเทศอย่างเช่นอินเดีย —หรือกระทั่งซาอุดีอาระเบีย ซึ่งก็กำลังพยายามหาทางเพิ่มอิทธิพลบารมีของตนในหมู่พวกประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อย่างเช่นอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ถ้าหากการก้าวผงาดขึ้นมาของจีนเป็นสาเหตุทำให้เกิดความกังวลวุ่นวายอย่างมากมายในโลกตะวันตกแล้ว เป็นไปได้ว่าสิ่งที่ปรากฏออกมาจริงๆ อาจจะไม่มีประเทศใดเลยที่จะก้าวขึ้นมีฐานะครอบงำในเอเชียในลักษณะแทนที่สหรัฐฯที่กำลังตกต่ำลงไป และความโกลาหลวุ่นวายอย่างใหม่จะเข้าปกคลุมภูมิภาคนี้
“แนวความคิดเกี่ยวกับโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ แต่ไม่มีมหาอำนาจใดอยู่ในฐานะครอบงำเลย และชี้นำกันด้วยหลักนิติธรรมเพียงอย่างเดียวนั้น ในทางทฤษฎีมันดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจ” กีเดียน รัชแมน (Gideon Rachman) นักหนังสือพิมพ์สังกัดไฟแนนเชียลไทมส์ เขียนเอาไว้เช่นนี้ในหนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ของเขาชื่อ Easternization ทว่าเขาก็เขียนต่อไปว่า “ผมกลัวว่าโลกที่มีหลายขั้วอำนาจเช่นนี้แหละกำลังปรากฏขึ้นมาให้เห็นเรียบร้อยแล้ว และกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่ามันทั้งไร้เสถียรภาพและมีอันตราย เนื่องจาก “การปกครอง” เป็นสิ่งที่จะนำมาบังคับใช้ได้อย่างลำบากยากเย็นมาก ถ้าหากไม่มีมหาอำนาจผู้มีฐานะครอบงำสักรายหนึ่งยืนอยู่ในฉากหลัง”
เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว เอเชียมีการขบคิดตรึกตรองเกี่ยวกับทางเลือกอย่างอื่นนอกเหนือจากการมีประเทศหนึ่งซึ่งครองฐานะเป็นเจ้าเหนือผู้อื่นอยู่ในภูมิภาค ไม่ว่าผู้เป็นเจ้านี้จะเป็นอเมริกาหรือเป็นจริงก็ตามที และจากตัวอย่างของสหภาพยุโรป ทำให้มีนักการเมืองและนักวิชาการไม่น้อยคิดฝันจินตนาการถึงอนาคตของเอเชียในลักษณะที่มีการบูรณาการในทางเศรษฐกิจและในทางการเมือง ทว่าไม่ว่าสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน), องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization), ตลอดจนความพยายามอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ก็ยังคงล้มเหลวก็ยังคงห่างไกลมากจากสภาพอุดมคติแบบอียู (โดยที่อียูเองในเวลานี้ก็กำลังเกิดการสั่นคลอนและการแตกแยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกัน)
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถึงแม้มีความฝันกันอย่างมากมายเกี่ยวกับอนาคตอันสดใสของเอเชีย ทว่าภูมิภาคนี้ไม่น่าที่จะบังเกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างสันติในลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับสิ่งที่ปรากฏในยุโรป รวมทั้งก็ไม่น่าจะอยู่ในสภาพที่สหรัฐฯครองฐานะความเป็นเจ้าเอาไว้ต่อไป หรือว่าระบบที่จีนเป็นศูนย์กลางแบบในอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อนจะหวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดูจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นได้แก่ เอเชียน่าที่จะต้องเผชิญกับภาวะประชากรลดต่ำ, เศรษฐกิจหดตัว, ลัทธิชาตินิยมเข้มข้นขึ้น, และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ --พูดโดยสรุปก็คือ อนาคตที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากและอันตรายนานาชนิด
ถึงแม้วอชิงตันยังคงสามารถที่จะบงการใช้อำนาจอิทธิพลในภูมิภาคนี้ได้อย่างมากมายมหาศาล แต่ก็อาจเลือกที่จะถอยออกมายืนข้างหลัง--แบบที่ทรัมป์กำลังคิดจะทำ และอยู่เฉยๆ เฝ้ามองสิ่งต่างๆ คลี่คลายไปเรื่อยๆ หรือไม่เช่นนั้น วอชิงตันอาจจับมือกับปักกิ่ง และเข้าลงทุนอย่างจริงจังในองค์การเพื่อความร่วมมือทางด้านความมั่นคงและทางเศรษฐกิจแห่งใหม่ ซึ่งสหรัฐฯกับจีนจะมีฐานะเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกัน เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาก็อาจจะมีส่วนมีเสียงร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของภูมิภาค และกระแสลัทธิชาตินิยมใหม่ก็จะขาดไร้เหตุผลสำคัญแห่งการดำรงคงอยู่ของมัน
หากปราศจากวิสัยทัศน์ชนิดเหนือชาติดังที่กล่าวมา ซึ่งจะสามารถนำเอาภูมิภาคนี้มาร่วมมือกันต่อสู้กับภัยคุกคามคู่แฝดแห่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจแล้ว ก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งรับประกันได้อย่างแน่นอนทีเดียวว่าจะต้องเกิดขึ้น นั่นคือเอเชียในอนาคตจะไม่วาบวับและใหม่ใสเหมือนกับที่ปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดบางเรื่อง อนาคตที่กำลังจะมาถึงอาจไม่ได้ดูเหมือนกับเป็นเอเชียเลยแม้แต่นิดเดียว หากคล้ายคลึงมากกว่ากับยุโรปในช่วงประมาณปี 1913 ขณะอยู่ตรงขอบเหวแห่งความขัดแย้งและความพินาศของสงครามโลกครั้งที่ 1
จอห์น เฟฟเฟอร์ เป็นผู้เขียนนวนิยายแนวดิสโทเปียเล่มใหม่ชื่อ Splinterlands (โดยสำนักพิมพ์ Dispatch Books จากเดิมโดยสำนักพิมพ์ Haymarket Books) ซึ่งนิตยสาร “พับลิชเชอร์ส วีกลี่” (Publishers Weekly) วิจารณ์ยกย่องว่า เป็นนวนิยายที่ “ระทึกใจ, ช่างคิด, และตักเตือนอย่างเป็นธรรมชาติ” เขาเป็นผู้อำนวยการของ “ฟอเรนจ์ โพลิซี อิน โฟกัส” (Foreign Policy in Focus หรือ FPIF) ซึ่งมุ่งเสนอบทวิเคราะห์อันทันการณ์ในด้านนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯและด้านกิจการระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอแนะทางเลือกต่างๆ ทางด้านนโยบาย FPIF เป็นโครงการหนึ่งของสถาบันเพื่อนโยบายศึกษา (Institute for Policy Studies) กลุ่มคลังสมองที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ซึ่งมีแนวทางความคิดแบบก้าวหน้า เขายังเขียนบทความให้เว็บไซต์ ทอมดิสแพตช์ (www.tomdispatch.com) อย่างสม่ำเสมอ
(จากเว็บไซต์ TomDispatch.com)