(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Lee family feud in Singapore
By Kirsten Han
14/06/2017
น้องสาวและน้องชายของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์ ออกคำแถลงเปิดเผยต่อสาธารณชนระบุว่าไม่ไว้วางใจและไม่เชื่อมั่นในตัวพี่ชายคนโตผู้นี้ รวมทั้งกล่าวหานายกฯลีว่าพยายามอาศัยอิทธิพลบารมีของบิดาของพวกเขา ซึ่งก็คือรัฐบุรุษลีกวนยู ตลอดจนอำนาจและตำแหน่งของตัวเขาเอง ไปในทางมิชอบและมุ่งสร้างราชวงศ์ทางการเมือง
สิงคโปร์ - ชาวสิงคโปร์ตื่นขึ้นในตอนเช้าวันพุธ (14 มิ.ย.) ที่ผ่านมา พร้อมกับได้รับรู้ตอนล่าสุดและตอนเอิกเกริกเกรียวกราวที่สุดของเหตุการณ์ความแตกร้าวบาดหมางในครอบครัว ระหว่างลูกๆ ชายหญิงของ ลีกวนยู ผู้ก่อตั้งประเทศและนายกรัฐมนตรีคนแรกของรัฐบนเกาะเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมไปตั้งแต่เมื่อปี 2015
ในคำแถลงชี้แจงต่อสาธารณชนขนาดยาวเหยียดที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “เกิดอะไรขึ้นกับคุณค่าต่างๆ ของลีกวนยู” (What Has Happened to Lee Kuan Yew’s Values?) ซึ่งถูกอัปโหลดเผยแพร่ทางกูเกิลไดรฟ์ และโพสต์ลงในหน้าเฟซบุ๊กของพวกเขาแต่ละคน ลีเหว่ยหลิง (Lee Wei Ling ลูกคนที่ 2 ของลีกวนยู และเป็นลูกสาวคนเดียวของเขา) และ ลีเซียนหยาง (Lee Hsien Yang ลูกคนที่3 และคนเล็กสุดของลีกวนยู) บอกว่าพวกเขาสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นในตัวพี่ชายของพวกเขา ซึ่งก็คือ ลีเซียนลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสิงคโปร์ พร้อมกับกล่าวหาพี่ชายคนโตคนนี้ของพวกเขาว่า กำลังใช้อำนาจและตำแหน่งของเขาในทางมิชอบ “เพื่อผลักดันวาระส่วนตัวของตัวเขาเอง”
“พวกเรารู้สึกว่าการเผด็จอำนาจแบบลูกพี่ใหญ่ปรากฏไปทั่วในทุกหนทุกแห่ง พวกเราหวาดกลัวว่าจะมีการใช้องค์กรต่างๆ ของรัฐเพื่อเล่นงานพวกเราและ เซียตเฟิน (Suet Fern) ภรรยาของ เซียนหยาง” คำแถลงของพวกเขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ รวมทั้งยังเปิดเผยต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ ลีเซียนหยางและภรรยาจึงได้ตัดสินใจที่จะเดินทางออกไปอยู่นอกประเทศ
คำแถลงของพวกเขากล่าวอีกว่า “ถ้าหากเซียนลุงพร้อมที่จะลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวเพื่อเล่นงานพวกเรา ซึ่งเป็นน้องสาวและน้องชายของเขา โดยที่พวกเราทั้งคู่ต่างก็เป็นสมาชิกที่ได้ร่วมส่วนสร้างคุณประโยชน์ให้แก่การลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงของสิงคโปร์ ทั้งนี้เพื่อเดินหน้าวาระส่วนตัวของตัวเขาเองแล้ว พวกเราก็มีความวิตกกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสิงคโปร์ พวกเราขอตั้งคำถามว่าบรรดาผู้นำที่ทรงความสามารถซึ่งมีความถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองอย่างเป็นอิสระ ก็จะถูกผลักไสให้ออกไปนอกทางด้วยใช่หรือไม่ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าการยึดกุมอำนาจเอาไว้อย่างเหนียวแน่นของเซียนลุงจะยังคงไม่ถูกท้าทาย”
หัวใจของความขัดแย้งคราวนี้ ตามที่ระบุเอาไว้ในคำแถลงของพี่น้องคู่นี้ ก็คือความไม่เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับวิธีจัดการกับบ้านพักของลีกวนยู รัฐบุรุษผู้ล่วงลับ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 35 ถนนอ็อกซ์เลย์ (38 Oxley Road) โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าความปรารถนาของลีกวนยูนั้นก็คือการรื้อทิ้งบ้านหลังนี้ โดย “ไม่เก็บรักษาเอาไว้ในฐานะเป็นสถานที่รำลึก”
เมื่อตอนที่เขาถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งเป็นวาระที่ชาวสิงคโปร์จำนวนมากมายพากันออกมาแสดงความโศกเศร้าอาลัยของพวกเขานั้น ได้มีการเปิดเผยข้อความบางตอนในพินัยกรรมของเขา ซึ่งลีกวนยูแสดงความปรารถนาที่จะให้บ้านหลังดังกล่าวถูกรื้อทิ้งไปในทันทีที่บุตรสาวของเขา ลีเหว่ยหลิง โยกย้ายออกมาแล้ว
ลีเซียนลุงได้แสดงการยอมรับความปรารถนานี้เอาไว้ในคำปราศรัยต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2015 แต่ก็เน้นย้ำว่าถึงแม้เขาใคร่ที่จะได้เห็นความปรารถนาเช่นนี้ของบิดาของเขาได้รับการปฏิบัติตาม แต่เรื่องนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทางรัฐบาล
ตอนนี้น้องสาวและน้องชายของเขากำลังกล่าวหาเขาว่าต่อต้านคัดค้านไม่กระทำตามความปรารถนาของบิดา ด้วยความมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนขยายทุนทางการเมืองของตัวเขาเอง พวกเขาระบุว่าลีเซียนลุงยังคงกำลังใช้อิทธิพลอย่างต่อเนื่องต่อคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีชุดหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ถึงแม้ให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ว่าจะถอยตัวเองออกไปไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกระบวนวิธีดำเนินการ
“ความจริงที่มองเห็นได้อย่างง่ายๆ มีอยู่ว่า ความนิยมยกย่องในหมู่ประชาชนต่อเซียนลุงในปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่ผูกติดยึดโยงอยู่กับมรดกตกทอดของลีกวนยู การสงวนรักษาบ้านของลีกวนยูเอาไว้จะเปิดทางให้เซียนลุงและครอบครัวสามารถสืบทอดรับมรดกอนุสรณ์สถานที่จับต้องได้ชิ้นหนึ่งที่เชื่อมต่อไปถึงอำนาจความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของลีกวนยู” เป็นข้อความตอนหนึ่งในคำแถลงของ 2 พี่น้อง โดยที่มีอีกตอนหนึ่งซึ่งระบุว่า นายกฯลีและ โฮชิง (Ho Ching) ภรรยาของเขายังกำลัง “แอบอุ้มชูส่งเสริมความทะเยอทะยานทางการเมืองของบุตรชายของพวกเขา (ซึ่งมีชื่อว่า) ลี หงอี้ (Li Hongyi)”
การทะเลาะเบาะแว้งกันต่อหน้าสาธารณชนในระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองของสิงคโปร์ด้วยกันเองนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากในนครรัฐซึ่งมีการควบคุมอย่างแน่นหนารัดกุมแห่งนี้ โดยที่กลไกทางการเมืองทั้งหลายถูกเก็บงำซุกซ่อนเอาไว้หลังประตู และปลอดจากการสอดรู้สอดเห็นของพวกสื่อกระแสหลักซึ่งส่วนใหญ่ก็เคารพเชื่อฟังทางการเป็นอันดีอยู่แล้ว
ทว่านับตั้งแต่บิดาของเธออำลาจากโลกนี้ไป ลีเหว่ยหลิงก็ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจพี่ชายคนโตของเธออยู่เป็นระยะๆ และการแสดงออกซึ่งความไม่ลงรอยกันในครอบครัวตระกูลลีคราวล่าสุดนี้ได้รับความสนอกสนใจจากชาวสิงคโปร์เป็นอย่างมาก โดยในขณะที่เขียนข้อเขียนชิ้นนี้ คำแถลงชิ้นนี้ได้ถูกกดแชร์ไปแล้วมากกว่า 10,000 ครั้ง ทั้งนี้เฉพาะจากหน้าเฟซบุ๊กของลีเหว่ยหลิงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ลีเซียนลุง ซึ่งกำลังหยุดพักผ่อนกับครอบครัวของเขาในสัปดาห์นี้ ได้โพสต์ข้อความตอบโต้สั้นๆ ลงบนหน้าเฟซบุ๊กของเขาเอง มีเนื้อหาบอกว่าเขารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของน้องๆ ของเขาที่ทำให้เรื่องวิวาทขัดแย้งกันนี้กลายเป็นที่ทราบกันของสาธารณชน
“ขณะที่พี่ๆ น้องๆ อาจจะมีความแตกต่างกันได้ แต่ผมเชื่อว่าความแตกต่างกันใดๆ ทำนองนี้ควรที่จะคงอยู่แต่ภายในครอบครัว ตั้งแต่ที่บิดาผมจากไปในเดือนมีนาคม 2015 ในฐานะบุตรชายคนโต ผมได้พยายามอย่างดีที่สุดที่จะแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาต่างๆ ในหมู่พวกเราภายในครอบครัว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพบิดามารดาของพวกเราด้วย คำแถลงของน้องๆ ของผมนี้เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่มรดกของบิดาของพวกเรา” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
เขาโต้แย้งอย่างเจาะจงเป็นพิเศษต่อข้อกล่าวหาของน้องๆ ของเขาในเรื่องเกี่ยวกับความทะเยอทะยานทางการเมืองของบุตรชายของเขา ซึ่งถือเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวมากในประเทศซึ่งกล่าวอ้างว่ายึดมั่นอยู่ในระบบคุณธรรมนิยมอย่างเข้มงวด
ก่อนหน้านี้ตระกูลลีเองไม่เคยถอยหนีและพร้อมที่จะใช้การปฏิบัติการทางกฎหมายเพื่อเล่นงานผู้ที่กล่าวหาพาดพิงว่าพวกเขามีพฤติการณ์เล่นพวกเล่นพ้อง โดยที่ ลีกวนยู และลีเซียนลุง ได้เคยชนะคดีฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทและได้รับค่าเสียหายตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ มาแล้วหลายครั้งหลายหน รวมทั้งจากหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเฮรัลด์ทรีบูน (International Herald Tribune) และนิวยอร์กไทมส์ (New York Times) ที่พูดถึงสิงคโปร์ว่ากำลังถูกปกครองโดยราชวงศ์ทางการเมือง
ทว่านี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่น้องสาวของเขาออกมากล่าวหาตัวนายกฯลีในทำนองนี้ เธอได้เคยตั้งคำถามเมื่อถึงวาระครบรอบการถึงแก่อสัญกรรมของบิดาของเธอในปีที่แล้ว โดยกล่าวหาพี่ชายของเธอ ซึ่งเธอเอ่ยอ้างพาดพิงว่าเป็น “บุตรชายผู้ไร้เกียรติ” ของบิดาของเธอ กำลังหาทางฉวยใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากวาระโอกาสดังกล่าวเพื่อมุ่ง “สถาปนาราชวงศ์ขึ้นมา”
เธอยังตำหนิวิพากษ์วิจารณ์คณะบริหารของพี่ชายเธออยู่เป็นครั้งคราว โดยกล่าวว่า “รัฐบาลในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างเด่นชัดจากรัฐบาลเมื่อครั้งก่อน (ตอนที่ลีกวนยูเป็นนายกรัฐมนตรี) และในเวลาต่อมา (ตอนที่ลีกวนยูถอยมารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีอาวุโส)” ทั้งนี้เธอไม่ได้ลงรายละเอียดแจกแจงว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ หรือเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร
คริสเทน หาน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระชาวสิงคโปร์ ซึ่งสนใจติดตามประเด็นปัญหาด้านความยุติธรรมทางสังคมและด้านสิทธิมนุษยชน ผลงานของเธอได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ หลายหลาก เป็นต้นว่า อัลญะซีเราะห์ภาษาอังกฤษ, การ์เดียน, เดลี่บีสต์, ดิโปลแมต, เซาท์อีสเอเชียโกลบ, อินเด็กซ์ออนเซนเซอร์ชิป, และ แวกกิ้งนอนไวโอเลนต์
Lee family feud in Singapore
By Kirsten Han
14/06/2017
น้องสาวและน้องชายของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์ ออกคำแถลงเปิดเผยต่อสาธารณชนระบุว่าไม่ไว้วางใจและไม่เชื่อมั่นในตัวพี่ชายคนโตผู้นี้ รวมทั้งกล่าวหานายกฯลีว่าพยายามอาศัยอิทธิพลบารมีของบิดาของพวกเขา ซึ่งก็คือรัฐบุรุษลีกวนยู ตลอดจนอำนาจและตำแหน่งของตัวเขาเอง ไปในทางมิชอบและมุ่งสร้างราชวงศ์ทางการเมือง
สิงคโปร์ - ชาวสิงคโปร์ตื่นขึ้นในตอนเช้าวันพุธ (14 มิ.ย.) ที่ผ่านมา พร้อมกับได้รับรู้ตอนล่าสุดและตอนเอิกเกริกเกรียวกราวที่สุดของเหตุการณ์ความแตกร้าวบาดหมางในครอบครัว ระหว่างลูกๆ ชายหญิงของ ลีกวนยู ผู้ก่อตั้งประเทศและนายกรัฐมนตรีคนแรกของรัฐบนเกาะเล็กๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมไปตั้งแต่เมื่อปี 2015
ในคำแถลงชี้แจงต่อสาธารณชนขนาดยาวเหยียดที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “เกิดอะไรขึ้นกับคุณค่าต่างๆ ของลีกวนยู” (What Has Happened to Lee Kuan Yew’s Values?) ซึ่งถูกอัปโหลดเผยแพร่ทางกูเกิลไดรฟ์ และโพสต์ลงในหน้าเฟซบุ๊กของพวกเขาแต่ละคน ลีเหว่ยหลิง (Lee Wei Ling ลูกคนที่ 2 ของลีกวนยู และเป็นลูกสาวคนเดียวของเขา) และ ลีเซียนหยาง (Lee Hsien Yang ลูกคนที่3 และคนเล็กสุดของลีกวนยู) บอกว่าพวกเขาสูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นในตัวพี่ชายของพวกเขา ซึ่งก็คือ ลีเซียนลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสิงคโปร์ พร้อมกับกล่าวหาพี่ชายคนโตคนนี้ของพวกเขาว่า กำลังใช้อำนาจและตำแหน่งของเขาในทางมิชอบ “เพื่อผลักดันวาระส่วนตัวของตัวเขาเอง”
“พวกเรารู้สึกว่าการเผด็จอำนาจแบบลูกพี่ใหญ่ปรากฏไปทั่วในทุกหนทุกแห่ง พวกเราหวาดกลัวว่าจะมีการใช้องค์กรต่างๆ ของรัฐเพื่อเล่นงานพวกเราและ เซียตเฟิน (Suet Fern) ภรรยาของ เซียนหยาง” คำแถลงของพวกเขาเขียนเอาไว้เช่นนี้ รวมทั้งยังเปิดเผยต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ ลีเซียนหยางและภรรยาจึงได้ตัดสินใจที่จะเดินทางออกไปอยู่นอกประเทศ
คำแถลงของพวกเขากล่าวอีกว่า “ถ้าหากเซียนลุงพร้อมที่จะลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวเพื่อเล่นงานพวกเรา ซึ่งเป็นน้องสาวและน้องชายของเขา โดยที่พวกเราทั้งคู่ต่างก็เป็นสมาชิกที่ได้ร่วมส่วนสร้างคุณประโยชน์ให้แก่การลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงของสิงคโปร์ ทั้งนี้เพื่อเดินหน้าวาระส่วนตัวของตัวเขาเองแล้ว พวกเราก็มีความวิตกกังวลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสิงคโปร์ พวกเราขอตั้งคำถามว่าบรรดาผู้นำที่ทรงความสามารถซึ่งมีความถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองอย่างเป็นอิสระ ก็จะถูกผลักไสให้ออกไปนอกทางด้วยใช่หรือไม่ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าการยึดกุมอำนาจเอาไว้อย่างเหนียวแน่นของเซียนลุงจะยังคงไม่ถูกท้าทาย”
หัวใจของความขัดแย้งคราวนี้ ตามที่ระบุเอาไว้ในคำแถลงของพี่น้องคู่นี้ ก็คือความไม่เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับวิธีจัดการกับบ้านพักของลีกวนยู รัฐบุรุษผู้ล่วงลับ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 35 ถนนอ็อกซ์เลย์ (38 Oxley Road) โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าความปรารถนาของลีกวนยูนั้นก็คือการรื้อทิ้งบ้านหลังนี้ โดย “ไม่เก็บรักษาเอาไว้ในฐานะเป็นสถานที่รำลึก”
เมื่อตอนที่เขาถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งเป็นวาระที่ชาวสิงคโปร์จำนวนมากมายพากันออกมาแสดงความโศกเศร้าอาลัยของพวกเขานั้น ได้มีการเปิดเผยข้อความบางตอนในพินัยกรรมของเขา ซึ่งลีกวนยูแสดงความปรารถนาที่จะให้บ้านหลังดังกล่าวถูกรื้อทิ้งไปในทันทีที่บุตรสาวของเขา ลีเหว่ยหลิง โยกย้ายออกมาแล้ว
ลีเซียนลุงได้แสดงการยอมรับความปรารถนานี้เอาไว้ในคำปราศรัยต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2015 แต่ก็เน้นย้ำว่าถึงแม้เขาใคร่ที่จะได้เห็นความปรารถนาเช่นนี้ของบิดาของเขาได้รับการปฏิบัติตาม แต่เรื่องนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทางรัฐบาล
ตอนนี้น้องสาวและน้องชายของเขากำลังกล่าวหาเขาว่าต่อต้านคัดค้านไม่กระทำตามความปรารถนาของบิดา ด้วยความมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนขยายทุนทางการเมืองของตัวเขาเอง พวกเขาระบุว่าลีเซียนลุงยังคงกำลังใช้อิทธิพลอย่างต่อเนื่องต่อคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีชุดหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ถึงแม้ให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ว่าจะถอยตัวเองออกไปไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกระบวนวิธีดำเนินการ
“ความจริงที่มองเห็นได้อย่างง่ายๆ มีอยู่ว่า ความนิยมยกย่องในหมู่ประชาชนต่อเซียนลุงในปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่ผูกติดยึดโยงอยู่กับมรดกตกทอดของลีกวนยู การสงวนรักษาบ้านของลีกวนยูเอาไว้จะเปิดทางให้เซียนลุงและครอบครัวสามารถสืบทอดรับมรดกอนุสรณ์สถานที่จับต้องได้ชิ้นหนึ่งที่เชื่อมต่อไปถึงอำนาจความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของลีกวนยู” เป็นข้อความตอนหนึ่งในคำแถลงของ 2 พี่น้อง โดยที่มีอีกตอนหนึ่งซึ่งระบุว่า นายกฯลีและ โฮชิง (Ho Ching) ภรรยาของเขายังกำลัง “แอบอุ้มชูส่งเสริมความทะเยอทะยานทางการเมืองของบุตรชายของพวกเขา (ซึ่งมีชื่อว่า) ลี หงอี้ (Li Hongyi)”
การทะเลาะเบาะแว้งกันต่อหน้าสาธารณชนในระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองของสิงคโปร์ด้วยกันเองนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากในนครรัฐซึ่งมีการควบคุมอย่างแน่นหนารัดกุมแห่งนี้ โดยที่กลไกทางการเมืองทั้งหลายถูกเก็บงำซุกซ่อนเอาไว้หลังประตู และปลอดจากการสอดรู้สอดเห็นของพวกสื่อกระแสหลักซึ่งส่วนใหญ่ก็เคารพเชื่อฟังทางการเป็นอันดีอยู่แล้ว
ทว่านับตั้งแต่บิดาของเธออำลาจากโลกนี้ไป ลีเหว่ยหลิงก็ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจพี่ชายคนโตของเธออยู่เป็นระยะๆ และการแสดงออกซึ่งความไม่ลงรอยกันในครอบครัวตระกูลลีคราวล่าสุดนี้ได้รับความสนอกสนใจจากชาวสิงคโปร์เป็นอย่างมาก โดยในขณะที่เขียนข้อเขียนชิ้นนี้ คำแถลงชิ้นนี้ได้ถูกกดแชร์ไปแล้วมากกว่า 10,000 ครั้ง ทั้งนี้เฉพาะจากหน้าเฟซบุ๊กของลีเหว่ยหลิงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
ลีเซียนลุง ซึ่งกำลังหยุดพักผ่อนกับครอบครัวของเขาในสัปดาห์นี้ ได้โพสต์ข้อความตอบโต้สั้นๆ ลงบนหน้าเฟซบุ๊กของเขาเอง มีเนื้อหาบอกว่าเขารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของน้องๆ ของเขาที่ทำให้เรื่องวิวาทขัดแย้งกันนี้กลายเป็นที่ทราบกันของสาธารณชน
“ขณะที่พี่ๆ น้องๆ อาจจะมีความแตกต่างกันได้ แต่ผมเชื่อว่าความแตกต่างกันใดๆ ทำนองนี้ควรที่จะคงอยู่แต่ภายในครอบครัว ตั้งแต่ที่บิดาผมจากไปในเดือนมีนาคม 2015 ในฐานะบุตรชายคนโต ผมได้พยายามอย่างดีที่สุดที่จะแก้ไขคลี่คลายประเด็นปัญหาต่างๆ ในหมู่พวกเราภายในครอบครัว เพื่อเป็นการแสดงความเคารพบิดามารดาของพวกเราด้วย คำแถลงของน้องๆ ของผมนี้เป็นการสร้างความเสียหายให้แก่มรดกของบิดาของพวกเรา” เขาเขียนเอาไว้เช่นนี้
เขาโต้แย้งอย่างเจาะจงเป็นพิเศษต่อข้อกล่าวหาของน้องๆ ของเขาในเรื่องเกี่ยวกับความทะเยอทะยานทางการเมืองของบุตรชายของเขา ซึ่งถือเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวมากในประเทศซึ่งกล่าวอ้างว่ายึดมั่นอยู่ในระบบคุณธรรมนิยมอย่างเข้มงวด
ก่อนหน้านี้ตระกูลลีเองไม่เคยถอยหนีและพร้อมที่จะใช้การปฏิบัติการทางกฎหมายเพื่อเล่นงานผู้ที่กล่าวหาพาดพิงว่าพวกเขามีพฤติการณ์เล่นพวกเล่นพ้อง โดยที่ ลีกวนยู และลีเซียนลุง ได้เคยชนะคดีฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทและได้รับค่าเสียหายตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ มาแล้วหลายครั้งหลายหน รวมทั้งจากหนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลเฮรัลด์ทรีบูน (International Herald Tribune) และนิวยอร์กไทมส์ (New York Times) ที่พูดถึงสิงคโปร์ว่ากำลังถูกปกครองโดยราชวงศ์ทางการเมือง
ทว่านี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่น้องสาวของเขาออกมากล่าวหาตัวนายกฯลีในทำนองนี้ เธอได้เคยตั้งคำถามเมื่อถึงวาระครบรอบการถึงแก่อสัญกรรมของบิดาของเธอในปีที่แล้ว โดยกล่าวหาพี่ชายของเธอ ซึ่งเธอเอ่ยอ้างพาดพิงว่าเป็น “บุตรชายผู้ไร้เกียรติ” ของบิดาของเธอ กำลังหาทางฉวยใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากวาระโอกาสดังกล่าวเพื่อมุ่ง “สถาปนาราชวงศ์ขึ้นมา”
เธอยังตำหนิวิพากษ์วิจารณ์คณะบริหารของพี่ชายเธออยู่เป็นครั้งคราว โดยกล่าวว่า “รัฐบาลในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างเด่นชัดจากรัฐบาลเมื่อครั้งก่อน (ตอนที่ลีกวนยูเป็นนายกรัฐมนตรี) และในเวลาต่อมา (ตอนที่ลีกวนยูถอยมารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีอาวุโส)” ทั้งนี้เธอไม่ได้ลงรายละเอียดแจกแจงว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ หรือเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร
คริสเทน หาน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระชาวสิงคโปร์ ซึ่งสนใจติดตามประเด็นปัญหาด้านความยุติธรรมทางสังคมและด้านสิทธิมนุษยชน ผลงานของเธอได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ หลายหลาก เป็นต้นว่า อัลญะซีเราะห์ภาษาอังกฤษ, การ์เดียน, เดลี่บีสต์, ดิโปลแมต, เซาท์อีสเอเชียโกลบ, อินเด็กซ์ออนเซนเซอร์ชิป, และ แวกกิ้งนอนไวโอเลนต์