xs
xsm
sm
md
lg

ไทยแลนด์ 4.0 กับ อูเบอร์แท็กซี่ การแก้ปัญหาแบบสังคม 1.0

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"
 
รัฐบาล คสช. พูดซ้ำๆ วันแล้ววันเล่าว่า เป้าหมายของการบริหารคือ นำพาประเทสไทยไปสู่ “ ไทยแลนด์ 4.0 “ เพื่อยกระดับ พัฒนาเศรษฐกิจ ให้พ้นจากกับดัก “รายได้ปานกลาง”

ไทยแลนด์ 4.0 คือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ใน 3 มิติสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

แต่พอเห็นวิธีการที่ รัฐ จัดการกับ “อูเบอร์” ( Uber) และ “ แกร็ป” (Grab) แล้ว เห็นที ไทยแลนด์ 4.0 คงจะเป็นเพียงโวหารสวยหรู ที่ยากจะเป็นจริงได้ เพราะระบบคิด ทัศนคติ ของผู้ใช้กฎหมายยังไม่เปลี่ยน ยังเป็นไทยแลนด์ 1.0 ในกรอบกฎหมายเดิมๆ

เจ้าหน้าที่ กรมการขนส่งทางบก จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีล่อซื้อ หลอกใช้บริการ อูเบอร์ แท็กซี่ จากให้ไปรับจากสนามบิน หรือสถานีขนส่ง แล้วจับกุมผู้ขับขี่ ข้อหา ทำผิดกฎหมาย พรบฐ รถยนต์ . 2522 เพราะใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นแท็กซี่ กับกรมการขนส่งทางบก มาให้บริการขนส่ง สาธารณะ คนขับก็ไม่มีใบขับขี่ รถรับจ้างสาธารณะด้วย โดนปรับไปรายละ 2000 บาท

รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบกคนหนึ่ง บอกว่า อาจเสนอใช้ ม . 44 ปิด อูเบอร์ เพราะผิดกฎหมาย และป็นตัวทำลายระบบขนส่งสาธารณะ

อูเบอร์ และ แกร๊ป เป็นบริการที่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นของใหม่ที่เกิด หลังกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และการจราจร บังคับใช้มาแล้ว เกือบ 40 ปี ถ้าจะใช้ ม.44 ก็ควรจะใช้ เพื่อแก้กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ อูเบอร์ และ แกร๊ป แท็กซี่ เป็นบริการที่ถูกกฎหมาย ซึ่งไม่จำเป็น เพราะ กรมการขนส่งทางบก สามารถออกเป็นกฎกระทรวง มีผลบังคับใช้ได้ในทันที

บริการแท๊กซี่ส่วนบุคคคล ผ่าน แอพพลิเคขั่น เป็นตัวอย่างของ นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยี่ที่ทำให้ ระบบเดิม เกิดความ” ปั่นป่วน” สร้างผลกระทบอย่างรุนแรง ถึงขั้นสิ่งที่อยุ่ในระบบเดิม ต้องล้มหายตายจากไป จะอยู่รอดได้ ต้องเปลี่ยนแปลงใหม่หมด

ผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ มีปัญหามากกับ แท็กซี่ที่ไม่ยอมรับผุ้โดยสาร ผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบิน เมื่อมาถึงสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่ ฯลฯ ถูกบังคับให้ใช้แท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียน จ่ายค่าต๋งให้กับกลุ่มผลประโยชน์ที่ทำมาหากินกับ เจ้าของสนามบิน ไม่สามารถใช้แท๊กซี ที่รับผุ้โดยสารขาออก มาส่งที่สนามบินได้

อูเบอร์ และ แกร๊ปแท๊กซี่จึงเป็นทางเลือกใหม่ ในการเดินทาง ที่ผุ้โดยสารยินดี จะจ่ายในราคาที่แพงกว่า แต่ทำให้ผู้ทีได้ประโยชน์ในระบบเดือดร้อน เพราะมีการแข่งขันเกิดขึ้น

รองอธิบดี กรมการขนส่งทางบก อ้างว่า อูเบอร์ แท็กซี่ อาจไม่ปลอดภัย เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ไม่ได้อยู่ภานใต้กฎระเบียบคลามปลอดภัย ไม่มีคุณลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งปัจจุบัน แท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ก็ไม่มีหลัดประกันในเรื่องความปลอดภัยอยุ่แล้ว ความปลอดภัยขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมของคนขับ และ ดวง ของผุ้โดยสาร

หลายๆ ประเทศ ห้าม บริการแท็กซี่อุเบอร์ แบบเดียวกับไทย เพราะว่า ผิดกฎหมา ยและส่งผลกระทบกับ ผุ้ให้บริการแท๊กซี่รายเดิม แต่บางประเทศ หาทาง สร้างกติกาใหม่ รองรับ นวัตกรรมนี้ เพราะเห็นว่า มีประโยชน์ และเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้
นายลีเซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เคยพูดถึงเรื่องนี้ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว

เขายอมรับว่า บริการเรียกรถผ่านแอปอย่าง Uber และ Grab นั้นไม่เสมอภาคกับผูั้ขับรถแท็กซี่เดิมนัก เพราะรถแท็กซี่เดิมมีข้อบังคับ เช่น ระยะทางให้บริการต่อวัน และกฎเกณฑ์อื่นๆ ทำให้ต้นทุนการให้บริการแพงกว่าคนขับที่เรียกผ่านแอปเช่นนี้ แต่เขาก็เตือนคนขับแท็กซี่ว่า ยังมีความได้เปรียบเพราะสามารถรับคนจากข้างทางได้ ขณะที่รถที่รอผู้โดยสารผ่านแอปทำไม่ได้ และแม้ว่าในตอนนั้นยังไม่เท่าเทียมกัน แต่รัฐบาลก็จะปรับกฎให้เท่าเทียมกันมากขึ้น โดยมุ่งปกป้องผู้โดยสาร เช่น รถที่ขับต้องมีประกันอย่างถูกต้อง คนขับต้องถูกสอบประวัติล่วงหน้า

กฎหมายควบคุมการเรียกรถผ่านแอปของสิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้คนขับต้องผ่านการตรวจประวัติ และตรวจสุขภาพ ขณะที่ตัวรถต้องมีประกันและมีการติดสัญลักษณ์ให้ชัดเจน

ในแง่ของนวัตกรรม ลี เซียน ลุง ระบุว่าสิงคโปร์ต้องสนับสนุนให้มีการ disrupt อุตสาหกรรมเดิมๆ ต่อไปพร้อมกับช่วยเหลือผู้ที่ปรับตัวไม่ทันให้ปรับตัวตามได้ เขาระบุว่าแอปเรียกรถโดยสารเหล่านี้ให้บริการดีกว่า, และตอบสนองได้รวดเร็วกว่า เพราะแอปเหล่านี้สามารถวิเคราะห์รูปแบบการเดินทาง และปรับค่าโดยสารได้ตรงกับความต้องการของรถและปริมาณรถโดยสาร
( ข้อมูลเรื่อง นายลีเซียนลุงพูดนี้ นำมาจาก www.blognon.com)

ผู้นำสิงคโปร์คิดแบบนี้ จึงนำประเทศให้ก้าวหน้าเลยยุค 4.0 ไปไกลแล้ว


กำลังโหลดความคิดเห็น