(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Trump’s pivot to Asia: A boon for the US arms industry?
By Richard A. Bitzinger
18/12/2016
ในช่วงหาเสียง โดนัลด์ ทรัมป์ ทำท่าเหมือนไม่แยแสเอเชีย-แปซิฟิก และจะยอมปล่อยให้จีนเข้ามาเป็นเจ้าแทนที่สหรัฐฯ ทว่าจากนโยบายสำคัญของเขาที่จะสร้างเสริมแสนยานุภาพของกองทัพอเมริกัน กลับกำลังทำให้เขาต้องหวนกลับมา “ปักหมุด” ให้ความสำคัญกับภูมิภาคแถบนี้ แถมยังจะใช้อิทธิพลบารมีเพื่อขายอาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกันแก่เหล่าพันธมิตรและหุ้นส่วน ทำให้อุตสาหกรรมกลาโหมสหรัฐฯเฟื่องฟูรุ่งเรือง
เมื่อตอนที่ โดนัลด์ เจ. ทรัมป์ กำลังรณรงค์หาเสียงเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนั้น เขาดูเหมือนกับมีความเด็ดขาดชัดเจนที่จะไม่แยแสใยดีต่อเอเชีย-แปซิฟิก หรือกระทั่งมีความรู้สึกในทางลบอย่างสิ้นเชิงต่อภูมิภาคแถบนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาบอกว่าไม่สนใจเอเชียหรอก เนื่องจาก “อยู่ห่างไกลเกินไป” กว่าที่ตัวเขาที่จะติดตามเอาใจใส่ เขาเสนอแนวความคิดที่ว่าพวกชาติพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ควรต้องทำอะไรให้มากขึ้นเพื่อดูแลรับผิดชอบการป้องกันประเทศของพวกเขาเอง โดยรวมถึงการเสาะแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองเอาไว้ในครอบครองด้วย คำพูดเช่นนี้ดูจะละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า 2 ประเทศนี้ได้ร่วมออกเงินสมทบคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์อยู่ทุกๆ ปีอยู่แล้วเพื่อเป็นการสนับสนุนกองทหารอเมริกันซึ่งตั้งประจำอยู่บนดินแดนของพวกเขา ท้ายที่สุดแล้ว เขายังดูเหมือนเตรียมพร้อมที่จะโยนทิ้งอิทธิพลบารมีของสหรัฐฯ ไปเสียเฉยๆ จากการที่เขาประกาศว่าจะฉีกทิ้งข้อตกลงการค้า “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP)
ในทางตรงกันข้าม ทรัมป์ทำท่าหมกมุ่นครุ่นคำนึงอยู่กับภูมิภาคตะวันออกกลาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ “ไอซิส” (ISIS ชื่อย่ออีกชื่อหนึ่งที่ยังมีผู้นิยมเรียกขานกันอยู่ของกลุ่ม “รัฐอิสลาม” Islamic State หรือ IS –ผู้แปล) ประสบความพ่ายแพ้ปราชัย ความหลงใหลจับใจเช่นนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากการเลือกคัดเอาตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (ได้แก่ ไมเคิล ฟลินน์ Michael Flynn) และรัฐมนตรีกลาโหม (ได้แก่ จอห์น แมตทิส John Mattis) ในคณะบริหารของเขา ในเมื่อทั้ง 2 คนนี้ต่างเป็นอดีตนายทหารระดับนายพล ซึ่งใช้ช่วงเวลายาวนานในการงานอาชีพของพวกตนในอัฟกานิสถานและอิรัก หรือไม่ก็ในการสู้รบปรบมือกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองกันเป็นภาพใหญ่ขึ้นมาแล้ว จึงดูราวกับว่าทรัมป์กำลังยินดีที่จะยุติฐานะความเป็นเจ้าในเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และยกบทบาทเช่นนี้ให้แก่จีนโดยดุษณี เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้ บางประเทศในภูมิภาคแถบนี้อย่างเช่นฟิลิปปินส์ จึงเหมือนกับตัดสินใจว่าพร้อมแล้วที่จะเข้าขบวนแห่เดินตามปักกิ่งหรือไม่ก็มอสโก (กระทั่งกำลังเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะสั่งซื้อหาอาวุธยุทโธปกรณ์จาก 2 ประเทศใหญ่นี้มาใช้) หรือไม่เช่นนั้นก็กลายเป็นแบบญี่ปุ่น ซึ่งกำลังประกาศเข้ารับผิดชอบการป้องกันประเทศของตนเองอย่างเต็มที่ ในเมื่อปราศจากการการันตีด้านความมั่นคงสหรัฐฯเสียแล้วเช่นนี้
ทรัมป์หันมาเติมเชื้อเพลิงเพิ่มความเป็นปรปักษ์จีน-สหรัฐฯ
ครั้นแล้วก็เกิดเหตุการณ์การพูดคุยสนทนากันทางโทรศัพท์ระหว่างทรัมป์กับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-Wen) ของไต้หวัน แถมยังอาจติดตามมาด้วยการที่เธอไปเยือนสหรัฐฯตอนต้นปีหน้า (ถึงแม้ยังไม่เป็นที่แน่นอนชัดเจนว่าเธอจะได้เข้าพบทรัมป์หรือไม่) นอกจากนั้น ทรัมป์ยังกำลังเพิ่มน้ำหนักความรุนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์จีนว่าเป็นพวกนักปั่นค่าเงินตรา และเป็นโจรเที่ยวปล้นตำแหน่งงาน ไปจากสหรัฐฯอีกด้วย
เหมือนกับว่าในฉับพลันทันทีนั้นเอง ความเป็นคู่แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว แถมยังมีความมุ่งร้ายต่อกันหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย โดยที่ปักกิ่งรู้สึกเดือดดาลการที่ทรัมป์กำลังแสดงความเป็นกันเองกับไช่และไต้หวัน ส่วนทรัมป์ก็อยู่ในอาการมุ่งท้าทายและไม่แยแสตามแบบฉบับของเขา ความวิตกกังวลในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ว่าทรัมป์กำลังจะวางตัวเป็น “นักลัทธิแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวยุคใหม่” (neo-isolationist) หรือจะพะวงเอาใจใส่แต่กับตะวันออกกลางและการก่อการร้าย กลับถูกแทนที่ด้วยจุดยืนต่อประเทศจีนของสหรัฐฯซึ่งแข็งกร้าวยืนกรานเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตเป็นอันมาก อันอาจหมายความต่อไปด้วยว่าการปรากฏตัวทางทหารของอเมริกาในเอเชียจะเพิ่มทวีขึ้นยิ่งกว่าเดิมในทางเป็นจริง
ความเปลี่ยนแปลงพลิกผันอย่างชวนสับสนวุ่นวายทั้งหมดเหล่านี้ มีตรรกะที่แน่นอนของมันอยู่ ทรัมป์ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงนั้น เสนอนโยบายสำคัญมากประการหนึ่งได้แก่การเพิ่มงบประมาณใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐฯ เพื่อที่จะสร้างกองทัพซึ่งเขากล่าวหาว่าเวลานี้อยู่ในสภาพที่ภายในกลวงเปล่าและร่างกายก็ผอมโซ ให้กลับฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาสนับสนุนไอเดียที่จะเพิ่มขนาดของกองทัพเรือสหรัฐฯจากที่มีเรือรบประจำการอยู่ในปัจจุบันจำนวน 272 ลำให้เป็น 350 ลำ โดยในจำนวนนี้จะต้องเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอีก 3 ลำ (เพื่อให้มีรวมทั้งสิ้น 13 ลำ) ทว่าหากคณะบริหารทรัมป์ยังคงยึดมั่นกับแนวทางแบบนักลัทธิแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องมีแสนยานุภาพทางนาวีอันมหึมาขนาดนั้น ในเมื่อเรือรบอเมริกันจะทำหน้าที่เพียงแค่แล่นไปแล่นมาตามแนวชายฝั่งของสหรัฐฯเท่านั้นเอง
ถึงเวลาอ้วนพีอีกแล้วสำหรับอุตสาหกรรมการทหารสหรัฐฯ
โดยฉับพลันทันทีนั้นเอง การรื้อฟื้นความเป็นปรปักษ์ต่อกันในทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมาใหม่ ก็กลายเป็น “เหตุผลแห่งรัฐ” (raison d’état) ที่ควรค่าแก่การหยิบยกขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้วอชิงตัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือสหรัฐฯ (ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็จำเป็นต้องหาภัยคุกคามทางชาติ-รัฐอะไรสักอย่างขึ้นมาเป็นเป้าเพื่อการระดมพลังเข้าต่อสู้ต้านทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว) ทำการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายและการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมกลาโหมของอเมริกา
ระหว่างปี 2008 ถึง 2016 ยอดใช้จ่ายของสหรัฐฯในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางการทหาร และการจัดซื้อจัดจ้างทางทหาร ได้หดหายลดลงไปมากกว่าหนึ่งในสาม คำพังเพยที่นิยมพูดกันว่า “ช่วง 7 ปีแห่งความอ้วนพีอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเกิดขึ้นจริงๆ ในระยะ 7 ปีภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 ได้ยุติสิ้นสุดลงไป อย่างไรก็ตาม ภายใต้การบริหารของทรัมป์ เป็นที่คาดหวังได้ว่ามันจะหวนกลับคืนมาอีก อุตสาหกรรมการต่อเรือของสหรัฐฯ ซึ่งแทบจะต้องพึ่งพาอาศัยแต่สัญญาจัดซื้อจัดจ้างทางทหารอย่างสิ้นเชิงนั้น น่าจะได้รับใบสั่งซื้อมากมายชนิดเรียกได้ว่าปลิวว่อนทีเดียวในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษข้างหน้านี้ การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ไอพ่นรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เอฟ-35 (F-35 Joint Strike Fighter หรือ JSF) ก็น่าที่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ตลอดจนชิ้นส่วนยุทโธปกรณ์ประกอบที่จะติดตั้งในเรือผิวน้ำหรือเรือดำน้ำหรือเครื่องบินเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธ, อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ, เครื่องยนต์, เฮลิคอปเตอร์, ตอปิโด, ฯลฯ
น่าจะสมมุติต่อไปได้ถึงเรื่องยอดขายอาวุธสหรัฐฯในต่างแดนที่จะพุ่งพรวดโลดลิ่ว ทรัมป์นั้นเป็นผู้ที่มีความคิดแบบ “เมอร์แคนทะลิสต์” (mercantilist) ที่เน้นการส่งออกสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศตนเองแต่หลีกเลี่ยงการซื้อหาในต่างแดนให้มีน้อยที่สุด ดังนั้นจึงย่อมแทบจะเป็นการแน่นอนอยู่แล้วที่เขาต้องการจะโปรโมตส่งเสริมสินค้าออกของสหรัฐฯ และอาวุธนั่นแหละคือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมที่สุดของอุตสาหกรรมอเมริกัน อีกทั้งมั่นใจได้ว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถแข่งขันได้ดีที่สุดในตลาดระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาดหมายได้ว่าทรัมป์จะบีบคั้นกดดันอย่างดุดันแข็งกร้าวเพื่อให้พวกพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯในเอเชีย-แปซิฟิกซื้อหาอาวุธอเมริกัน โดยถือว่าเป็นการพิสูจน์ถึง “ความจงรักภักดี” ของพวกเขา
ยิ่งกว่านั้น มีความเป็นไปได้มากที่ทรัมป์จะใช้การขายอาวุธมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วย ในแง่นี้ เขาอาจจะเดินหน้าสร้างเสริมสายสัมพันธ์อันสนิทสนมเป็นกันเองกับไต้หวันต่อไป ด้วยการยื่นเสนอขายอาวุธยุทโธปกรณ์อันก้าวหน้าไฮเทคที่สุดบางส่วนของอเมริกัน ในจำนวนนี้ก็อาจจะรวมถึง เอฟ 35 JSF ด้วย หลังจากที่วอชิงตันปฏิเสธไม่ยอมจำหน่ายให้ไทเปมานาน
เครื่องบินขับไล่เอฟ 22 ก็จะพลอยเฟื่องฟูไปด้วย?
ในความเป็นจริงแล้ว การขึ้นสู่อำนาจของคณะบริหารทรัมป์ ยังอาจจะสร้างความรุ่งเรืองเฟื่องฟูให้แก่ระบบอาวุธประเภทหนึ่งโดยเฉพาะอีกด้วย ได้แก่ เครื่องบินขับไล่ เอฟ 22 แรปเตอร์ (F-22 Raptor)
เอฟ 22 เป็นเครื่องบินขับไล่เจเนอเรชั่น 5 ที่ใช้เทคโนโลยี “สตีลธ์” (stealth) ซึ่งมุ่งหลบหลีกการตรวจจับของระบบเรดาร์ ทว่าสายการผลิตได้หยุดลงตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน โดยที่มีการผลิตออกมาจำนวนรวม 187 ลำ (น้อยกว่าแผนการเดิมที่คาดการณ์กันเอาไว้มาก โดยตัวเลขที่คิดกันไว้นั้นคือ 750 ลำ) ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว (ประมาณลำละ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คือเหตุผลส่วนหนึ่งซึ่งทำให้ต้องหยุดการสร้าง เอฟ 22 ก่อนเวลาอันควร อย่างไรก็ดี มาถึงตอนนี้การเริ่มต้นเปิดสายการผลิตขึ้นมาใหม่อาจจะเป็นความคิดที่ถูกต้องดีงามแล้ว เวลานี้กองทัพอากาศสหรัฐฯยังคงมีเครื่องบินขับไล่ เอฟ 15 ที่เก่ามากแล้วเกือบๆ 200 ลำอยู่ในคลังแสง รุ่นที่จะเข้ามาแทนที่ เอฟ 15 เหล่านี้ แทนที่จะเป็น เอฟ 35 ก็เปลี่ยนเป็น เอฟ 22 ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเครื่องบินขับไล่ระดับไฮเอนด์ในคลังแสงของกองทัพอากาศอเมริกันเสียด้วยซ้ำ ยิ่งในเวลานี้ต้นทุนราคาของเครื่องบิน JSF ยังคงบานปลายควบคุมกันไม่อยู่ เอฟ 22 ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าจึงดูยิ่งเป็นทางเลือกซึ่งมีเสน่ห์มากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องที่สำคัญมากกว่านี้อีกก็คือ คณะบริหารทรัมป์อาจจะหาทางยกเลิกมติของรัฐสภาอเมริกันที่ห้ามการส่งออก เอฟ 22 แรกเริ่มเดิมทีที่มีข้อกำหนดเช่นนี้ขึ้นมาก็ด้วยเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งซึ่งจะพิทักษ์ปกป้องเทคโนโลยีสเตลธ์ของเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ ทว่าเมื่อถึงเวลานี้แล้วข้อห้ามดังกล่าวน่าจะถือว่าผิวเผินเกินไปแล้วในทางปฏิบัติ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าจำหน่ายกันออกไปได้มากขึ้น ยังจะทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯมีต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง จนกระทั่ง เอฟ 22 จะสามารถแข่งขันในเรื่องราคากับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นของชาติอื่นๆ ในตลาดอาวุธโลกได้
นี่ก็เช่นกันอาจกลายเป็นการเปิดประตูให้แก่การส่งออกไปจำหน่ายในต่างแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยแสดงความสนใจที่จะซื้อหา เอฟ 22 มาแล้ว เป็นต้นว่า ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ (อิสราเอลก็เป็นอีกรายหนึ่งที่อาจจะเข้ามาเป็นลูกค้า)
เพื่อความเป็นธรรม ควรที่จะต้องเน้นย้ำว่าเวลานี้ทรัมป์ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่ง และยังมีส่วนซึ่งยังไม่ทราบกันอีกเยอะแยะเกี่ยวกับนโยบายต่อเอเชียในอนาคตของเขา ทว่าเมื่อพิจารณาโดยอิงอยู่กับลักษณะนิสัยของเขาเท่าที่เป็นมา, อิงอยู่กับการที่เขาดูมีความปรารถนาที่จะทำสงครามการค้ากับจีน, และอิงอยู่กับการที่พวกที่ปรึกษาของเขาหลายคนเป็นพวกต่อต้านจีน และกำลังให้คำแนะนำเขาอย่างไม่เป็นทางการอยู่ในขณะนี้ (รวมทั้งยังน่าจะเป็นผู้ที่จัดสรรคัดเลือกคนเข้าทำงานในกลไกด้านความมั่นคงแห่งชาติของเขาอีกด้วย) มันจึงมีความเป็นไปได้มากกว่า ที่เอเชีย-แปซิฟิกจะยังคงอยู่ในความสนใจอย่างใกล้ชิดของวอชิงตันต่อไป และยุทธศาสตร์ “ปักหมุดหวนคืนสู่เอเชีย” (pivot to Asia) ของทรัมป์ ในทางเป็นจริงแล้วอาจจะปรากฏว่ามีแรงขับดันทางด้านการทหารมากยิ่งสู่ยุทธศาสตร์นี้ของโอบามาเสียด้วยซ้ำ
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์จะไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
ริชาร์ด เอ. บิตซิงเกอร์ เป็นนักวิจัยอาวุโสและผู้ประสานงานของโครงการการเปลี่ยนผ่านทางการทหาร (Military Transformations Program) ณ สถาบันการระหว่างประเทศศึกษา เอส.ราชารัตนัม (S. Rajaratnam School of International Studies) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์
Trump’s pivot to Asia: A boon for the US arms industry?
By Richard A. Bitzinger
18/12/2016
ในช่วงหาเสียง โดนัลด์ ทรัมป์ ทำท่าเหมือนไม่แยแสเอเชีย-แปซิฟิก และจะยอมปล่อยให้จีนเข้ามาเป็นเจ้าแทนที่สหรัฐฯ ทว่าจากนโยบายสำคัญของเขาที่จะสร้างเสริมแสนยานุภาพของกองทัพอเมริกัน กลับกำลังทำให้เขาต้องหวนกลับมา “ปักหมุด” ให้ความสำคัญกับภูมิภาคแถบนี้ แถมยังจะใช้อิทธิพลบารมีเพื่อขายอาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกันแก่เหล่าพันธมิตรและหุ้นส่วน ทำให้อุตสาหกรรมกลาโหมสหรัฐฯเฟื่องฟูรุ่งเรือง
เมื่อตอนที่ โดนัลด์ เจ. ทรัมป์ กำลังรณรงค์หาเสียงเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีนั้น เขาดูเหมือนกับมีความเด็ดขาดชัดเจนที่จะไม่แยแสใยดีต่อเอเชีย-แปซิฟิก หรือกระทั่งมีความรู้สึกในทางลบอย่างสิ้นเชิงต่อภูมิภาคแถบนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาบอกว่าไม่สนใจเอเชียหรอก เนื่องจาก “อยู่ห่างไกลเกินไป” กว่าที่ตัวเขาที่จะติดตามเอาใจใส่ เขาเสนอแนวความคิดที่ว่าพวกชาติพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ควรต้องทำอะไรให้มากขึ้นเพื่อดูแลรับผิดชอบการป้องกันประเทศของพวกเขาเอง โดยรวมถึงการเสาะแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองเอาไว้ในครอบครองด้วย คำพูดเช่นนี้ดูจะละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า 2 ประเทศนี้ได้ร่วมออกเงินสมทบคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์อยู่ทุกๆ ปีอยู่แล้วเพื่อเป็นการสนับสนุนกองทหารอเมริกันซึ่งตั้งประจำอยู่บนดินแดนของพวกเขา ท้ายที่สุดแล้ว เขายังดูเหมือนเตรียมพร้อมที่จะโยนทิ้งอิทธิพลบารมีของสหรัฐฯ ไปเสียเฉยๆ จากการที่เขาประกาศว่าจะฉีกทิ้งข้อตกลงการค้า “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership หรือ TPP)
ในทางตรงกันข้าม ทรัมป์ทำท่าหมกมุ่นครุ่นคำนึงอยู่กับภูมิภาคตะวันออกกลาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ “ไอซิส” (ISIS ชื่อย่ออีกชื่อหนึ่งที่ยังมีผู้นิยมเรียกขานกันอยู่ของกลุ่ม “รัฐอิสลาม” Islamic State หรือ IS –ผู้แปล) ประสบความพ่ายแพ้ปราชัย ความหลงใหลจับใจเช่นนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากการเลือกคัดเอาตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (ได้แก่ ไมเคิล ฟลินน์ Michael Flynn) และรัฐมนตรีกลาโหม (ได้แก่ จอห์น แมตทิส John Mattis) ในคณะบริหารของเขา ในเมื่อทั้ง 2 คนนี้ต่างเป็นอดีตนายทหารระดับนายพล ซึ่งใช้ช่วงเวลายาวนานในการงานอาชีพของพวกตนในอัฟกานิสถานและอิรัก หรือไม่ก็ในการสู้รบปรบมือกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมองกันเป็นภาพใหญ่ขึ้นมาแล้ว จึงดูราวกับว่าทรัมป์กำลังยินดีที่จะยุติฐานะความเป็นเจ้าในเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และยกบทบาทเช่นนี้ให้แก่จีนโดยดุษณี เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้ บางประเทศในภูมิภาคแถบนี้อย่างเช่นฟิลิปปินส์ จึงเหมือนกับตัดสินใจว่าพร้อมแล้วที่จะเข้าขบวนแห่เดินตามปักกิ่งหรือไม่ก็มอสโก (กระทั่งกำลังเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะสั่งซื้อหาอาวุธยุทโธปกรณ์จาก 2 ประเทศใหญ่นี้มาใช้) หรือไม่เช่นนั้นก็กลายเป็นแบบญี่ปุ่น ซึ่งกำลังประกาศเข้ารับผิดชอบการป้องกันประเทศของตนเองอย่างเต็มที่ ในเมื่อปราศจากการการันตีด้านความมั่นคงสหรัฐฯเสียแล้วเช่นนี้
ทรัมป์หันมาเติมเชื้อเพลิงเพิ่มความเป็นปรปักษ์จีน-สหรัฐฯ
ครั้นแล้วก็เกิดเหตุการณ์การพูดคุยสนทนากันทางโทรศัพท์ระหว่างทรัมป์กับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน (Tsai Ing-Wen) ของไต้หวัน แถมยังอาจติดตามมาด้วยการที่เธอไปเยือนสหรัฐฯตอนต้นปีหน้า (ถึงแม้ยังไม่เป็นที่แน่นอนชัดเจนว่าเธอจะได้เข้าพบทรัมป์หรือไม่) นอกจากนั้น ทรัมป์ยังกำลังเพิ่มน้ำหนักความรุนแรงในการวิพากษ์วิจารณ์จีนว่าเป็นพวกนักปั่นค่าเงินตรา และเป็นโจรเที่ยวปล้นตำแหน่งงาน ไปจากสหรัฐฯอีกด้วย
เหมือนกับว่าในฉับพลันทันทีนั้นเอง ความเป็นคู่แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว แถมยังมีความมุ่งร้ายต่อกันหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย โดยที่ปักกิ่งรู้สึกเดือดดาลการที่ทรัมป์กำลังแสดงความเป็นกันเองกับไช่และไต้หวัน ส่วนทรัมป์ก็อยู่ในอาการมุ่งท้าทายและไม่แยแสตามแบบฉบับของเขา ความวิตกกังวลในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ว่าทรัมป์กำลังจะวางตัวเป็น “นักลัทธิแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวยุคใหม่” (neo-isolationist) หรือจะพะวงเอาใจใส่แต่กับตะวันออกกลางและการก่อการร้าย กลับถูกแทนที่ด้วยจุดยืนต่อประเทศจีนของสหรัฐฯซึ่งแข็งกร้าวยืนกรานเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตเป็นอันมาก อันอาจหมายความต่อไปด้วยว่าการปรากฏตัวทางทหารของอเมริกาในเอเชียจะเพิ่มทวีขึ้นยิ่งกว่าเดิมในทางเป็นจริง
ความเปลี่ยนแปลงพลิกผันอย่างชวนสับสนวุ่นวายทั้งหมดเหล่านี้ มีตรรกะที่แน่นอนของมันอยู่ ทรัมป์ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงนั้น เสนอนโยบายสำคัญมากประการหนึ่งได้แก่การเพิ่มงบประมาณใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐฯ เพื่อที่จะสร้างกองทัพซึ่งเขากล่าวหาว่าเวลานี้อยู่ในสภาพที่ภายในกลวงเปล่าและร่างกายก็ผอมโซ ให้กลับฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาสนับสนุนไอเดียที่จะเพิ่มขนาดของกองทัพเรือสหรัฐฯจากที่มีเรือรบประจำการอยู่ในปัจจุบันจำนวน 272 ลำให้เป็น 350 ลำ โดยในจำนวนนี้จะต้องเพิ่มเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอีก 3 ลำ (เพื่อให้มีรวมทั้งสิ้น 13 ลำ) ทว่าหากคณะบริหารทรัมป์ยังคงยึดมั่นกับแนวทางแบบนักลัทธิแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องมีแสนยานุภาพทางนาวีอันมหึมาขนาดนั้น ในเมื่อเรือรบอเมริกันจะทำหน้าที่เพียงแค่แล่นไปแล่นมาตามแนวชายฝั่งของสหรัฐฯเท่านั้นเอง
ถึงเวลาอ้วนพีอีกแล้วสำหรับอุตสาหกรรมการทหารสหรัฐฯ
โดยฉับพลันทันทีนั้นเอง การรื้อฟื้นความเป็นปรปักษ์ต่อกันในทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมาใหม่ ก็กลายเป็น “เหตุผลแห่งรัฐ” (raison d’état) ที่ควรค่าแก่การหยิบยกขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้วอชิงตัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือสหรัฐฯ (ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็จำเป็นต้องหาภัยคุกคามทางชาติ-รัฐอะไรสักอย่างขึ้นมาเป็นเป้าเพื่อการระดมพลังเข้าต่อสู้ต้านทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว) ทำการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายและการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมกลาโหมของอเมริกา
ระหว่างปี 2008 ถึง 2016 ยอดใช้จ่ายของสหรัฐฯในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางการทหาร และการจัดซื้อจัดจ้างทางทหาร ได้หดหายลดลงไปมากกว่าหนึ่งในสาม คำพังเพยที่นิยมพูดกันว่า “ช่วง 7 ปีแห่งความอ้วนพีอุดมสมบูรณ์” ซึ่งเกิดขึ้นจริงๆ ในระยะ 7 ปีภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 ได้ยุติสิ้นสุดลงไป อย่างไรก็ตาม ภายใต้การบริหารของทรัมป์ เป็นที่คาดหวังได้ว่ามันจะหวนกลับคืนมาอีก อุตสาหกรรมการต่อเรือของสหรัฐฯ ซึ่งแทบจะต้องพึ่งพาอาศัยแต่สัญญาจัดซื้อจัดจ้างทางทหารอย่างสิ้นเชิงนั้น น่าจะได้รับใบสั่งซื้อมากมายชนิดเรียกได้ว่าปลิวว่อนทีเดียวในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษข้างหน้านี้ การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ไอพ่นรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เอฟ-35 (F-35 Joint Strike Fighter หรือ JSF) ก็น่าที่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ตลอดจนชิ้นส่วนยุทโธปกรณ์ประกอบที่จะติดตั้งในเรือผิวน้ำหรือเรือดำน้ำหรือเครื่องบินเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ขีปนาวุธ, อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ, เครื่องยนต์, เฮลิคอปเตอร์, ตอปิโด, ฯลฯ
น่าจะสมมุติต่อไปได้ถึงเรื่องยอดขายอาวุธสหรัฐฯในต่างแดนที่จะพุ่งพรวดโลดลิ่ว ทรัมป์นั้นเป็นผู้ที่มีความคิดแบบ “เมอร์แคนทะลิสต์” (mercantilist) ที่เน้นการส่งออกสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศตนเองแต่หลีกเลี่ยงการซื้อหาในต่างแดนให้มีน้อยที่สุด ดังนั้นจึงย่อมแทบจะเป็นการแน่นอนอยู่แล้วที่เขาต้องการจะโปรโมตส่งเสริมสินค้าออกของสหรัฐฯ และอาวุธนั่นแหละคือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมที่สุดของอุตสาหกรรมอเมริกัน อีกทั้งมั่นใจได้ว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถแข่งขันได้ดีที่สุดในตลาดระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาดหมายได้ว่าทรัมป์จะบีบคั้นกดดันอย่างดุดันแข็งกร้าวเพื่อให้พวกพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐฯในเอเชีย-แปซิฟิกซื้อหาอาวุธอเมริกัน โดยถือว่าเป็นการพิสูจน์ถึง “ความจงรักภักดี” ของพวกเขา
ยิ่งกว่านั้น มีความเป็นไปได้มากที่ทรัมป์จะใช้การขายอาวุธมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วย ในแง่นี้ เขาอาจจะเดินหน้าสร้างเสริมสายสัมพันธ์อันสนิทสนมเป็นกันเองกับไต้หวันต่อไป ด้วยการยื่นเสนอขายอาวุธยุทโธปกรณ์อันก้าวหน้าไฮเทคที่สุดบางส่วนของอเมริกัน ในจำนวนนี้ก็อาจจะรวมถึง เอฟ 35 JSF ด้วย หลังจากที่วอชิงตันปฏิเสธไม่ยอมจำหน่ายให้ไทเปมานาน
เครื่องบินขับไล่เอฟ 22 ก็จะพลอยเฟื่องฟูไปด้วย?
ในความเป็นจริงแล้ว การขึ้นสู่อำนาจของคณะบริหารทรัมป์ ยังอาจจะสร้างความรุ่งเรืองเฟื่องฟูให้แก่ระบบอาวุธประเภทหนึ่งโดยเฉพาะอีกด้วย ได้แก่ เครื่องบินขับไล่ เอฟ 22 แรปเตอร์ (F-22 Raptor)
เอฟ 22 เป็นเครื่องบินขับไล่เจเนอเรชั่น 5 ที่ใช้เทคโนโลยี “สตีลธ์” (stealth) ซึ่งมุ่งหลบหลีกการตรวจจับของระบบเรดาร์ ทว่าสายการผลิตได้หยุดลงตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน โดยที่มีการผลิตออกมาจำนวนรวม 187 ลำ (น้อยกว่าแผนการเดิมที่คาดการณ์กันเอาไว้มาก โดยตัวเลขที่คิดกันไว้นั้นคือ 750 ลำ) ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว (ประมาณลำละ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คือเหตุผลส่วนหนึ่งซึ่งทำให้ต้องหยุดการสร้าง เอฟ 22 ก่อนเวลาอันควร อย่างไรก็ดี มาถึงตอนนี้การเริ่มต้นเปิดสายการผลิตขึ้นมาใหม่อาจจะเป็นความคิดที่ถูกต้องดีงามแล้ว เวลานี้กองทัพอากาศสหรัฐฯยังคงมีเครื่องบินขับไล่ เอฟ 15 ที่เก่ามากแล้วเกือบๆ 200 ลำอยู่ในคลังแสง รุ่นที่จะเข้ามาแทนที่ เอฟ 15 เหล่านี้ แทนที่จะเป็น เอฟ 35 ก็เปลี่ยนเป็น เอฟ 22 ได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มเครื่องบินขับไล่ระดับไฮเอนด์ในคลังแสงของกองทัพอากาศอเมริกันเสียด้วยซ้ำ ยิ่งในเวลานี้ต้นทุนราคาของเครื่องบิน JSF ยังคงบานปลายควบคุมกันไม่อยู่ เอฟ 22 ซึ่งมีสมรรถนะสูงกว่าจึงดูยิ่งเป็นทางเลือกซึ่งมีเสน่ห์มากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องที่สำคัญมากกว่านี้อีกก็คือ คณะบริหารทรัมป์อาจจะหาทางยกเลิกมติของรัฐสภาอเมริกันที่ห้ามการส่งออก เอฟ 22 แรกเริ่มเดิมทีที่มีข้อกำหนดเช่นนี้ขึ้นมาก็ด้วยเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งซึ่งจะพิทักษ์ปกป้องเทคโนโลยีสเตลธ์ของเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้ ทว่าเมื่อถึงเวลานี้แล้วข้อห้ามดังกล่าวน่าจะถือว่าผิวเผินเกินไปแล้วในทางปฏิบัติ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าจำหน่ายกันออกไปได้มากขึ้น ยังจะทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯมีต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง จนกระทั่ง เอฟ 22 จะสามารถแข่งขันในเรื่องราคากับเครื่องบินขับไล่ไอพ่นของชาติอื่นๆ ในตลาดอาวุธโลกได้
นี่ก็เช่นกันอาจกลายเป็นการเปิดประตูให้แก่การส่งออกไปจำหน่ายในต่างแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยแสดงความสนใจที่จะซื้อหา เอฟ 22 มาแล้ว เป็นต้นว่า ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ (อิสราเอลก็เป็นอีกรายหนึ่งที่อาจจะเข้ามาเป็นลูกค้า)
เพื่อความเป็นธรรม ควรที่จะต้องเน้นย้ำว่าเวลานี้ทรัมป์ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่ง และยังมีส่วนซึ่งยังไม่ทราบกันอีกเยอะแยะเกี่ยวกับนโยบายต่อเอเชียในอนาคตของเขา ทว่าเมื่อพิจารณาโดยอิงอยู่กับลักษณะนิสัยของเขาเท่าที่เป็นมา, อิงอยู่กับการที่เขาดูมีความปรารถนาที่จะทำสงครามการค้ากับจีน, และอิงอยู่กับการที่พวกที่ปรึกษาของเขาหลายคนเป็นพวกต่อต้านจีน และกำลังให้คำแนะนำเขาอย่างไม่เป็นทางการอยู่ในขณะนี้ (รวมทั้งยังน่าจะเป็นผู้ที่จัดสรรคัดเลือกคนเข้าทำงานในกลไกด้านความมั่นคงแห่งชาติของเขาอีกด้วย) มันจึงมีความเป็นไปได้มากกว่า ที่เอเชีย-แปซิฟิกจะยังคงอยู่ในความสนใจอย่างใกล้ชิดของวอชิงตันต่อไป และยุทธศาสตร์ “ปักหมุดหวนคืนสู่เอเชีย” (pivot to Asia) ของทรัมป์ ในทางเป็นจริงแล้วอาจจะปรากฏว่ามีแรงขับดันทางด้านการทหารมากยิ่งสู่ยุทธศาสตร์นี้ของโอบามาเสียด้วยซ้ำ
(ข้อเขียนซึ่งบุคคลภายนอกเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ ทางเอเชียไทมส์จะไม่ขอรับผิดชอบทั้งต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
ริชาร์ด เอ. บิตซิงเกอร์ เป็นนักวิจัยอาวุโสและผู้ประสานงานของโครงการการเปลี่ยนผ่านทางการทหาร (Military Transformations Program) ณ สถาบันการระหว่างประเทศศึกษา เอส.ราชารัตนัม (S. Rajaratnam School of International Studies) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์