xs
xsm
sm
md
lg

‘ชาติเอเชีย’ กวาดอันดับสูงสุดในผลทดสอบคุณภาพการศึกษา ‘สิงคโปร์’ ขึ้นที่ 1 แต่ ‘ไทย’ อยู่ด้านล่างของตาราง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<i>ผลการทดสอบระดับนานาชาติชี้ว่า ระบบการศึกษาของสิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ของโลก  โดยปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งสร้างความยอดเยี่ยมเช่นนี้ได้ ก็คือ การโฟกัสให้ความสำคัญแก่ครูผู้สอน </i>
บีบีซีนิวส์/เอเอฟพี/MGRออนไลน์ - ประเทศแถบเอเชียกวาดอันดับสูงสุดแทบทั้งหมดในผลการทดสอบทักษะของนักเรียนระดับมัธยมนานาชาติที่ได้รับความเชื่อถืออย่างสูง ซึ่งนำออกมาเผยแพร่ในวันอังคาร (6 ธ.ค.) โดยที่สิงคโปร์เป็นแชมป์ได้ที่หนึ่งทั้งทางด้านคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, และการอ่าน ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในด้านล่างของตารางทั้ง 3 วิชา

การจัดอันดับ “ปิซ่า” (Pisa ย่อมาจาก Programme for International Student Assessment โครงการเพื่อการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) นี้มีองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) เป็นผู้ดำเนินการ โดยอิงอาศัยผลการทดสอบพวกนักเรียนอายุ 15 ปีในกว่า 70 ประเทศและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การทดสอบและจัดอันดับกระทำกันทุก 3 ปีครั้ง

อันเดรียส ชเลเชอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาของโออีซีดีแถลงว่า สิงคโปร์ “ไม่เพียงแค่กำลังทำได้ดีเท่านั้น แต่ยังกำลังวิ่งนำหน้าไกลออกไปเรื่อยๆ ด้วย”

สิงคโปร์ได้รับการระบุว่าเป็นประเทศแชมป์มาแล้วในการจัดอันดับ “แนวโน้มในการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติ” (Trends in International Mathematics and Science Study ใช้อักษรย่อว่า TIMSS) ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ในการจัดอันดับ “ปิซ่า” คราวนี้ ประเทศนครรัฐแห่งนี้ก็คว้าอันดับ 1 อีกในการทดสอบทั้ง 3 วิชา โดยนำหน้าระบบโรงเรียนทั้งหลายในตลอดทั่วทั้งเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, ตลอดจนอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้

ขณะที่ในเรื่องระบบการศึกษาโดยองค์รวม สิงคโปร์ก็ขึ้นอันดับ 1 แทนที่แชมป์เก่าอย่างเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากเซี่ยงไฮ้ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเขตแคว้นต่างหากในการจัดอันดับคราวที่แล้ว

มีรายงานว่าได้มีการอภิปรายถกเถียงกันในเรื่องที่ว่าเซี่ยงไฮ้สมควรเป็นตัวแทนส่วนหนึ่งของมาตรฐานโรงเรียนตลอดทั่วทั้งประเทศจีนหรือไม่ และในปีนี้ก็เป็นครั้งแรกซึ่งเซี่ยงไฮ้ถูกรวมเข้าไปอยู่ในตัวเลขอันดับสำหรับประเทศจีน ซึ่งอิงอยู่กับระบบโรงเรียนในมณฑล (และนครที่มีฐานะเทียบเท่ามณฑล) ที่ใช้เป็นตัวอย่างรวม 4 มณฑล(และนคร) ได้แก่ ปักกิ่ง, เซี่ยงไฮ้, เจียงซู, และกวางตุ้ง (ในตารางอันดับข้างล่างนี้จะใช้ตัวย่อว่า B-S-J-G (China)

อันดับของประเทศจีนโดยรวมดังกล่าวนี้ในปีนี้ติดท็อป 10 ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทว่าไม่ติดท็อป 20 ในด้านการอ่าน

ฮ่องกง และ มาเก๊า ซึ่งต่างมีฐานะเป็นเขตบริหารพิเศษของจีน ยังคงได้รับการจัดอันดับแยกต่างหากออกไป และต่างก็อยู่ในหมู่ระบบการศึกษาที่มีสัมฤทธิผลสูง

สำหรับสหรัฐฯ นั้น เป็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งประสบความล้มเหลวไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าได้ โดยที่ จอห์น คิง รัฐมนตรีศึกษาธิการของสหรัฐฯ กล่าวว่า “เรากำลังเป็นผู้แพ้ ส่อแสดงถึงทิศทางอนาคตอันลำบากยากเย็น เมื่อในทุกวันนี้ที่ระบบเศรษฐกิจกำลังกลายเป็นระบบเศรษฐกิจอิงความรู้ ทำให้ตำแหน่งงานระดับเยี่ยมที่สุดสามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ติดอันดับ 25 ในด้านวิทยาศาสตร์, อันดับ 24 ด้านการอ่าน, และอันดับ 39 ในด้านคณิตศาสตร์

ส่วนสหราชอาณาจักรก็ล้มเหลวไม่ได้มีการกระเตื้องดีขึ้นอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังอะไร ถึงแม้รัฐมนตรีศึกษาธิการในอังกฤษคนแล้วคนเล่าต่างถือเรื่องอันดับปิซ่าเป็นมาตรวัดความก้าวหน้าอันสำคัญประการหนึ่งก็ตามที

ชาติแถบเอเชียกวาดอันดับท็อป

ระบบการศึกษาของชาติในเอเชียสามารถกวาดที่สูงๆ เกือบทั้งหมดในตารางการจัดอันดับของปีนี้ โดยที่ทางด้านคณิตศาสตร์นั้นคว้าไปทั้ง 7 อันดับแรก โดยถัดจากสิงคโปร์ก็ติดตามมาด้วยฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, จีน, และเกาหลีใต้

ในบรรดาท็อป 5 ของทั้ง 3 วิชาที่ทดสอบและจัดอันดับ ปรากฏว่ามีประเทศซึ่งไม่ใช่ชาติเอเชียเพียงแค่ ฟินแลนด์, เอสโตเนีย, แคนาดา, และไอร์แลนด์ เท่านั้น

ชเลเชอร์บอกด้วยว่า พวกประเทศเอเชียอย่างสิงคโปร์นั้นยังสามารถบรรลุความเป็นเลิศได้โดยที่ปราศจากความแตกต่างกันอย่างห่างไกลระหว่างเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวร่ำรวยมั่งคั่งกับเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวซึ่งเสียเปรียบทางด้านฐานะทางเศรษฐกิจสังคม

ขณะเดียวกัน เขาเอ่ยถึงเวียดนามว่าประสบความก้าวหน้า “อย่างน่าจับตามองมาก” โดยในด้านวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับ 8, การอ่านอยู่อันดับ 30, และวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 21 เท่ากับว่ามีอันดับนำหน้าทั้งเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ในด้านวิทยาศาสตร์ และแซงหน้าสหรัฐฯ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

สำหรับประเทศไทยนั้น ด้านวิทยาศาสตร์อยู่อันดับที่ 54, การอ่านอยู่ที่ 57, และวิทยาศาสตร์อยู่อันดับ 54

ทางด้านพวกชาติอเมริกาใต้นั้น ชเลเชอร์ยกย่องอันดับที่กระเตื้องดีขึ้นของเปรู และโคลอมเบีย

สิงคโปร์ขึ้นเป็นแชมป์ได้อย่างไร

สิงคโปร์เพิ่งกลายเป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 1965 อย่างไรก็ตาม ประเทศบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้เน้นหนักโฟกัสที่การศึกษา โดยถือว่าเป็นหนทางสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน

ศาสตราจารย์ ซิง คง ลี (Sing Kong Lee) รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาแห่งชาติของสิงคโปร์ (Singapore's National Institute of Education) ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาของสิงคโปร์มีความยอดเยี่ยมได้ถึงขนาดนี้ ได้แก่มาตรฐานของการสอน

“สิงคโปร์ลงทุนอย่างหนักในด้านกำลังทางการสอนที่มีคุณภาพ ทั้งด้วยการยกระดับเกียรติภูมิและสถานะของการสอนให้สูงขึ้นมา และด้วยการดึงดูดผู้สำเร็จการศึกษาที่ดีเยี่ยมที่สุด” เข้ามาเป็นครูอาจารย์ ศาสตราจารย์ลีระบุ

ทั้งนี้ สิงคโปร์รับสมัครผู้ที่มาเป็นครูอาจารย์จากผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคะแนนสูงสุด 5% แรก โดยที่ครูอาจารย์ทุกๆ คนก็ต้องผ่านการฝึกอบรมที่สถาบันการศึกษาแห่งชาติ และศาสตราจารย์ลีชี้ว่า การใช้เพียงเส้นทางเดียวซึ่งครูอาจารย์ทุกคนต้องผ่านเช่นนี้ ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างมั่นใจ และครูอาจารย์ใหม่ทุกๆ คนก็ควรสามารถที่จะ “เดินเข้าสู่ห้องเรียนได้ด้วยความมั่นอกมั่นใจ”

เขาย้ำด้วยว่า วิธีการเช่นนี้ยังต้องทำกันเป็นระยะยาวด้วยความสม่ำเสมอ รวมแล้วเป็นเวลานานหลายสิบปีทีเดียว

ศาสตราจารย์ลีบอกว่า การศึกษาคือ “ระบบสิ่งแวดล้อม” ระบบหนึ่ง และ “คุณไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดแยกต่างหากจากส่วนอื่นๆ ได้”
โดยที่ระบบการศึกษาของประเทศนี้ก็เป็นระบบที่มีการรวมศูนย์อย่างสูง

PISA 2015: Science results

Rank Country Mean score
-OECD average493
1Singapore556
2Japan538
3Estonia534
4Chinese Taipei532
5Finland531
6Macao (China)529
7Canada528
8Vietnam525
9Hong Kong (China)523
10B-S-J-G (China)518
11Korea516
12New Zealand513
13Slovenia513
14Australia510
15United Kingdom509
16Germany509
17Netherlands509
18Switzerland506
19Ireland503
20Belgium502
21Denmark502
22Poland501
23Portugal501
24Norway498
25United States496
26Austria495
27France495
28Sweden493
29Czech Republic493
30Spain493
31Latvia490
32Russia487
33Luxembourg483
34Italy481
35Hungary477
36Lithuania475
37Croatia475
38CABA (Argentina)475
39Iceland473
40Israel467
41Malta465
42Slovak Republic461
43Greece455
44Chile447
45Bulgaria446
46United Arab Emirates437
47Uruguay435
48Romania435
49Cyprus433
50Moldova428
51Albania427
52Turkey425
53Trinidad and Tobago425
54Thailand421
55Costa Rica420
56Qatar418
57Colombia416
58Mexico416
59Montenegro411
60Georgia411
61Jordan409
62Indonesia403
63Brazil401
64Peru397
65Lebanon386
66Tunisia386
67FYROM384
68Kosovo378
69Algeria376
70Dominican Republic332

PISA 2015: Reading results

Rank Country Mean score
-OECD average493
1Singapore535
2Canada527
3Hong Kong (China)527
4Finland526
5Ireland521
6Estonia519
7Korea517
8Japan516
9Norway513
10Macao (China)509
11New Zealand509
12Germany509
13Poland506
14Slovenia505
15Australia503
16Netherlands503
17Denmark500
18Sweden500
19Belgium499
20France499
21United Kingdom498
22Portugal498
23Chinese Taipei497
24United States497
25Spain496
26Russia495
27B-S-J-G (China)494
28Switzerland492
29Latvia488
30Vietnam487
31Czech Republic487
32Croatia487
33Austria485
34Italy485
35Iceland482
36Luxembourg481
37Israel479
38CABA (Argentina)475
39Lithuania472
40Hungary470
41Greece467
42Chile459
43Slovak Republic453
44Malta447
45Cyprus443
46Uruguay437
47United Arab Emirates434
48Romania434
49Bulgaria432
50Turkey428
51Trinidad and Tobago427
52Costa Rica427
53Montenegro427
54Colombia425
55Mexico423
56Moldova416
57Thailand409
58Jordan408
59Brazil407
60Albania405
61Qatar402
62Georgia401
63Peru398
64Indonesia397
65Tunisia361
66Dominican Republic358
67FYROM352
68Algeria350
69Lebanon347
70Kosovo347

PISA 2015: Maths results

Rank Country Mean score
-OECD average490
1Singapore564
2Hong Kong (China)548
3Macao (China)544
4Chinese Taipei542
5Japan532
6B-S-J-G (China)531
7Korea524
8Switzerland521
9Estonia520
10Canada516
11Netherlands512
12Finland511
13Denmark511
14Slovenia510
15Belgium507
16Germany506
17Ireland504
18Poland504
19Norway502
20Austria497
21Vietnam495
22New Zealand495
23Australia494
24Sweden494
25Russia494
26France493
27United Kingdom492
28Portugal492
29Czech Republic492
30Italy490
31Iceland488
32Spain486
33Luxembourg486
34Latvia482
35Malta479
36Lithuania478
37Hungary477
38Slovak Republic475
39United States470
40Israel470
41Croatia464
42CABA (Argentina)456
43Greece454
44Romania444
45Bulgaria441
46Cyprus437
47United Arab Emirates427
48Chile423
49Moldova420
50Turkey420
51Uruguay418
52Montenegro418
53Trinidad and Tobago417
54Thailand415
55Albania413
56Mexico408
57Georgia404
58Qatar402
59Costa Rica400
60Lebanon396
61Colombia390
62Peru387
63Indonesia386
64Jordan380
65Brazil377
66FYROM371
67Tunisia367
68Kosovo362
69Algeria360
70Dominican Republic328


กำลังโหลดความคิดเห็น