India’s Act East in dire straits
By M K Bhadrakumar
17/11/2016
ขณะที่ทั่วทั้งเอเชียเฝ้าจับตามองนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เข้าพูดจาหารือกับโดนัลด์ ทรัมป์ จีนก็เร่งเคลื่อนไหวหนักเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯผู้นี้ ทั้งชักชวนให้เข้าร่วมในข้อตกลงตั้งเขตการค้าเสรีอื่นๆ ซึ่งจะเข้าแทนที่ข้อตกลง TPP ที่กำลังร่อแร่ใกล้ตายสนิท และทั้งโน้มน้าวให้เป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย
ประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างเฝ้าจับตามองเมื่อนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เดินทางไปเยือนอาคาร “ทรัมป์ ทาวเวอร์” (Trump Tower) ที่นครนิวยอร์ก ในวันพฤหัสบดี (17 พ.ย.) ประเทศต่างๆ เหล่านี้ที่มีความแตกต่างกันหลายหลาก ตั้งแต่จีน, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ไปจนถึงเกาหลีใต้ ล้วนใช้สายตาอันแหลมคมมองไปที่ ทรัมป์ ทาวเวอร์ ขณะที่อาเบะเดินเข้าไปข้างใน โดยที่อินเดียก็ควรต้องทำอย่างเดียวกันนี้ด้วย
อาเบะกลายเป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่ได้พบปะหารือกับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถึงแม้มีรายงานว่าทรัมป์เป็นคนที่รังเกียจญี่ปุ่นมาตั้งแต่เก่าแก่นมนานแล้ว แต่เขาก็ตกลงด้วยเมื่ออาเบะเสนอให้พูดจากัน (ระหว่างที่ทั้งสองพูดคุยกันทางโทรศัพท์หลายวันก่อนหน้านี้)
มีการคาดเดากันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ “ประเด็นสำหรับการหารือ” ซึ่งอาเบะเตรียมไปในคราวนี้ เขาจะขอคำรับประกันในเรื่องที่สหรัฐฯในยุคของทรัมป์จะยังคงยึดมั่นกระทำตามความผูกพันด้านความมั่นคงที่มีอยู่กับเหล่าชาติพันธมิตรของตนในเอเชียหรือเปล่า? เขาจะโต้แย้งแสดงเหตุผลอย่างมีพลังเพื่อให้ทรัมป์ยอมเดินหน้าผ่านข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Agreement หรือ TPP) ออกมาบังคับใช้หรือไม่? หรือ ณ จุดนี้เขาจะจำกัดตัวเองให้พอใจอยู่เพียงแค่การสร้างสมการส่วนบุคคลที่ดีกับทรัมป์เท่านั้น? เพราะถึงอย่างไร พวกเขาทั้งสองก็ยังจะต้องพบหน้ากันอีกมากมายหลายครั้งนัก โดยเป็นที่คาดหมายกันว่า ตัวอาเบะเองจะยังคงครองอำนาจต่อไปเป็นเวลาอีก 4 ปี ซึ่งยาวนานพอๆ กันกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ [1]
การที่มีการคาดเก็งกันไปต่างๆ เช่นนี้ เหตุผลสำคัญอยู่ตรงที่ว่าไม่มีใครทราบเลยว่า วาระสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของทรัมป์นั้นจะออกมาในรูปไหน มีความน่าจะเป็นสูงเอามากๆ ที่ข้อตกลง TPP กำลังกลายเป็นเรื่องอดีตอย่างแทบจะเป็นการแน่นอนแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็จะทำให้ยุทธศาสตร์ “ปักหมุนหวนกลับไปสู่เอเชีย” ของสหรัฐฯต้องอ่อนแอลงอย่างมากมายมหาศาล
บรรดาประเทศในเอเชียดูเหมือนกำลังมองเลยไกลไปจากข้อตกลง TPP กันแล้วด้วยซ้ำ การประชุมซัมมิตของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในประเทศเปรู ระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน กำลังได้รับความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกว่าธรรมดา ถึงตอนนี้จีนจะใช้ความพยายามของตนเพิ่มมากขึ้นในการหาความสนับสนุนให้แก่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกแบบที่ปักกิ่งเป็นผู้นำ ในระหว่างซัมมิตคราวนี้ รวมทั้งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็กำลังไปเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำคราวนี้ด้วยตนเอง
แน่นอนทีเดียว จีนก็กำลังได้ยินเสียงระฆังมรณะป่าวร้องถึงความตายของข้อตกลง TPP ในบทบรรณาธิการที่มีเนื้อหาฮึกห้าวของ “ไชน่าเดลี่” หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2016-11/15/content_27376480.htm) ได้ให้คำแนะนำแก่สหรัฐฯว่าอย่าไปเศร้าเสียใจกับมรณกรรมของ TPP เลย เพราะอันที่จริงแล้วมันจะกลายเป็นคำอำนวยพรซึ่งแอบซุกซ่อนเอาไว้สำหรับให้แก่ประชาชนชาวอเมริกันด้วยซ้ำ บทบรรณาธิการนี้เดินหน้าแจกแจงถึงลู่ทางโอกาสอันยั่วน้ำลายเอาไว้ดังนี้:
“การพังครืนลง (ของ TPP) ตามที่คาดหมายกันไว้ คือการเสนอโอกาสอันมีค่ายิ่งให้แก่เหล่าผู้วางนโยบายทั้งในปักกิ่งและในวอชิงตัน สำหรับการประเมินทบทวนกันอีกครั้งถึงสถานการณ์ที่ดำรงอยู่ในเวลานี้ และสำหรับการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดวิธีดำเนินการที่ทั้งสองฝ่ายได้ใช้มา ... คณะบริหารที่กำลังจะเข้ามารับงาน (ของสหรัฐฯ) ควรที่จะตระหนักถึงความเป็นจริงที่ว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) ซึ่งเปิดกว้างและพร้อมต้อนรับทุกฝ่ายให้เข้าร่วมมากกว่า นั่นแหละจะสามารถกลายเป็นพาหะที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งกว่ามากมายนัก สำหรับการผลักดันผลประโยชน์ของสหรัฐฯให้คืบหน้าขยายตัวออกไป วอชิงตันน่าที่จะต้องการฉวยใช้ประโยชน์จากการที่แพลตฟอร์มพื้นฐานของข้อตกลงนี้ยังคงอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้นพัฒนาคลี่คลายตัว และเข้าไปเกี่ยวข้องร่วมส่วนด้วยกันตั้งแต่ในขั้นตอนของการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ อิทธิพลของสหรัฐฯในเอเชีย-แปซิฟิกจะไม่ลดน้อยถดถอยลงไป ถ้าหากคณะบริหารทรัมป์เลือกที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้อย่างสร้างสรรค์”
เอ้อเฮอ ช่างกล้าพูดจาห้าวหาญราวกับวางตัวเป็นเพื่อนมิตรแท้ซึ่งยังคงอยู่ข้างเคียงในยามที่เพื่อนมิตรต้องการเสียจริงๆ ! อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่ามันไม่มีความเป็นไปได้แม้กระทั่งน้อยนิดเลยที่ทรัมป์จะให้ความสนใจกับข้อตกลง RCEP ในเมื่อเขาแสดงให้เห็นแล้วว่าไม่มีความกระตือรือร้นใดๆ ต่อข้อตกลง TPP ซึ่งต้องถือว่าเป็นข้อตกลงการค้าเสรีเกรดแพลทินัม หรือแม้กระทั่งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจทำนองเดียวกันในภูมิภาคแอตแลนติกที่จะทำกับพวกพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ ขณะที่คาดหมายกันว่า ข้อตกลง RCEP จะครอบคลุมเรื่องมาตรฐานทั่วๆ ไปที่ปรากฏอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งหลาย เป็นต้นว่า การค้าในด้านตัวสินค้า และการค้าทางด้านบริการ, การลงทุน, การแก้ไขข้อพิพาท แต่ข้อตกลง TPP ไปไกลกว่านั้นมาก โดยครอบคลุมเนื้อหาด้านอื่นๆ อย่างเช่น สิ่งแวดล้อมและแรงงาน ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ฯลฯ และเป็นการเจาะตลาดทั่วทั้งเอเชียให้เปิดแผ่กว้างสำหรับพวกบริษัทอเมริกัน
ในความเป็นจริงแล้ว การที่ฝ่ายจีนส่งคำเชื้อเชิญสหรัฐฯให้เข้าร่วมข้อตกลง RCEP เช่นนี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าในภูมิภาคแถบนี้ จีนเป็นเพียงร้านรายเดียวในเมืองที่ยังคงเปิดบริการอยู่ –นั่นคือเป็นผู้ขับดันรายหลักของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ที่ยังเหลืออยู่ โดยทีข้อตกลง RCEP จะรวมเอาทั้ง 10 รัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เข้าร่วมกลุ่มกับจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทว่าเวลานี้ยังไม่ได้รวมสหรัฐฯเอาไว้ด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง สหรัฐฯก็ไม่ได้แสดงความสนอกสนใจอะไรเช่นกันในข้อเสนอเพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอีกฉบับหนึ่งที่ฝ่ายจีนยื่นเอาไว้ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ได้แก่ข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีสำหรับเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific หรือ FTAAP) ซึ่งจะนำเอาพวกประเทศเอเปกและชาติริมชายฝั่งแปซิฟิกทั้งหลายเข้ามารวมตัวกัน จีนนั้นได้ออกแรงผลักดันครั้งใหม่ต่อข้อตกลงเรื่องการจัดตั้ง FTAAP ในการประชุมเอเปกซึ่งตนเองเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2014 ในตอนนี้เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า TPP น่าจะถึงแก่กรรมไปเสียแล้ว จีนก็จึงเร่งฉวยคว้าโอกาสอันดีเลิศสำหรับการก้าวเข้าไปในสุญญากาศที่เกิดขึ้นนี้ ด้วยการเสนอ FTAAP เข้าแทนที่ TPP
พิจารณากันในภาพรวมแล้ว คณะบริหารทรัมป์จะต้องตัดสินเลือกระหว่าง ก) การหวนกลับมาพิจารณา TPP อีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งจะเป็นยาขมที่ยากจะกลืนลงคอเสียแล้ว), ข) การเข้าไปร่วมใน RCEP, ค) การเข้าไปร่วมใน FTAAP, หรือ ง) การวางตัวถอยห่างไกลออกมาจากกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 3 อย่างนี้ และแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือถ้าหากจะกล่าวให้แตกต่างไปจากนี้ ก็สามารถพูดได้ว่า คณะบริหารทรัมป์จำเป็นที่จะต้องทำการตัดสินใจอันยากลำบาก ระหว่างการพลิกฟื้นชุบชีวิต TPP ขึ้นมาอีกครั้ง หรือไม่ก็ต้องเข้าทำงานเป็นหุ้นส่วนกับจีนในแผนแม่บท FTA สักแผนหนึ่ง
ดูเหมือนว่าการดำเนินการทางการทูตด้านการค้าของจีน จะสามารถพลิกแพลงเอาชนะเหนือสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้เสียแล้ว เมื่อพันธมิตรผู้เหนียวแน่นมั่นคงของสหรัฐฯรายหนึ่งอย่างออสเตรเลีย ยังออกมาส่งเสียงสนับสนุนอย่างเปิดเผยต่อการจัดตั้ง FTAAP ที่มีจีนเป็นผู้นำ (ดูรายงานข่าวในไฟแนนเชียลไทมส์ เรื่อง Australia snubs US by backing China push for Asian trade deal (ออสเตรเลียเชิดหน้าใส่สหรัฐฯโดยประกาศหนุนจีนผลักดันข้อตกลงการค้าสำหรับเอเชีย) (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ft.com/content/23cdd7d4-abba-11e6-9cb3-bb8207902122)
เหล่าประเทศในเอเชียทั้งหลายต่างสังเกตเห็นกันแล้วว่า ทีมงานเปลี่ยนผ่านรับมอบตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ ได้เริ่มต้นบอกกล่าวมุ่งลดทอนลู่ทางโอกาสที่จะเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมา การกระทำเช่นนี้นับว่ามีเหตุผลอันเหมาะสมทีเดียว ในอีกด้านหนึ่ง เรื่องที่ทรัมป์ข่มขู่ที่จะขึ้นอัตราภาษีศุลกากรซึ่งจัดเก็บจากสินค้าจีนที่นำเข้าสหรัฐฯไปอีก 45% รวดนั้น หากนำเอามาปฏิบัติกันจริงๆ แล้วในที่สุดมันก็จะหมายถึงการที่สินค้าจำนวนมหึมาซึ่งห้างวอล-มาร์ต (Wal-Mart) จำหน่ายอยู่ในสหรัฐฯจะต้องปรับราคาสูงขึ้นไป และผู้สูญเสียตัวจริงก็จะรวมถึงบรรดาคนงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ออกเสียงแกนหลักของทรัมป์นั่นเอง
ตามรายงานข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal) (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.wsj.com/articles/u-s-workers-to-lose-in-china-trade-war-1479188319) สมมุติฐานต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการออกมาข่มขู่จีนในเรื่องนี้ของทรัมป์ไม่ได้ยืนอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเลย โดยวอลล์สตรีทเจอร์นัลชี้ว่า “การประกาศลงโทษอย่างเหวี่ยงแห (ขึ้นภาษีต่อสินค้าเข้าจากจีนทุกอย่าง 45% รวด) –สมมุติว่าพวกรีพับลิกันในรัฐสภายินยอมเห็นพ้องเดินหน้าไปด้วย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สามารถรับประกันได้ว่าจะเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนเลย— ทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นก็คือรับประกันได้ว่าจะต้องเกิดความตื่นตระหนกขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลก, เกิดความโกลาหลในสายโซ่อุปทาน (supply-chain) ทั่วทั้งริมชายฝั่งแปซิฟิก, และกระทั่งสร้างความเจ็บปวดอย่างล้ำลึกเข้าไปอีกในหมู่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งมิสเตอร์ทรัมป์ให้คำมั่นสัญญาที่จะเข้ามากอบกู้ช่วยชีวิต” ชัดเจนทีเดียวว่าหากเกิดสงครามการค้าขึ้น ทั้งสองประเทศต่างจะต้องบาดเจ็บกันทั้งคู่ ขณะที่จีนจะต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกไปอย่างมหาศาล ทว่า “ภาคบริษัทของอเมริกาก็เป็นจุดอ่อนที่อาจถูกตอบโต้แก้เผ็ด” โดยที่ โกลบอลไทมส์ (Global Times) หนังสือพิมพ์ในเครือของเหรินหมินรึเป้า ปากเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็ออกมาพูดอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการตอบโต้แก้เผ็ดจากจีนที่น่าจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้: “คำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งฝูงหนึ่ง จะถูกเปลี่ยนไปซื้อแอร์บัสแทน ยอดขายรถยนต์สหรัฐฯและไอโฟนในจีนจะเสียหายลดลงฮวบฮาบ ส่วนถั่วเหลืองและข้าวโพดสหรัฐฯที่นำเข้าจีนก็จะหยุดชะงักลง”
ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะอยู่ในฐานะที่ใกล้เคียงกับการให้คำมั่นสัญญาใดๆ แก่นายกรัฐมนตรีอาเบะของญี่ปุ่น –ยกเว้นแต่ในเรื่องทั่วๆ ไปเท่านั้น ชะตากรรมของ “การปักหมุดหวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนในขณะนี้ แต่ในเวลาเดียวกัน จีนก็กำลังใช้ความพยายามอย่างมากมายและกระตือรือร้นในการสร้างสายสัมพันธ์ต่อเชื่อมกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ สี จิ้นผิง บอกกับ โดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างสนทนากันทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พ.ย. (ตามเวลาวอชิงตัน ขณะที่เวลาในปักกิ่งคือล่วงเลยเข้าสู่วันอังคารที่ 15 พ.ย.แล้ว –ผู้แปล) ว่า “ทางเลือกเพียงอย่างเดียว” ที่มีอยู่คือประเทศทั้งสองจะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้หากพูดกันเป็นการทั่วไปแล้ว ความร่วมมือกันในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐนั้น ถือเป็นเรื่องการเลือกสรรของแต่ละรัฐ ทว่าในบริบทของความสัมพันธ์จีน-อเมริกันแล้ว มันกำลังกลายเป็นบทบัญญัติสำหรับสหรัฐฯทีเดียว ที่จะต้องมีความร่วมมือกับจีน (ดูรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ดิ ออสเตรเลียน ที่พาดหัวว่า US election: China pushing trade deals as American pivot to Asia fades. เลือกตั้งสหรัฐฯ: จีนผลักดันข้อตกลงการค้าขณะ ‘ปักหมุดสู่เอเชีย’ของอเมริกาคลายมนตร์ขลัง http://www.theaustralian.com.au/national-affairs/foreign-affairs/us-election-china-pushing-trade-deals-as-american-pivot-to-asia-fades/news-story/97c3590909486f80f0f24c324c274c22)
ในเวลาเดียวกันนี้ จีนก็กำลังแสดงท่าทีรุกคืบหนักในการอ้าแขนต้อนรับทรัมป์ ในวันเดียวกับที่ทรัมป์นั่งลงสนทนากับอาเบะนั้นเอง บทบรรณาธิการชิ้นหลักของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ ได้ยื่นข้อเสนอแนะอย่างเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ต่อว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นการตัดสินเชิงยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจ โดยบอกว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลอย่างเหลือเกินสำหรับสหรัฐฯที่จะกลายเป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB)
บทบรรณาธิการชิ้นนี้ของไชน่าเดลี่ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2016-11/17/content_27400943.htm) เสนอแนะทรัมป์เอาไว้ดังนี้: “ธนาคาร AIIB วางแผนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเติมเต็มส่วนที่ยังไม่เพียงพอในความสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศซึ่งให้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการต่อเชื่อมโยงกันระดับภูมิภาคในเอเชีย การลงทุนที่เสนอกันออกมาทั้งในภาคการขนส่ง, พลังงาน, และโทรคมนาคมของเอเชีย ยังเป็นการเสนอโอกาสทางธุรกิจอันใหญ่โตมหึมาให้แก่บริษัททั้งหลายจากบรรดาประเทศสมาชิก ... ทว่าดังที่คำพังเพยของจีนบทหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า “ไม่สายเกินไปหรอกที่จะซ่อมแซมคอกหลังจากแกะตัวหนึ่งสูญหายไปแล้ว” สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีอะไรต้องสูญเสียเลยในการเข้ามาเป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคาร AIIB”
จีนดูเหมือนกำลังได้รับสัญญาณหลายประการซึ่งบ่งบอกว่า ทรัมป์น่าจะมีความคิดเปิดกว้างสำหรับเรื่องสมาชิกภาพของ AIIB ขณะที่ผู้บริหารใหญ่คนหนึ่งที่เป็นคนจีนของธนาคารแห่งนี้ ก็ได้บ่งบอกเป็นนัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์ไชน่าเดลี่ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน [2] เวลานี้ธนาคาร AIIB กำลังกลายเป็นเสาหลักเสาหนึ่งของ “แผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road Initiative) [3] ซึ่งอินเดียได้ตัดสินใจอย่างโง่เขลาที่จะคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมด้วย
ปีศาจตนที่กำลังหลอกหลอนพวกข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียอยู่ในเวลานี้ก็คือ คณะบริหารทรัมป์อาจจะตัดสินใจเชื่อมต่อกับธนาคาร AIIB และแผนการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งจะเป็นการสร้างผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้แก่พวกบริษัทของสหรัฐฯ ดังนั้น พื้นดินข้างใต้เท้าของนโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย [4] กำลังเกิดการเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร การทูตของอินเดียกำลังสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์แห่งชาติ จากการมุ่งโฟกัสอย่างมากมายเหลือล้นจนเกินไปยังเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) แทนที่จะให้ความสนใจกับเรื่องภูมิเศรษฐศาสตร์ (geoeconomics)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจากบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline)
หมายเหตุผู้แปล
[1] รายงานข่าวของสื่อมวลชนหลังจากการพบปะหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน ไม่ค่อยมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนัก
ตามรายงานของรอยเตอร์บอกว่า อาเบะออกมาแถลงข่าวว่า เขามีความมั่นอกมั่นใจว่าสามารถสร้างความไว้วางใจกับทรัมป์ขึ้นมาได้ ภายหลังทั้งคู่พบปะหารือกัน โดยที่เขามุ่งขอความกระจ่างเกี่ยวกับคำพูดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งก่อให้เกิดความข้องใจสงสัยขึ้นในบรรดาชาติที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่ยาวนานของอเมริกัน
ตามรายงานข่าวของรอยเตอร์บอกว่า ภายหลังการหารือเป็นเวลา 90 นาทีที่อาคารทรัมป์ ทาวเวอร์ แล้ว อาเบะพูดถึงทรัมป์ว่าเป็นผู้นำที่สามารถไว้วางใจได้ ถึงแม้เขากล่าวว่าเขาจะไม่เปิดเผยรายละเอียดของการพูดจากัน เพราะการสนทนาคราวนี้อยู่ในลักษณะไม่เป็นทางการ
“การพูดจากันคราวนี้ทำให้ผมรู้สึกมั่นใจว่าเราสามารถสร้างความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจกันขึ้นมาได้” อาเบะกล่าว โดยบรรยายถึงการสนทนากันคราวนี้ว่า “ตรงไปตรงมา” และมีขึ้นใน “บรรยากาศอันอบอุ่น” เขากล่าวเสริมด้วยว่า “กลุ่มพันธมิตรใดๆ ย่อมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถ้าหากปราศจากความไว้วางใจกัน เวลานี้ผมเชื่อมั่นแล้วว่า ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์เป็นผู้นำที่สามารถไว้วางใจได้”
เขากล่าวว่า ได้ตกลงกับทรัมป์ที่จะพบปะกันอีก “ในเวลาที่สะดวกโดยที่จะครอบคลุมเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่านี้มากมาย” ทั้งนี้รอยเตอร์บอกว่าไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการพบปะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์หรือไม่
(ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.atimes.com/article/abe-trump-meeting-says-hes-confident-trust-can-built/)
[2] เรื่องที่สหรัฐฯในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ อาจจะเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เอเชียไทมส์ได้รายงานข่าวเอาไว้ดังนี้:
มีเสียงเชียร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้สหรัฐฯในยุคทรัมป์เข้าร่วม AIIB
โดย เอเชียไทมส์ และเอเจนซีส์
Growing campaign for US to join AIIB under Trump
By Asia Times and agencies
16/11/2016
กำลังบังเกิดความคาดหวังกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าสหรัฐฯจะเข้าร่วมธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่มีจีนเป็นผู้นำ ภายหลังการเลือกตั้งในสหรัฐฯที่ทำให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่
สื่อมวลชนหลากหลายซึ่งรายงานข่าวในทั้งสองประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้อ้างอิงระบุถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ ขณะเดียวกับที่ส่งเสริมสนับสนุนทัศนะความคิดเห็นที่ว่า การที่คณะบริหารบารัค โอบามา คัดค้านการจัดตั้งธนาคาร AIIB นั้น คือความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นมาจาก เกิ่ง ส่วง (Geng Shuang) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน โดยในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่เมื่อวันอังคาร (15 พ.ย.) ได้อ้างคำพูดของเขาที่กล่าวว่า “มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร” ถ้าหากสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของโลก จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในธนาคาร AIIB “เรื่องนี้ยังถือเป็นท่าทีของจีนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทีแรกๆ แล้ว” เขากล่าวต่อ
การแสดงความเห็นของเขาคราวนี้มีขึ้นภายหลังการให้สัมภาษณ์ของ จิน ลี่ฉิว์น (Jin Liqun) ประธานของธนาคาร AIIB ซึ่งได้รับการรายงานเผยแพร่อย่างกว้างขวาง โดยที่เขากล่าวว่า สหรัฐฯสามารถที่จะขบคิดพิจารณาใหม่อีกครั้ง เรื่องที่ยังลังเลที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งของ AIIB ในเมื่อทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเช่นนี้
“ผมได้ยินเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งของคณะบริหารโอบามา พูดอะไรดีๆ เกี่ยวกับธนาคาร AIIB และหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ชนะ ผมได้รับการบอกเล่าว่าคนจำนวนมากในทีมงานของเขามีความเห็นกันว่า โอบามาทำไม่ถูกหรอกที่ไม่เข้าร่วม AIIB” จินกล่าวในการให้สัมภาษณ์เหรินหมินรึเป้า ปากเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
“ดังนั้นเราจึงไม่สามารถปฏิเสธได้หรอกว่า รัฐบาลสหรัฐฯชุดใหม่กำลังรับรอง AIIB หรือกำลังแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในฐานะสมาชิก”
มีรายงานว่า ในสัปดาห์ที่แล้ว ที่ปรึกษาระดับท็อปผู้หนึ่งของทรัมป์กล่าวว่า การที่คณะบริหารโอบามาคัดค้านธนาคาร AIIB คือ “ความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์”
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเสนอเรื่องการจัดตั้งธนาคารแห่งนี้เมื่อ 2 ปีก่อน และ AIIB เริ่มต้นดำเนินงานในเดือนมกราคมปีนี้ โดยที่มีประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งรวม 57 ราย และมีเงินทุนที่ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะลงขันด้วยรวม 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ทางธนาคารวางแผนการจะลงทุนในโครงการต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้
กลุ่มชาติสมาชิกใหม่ๆ กลุ่มต่อไปของ AIIB ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งชาติพันธมิตรสำคัญยิ่งของสหรัฐฯอย่างแคนาดาด้วย จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2017 ทั้งนี้กำหนดเวลาเส้นตายสำหรับการยื่นเข้าเป็นชาติสมาชิกใหม่ของกลุ่มล่าสุดนี้ คือวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา
สำคัญประเทศสำคัญๆ ที่สุดซึ่งยังคงไม่ได้เข้าร่วมในธนาคาร AIIB ได้แก่ ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ
“ในตอนที่ก่อตั้งธนาคาร AIIB ขึ้นมานั้น สหรัฐฯ ... มองหน่วยงานใหม่แห่งนี้ว่าจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อฐานะครอบงำของตนและต่อความสำคัญของตนในระเบียบเศรษฐกิจโลก ... ทว่าเราเชื่อว่ายังคงมีช่องมีที่ทางอย่างเพียงพอในเวทีเศรษ,กิจของโลก สำหรับให้หน่วยงานต่างๆ มากมายดำเนินงานได้” เหรินหมินรึเป้าอ้างคำให้สัมภาษณ์ของประธานจิน
(เก็บความจาก http://www.atimes.com/article/growing-campaign-us-join-aiib-trump/)
[3] “แผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road Initiative ใช้อักษรย่อว่า OBOR) หรือบางทีก็เรียกขานกันในภาษาอังกฤษว่า The Belt and Road (ใช้อักษรย่อว่า B&R) ตลอดจนเรียกกันในชื่อเต็มว่า “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” (The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road) เป็นยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการพัฒนาซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ซึ่งมุ่งโฟกัสไปที่การต่อเชื่อมโยงและความร่วมมือในหมู่ประเทศต่างๆ ซึ่งที่สำคัญแล้วตั้งอยู่ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ ส่วนอื่นๆ ของมหาทวีปยูเรเชีย
แผนการริเริ่มนี้มีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน ได้แก่ แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (Silk Road Economic Belt ใช้อักษรย่อว่า SREB) ที่อยู่ทางภาคพื้นดิน และเส้นทางสายไหมทางทะเล (the 21st-century Maritime Silk Road หรือ MSR) ทั้งนี้ SREB ได้รับการประกาศเปิดตัวในเดือนกันยายน 2013 และในเดือนตุลาคม 2013 ก็มีการเปิดตัว MSR
พื้นที่ครอบคลุมของแผนการริเริ่มนี้ ที่สำคัญแล้วคืออยู่ในเอเชียและยุโรป รวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ประเทศ ขณะเดียวกันก็ครอบคลุมไปถึงภูมิภาคโอเชียเนียและแอฟริกาตะวันออกอีกด้วย การดำเนินการในแผนการริเริ่มนี้ยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน ขณะที่มีเม็ดเงินลงทุนรวมทั้งหมดก็มีการคาดหมายกันไว้แตกต่างกันมากตั้งแต่ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯไปจนกระทั่งถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับองค์ประกอบส่วนที่เป็นแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมนั้น ประกอบด้วยประเทศตั้งๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมสายโบราณดั้งเดิม ซึ่งออกจากจีนผ่านเอเชียกลาง, เอเชียตะวันตก, ตะวันออกกลาง, ไปจนถึงยุโรป แผนการริเริ่มนี้เรียกร้องให้บูรณาการภูมิภาคเหล่านี้เข้าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีการผนึกประสานกัน ด้วยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ, เพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, และการขยายการค้า นอกเหนือจากเขตดังกล่าวนี้ซึ่งส่วนใหญ่เทียบเคียงได้กับเส้นทางสายไหมในประวัติศาสตร์แล้ว พื้นที่อีกส่วนหนึ่งซึ่งกล่าวกันว่าจะถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนขยายของ “แถบ” นี้ด้วย ได้แก่ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทางด้านองค์ประกอบที่เป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นแผนการริเริ่มซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือทางด้านการลงทุนและการช่วยเหลือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย, และแอฟริกาเหนือ ผ่านทางผืนน้ำใหญ่ที่อยู่ประชิดติดกับภูมิภาคเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ ทะเลจีนใต้, มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, และพื้นที่กว้างขวางของมหาสมุทรอินเดีย
นอกจากนี้ ภูมิภาคในแอฟริกาตะวันออก (โดยเฉพาะแซนซิบาร์) จะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย ภายหลังมีการปรับปรุงยกระดับท่าเรือต่างๆ ในท้องถิ่น และมีการก่อสร้างทางรถไฟรางมาตรฐานสมัยใหม่เชื่อมระหว่างกรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา กับกรุงกัมปาลา เมืองหลวงของยูกันดาแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor หรือ CPEC) และระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ-จีน-อินเดีย-พม่า (Bangladesh-China-India-Myanmar (BCIM) Economic Corridor) ได้รับการจำแนกอย่างเป็นทางการว่าเป็นโครงการซึ่งมี “ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CPEC มักถูกถือเป็นตัวเชื่อมระหว่างเส้นทางสายไหมทางทะเลและเส้นทางสายไหมทางบกของจีน โดยที่เมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar)ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ถือเป็นจุดสำคัญที่สุดของโครงการ CPEC
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[4] นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย เป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ซึ่งเป็นการปรับปรุงและสืบต่อจากนโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) ที่ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1991 ในยุครัฐบาลนายกรัฐมนตรี พี.วี. นราซิมฮา ราว แต่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังในยุครัฐบาลชุดต่อๆ มาทั้งของนายกรัฐมนตรี อตัล พิหารี วัชปายี และ นายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์ ทั้งนี้ในตอนแรกๆ นั้น นโยบาย “มองตะวันออก” มุ่งเน้นที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นกับพวกชาติเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในเวลาต่อมาก็ได้เปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งสำหรับการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือกันในทางด้านความมั่นคงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเวียดนาม และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นโยบาย “มองตะวันออก” เป็นตัวแทนความพยายามของอินเดียในการบ่มเพาะสร้างสมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวางกับชาติต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนฐานะของอินเดียในการเป็นมหาอำนาจหนึ่งของภูมิภาค และคอยทัดทานฐานะอิทธิพลทางยุทธศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งแต่ขึ้นมาบริหารประเทศใหม่ๆ คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโมดี ก็ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับพวกเพื่อนบ้านในสมาคมอาเซียนและเอเชียตะวันออก เป็นนโยบายการต่างประเทศที่ทรงความสำคัญลำดับต้น รวมทั้งต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์นี้ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯประกาศ “ปักหมุดหวนกลับมาให้ความสำคัญต่อเอเชีย” ในเดือนสิงหาคม 2014 รัฐมนตรีต่างประเทศ สุชมา สวาราช (Sushma Swaraj) ได้เสนอทิศทางมุมมองใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าอินเดียจะต้องแสดงบทบาทเชิงรุกในภูมิภาคแถบนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีก
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
By M K Bhadrakumar
17/11/2016
ขณะที่ทั่วทั้งเอเชียเฝ้าจับตามองนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เข้าพูดจาหารือกับโดนัลด์ ทรัมป์ จีนก็เร่งเคลื่อนไหวหนักเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับว่าที่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯผู้นี้ ทั้งชักชวนให้เข้าร่วมในข้อตกลงตั้งเขตการค้าเสรีอื่นๆ ซึ่งจะเข้าแทนที่ข้อตกลง TPP ที่กำลังร่อแร่ใกล้ตายสนิท และทั้งโน้มน้าวให้เป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย
ประเทศต่างๆ ในเอเชียต่างเฝ้าจับตามองเมื่อนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น เดินทางไปเยือนอาคาร “ทรัมป์ ทาวเวอร์” (Trump Tower) ที่นครนิวยอร์ก ในวันพฤหัสบดี (17 พ.ย.) ประเทศต่างๆ เหล่านี้ที่มีความแตกต่างกันหลายหลาก ตั้งแต่จีน, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ไปจนถึงเกาหลีใต้ ล้วนใช้สายตาอันแหลมคมมองไปที่ ทรัมป์ ทาวเวอร์ ขณะที่อาเบะเดินเข้าไปข้างใน โดยที่อินเดียก็ควรต้องทำอย่างเดียวกันนี้ด้วย
อาเบะกลายเป็นผู้นำต่างประเทศคนแรกที่ได้พบปะหารือกับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถึงแม้มีรายงานว่าทรัมป์เป็นคนที่รังเกียจญี่ปุ่นมาตั้งแต่เก่าแก่นมนานแล้ว แต่เขาก็ตกลงด้วยเมื่ออาเบะเสนอให้พูดจากัน (ระหว่างที่ทั้งสองพูดคุยกันทางโทรศัพท์หลายวันก่อนหน้านี้)
มีการคาดเดากันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ “ประเด็นสำหรับการหารือ” ซึ่งอาเบะเตรียมไปในคราวนี้ เขาจะขอคำรับประกันในเรื่องที่สหรัฐฯในยุคของทรัมป์จะยังคงยึดมั่นกระทำตามความผูกพันด้านความมั่นคงที่มีอยู่กับเหล่าชาติพันธมิตรของตนในเอเชียหรือเปล่า? เขาจะโต้แย้งแสดงเหตุผลอย่างมีพลังเพื่อให้ทรัมป์ยอมเดินหน้าผ่านข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership Agreement หรือ TPP) ออกมาบังคับใช้หรือไม่? หรือ ณ จุดนี้เขาจะจำกัดตัวเองให้พอใจอยู่เพียงแค่การสร้างสมการส่วนบุคคลที่ดีกับทรัมป์เท่านั้น? เพราะถึงอย่างไร พวกเขาทั้งสองก็ยังจะต้องพบหน้ากันอีกมากมายหลายครั้งนัก โดยเป็นที่คาดหมายกันว่า ตัวอาเบะเองจะยังคงครองอำนาจต่อไปเป็นเวลาอีก 4 ปี ซึ่งยาวนานพอๆ กันกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ [1]
การที่มีการคาดเก็งกันไปต่างๆ เช่นนี้ เหตุผลสำคัญอยู่ตรงที่ว่าไม่มีใครทราบเลยว่า วาระสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของทรัมป์นั้นจะออกมาในรูปไหน มีความน่าจะเป็นสูงเอามากๆ ที่ข้อตกลง TPP กำลังกลายเป็นเรื่องอดีตอย่างแทบจะเป็นการแน่นอนแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็จะทำให้ยุทธศาสตร์ “ปักหมุนหวนกลับไปสู่เอเชีย” ของสหรัฐฯต้องอ่อนแอลงอย่างมากมายมหาศาล
บรรดาประเทศในเอเชียดูเหมือนกำลังมองเลยไกลไปจากข้อตกลง TPP กันแล้วด้วยซ้ำ การประชุมซัมมิตของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ในประเทศเปรู ระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน กำลังได้รับความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกว่าธรรมดา ถึงตอนนี้จีนจะใช้ความพยายามของตนเพิ่มมากขึ้นในการหาความสนับสนุนให้แก่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกแบบที่ปักกิ่งเป็นผู้นำ ในระหว่างซัมมิตคราวนี้ รวมทั้งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็กำลังไปเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำคราวนี้ด้วยตนเอง
แน่นอนทีเดียว จีนก็กำลังได้ยินเสียงระฆังมรณะป่าวร้องถึงความตายของข้อตกลง TPP ในบทบรรณาธิการที่มีเนื้อหาฮึกห้าวของ “ไชน่าเดลี่” หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2016-11/15/content_27376480.htm) ได้ให้คำแนะนำแก่สหรัฐฯว่าอย่าไปเศร้าเสียใจกับมรณกรรมของ TPP เลย เพราะอันที่จริงแล้วมันจะกลายเป็นคำอำนวยพรซึ่งแอบซุกซ่อนเอาไว้สำหรับให้แก่ประชาชนชาวอเมริกันด้วยซ้ำ บทบรรณาธิการนี้เดินหน้าแจกแจงถึงลู่ทางโอกาสอันยั่วน้ำลายเอาไว้ดังนี้:
“การพังครืนลง (ของ TPP) ตามที่คาดหมายกันไว้ คือการเสนอโอกาสอันมีค่ายิ่งให้แก่เหล่าผู้วางนโยบายทั้งในปักกิ่งและในวอชิงตัน สำหรับการประเมินทบทวนกันอีกครั้งถึงสถานการณ์ที่ดำรงอยู่ในเวลานี้ และสำหรับการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดวิธีดำเนินการที่ทั้งสองฝ่ายได้ใช้มา ... คณะบริหารที่กำลังจะเข้ามารับงาน (ของสหรัฐฯ) ควรที่จะตระหนักถึงความเป็นจริงที่ว่า ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) ซึ่งเปิดกว้างและพร้อมต้อนรับทุกฝ่ายให้เข้าร่วมมากกว่า นั่นแหละจะสามารถกลายเป็นพาหะที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งกว่ามากมายนัก สำหรับการผลักดันผลประโยชน์ของสหรัฐฯให้คืบหน้าขยายตัวออกไป วอชิงตันน่าที่จะต้องการฉวยใช้ประโยชน์จากการที่แพลตฟอร์มพื้นฐานของข้อตกลงนี้ยังคงอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้นพัฒนาคลี่คลายตัว และเข้าไปเกี่ยวข้องร่วมส่วนด้วยกันตั้งแต่ในขั้นตอนของการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ อิทธิพลของสหรัฐฯในเอเชีย-แปซิฟิกจะไม่ลดน้อยถดถอยลงไป ถ้าหากคณะบริหารทรัมป์เลือกที่จะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้อย่างสร้างสรรค์”
เอ้อเฮอ ช่างกล้าพูดจาห้าวหาญราวกับวางตัวเป็นเพื่อนมิตรแท้ซึ่งยังคงอยู่ข้างเคียงในยามที่เพื่อนมิตรต้องการเสียจริงๆ ! อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วว่ามันไม่มีความเป็นไปได้แม้กระทั่งน้อยนิดเลยที่ทรัมป์จะให้ความสนใจกับข้อตกลง RCEP ในเมื่อเขาแสดงให้เห็นแล้วว่าไม่มีความกระตือรือร้นใดๆ ต่อข้อตกลง TPP ซึ่งต้องถือว่าเป็นข้อตกลงการค้าเสรีเกรดแพลทินัม หรือแม้กระทั่งข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจทำนองเดียวกันในภูมิภาคแอตแลนติกที่จะทำกับพวกพันธมิตรในยุโรปของสหรัฐฯ ขณะที่คาดหมายกันว่า ข้อตกลง RCEP จะครอบคลุมเรื่องมาตรฐานทั่วๆ ไปที่ปรากฏอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งหลาย เป็นต้นว่า การค้าในด้านตัวสินค้า และการค้าทางด้านบริการ, การลงทุน, การแก้ไขข้อพิพาท แต่ข้อตกลง TPP ไปไกลกว่านั้นมาก โดยครอบคลุมเนื้อหาด้านอื่นๆ อย่างเช่น สิ่งแวดล้อมและแรงงาน ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร ฯลฯ และเป็นการเจาะตลาดทั่วทั้งเอเชียให้เปิดแผ่กว้างสำหรับพวกบริษัทอเมริกัน
ในความเป็นจริงแล้ว การที่ฝ่ายจีนส่งคำเชื้อเชิญสหรัฐฯให้เข้าร่วมข้อตกลง RCEP เช่นนี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าในภูมิภาคแถบนี้ จีนเป็นเพียงร้านรายเดียวในเมืองที่ยังคงเปิดบริการอยู่ –นั่นคือเป็นผู้ขับดันรายหลักของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแถบนี้ที่ยังเหลืออยู่ โดยทีข้อตกลง RCEP จะรวมเอาทั้ง 10 รัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เข้าร่วมกลุ่มกับจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทว่าเวลานี้ยังไม่ได้รวมสหรัฐฯเอาไว้ด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง สหรัฐฯก็ไม่ได้แสดงความสนอกสนใจอะไรเช่นกันในข้อเสนอเพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอีกฉบับหนึ่งที่ฝ่ายจีนยื่นเอาไว้ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ได้แก่ข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีสำหรับเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific หรือ FTAAP) ซึ่งจะนำเอาพวกประเทศเอเปกและชาติริมชายฝั่งแปซิฟิกทั้งหลายเข้ามารวมตัวกัน จีนนั้นได้ออกแรงผลักดันครั้งใหม่ต่อข้อตกลงเรื่องการจัดตั้ง FTAAP ในการประชุมเอเปกซึ่งตนเองเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2014 ในตอนนี้เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า TPP น่าจะถึงแก่กรรมไปเสียแล้ว จีนก็จึงเร่งฉวยคว้าโอกาสอันดีเลิศสำหรับการก้าวเข้าไปในสุญญากาศที่เกิดขึ้นนี้ ด้วยการเสนอ FTAAP เข้าแทนที่ TPP
พิจารณากันในภาพรวมแล้ว คณะบริหารทรัมป์จะต้องตัดสินเลือกระหว่าง ก) การหวนกลับมาพิจารณา TPP อีกครั้งหนึ่ง (ซึ่งจะเป็นยาขมที่ยากจะกลืนลงคอเสียแล้ว), ข) การเข้าไปร่วมใน RCEP, ค) การเข้าไปร่วมใน FTAAP, หรือ ง) การวางตัวถอยห่างไกลออกมาจากกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 3 อย่างนี้ และแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือถ้าหากจะกล่าวให้แตกต่างไปจากนี้ ก็สามารถพูดได้ว่า คณะบริหารทรัมป์จำเป็นที่จะต้องทำการตัดสินใจอันยากลำบาก ระหว่างการพลิกฟื้นชุบชีวิต TPP ขึ้นมาอีกครั้ง หรือไม่ก็ต้องเข้าทำงานเป็นหุ้นส่วนกับจีนในแผนแม่บท FTA สักแผนหนึ่ง
ดูเหมือนว่าการดำเนินการทางการทูตด้านการค้าของจีน จะสามารถพลิกแพลงเอาชนะเหนือสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้เสียแล้ว เมื่อพันธมิตรผู้เหนียวแน่นมั่นคงของสหรัฐฯรายหนึ่งอย่างออสเตรเลีย ยังออกมาส่งเสียงสนับสนุนอย่างเปิดเผยต่อการจัดตั้ง FTAAP ที่มีจีนเป็นผู้นำ (ดูรายงานข่าวในไฟแนนเชียลไทมส์ เรื่อง Australia snubs US by backing China push for Asian trade deal (ออสเตรเลียเชิดหน้าใส่สหรัฐฯโดยประกาศหนุนจีนผลักดันข้อตกลงการค้าสำหรับเอเชีย) (ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ft.com/content/23cdd7d4-abba-11e6-9cb3-bb8207902122)
เหล่าประเทศในเอเชียทั้งหลายต่างสังเกตเห็นกันแล้วว่า ทีมงานเปลี่ยนผ่านรับมอบตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ ได้เริ่มต้นบอกกล่าวมุ่งลดทอนลู่ทางโอกาสที่จะเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมา การกระทำเช่นนี้นับว่ามีเหตุผลอันเหมาะสมทีเดียว ในอีกด้านหนึ่ง เรื่องที่ทรัมป์ข่มขู่ที่จะขึ้นอัตราภาษีศุลกากรซึ่งจัดเก็บจากสินค้าจีนที่นำเข้าสหรัฐฯไปอีก 45% รวดนั้น หากนำเอามาปฏิบัติกันจริงๆ แล้วในที่สุดมันก็จะหมายถึงการที่สินค้าจำนวนมหึมาซึ่งห้างวอล-มาร์ต (Wal-Mart) จำหน่ายอยู่ในสหรัฐฯจะต้องปรับราคาสูงขึ้นไป และผู้สูญเสียตัวจริงก็จะรวมถึงบรรดาคนงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ออกเสียงแกนหลักของทรัมป์นั่นเอง
ตามรายงานข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal) (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.wsj.com/articles/u-s-workers-to-lose-in-china-trade-war-1479188319) สมมุติฐานต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการออกมาข่มขู่จีนในเรื่องนี้ของทรัมป์ไม่ได้ยืนอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเลย โดยวอลล์สตรีทเจอร์นัลชี้ว่า “การประกาศลงโทษอย่างเหวี่ยงแห (ขึ้นภาษีต่อสินค้าเข้าจากจีนทุกอย่าง 45% รวด) –สมมุติว่าพวกรีพับลิกันในรัฐสภายินยอมเห็นพ้องเดินหน้าไปด้วย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สามารถรับประกันได้ว่าจะเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนเลย— ทั้งหลายทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นก็คือรับประกันได้ว่าจะต้องเกิดความตื่นตระหนกขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลก, เกิดความโกลาหลในสายโซ่อุปทาน (supply-chain) ทั่วทั้งริมชายฝั่งแปซิฟิก, และกระทั่งสร้างความเจ็บปวดอย่างล้ำลึกเข้าไปอีกในหมู่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งมิสเตอร์ทรัมป์ให้คำมั่นสัญญาที่จะเข้ามากอบกู้ช่วยชีวิต” ชัดเจนทีเดียวว่าหากเกิดสงครามการค้าขึ้น ทั้งสองประเทศต่างจะต้องบาดเจ็บกันทั้งคู่ ขณะที่จีนจะต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกไปอย่างมหาศาล ทว่า “ภาคบริษัทของอเมริกาก็เป็นจุดอ่อนที่อาจถูกตอบโต้แก้เผ็ด” โดยที่ โกลบอลไทมส์ (Global Times) หนังสือพิมพ์ในเครือของเหรินหมินรึเป้า ปากเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็ออกมาพูดอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการตอบโต้แก้เผ็ดจากจีนที่น่าจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้: “คำสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้งฝูงหนึ่ง จะถูกเปลี่ยนไปซื้อแอร์บัสแทน ยอดขายรถยนต์สหรัฐฯและไอโฟนในจีนจะเสียหายลดลงฮวบฮาบ ส่วนถั่วเหลืองและข้าวโพดสหรัฐฯที่นำเข้าจีนก็จะหยุดชะงักลง”
ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่ทรัมป์จะอยู่ในฐานะที่ใกล้เคียงกับการให้คำมั่นสัญญาใดๆ แก่นายกรัฐมนตรีอาเบะของญี่ปุ่น –ยกเว้นแต่ในเรื่องทั่วๆ ไปเท่านั้น ชะตากรรมของ “การปักหมุดหวนกลับคืนสู่เอเชีย” ของสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนในขณะนี้ แต่ในเวลาเดียวกัน จีนก็กำลังใช้ความพยายามอย่างมากมายและกระตือรือร้นในการสร้างสายสัมพันธ์ต่อเชื่อมกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ สี จิ้นผิง บอกกับ โดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างสนทนากันทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ที่ 14 พ.ย. (ตามเวลาวอชิงตัน ขณะที่เวลาในปักกิ่งคือล่วงเลยเข้าสู่วันอังคารที่ 15 พ.ย.แล้ว –ผู้แปล) ว่า “ทางเลือกเพียงอย่างเดียว” ที่มีอยู่คือประเทศทั้งสองจะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้หากพูดกันเป็นการทั่วไปแล้ว ความร่วมมือกันในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐนั้น ถือเป็นเรื่องการเลือกสรรของแต่ละรัฐ ทว่าในบริบทของความสัมพันธ์จีน-อเมริกันแล้ว มันกำลังกลายเป็นบทบัญญัติสำหรับสหรัฐฯทีเดียว ที่จะต้องมีความร่วมมือกับจีน (ดูรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ดิ ออสเตรเลียน ที่พาดหัวว่า US election: China pushing trade deals as American pivot to Asia fades. เลือกตั้งสหรัฐฯ: จีนผลักดันข้อตกลงการค้าขณะ ‘ปักหมุดสู่เอเชีย’ของอเมริกาคลายมนตร์ขลัง http://www.theaustralian.com.au/national-affairs/foreign-affairs/us-election-china-pushing-trade-deals-as-american-pivot-to-asia-fades/news-story/97c3590909486f80f0f24c324c274c22)
ในเวลาเดียวกันนี้ จีนก็กำลังแสดงท่าทีรุกคืบหนักในการอ้าแขนต้อนรับทรัมป์ ในวันเดียวกับที่ทรัมป์นั่งลงสนทนากับอาเบะนั้นเอง บทบรรณาธิการชิ้นหลักของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ ได้ยื่นข้อเสนอแนะอย่างเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ต่อว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นการตัดสินเชิงยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจ โดยบอกว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลอย่างเหลือเกินสำหรับสหรัฐฯที่จะกลายเป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB)
บทบรรณาธิการชิ้นนี้ของไชน่าเดลี่ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.chinadaily.com.cn/opinion/2016-11/17/content_27400943.htm) เสนอแนะทรัมป์เอาไว้ดังนี้: “ธนาคาร AIIB วางแผนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเติมเต็มส่วนที่ยังไม่เพียงพอในความสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศซึ่งให้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการต่อเชื่อมโยงกันระดับภูมิภาคในเอเชีย การลงทุนที่เสนอกันออกมาทั้งในภาคการขนส่ง, พลังงาน, และโทรคมนาคมของเอเชีย ยังเป็นการเสนอโอกาสทางธุรกิจอันใหญ่โตมหึมาให้แก่บริษัททั้งหลายจากบรรดาประเทศสมาชิก ... ทว่าดังที่คำพังเพยของจีนบทหนึ่งกล่าวเอาไว้ว่า “ไม่สายเกินไปหรอกที่จะซ่อมแซมคอกหลังจากแกะตัวหนึ่งสูญหายไปแล้ว” สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีอะไรต้องสูญเสียเลยในการเข้ามาเป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคาร AIIB”
จีนดูเหมือนกำลังได้รับสัญญาณหลายประการซึ่งบ่งบอกว่า ทรัมป์น่าจะมีความคิดเปิดกว้างสำหรับเรื่องสมาชิกภาพของ AIIB ขณะที่ผู้บริหารใหญ่คนหนึ่งที่เป็นคนจีนของธนาคารแห่งนี้ ก็ได้บ่งบอกเป็นนัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์ไชน่าเดลี่ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน [2] เวลานี้ธนาคาร AIIB กำลังกลายเป็นเสาหลักเสาหนึ่งของ “แผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road Initiative) [3] ซึ่งอินเดียได้ตัดสินใจอย่างโง่เขลาที่จะคว่ำบาตรไม่เข้าร่วมด้วย
ปีศาจตนที่กำลังหลอกหลอนพวกข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียอยู่ในเวลานี้ก็คือ คณะบริหารทรัมป์อาจจะตัดสินใจเชื่อมต่อกับธนาคาร AIIB และแผนการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งจะเป็นการสร้างผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้แก่พวกบริษัทของสหรัฐฯ ดังนั้น พื้นดินข้างใต้เท้าของนโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย [4] กำลังเกิดการเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬาร การทูตของอินเดียกำลังสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์แห่งชาติ จากการมุ่งโฟกัสอย่างมากมายเหลือล้นจนเกินไปยังเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) แทนที่จะให้ความสนใจกับเรื่องภูมิเศรษฐศาสตร์ (geoeconomics)
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำตุรกี (ปี 1998-2001) ปัจจุบันเขาเขียนอยู่ในบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline) รวมทั้งเขียนให้เอเชียไทมส์เป็นประจำตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา
ข้อเขียนชิ้นนี้มาจากบล็อก “อินเดียน พันช์ไลน์” (Indian Punchline)
หมายเหตุผู้แปล
[1] รายงานข่าวของสื่อมวลชนหลังจากการพบปะหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน ไม่ค่อยมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนัก
ตามรายงานของรอยเตอร์บอกว่า อาเบะออกมาแถลงข่าวว่า เขามีความมั่นอกมั่นใจว่าสามารถสร้างความไว้วางใจกับทรัมป์ขึ้นมาได้ ภายหลังทั้งคู่พบปะหารือกัน โดยที่เขามุ่งขอความกระจ่างเกี่ยวกับคำพูดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งก่อให้เกิดความข้องใจสงสัยขึ้นในบรรดาชาติที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่ยาวนานของอเมริกัน
ตามรายงานข่าวของรอยเตอร์บอกว่า ภายหลังการหารือเป็นเวลา 90 นาทีที่อาคารทรัมป์ ทาวเวอร์ แล้ว อาเบะพูดถึงทรัมป์ว่าเป็นผู้นำที่สามารถไว้วางใจได้ ถึงแม้เขากล่าวว่าเขาจะไม่เปิดเผยรายละเอียดของการพูดจากัน เพราะการสนทนาคราวนี้อยู่ในลักษณะไม่เป็นทางการ
“การพูดจากันคราวนี้ทำให้ผมรู้สึกมั่นใจว่าเราสามารถสร้างความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจกันขึ้นมาได้” อาเบะกล่าว โดยบรรยายถึงการสนทนากันคราวนี้ว่า “ตรงไปตรงมา” และมีขึ้นใน “บรรยากาศอันอบอุ่น” เขากล่าวเสริมด้วยว่า “กลุ่มพันธมิตรใดๆ ย่อมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ถ้าหากปราศจากความไว้วางใจกัน เวลานี้ผมเชื่อมั่นแล้วว่า ว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์เป็นผู้นำที่สามารถไว้วางใจได้”
เขากล่าวว่า ได้ตกลงกับทรัมป์ที่จะพบปะกันอีก “ในเวลาที่สะดวกโดยที่จะครอบคลุมเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่านี้มากมาย” ทั้งนี้รอยเตอร์บอกว่าไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการพบปะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์หรือไม่
(ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.atimes.com/article/abe-trump-meeting-says-hes-confident-trust-can-built/)
[2] เรื่องที่สหรัฐฯในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์ อาจจะเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เอเชียไทมส์ได้รายงานข่าวเอาไว้ดังนี้:
มีเสียงเชียร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้สหรัฐฯในยุคทรัมป์เข้าร่วม AIIB
โดย เอเชียไทมส์ และเอเจนซีส์
Growing campaign for US to join AIIB under Trump
By Asia Times and agencies
16/11/2016
กำลังบังเกิดความคาดหวังกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าสหรัฐฯจะเข้าร่วมธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่มีจีนเป็นผู้นำ ภายหลังการเลือกตั้งในสหรัฐฯที่ทำให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนใหม่
สื่อมวลชนหลากหลายซึ่งรายงานข่าวในทั้งสองประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้อ้างอิงระบุถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ ขณะเดียวกับที่ส่งเสริมสนับสนุนทัศนะความคิดเห็นที่ว่า การที่คณะบริหารบารัค โอบามา คัดค้านการจัดตั้งธนาคาร AIIB นั้น คือความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์
ความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นมาจาก เกิ่ง ส่วง (Geng Shuang) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน โดยในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่เมื่อวันอังคาร (15 พ.ย.) ได้อ้างคำพูดของเขาที่กล่าวว่า “มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร” ถ้าหากสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นชาติเจ้าของเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดของโลก จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในธนาคาร AIIB “เรื่องนี้ยังถือเป็นท่าทีของจีนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นทีแรกๆ แล้ว” เขากล่าวต่อ
การแสดงความเห็นของเขาคราวนี้มีขึ้นภายหลังการให้สัมภาษณ์ของ จิน ลี่ฉิว์น (Jin Liqun) ประธานของธนาคาร AIIB ซึ่งได้รับการรายงานเผยแพร่อย่างกว้างขวาง โดยที่เขากล่าวว่า สหรัฐฯสามารถที่จะขบคิดพิจารณาใหม่อีกครั้ง เรื่องที่ยังลังเลที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งของ AIIB ในเมื่อทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเช่นนี้
“ผมได้ยินเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งของคณะบริหารโอบามา พูดอะไรดีๆ เกี่ยวกับธนาคาร AIIB และหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ชนะ ผมได้รับการบอกเล่าว่าคนจำนวนมากในทีมงานของเขามีความเห็นกันว่า โอบามาทำไม่ถูกหรอกที่ไม่เข้าร่วม AIIB” จินกล่าวในการให้สัมภาษณ์เหรินหมินรึเป้า ปากเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
“ดังนั้นเราจึงไม่สามารถปฏิเสธได้หรอกว่า รัฐบาลสหรัฐฯชุดใหม่กำลังรับรอง AIIB หรือกำลังแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในฐานะสมาชิก”
มีรายงานว่า ในสัปดาห์ที่แล้ว ที่ปรึกษาระดับท็อปผู้หนึ่งของทรัมป์กล่าวว่า การที่คณะบริหารโอบามาคัดค้านธนาคาร AIIB คือ “ความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์”
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเสนอเรื่องการจัดตั้งธนาคารแห่งนี้เมื่อ 2 ปีก่อน และ AIIB เริ่มต้นดำเนินงานในเดือนมกราคมปีนี้ โดยที่มีประเทศสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งรวม 57 ราย และมีเงินทุนที่ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะลงขันด้วยรวม 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ทางธนาคารวางแผนการจะลงทุนในโครงการต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้
กลุ่มชาติสมาชิกใหม่ๆ กลุ่มต่อไปของ AIIB ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งชาติพันธมิตรสำคัญยิ่งของสหรัฐฯอย่างแคนาดาด้วย จะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2017 ทั้งนี้กำหนดเวลาเส้นตายสำหรับการยื่นเข้าเป็นชาติสมาชิกใหม่ของกลุ่มล่าสุดนี้ คือวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา
สำคัญประเทศสำคัญๆ ที่สุดซึ่งยังคงไม่ได้เข้าร่วมในธนาคาร AIIB ได้แก่ ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ
“ในตอนที่ก่อตั้งธนาคาร AIIB ขึ้นมานั้น สหรัฐฯ ... มองหน่วยงานใหม่แห่งนี้ว่าจะกลายเป็นภัยคุกคามต่อฐานะครอบงำของตนและต่อความสำคัญของตนในระเบียบเศรษฐกิจโลก ... ทว่าเราเชื่อว่ายังคงมีช่องมีที่ทางอย่างเพียงพอในเวทีเศรษ,กิจของโลก สำหรับให้หน่วยงานต่างๆ มากมายดำเนินงานได้” เหรินหมินรึเป้าอ้างคำให้สัมภาษณ์ของประธานจิน
(เก็บความจาก http://www.atimes.com/article/growing-campaign-us-join-aiib-trump/)
[3] “แผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road Initiative ใช้อักษรย่อว่า OBOR) หรือบางทีก็เรียกขานกันในภาษาอังกฤษว่า The Belt and Road (ใช้อักษรย่อว่า B&R) ตลอดจนเรียกกันในชื่อเต็มว่า “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” (The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road) เป็นยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการพัฒนาซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ซึ่งมุ่งโฟกัสไปที่การต่อเชื่อมโยงและความร่วมมือในหมู่ประเทศต่างๆ ซึ่งที่สำคัญแล้วตั้งอยู่ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ ส่วนอื่นๆ ของมหาทวีปยูเรเชีย
แผนการริเริ่มนี้มีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน ได้แก่ แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (Silk Road Economic Belt ใช้อักษรย่อว่า SREB) ที่อยู่ทางภาคพื้นดิน และเส้นทางสายไหมทางทะเล (the 21st-century Maritime Silk Road หรือ MSR) ทั้งนี้ SREB ได้รับการประกาศเปิดตัวในเดือนกันยายน 2013 และในเดือนตุลาคม 2013 ก็มีการเปิดตัว MSR
พื้นที่ครอบคลุมของแผนการริเริ่มนี้ ที่สำคัญแล้วคืออยู่ในเอเชียและยุโรป รวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ประเทศ ขณะเดียวกันก็ครอบคลุมไปถึงภูมิภาคโอเชียเนียและแอฟริกาตะวันออกอีกด้วย การดำเนินการในแผนการริเริ่มนี้ยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน ขณะที่มีเม็ดเงินลงทุนรวมทั้งหมดก็มีการคาดหมายกันไว้แตกต่างกันมากตั้งแต่ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯไปจนกระทั่งถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับองค์ประกอบส่วนที่เป็นแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมนั้น ประกอบด้วยประเทศตั้งๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมสายโบราณดั้งเดิม ซึ่งออกจากจีนผ่านเอเชียกลาง, เอเชียตะวันตก, ตะวันออกกลาง, ไปจนถึงยุโรป แผนการริเริ่มนี้เรียกร้องให้บูรณาการภูมิภาคเหล่านี้เข้าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีการผนึกประสานกัน ด้วยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ, เพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, และการขยายการค้า นอกเหนือจากเขตดังกล่าวนี้ซึ่งส่วนใหญ่เทียบเคียงได้กับเส้นทางสายไหมในประวัติศาสตร์แล้ว พื้นที่อีกส่วนหนึ่งซึ่งกล่าวกันว่าจะถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนขยายของ “แถบ” นี้ด้วย ได้แก่ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทางด้านองค์ประกอบที่เป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นแผนการริเริ่มซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความร่วมมือทางด้านการลงทุนและการช่วยเหลือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, โอเชียเนีย, และแอฟริกาเหนือ ผ่านทางผืนน้ำใหญ่ที่อยู่ประชิดติดกับภูมิภาคเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ ทะเลจีนใต้, มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, และพื้นที่กว้างขวางของมหาสมุทรอินเดีย
นอกจากนี้ ภูมิภาคในแอฟริกาตะวันออก (โดยเฉพาะแซนซิบาร์) จะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย ภายหลังมีการปรับปรุงยกระดับท่าเรือต่างๆ ในท้องถิ่น และมีการก่อสร้างทางรถไฟรางมาตรฐานสมัยใหม่เชื่อมระหว่างกรุงไนโรบี เมืองหลวงของเคนยา กับกรุงกัมปาลา เมืองหลวงของยูกันดาแล้ว
ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor หรือ CPEC) และระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ-จีน-อินเดีย-พม่า (Bangladesh-China-India-Myanmar (BCIM) Economic Corridor) ได้รับการจำแนกอย่างเป็นทางการว่าเป็นโครงการซึ่งมี “ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CPEC มักถูกถือเป็นตัวเชื่อมระหว่างเส้นทางสายไหมทางทะเลและเส้นทางสายไหมทางบกของจีน โดยที่เมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar)ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน ถือเป็นจุดสำคัญที่สุดของโครงการ CPEC
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
[4] นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) ของอินเดีย เป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ซึ่งเป็นการปรับปรุงและสืบต่อจากนโยบาย “มองตะวันออก” (Look East) ที่ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1991 ในยุครัฐบาลนายกรัฐมนตรี พี.วี. นราซิมฮา ราว แต่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังในยุครัฐบาลชุดต่อๆ มาทั้งของนายกรัฐมนตรี อตัล พิหารี วัชปายี และ นายกรัฐมนตรีมานโมหัน ซิงห์ ทั้งนี้ในตอนแรกๆ นั้น นโยบาย “มองตะวันออก” มุ่งเน้นที่การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นกับพวกชาติเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในเวลาต่อมาก็ได้เปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งสำหรับการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือกันในทางด้านความมั่นคงกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเวียดนาม และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นโยบาย “มองตะวันออก” เป็นตัวแทนความพยายามของอินเดียในการบ่มเพาะสร้างสมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวางกับชาติต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนฐานะของอินเดียในการเป็นมหาอำนาจหนึ่งของภูมิภาค และคอยทัดทานฐานะอิทธิพลทางยุทธศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งแต่ขึ้นมาบริหารประเทศใหม่ๆ คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโมดี ก็ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับพวกเพื่อนบ้านในสมาคมอาเซียนและเอเชียตะวันออก เป็นนโยบายการต่างประเทศที่ทรงความสำคัญลำดับต้น รวมทั้งต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์นี้ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ในช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐฯประกาศ “ปักหมุดหวนกลับมาให้ความสำคัญต่อเอเชีย” ในเดือนสิงหาคม 2014 รัฐมนตรีต่างประเทศ สุชมา สวาราช (Sushma Swaraj) ได้เสนอทิศทางมุมมองใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า นโยบาย “ลงมือมุ่งสู่ตะวันออก” (Act East) เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าอินเดียจะต้องแสดงบทบาทเชิงรุกในภูมิภาคแถบนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีก
(ข้อมูลจาก Wikipedia)