(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Did the US end military drills over Duterte’s China pivot?
By Noel Tarrazona
19/10/2016
การซ้อมรบร่วมทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเมื่อวันอังคารที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ว่านี่คือการฝึกร่วมครั้งสุดท้ายระหว่างกองทหารของทั้งสองประเทศจริงๆ หรือ? คำถามเช่นนี้ยังคงปรากฏขึ้นมา สืบเนื่องจากท่าทีคำแถลงอันสับสนของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - วันอังคารที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา มีความหมายความสำคัญไม่ใช่น้อยทีเดียวสำหรับฟิลิปปินส์ มันเป็นวันสิ้นสุดการฝึกซ้อมทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ก่อนกำหนด จากที่เคยวางแผนเอาไว้ว่าจะปิดในวันที่ 12 ตุลาคม
เรือรบและเรือสนับสนุนของกองทัพเรือสหรัฐฯจำนวน 4 ลำ ได้แก่ ยูเอสเอ็นเอส ฟอลล์ ริเวอร์ (USNS Fall River), ยูเอสเอส กรีน เบย์ (USS Green Bay), ยูเอสเอส บอนฮอมม์ ริชาร์ด (USS Bonhomme Richard), และ ยูเอสเอส เจอร์มันทาวน์ (USS Germantown) ได้ออกไปจากท่าเรือซูบิก (Subic Bay) ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
เหตุผลแท้จริงของการเปลี่ยนแผนคราวนี้อาจจะเป็นอย่างอื่น ทว่าสำหรับชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากตลอดจนโลกภายนอกแล้ว ต่างพากันเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้าเข้าคำแถลงหลายครั้งหลายหนในช่วงไม่นานนี้ของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ที่ว่า ครั้งนี้จะเป็นการซ้อมรบร่วมครั้งสุดท้ายของประเทศทั้งสอง
ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคมเช่นเดียวกัน รัฐมนตรีกลาโหม เดลฟิน ลอเรนซานา (Delfin Lorenzana) ออกมาแถลงว่า ฟิลิปปินส์สามารถที่จะอยู่รอดต่อไปได้ถึงแม้ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยที่ฟิลิปปินส์สามารถแสวงหาความสนับสนุนจากพวกประเทศอย่างเช่นออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้
ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดีดูเตอรืเต ได้กล่าวด้วยความฉุนเฉียว ไล่ให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ “ไปลงนรก” จากการที่โอบามาตั้งคำถามแสดงความข้องใจต่อสงครามปราบปรามยาเสพติดของเขาไม่หยุดไม่หย่อน พร้อมกันนั้นดูเตอร์เตยังขู่ที่จะตัดความผูกพันต่างๆ ที่มีอยู่กับสหรัฐฯ แถมยังบอกให้วอชิงตันนำเอาความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่แดนตากาล็อกออกไปไว้ที่อื่น –เขาพูดออกมาเช่นนี้ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐฯกำลังจัดสรรเงินจำนวนรวม 90 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นความช่วยเหลือทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ในรูปของการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน และในรูปของการจัดหาทรัพย์สินทางทหารอันสมัยสมัยจำนวนหนึ่งมาให้ ดูเตอร์เตยังได้แจ้งกับกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ว่า การซ้อมรบกับสหรัฐฯในปีนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็แถลงเช่นกันว่า ข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม (Enhanced Defense Cooperation Agreement หรือ EDCA) ระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ ตลอดจนการซ้อมรบร่วมต่างๆ ของประเทศทั้งสอง กำลังจะถูกประเมินทบทวนกันใหม่ โดยเฉพาะ EDCA นั้น มีลักษณะเป็นข้อตกลงฝ่ายบริหาร (ไม่ได้ผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากรัฐสภา) และเป็นข้อตกลงฉบับที่เปิดทางให้กองทหารอเมริกันจำนวนเพิ่มมากขึ้นเข้ามาดำเนินการฝึกร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์
เรสติตูโต ปาดิลลา (Restituto Padilla) โฆษกของกองทัพฟิลิปปินส์แถลงว่า ทางคณะเจ้าหน้าที่กลาโหมจะประเมินทบทวนคุณประโยชน์ของการฝึกเหล่านี้ และจะแจ้งให้สหรัฐฯทราบว่าฝ่ายฟิลิปปินส์ตัดสินใจจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ในการฝึกร่วมครั้งหลังสุดนี้มีทหารสหรัฐฯประมาณ 1,400 คน และทหารฟิลิปปินส์ 400 คนเข้าร่วม
มีข้อกังขากันว่า ใช่หรือไม่ที่ในท่ามกลางความบ้าของดูเตอร์เตซึ่งยังคงพล่ามพูดอะไรยืดยาวต่อไปเรื่อยๆ นั้น เขามีลูกไม้มีกลเม็ดอะไรบางอย่างซุกซ่อนอยู่? ในท่ามกลางวาทกรรมต่อต้านอเมริกัน เขาก็ยังคงพูดว่าฟิลิปปินส์จะธำรงรักษาสนธิสัญญาป้องกันและความเป็นพันธมิตรทางทหารที่มีอยู่ทั้งหลายเอาไว้ ลอเรนซานาก็เช่นกัน แถลงว่าฟิลิปปินส์จะยังคงเคารพปฏิบัติตามสนธิสัญญาร่วมป้องกันด้านกลาโหมระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ ปี 1951 (1951 Mutual Defense Treaty) ต่อไป หรือว่าดูเตอร์เตกำลังสร้างแรงกดดันสหรัฐฯเพื่อให้วอชิงตันยินยอมอ่อนข้อให้ประโยชน์แก่ฟิลิปปินส์เพิมมากขึ้น?
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่เกิดขึ้นจากคำแถลงที่ขัดแย้งกันเองของดูเตอร์เต ความผูกพันทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯก็ประสบกับอนาคตอันไม่มีความแน่นอน แล้วยังยิ่งไม่แน่นอนหนักข้อขึ้นไม่อีก จากการที่ประธานาธิบดีหัวแข็งแนวคิดอิสระผู้นี้ กำลังพูดจาเกี้ยวพาจีนและรัสเซีย
แผนการของสหรัฐฯที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างทางทหารขึ้น 5 แห่งตามพื้นที่ส่วนต่างๆ ของฟิลิปปินส์ เวลานี้ดูจะได้รับความกระทบกระเทือนแล้ว สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง EDCA ซึ่งประเทศทั้ง 2 ได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2014 ในยุคของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน
เวลานี้ชาวอเมริกันจำนวนที่พำนักอาศัยและทำธุรกิจอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่างเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการเหล่านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดของ เอบบ์ ฮินช์ลิฟฟ์ (Ebb Hinchliffe) ผู้อำนวยการบริหารของหอการค้าอเมริกัน (American Chamber of Commerce) ในฟิลิปปินส์ ที่กล่าวว่า การแสดงความเห็นต่างๆ ของดูเตอร์เตทำให้ชาวอเมริกันและธุรกิจต่างๆ ของสหรัฐฯในฟิลิปปินส์พากันว้าวุ่นเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา
กระนั้นในส่วนอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนชาวฟิลิปปินส์เอง โพลสำรวจความคิดเห็นของสำนัก “โซเชียล เวเธอร์ สเตชั่นส์” (Social Weather Stations) ซึ่งสอบถามจากผู้ตอบคำถาม 1,200 คนระหว่างวันที่ 24 ถึง 27 กันยายน พบว่าร้อยละ 76 ของผู้ตอบกล่าวว่าพวกเขาไว้เนื้อเชื่อใจสหรัฐฯ และมีเพียง 22% เท่านั้นที่แสดงความไว้วางใจจีน
นอกจากนั้นยังมีชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์อีกประมาณ 4 ล้านคนที่กำลังพำนักอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และมีคนสัญชาติอเมริกันราว 220,000 คนอาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ในฐานะที่เป็นคนต่างด้าวซึ่งตั้งถิ่นพำนักในฟิลิปปินส์ หรือเป็นผู้เกษียณอายุที่ไปใช้ชีวิตในแดนตากาล็อก ไม่เพียงเท่านั้น ตามตัวเลขของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังมีนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันอีก 650,000 คนเดินทางไปเที่ยวในฟิลิปปินส์ในแต่ละปี
เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้ดูเตอร์เตเรียกร้องทหารสหรัฐฯถอนออกไปจากฟิลิปปินส์เสียดีกว่า กล่าวกันว่าเนื่องจากความกังวลของเขาที่มีต่อความปลอดภัยของพวกนักท่องเที่ยวอเมริกันที่เข้ามาเยือนแดนตากาล็อก ทั้งนี้กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในแถบมินดาเนาทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์อันเป็นพื้นที่ซึ่งไร้ความสงบสุข กำลังลักพานักท่องเที่ยวไปเรียกค่าไถ่ และถ้าไม่ได้รับเงินตามกำหนดเส้นตายก็จะฆ่านักท่องเที่ยวเหล่านี้ทิ้งอย่างเหี้ยมโหด
ชาวบ้านในแถบนั้นจำนวนมากต่างพากันประหลาดใจมากต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่ทหารสหรัฐฯกับทหารฟิลิปปินส์จัดการซ้อมรบร่วมกันในบริเวณดังกล่าวมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว แต่กลุ่มอาบูไซยาฟก็ยังคงสามารถพุ่งเป้าหมายเล่นงานนักท่องเที่ยวได้ต่อไป
ทว่าคำอธิบายประการหนึ่งก็คือ ภายใต้ข้อกำหนดตามกฎหมายของฟิลิปปินส์ บทบาทของทหารสหรัฐฯจึงจำกัดอยู่เพียงแค่การให้คำแนะนำแก่ทหารฟิลิปปินส์ถึงวิธีการในการสู้รบกับกลุ่มอาบูไซยาฟเท่านั้น ไม่สามารถลงมือร่วมรบด้วยตนเองได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกอะไรหรอกที่กลุ่มอาบูไซยาฟยังคงสามารถหลบหนีหลีกเร้นอยู่ได้จนกระทั่งบัดนี้
(ข้อเขียนชิ้นนี้มาจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ เอเชียไทมส์จึงไม่ได้รับผิดชอบต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศอิสระ และเป็นอาจารย์สอนในสถาบันการศึกษาระดับหลังปริญญาตรี
Did the US end military drills over Duterte’s China pivot?
By Noel Tarrazona
19/10/2016
การซ้อมรบร่วมทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเมื่อวันอังคารที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่ว่านี่คือการฝึกร่วมครั้งสุดท้ายระหว่างกองทหารของทั้งสองประเทศจริงๆ หรือ? คำถามเช่นนี้ยังคงปรากฏขึ้นมา สืบเนื่องจากท่าทีคำแถลงอันสับสนของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - วันอังคารที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา มีความหมายความสำคัญไม่ใช่น้อยทีเดียวสำหรับฟิลิปปินส์ มันเป็นวันสิ้นสุดการฝึกซ้อมทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ก่อนกำหนด จากที่เคยวางแผนเอาไว้ว่าจะปิดในวันที่ 12 ตุลาคม
เรือรบและเรือสนับสนุนของกองทัพเรือสหรัฐฯจำนวน 4 ลำ ได้แก่ ยูเอสเอ็นเอส ฟอลล์ ริเวอร์ (USNS Fall River), ยูเอสเอส กรีน เบย์ (USS Green Bay), ยูเอสเอส บอนฮอมม์ ริชาร์ด (USS Bonhomme Richard), และ ยูเอสเอส เจอร์มันทาวน์ (USS Germantown) ได้ออกไปจากท่าเรือซูบิก (Subic Bay) ของฟิลิปปินส์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
เหตุผลแท้จริงของการเปลี่ยนแผนคราวนี้อาจจะเป็นอย่างอื่น ทว่าสำหรับชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากตลอดจนโลกภายนอกแล้ว ต่างพากันเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้าเข้าคำแถลงหลายครั้งหลายหนในช่วงไม่นานนี้ของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ที่ว่า ครั้งนี้จะเป็นการซ้อมรบร่วมครั้งสุดท้ายของประเทศทั้งสอง
ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคมเช่นเดียวกัน รัฐมนตรีกลาโหม เดลฟิน ลอเรนซานา (Delfin Lorenzana) ออกมาแถลงว่า ฟิลิปปินส์สามารถที่จะอยู่รอดต่อไปได้ถึงแม้ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยที่ฟิลิปปินส์สามารถแสวงหาความสนับสนุนจากพวกประเทศอย่างเช่นออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้
ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดีดูเตอรืเต ได้กล่าวด้วยความฉุนเฉียว ไล่ให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ “ไปลงนรก” จากการที่โอบามาตั้งคำถามแสดงความข้องใจต่อสงครามปราบปรามยาเสพติดของเขาไม่หยุดไม่หย่อน พร้อมกันนั้นดูเตอร์เตยังขู่ที่จะตัดความผูกพันต่างๆ ที่มีอยู่กับสหรัฐฯ แถมยังบอกให้วอชิงตันนำเอาความช่วยเหลือทางทหารที่ให้แก่แดนตากาล็อกออกไปไว้ที่อื่น –เขาพูดออกมาเช่นนี้ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐฯกำลังจัดสรรเงินจำนวนรวม 90 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นความช่วยเหลือทางทหารแก่ฟิลิปปินส์ ในรูปของการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน และในรูปของการจัดหาทรัพย์สินทางทหารอันสมัยสมัยจำนวนหนึ่งมาให้ ดูเตอร์เตยังได้แจ้งกับกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ว่า การซ้อมรบกับสหรัฐฯในปีนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว
ทางด้านกองทัพฟิลิปปินส์ก็แถลงเช่นกันว่า ข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม (Enhanced Defense Cooperation Agreement หรือ EDCA) ระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ ตลอดจนการซ้อมรบร่วมต่างๆ ของประเทศทั้งสอง กำลังจะถูกประเมินทบทวนกันใหม่ โดยเฉพาะ EDCA นั้น มีลักษณะเป็นข้อตกลงฝ่ายบริหาร (ไม่ได้ผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากรัฐสภา) และเป็นข้อตกลงฉบับที่เปิดทางให้กองทหารอเมริกันจำนวนเพิ่มมากขึ้นเข้ามาดำเนินการฝึกร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์
เรสติตูโต ปาดิลลา (Restituto Padilla) โฆษกของกองทัพฟิลิปปินส์แถลงว่า ทางคณะเจ้าหน้าที่กลาโหมจะประเมินทบทวนคุณประโยชน์ของการฝึกเหล่านี้ และจะแจ้งให้สหรัฐฯทราบว่าฝ่ายฟิลิปปินส์ตัดสินใจจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ในการฝึกร่วมครั้งหลังสุดนี้มีทหารสหรัฐฯประมาณ 1,400 คน และทหารฟิลิปปินส์ 400 คนเข้าร่วม
มีข้อกังขากันว่า ใช่หรือไม่ที่ในท่ามกลางความบ้าของดูเตอร์เตซึ่งยังคงพล่ามพูดอะไรยืดยาวต่อไปเรื่อยๆ นั้น เขามีลูกไม้มีกลเม็ดอะไรบางอย่างซุกซ่อนอยู่? ในท่ามกลางวาทกรรมต่อต้านอเมริกัน เขาก็ยังคงพูดว่าฟิลิปปินส์จะธำรงรักษาสนธิสัญญาป้องกันและความเป็นพันธมิตรทางทหารที่มีอยู่ทั้งหลายเอาไว้ ลอเรนซานาก็เช่นกัน แถลงว่าฟิลิปปินส์จะยังคงเคารพปฏิบัติตามสนธิสัญญาร่วมป้องกันด้านกลาโหมระหว่างสหรัฐฯกับฟิลิปปินส์ ปี 1951 (1951 Mutual Defense Treaty) ต่อไป หรือว่าดูเตอร์เตกำลังสร้างแรงกดดันสหรัฐฯเพื่อให้วอชิงตันยินยอมอ่อนข้อให้ประโยชน์แก่ฟิลิปปินส์เพิมมากขึ้น?
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่เกิดขึ้นจากคำแถลงที่ขัดแย้งกันเองของดูเตอร์เต ความผูกพันทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯก็ประสบกับอนาคตอันไม่มีความแน่นอน แล้วยังยิ่งไม่แน่นอนหนักข้อขึ้นไม่อีก จากการที่ประธานาธิบดีหัวแข็งแนวคิดอิสระผู้นี้ กำลังพูดจาเกี้ยวพาจีนและรัสเซีย
แผนการของสหรัฐฯที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างทางทหารขึ้น 5 แห่งตามพื้นที่ส่วนต่างๆ ของฟิลิปปินส์ เวลานี้ดูจะได้รับความกระทบกระเทือนแล้ว สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง EDCA ซึ่งประเทศทั้ง 2 ได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2014 ในยุคของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน
เวลานี้ชาวอเมริกันจำนวนที่พำนักอาศัยและทำธุรกิจอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่างเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการเหล่านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างคำพูดของ เอบบ์ ฮินช์ลิฟฟ์ (Ebb Hinchliffe) ผู้อำนวยการบริหารของหอการค้าอเมริกัน (American Chamber of Commerce) ในฟิลิปปินส์ ที่กล่าวว่า การแสดงความเห็นต่างๆ ของดูเตอร์เตทำให้ชาวอเมริกันและธุรกิจต่างๆ ของสหรัฐฯในฟิลิปปินส์พากันว้าวุ่นเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา
กระนั้นในส่วนอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนชาวฟิลิปปินส์เอง โพลสำรวจความคิดเห็นของสำนัก “โซเชียล เวเธอร์ สเตชั่นส์” (Social Weather Stations) ซึ่งสอบถามจากผู้ตอบคำถาม 1,200 คนระหว่างวันที่ 24 ถึง 27 กันยายน พบว่าร้อยละ 76 ของผู้ตอบกล่าวว่าพวกเขาไว้เนื้อเชื่อใจสหรัฐฯ และมีเพียง 22% เท่านั้นที่แสดงความไว้วางใจจีน
นอกจากนั้นยังมีชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์อีกประมาณ 4 ล้านคนที่กำลังพำนักอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ และมีคนสัญชาติอเมริกันราว 220,000 คนอาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ในฐานะที่เป็นคนต่างด้าวซึ่งตั้งถิ่นพำนักในฟิลิปปินส์ หรือเป็นผู้เกษียณอายุที่ไปใช้ชีวิตในแดนตากาล็อก ไม่เพียงเท่านั้น ตามตัวเลขของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังมีนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันอีก 650,000 คนเดินทางไปเที่ยวในฟิลิปปินส์ในแต่ละปี
เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้ดูเตอร์เตเรียกร้องทหารสหรัฐฯถอนออกไปจากฟิลิปปินส์เสียดีกว่า กล่าวกันว่าเนื่องจากความกังวลของเขาที่มีต่อความปลอดภัยของพวกนักท่องเที่ยวอเมริกันที่เข้ามาเยือนแดนตากาล็อก ทั้งนี้กลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) ในแถบมินดาเนาทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์อันเป็นพื้นที่ซึ่งไร้ความสงบสุข กำลังลักพานักท่องเที่ยวไปเรียกค่าไถ่ และถ้าไม่ได้รับเงินตามกำหนดเส้นตายก็จะฆ่านักท่องเที่ยวเหล่านี้ทิ้งอย่างเหี้ยมโหด
ชาวบ้านในแถบนั้นจำนวนมากต่างพากันประหลาดใจมากต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ทั้งๆ ที่ทหารสหรัฐฯกับทหารฟิลิปปินส์จัดการซ้อมรบร่วมกันในบริเวณดังกล่าวมาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว แต่กลุ่มอาบูไซยาฟก็ยังคงสามารถพุ่งเป้าหมายเล่นงานนักท่องเที่ยวได้ต่อไป
ทว่าคำอธิบายประการหนึ่งก็คือ ภายใต้ข้อกำหนดตามกฎหมายของฟิลิปปินส์ บทบาทของทหารสหรัฐฯจึงจำกัดอยู่เพียงแค่การให้คำแนะนำแก่ทหารฟิลิปปินส์ถึงวิธีการในการสู้รบกับกลุ่มอาบูไซยาฟเท่านั้น ไม่สามารถลงมือร่วมรบด้วยตนเองได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกอะไรหรอกที่กลุ่มอาบูไซยาฟยังคงสามารถหลบหนีหลีกเร้นอยู่ได้จนกระทั่งบัดนี้
(ข้อเขียนชิ้นนี้มาจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ส่งเรื่องมาให้ เอเชียไทมส์จึงไม่ได้รับผิดชอบต่อความคิดเห็น, ข้อเท็จจริง, หรือเนื้อหาด้านสื่อใดๆ ที่นำเสนอ)
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศอิสระ และเป็นอาจารย์สอนในสถาบันการศึกษาระดับหลังปริญญาตรี