xs
xsm
sm
md
lg

InClips: สุดฮือฮา!!ซุปเปอร์เบบี้ถือกำเนิดแล้ว หลังหมอมะกันอ้าง ทำคลอดทารกที่สร้างมาจาก “ DNA พ่อแม่ 3 คน” สำเร็จครั้งแรกในโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเจนซีส์ – “ซุปเปอร์เบบี้” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกแล้ว หลังจากที่นายแพทย์สหรัฐฯ จอห์น จาง( John Zhang) จากคลินิกเชี่ยวชาญการวางแผนครอบครัวในนิวยอร์ก นิวโฮปเฟอร์ทิลิตีเซ็นเตอร์ (New Hope Fertility Center) ได้ทดลองใช้เทคนิก “mitochondrial transfer” ในการสร้างทารกในหลอดแก้วจาก DNAของ 3 คน เพื่อให้ทารกสายพันธุ์ใหม่ที่มีสุขภาพดีถือกำเนิด ประสบความสำเร็จด้วยดีหลังหนูน้อยเพศชายที่มีพ่อแม่ชาวจอร์แดนได้ถือกำเนิดในเม็กซิโกเมื่อวันที่ 6 เมษายนล่าสุด โดยนายแพทย์จางอ้างว่า ทารกที่เกิดใหม่ดูมีสุขภาพแข็งแรง

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(27 ก.ย)ว่า นายแพทย์สหรัฐฯ จอห์น จาง( John Zhang) จากคลินิกเชี่ยวชาญการวางแผนครอบครัวในนิวยอร์ก นิวโฮปเฟอร์ทิลิตีเซ็นเตอร์ (New Hope Fertility Center) ประกาศความสำเร็จต่อโลกที่สามารถสร้างซุปเปอร์เบบี้ที่ถือกำเนิดจากการใช้ DNA 3 คนได้เป็นครั้งแรก

ซึ่งในการเลี่ยงต่อกฎข้อห้ามควบคุมต่างๆด้านการแพทย์และจริยธรรมของอเมริกาที่ยังตั้งคำถามในวิธีการสร้างทารกด้วยวิธีนี้ทำให้นายแพทย์สหรัฐฯรายนี้เลือก "เม็กซิโก" เป็นประเทศที่ทารกสายพันธุ์ใหม่จากการใช้วิธี mitochondrial transfer ให้กับพ่อแม่ชาวจอร์แดนคู่หนึ่ง เพื่อต้องการให้ทารกของคนทั้งคู่เกิดมาด้วยสุขภาพแข็งแรง โดยสื่ออังกฤษชี้ว่า จางไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดทางการแพทย์ในกระบวนการที่เขาใช้เพื่อให้ได้มาซุปเปอร์เบบี้

โดยในการให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ด้านวิทยาศาสตร์ New Scientist จางประกาศว่า เขาจำเป็นต้องเดินทางไปเม็กซิโก “เพราะไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆที่นั่น” และยังยืนยันว่าวิธีการที่เขาทำนั้นถูกต้อง “การช่วยชีวิตถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรมที่ต้องกระทำ” จอห์น จางกล่าวยืนนัน

ทั้งนี้พบว่าเทคนิก mitochondrial transfer นั้นได้รับรองให้ถูกกฎหมายในอังกฤษในปี 2015 แต่กระนั้นเดอะการ์เดียนชี้ว่า มาจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีประเทศอื่นใดอีกที่จะรับรองเทคนิกผสมเทียมแบบใหม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกระบวนการนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับพ่อแม่ที่มีความเสี่ยงในการส่งผ่านโรคร้ายทางกรรมพันธุ์ไปสู่บุตรที่จะถือกำเนิด

และสำหรับเคสของซุปเปอร์เบบี้พบว่า ฝ่ายมารดาของทารกเพศชายนี้มีปัญหาโรคพันธุกรรมระบบประสาทที่ร้ายแรงและหายากคือ โรค Leigh Syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติในระดับยีนส์ของไมโตรคอนเดรีย ที่เป็นคล้ายกับแบตเตอร์รีให้กับเซลล์ร่างกายมนุษย์ และส่งผลร้ายต่อการพัฒนาระบบประสาท ซึ่งเป็นโรคร้ายที่สามารถถ่ายทอดจากมารดาไปสู่บุตรได้

สื่ออังกฤษรายงานต่อว่า และหลังจากการแต่งานเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้พบว่า คนทั้งคู่ได้พยายามมีบุตรด้วยกัน แต่ทว่าฝ่ายภรรยาได้เสียทารกไปในครั้งแรกของการตั้งครรภ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด 4 ครั้ง โดยพบว่าในปี 2005 คนทั้งสองมีบุตรสาวด้วยกัน แต่ทว่าต้องสูญเสียไปเมื่อหนูน้อยมีอายุได้ 6 ปี และบุตรคนที่ 2 มีชีวิตอยู่ได้นานเพียงแค่ 8 เดือนเท่านั้น ซึ่งในการทดสอบฝ่ายหญิงพบว่า ในขณะที่เธอมีสุขภาพดี 1 ใน 4 ของไมโตรคอนเดรียของฝ่ายหญิงมียีนส์ป่วยโรค Leigh Syndrome และทำให้คู่สมรสชาวจอร์แดนรายนี้ได้เข้ามาปรึกษานายแพทย์จางเพื่อขอความช่วยเหลือ และทำให้เขาตัดสินใจใช้วิธี mitochondrial transfer

ทั้งนี้ในกระบวนการพบว่า มีการนำนิวเคลียสออกมาจากไข่ใบหนึ่งของภรรยาชาวจอร์แดน และใส่เข้าไปภายในไข่ที่สมบูรณ์ของผู้บริจาคนิรนามรายหนึ่ง ที่ได้นำนิวเคลียสของไข่ของผู้บริจาคออกก่อนหน้านี้แล้ว และหลังจากนั้นนำไข่ที่สมบูรณ์ที่มีนิวเคลียสของภรรยาชาวจอร์แดนอยู่ภายใน ผสมเข้ากับสเปิร์มของฝ่ายสามีชาวจอร์แดน

โดยพบว่าผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ด้านการผสมเทียมชาวสหรัฐฯได้สร้างเอ็มบริโอถึง 5 อัน แต่ทว่ามีเพียงแค่ 1 อันเท่านั้นที่พัฒนาไปตามปกติ และได้ถูกนำกลับเข้าไปภายในครรภ์ของภรรยาชาวจอร์แดน และทารกซุปเปอร์เบบี้ได้ถือกำเนิดมาดูโลกในอีก 9 เดือนหลังจากนั้น

ด้านผู้เชี่ยวชาญสเต็มเซลล์จากคิงคอลเลจของอังกฤษ ดัสโก อิลิค(Dusko Ilic)ได้ให้ความเห็นถึง “ซุปเปอร์เบบี้” ล่าสุดนี้ว่า “นี้ถือเป็นครั้งแรกในการใช้เทคนิก mitochondrial transfer ในการสร้างทารกสำเร็จ 3 เดือนก่อนหน้านี้ ถือเป็นครั้งแรกของโลก และจากรายงานดูเหมือนทารกที่ได้จากไข่บริจาคมีสุขภาพสมบูรณ์ และหวังว่าสิ่งนี้จะทำให้บรรดานักวิจารณ์ต่างๆที่ยังมีความสงสัยในความก้าวหน้าทางวิชาการสาขานี้ลดความเคลือบแคลงลงบ้าง และในไม่ช้าเราจะได้เป็นพยานในความสำเร็จการถือกำเนิดของทารกจากเทคนิก mitochondrial transfer ในอังกฤษเช่นกัน”

แต่อย่างไรก็ตาม อิลิคได้กล่าวเตือนว่า “ในการทำการคลอดทารกในเม็กซิโก ทางทีมงานผู้เชี่ยวชาญไม่อยู่ภายใต้กรอบการควบคุมที่เคร่งครัดเหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ และดังนั้นเราจะไม่มีวันได้รับรู้ถึงความเชียวชาญหรือการเตรียมความพร้อมอย่างไรในการทดลองครั้งนี้ และนี่อาจจะกลายเป็นความเสี่ยง”

ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์จากอังกฤษยังให้ความเห็นต่อว่า “และปรากฏว่าทารกที่ถือกำเนิดนั้นดูมีสุขภาพดี และเป็นเพราะการทำคลอดที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทำให้ทางเรามีคำถามบางข้อที่จำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทางเราต้องการคำตอบ” และกล่าวต่อว่า “สำหรับคำถามคือ นี่เป็นครั้งแรกหรือไม่ที่ทีมงานชุดนี้ได้ทำการคลอดด้วยวิธีพิเศษนี้ หรือทางทีมงานได้เคยมีประสบการณ์ก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงทำให้พวกเขาได้รายงานความสำเร็จออกมาให้ปรากฎ”

อีลิคได้ยืนยันความสงสัยว่า “ถือเป็นคำถามที่สมควรต้องมี เนื่องมาจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นพวกเขาไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ให้แวดวงวิชาการรับรู้ และทำให้ประชาคมวิชาการโลกไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของพวกเขาในรายละเอียด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้”








กำลังโหลดความคิดเห็น