(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Philippines seeks close ties with China
By Noel Tarrazona
08/07/2015
รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังจัดทำแผนการต่างๆ เพื่อที่จะเคลื่อนเข้าใกล้ชิดกับจีนเพิ่มมากขึ้นอีก ไม่ว่าผลการตัดสินในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกว่าด้วยข้อพิพาทในทะเลจีนใต้จะออกมาอย่างไรก็ตามที
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - รัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์ดำเนินการเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์ 2 อย่างด้วยกัน ในช่วงไม่กี่วันก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินว่าด้วยการอ้างกรรมสิทธิ์แข่งขันทับซ้อนกันเหนือทะเลจีนใต้ที่มีความสำคัญมากในทางยุทธศาสตร์
รัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย จูเนียร์ (Perfecto Yasay Jr.) แถลงว่า คณะบริหารของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กำลังอยู่ในกระบวนการที่จะแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาคนหนึ่ง เพื่อให้ทำหน้าที่เจรจาหารือกับจีนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายความตึงเครียดในเขตน่านน้ำที่มะนิลากับปักกิ่งพิพาทกันอยู่
ยาซาย อดีตทนายความระหว่างประเทศซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ และอาจารย์ที่รัฐฮาวาย (รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของฟิลิปปินส์ –ผู้แปล) แถลงว่าในท่ามกลางความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นเช่นนี้ มีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะต้องแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทเหล่านี้
เขาพูดอย่างอ้อมๆ ด้วยว่า ถ้าผลการตัดสินของศาลอนุญาโตระหว่างประเทศที่ได้รับการหนุนหลังจากสหประชาชาติแห่งนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับจีนและฟิลิปปินส์เท่านั้นแล้ว มะนิลาก็จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาระดับทวิภาคีกับฝ่ายปักกิ่ง [1]
รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังจะขอให้สมาคมประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ อาเซียน) ประกาศจุดยืนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นการบีบคั้นกดดันจีนให้เคารพปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
จีนนั้นมีฐานะเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 4 ของอาเซียน โดยตามหลังสหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ มูลค่าของการค้าจีน-อาเซียนอยู่ในระดับประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์
ประธานาธิบดีดูเตอร์เต เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การที่จะทำสงครามกับจีนนั้น ถือเป็นการเดินหมากที่ไร้ประโยชน์ ตรงกันข้าม เขาต้องการให้จีนมาช่วยสร้างระบบทางรถไฟขึ้นบนเกาะมินดาเนา เกาะใหญ่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์
ทางด้าน ดร.เอเดียน เซมอร์ลัน (Dr. Adian Semorlan) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาเอเชีย ให้ความเห็นกับเอเชียไทมส์ว่า ดูเตอร์เตนั้นไม่ได้มองจีนว่าเป็นศัตรู ทว่าเป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งในเอเชียที่จะช่วยเหลือการพัฒนาของฟิลิปปินส์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในเกาะมินดาเนา ซึ่งก็เป็นถิ่นฐานภูมิลำเนาของประธานาธิบดีดูเตอร์เตเองด้วย
สำหรับกองทัพฟิลิปปินส์ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางทหารที่ล้าสมัยที่สุดในภูมิภาคแถบนี้ และจมถลำอยู่ในข้อกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชั่นต่างๆ ซึ่งโยงใยพัวพันนายทหารระดับสูงกับพวกบริษัทขายอาวุธยุทโธปกรณ์
กองทัพฟิลิปปินส์ยังกำลังเผชิญงานหนักอึ้งในการยุติการสู้รบขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธกับกลุ่มอิสลามิสต์หลายๆ กลุ่มในบริเวณภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ตลอดจนกับ “กองทัพประชนชนใหม่” (New People’s Army) ที่เป็นกลุ่มฝ่ายซ้าย
ระหว่างกล่าวปราศรัยกับทหารเนื่องในวาระครบรอบ 69 ปีของการสถาปนากองทัพฟิลิปปินส์ ดูเตอร์เตได้กล่าวเรียกร้องให้จีนมาเริ่มต้นเจรจาหารือกัน
“เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ของ ดูเตอร์เต แล้ว เขามีความต้องการที่จะริเริ่มเปิดฉากทำการสนทนาแบบทวิภาคีกับฝ่ายจีน” เซมอร์ลัน พูดย้ำ
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ก่อนที่ดูเตอร์เตจะเข้ารับตำแหน่งด้วยซ้ำ จีนก็แสดงท่าทีอ้อมๆ ว่าปรารถนาที่จะขยายไมตรีจิตมิตรภาพกับว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ เจ้า เจี้ยนหวา (Zhao Jianhua) เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ ได้เข้าเยี่ยมคำนับดูเตอร์เต เมื่อปรากฏว่าเขาเป็นฝ่ายนำแบบขาดลอยในการนับคะแนนผลการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประมุขแดนตากาล็อก ภายหลังการหย่อนบัตรเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมผ่านพ้นไปได้ 2 สัปดาห์
ระหว่างการไปเยี่ยมคำนับคราวนั้น เอกอัครราชทูตเจ้าได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี กับทางคณะบริหารดูเตอร์เต
ในอีกด้านหนึ่ง ระหว่างรอคอยเวลาที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรจะประกาศคำตัดสิน รัฐบาลสหรัฐฯก็กำลังดำเนินการเรื่องการจัดตั้งสถานที่ทางทหาร 6 แห่งขึ้นในฟิลิปปินส์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม (Enhanced Defense Cooperation Agreement) ระหว่างประเทศทั้งสอง
ถึงแม้พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่าสถานที่ทางทหารเหล่านี้ที่ตกลงกันไว้ระหว่างสหรัฐฯกับคณะบริหารของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน ซึ่งเพิ่งก้าวลงจากตำแหน่งไป คือความเคลื่อนไหวที่มุ่งต่อต้านจีน ทว่าสหรัฐฯก็ปฏิเสธเรื่อยมาในหลายๆ โอกาสว่าไม่เป็นความจริง
ความเคลื่อนไหวในเรื่องสถานที่ทางทหารเหล่านี้ ได้เป็นชนวนทำให้เกิดการประท้วงคัดค้านจากพวกองค์กรนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายและองค์กรระดับรากหญ้า ในหลายๆ ส่วนของประเทศ
กฎหมายของฟิลิปปินส์นั้นไม่อนุญาตให้มีฐานทัพทางทหารของต่างชาติในดินแดนของฟิลิปปินส์
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระระหว่างประเทศซึ่งปักหลักอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา และปัจจุบันพำนักอยู่ในฟิลิปปินส์ เขายังเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสคนหนึ่งของ wikistrat ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com
หมายเหตุผู้แปล
[1]
นอกเหนือจากรัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย ของฟิลิปปินส์ จะออกมาพูดเรื่องคณะบริหารของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กำลังจะแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาทำหน้าที่เจรจาหารือกับจีนเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้แล้ว ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า เขายังแสดงท่าทีด้วยว่า คณะบริหารดูเตอร์เตยังมีความปรารถนาที่จะพูดจากับฝ่ายจีน เพื่อตกลงแบ่งปันร่วมกันหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่พิพาทอีกด้วย
รายงานข่าวชิ้นนี้ (https://www.yahoo.com/news/philippines-says-willing-share-south-china-sea-083255438.html) กล่าวว่า ยาซายบอกกับเอเอฟพีในวันศุกร์ (8 ก.ค.) ว่าฟิลิปปินส์มีความยินดีที่จะแบ่งปันร่วมกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ซึ่งช่วงชิงกันอยู่กับฝ่ายปักกิ่ง ถึงแม้มะนิลาจะเป็นผู้ชนะในการฟ้องร้องทางคดีความในสัปดาห์หน้า (อังคารที่ 12 ก.ค.)
ยาซายกล่าวว่า คณะบริหารดูเตอร์เตหวังว่าจะสามารถเริ่มต้นการพูดจาโดยตรงกับฝ่ายจีนได้อย่างรวดเร็วภายหลังคำตัดสินในวันที่ 12 ก.ค. โดยที่การเจรจาจะครอบคลุมถึงการร่วมกันใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรองและพื้นที่ทำประมง ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ด้วย
“เรากระทั่งพร้อมที่จะพิจารณากันถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมาว่า เราจะสามารถร่วมกันสำรวจพื้นที่ตรงนี้ได้อย่างไร เราจะสามารถหาประโยชน์และได้รับประโยชน์ร่วมกัน จากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะนี้ซึ่งมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่นี้ได้อย่างไร” ยาซายกล่าวในการให้สัมภาษณ์เอเอฟพี
ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (exclusive economic zone) ของแต่ละประเทศ จะเท่ากับพื้นที่ทะเลภายในระยะห่างจากชายฝั่งของประเทศนั้นๆ ไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล โดยที่ประเทศนั้นๆ มีสิทธิทางอธิปไตยที่จะหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ภายในเขตพื้นที่ดังกล่าวนี้
ในยุคของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน เขาปฏิเสธไม่ยอมเปิดการพูดจาโดยตรงกับปักกิ่ง นอกจากนั้นยังเคยกล่าวเปรียบเทียบความพยายามของจีนในการขยายดินแดนในทะเลจีนใต้ ว่าเหมือนกับเยอรมนียุคนาซีที่เคลื่อนทัพเข้ายึดส่วนต่างๆ ของยุโรปก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2
เอเอฟพีบอกว่า ยาซายส่งสัญญาณในการให้สัมภาษณ์คราวนี้ว่า ดูเตอร์เตจะไม่หยิบยกเปรียบเทียบอะไรเช่นนี้ พร้อมกับเน้นย้ำว่าคณะบริหารของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ มุ่งหาทางให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“คำแถลงต่างๆ ที่เราจะออกมานั้น จะมุ่งหาทางเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่กับทุกๆ คน และจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ที่จะขวางกั้นการที่เราจะเปิดการเจรจาเพื่อหาหนทางแก้ไขประเด็นปัญหานี้อย่างสันติ” ยาซาย กล่าว
เขาบอกอีกว่า หลังจากศาลอนุญาโตตุลาการถาวรเผยแพร่คำตัดสินออกมาแล้ว ฟิลิปปินส์จะนำมาศึกษาอย่างละเอียด, นำมาหารือกับพวกพันธมิตร, และจากนั้นก็จะหาทางเปิดการพูดจากกับจีน “โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้”
ยาซายระบุอย่างเป็นรูปธรรมว่า ฟิลิปปินส์เปิดกว้างสำหรับการแบ่งปันกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติในแนวปะการัง “สคาร์โบโร โชล” (Scarborough Shoal) พื้นที่ซึ่งมีสัตว์น้ำชุกชุมที่ตั้งอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ แต่จีนได้อ้างสิทธิเข้าไปควบคุมไว้ตั้งแต่ปี 2012 และสั่งห้ามไม่ให้เรือใดๆ ของฝ่ายฟิลิปปินส์เข้าไป
“ทรัพยากรต่างๆ ที่นั่นคือสิ่งที่พระเจ้าประทานให้แก่พวกเราทั้งหมด และให้ทุกๆ คนได้ใช้ประโยชน์ เราสามารถที่จะทำงานเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ในเรื่องของการใช้สอยทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว” ยาซาย บอก
เขากล่าวอีกว่า ฟิลิปปินส์ยังจะพิจารณาให้ร่วมกันสำรวจขุดค้นแหล่งก๊าซธรรมชาติในแถบปากปล่องภูเขาไฟใต้น้ำ “รีด แบงก์” (Reed Bank) ซึ่งก็อยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแดนตากาล็อกเช่นเดียวกัน และอยู่ห่างไกลมากจากผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ของจีนที่อยู่ใกล้ที่สุด
“ผมคิดว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของเรา และก็จะเป็นการก้าวไปข้างหน้าก้าวใหญ่ ถ้าทุกๆ คนสามารถตกลงกันเกี่ยวกับการเดินหน้าไปบนพื้นฐานดังกล่าวนี้” ยาซายกล่าว เมื่อถูกถามถึงเรื่องการจับมือร่วมกันพัฒนารีดแบงก์
ยาซายยืนยันว่า ฟิลิปปินส์จะไม่ยอมสละสิทธิใดๆ ของตนในทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น
แต่เขากล่าวว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยนี้จะต้องใช้เวลานานปี โดยสามารถถือว่าเป็น “ปัญหายาวนานเป็นชั่วโคตร” ทีเดียว กว่าจะแก้ไขคลี่คลายได้ ทว่าในระหว่างนั้นฝ่ายต่างๆ ที่ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่ จึงจะต้องร่วมไม้ร่วมมือทำงานร่วมกัน
เอเอฟพีรายงานเอาไว้ด้วยว่า ดูเตอร์เต กับ ยาซาย ได้พบปะกับ เจ้า เจี้ยนหวา เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ในวันพฤหัสบดี (7 ก.ค.) และจากนั้นก็ได้พบเห็น เจ้า อีกครั้งหนึ่งที่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ในวันศุกร์ (8 ก.ค.)
Philippines seeks close ties with China
By Noel Tarrazona
08/07/2015
รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังจัดทำแผนการต่างๆ เพื่อที่จะเคลื่อนเข้าใกล้ชิดกับจีนเพิ่มมากขึ้นอีก ไม่ว่าผลการตัดสินในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกว่าด้วยข้อพิพาทในทะเลจีนใต้จะออกมาอย่างไรก็ตามที
มินดาเนา, ฟิลิปปินส์ - รัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์ดำเนินการเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์ 2 อย่างด้วยกัน ในช่วงไม่กี่วันก่อนที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ จะประกาศคำตัดสินว่าด้วยการอ้างกรรมสิทธิ์แข่งขันทับซ้อนกันเหนือทะเลจีนใต้ที่มีความสำคัญมากในทางยุทธศาสตร์
รัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย จูเนียร์ (Perfecto Yasay Jr.) แถลงว่า คณะบริหารของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กำลังอยู่ในกระบวนการที่จะแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาคนหนึ่ง เพื่อให้ทำหน้าที่เจรจาหารือกับจีนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายความตึงเครียดในเขตน่านน้ำที่มะนิลากับปักกิ่งพิพาทกันอยู่
ยาซาย อดีตทนายความระหว่างประเทศซึ่งตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯ และอาจารย์ที่รัฐฮาวาย (รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของฟิลิปปินส์ –ผู้แปล) แถลงว่าในท่ามกลางความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นเช่นนี้ มีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะต้องแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทเหล่านี้
เขาพูดอย่างอ้อมๆ ด้วยว่า ถ้าผลการตัดสินของศาลอนุญาโตระหว่างประเทศที่ได้รับการหนุนหลังจากสหประชาชาติแห่งนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับจีนและฟิลิปปินส์เท่านั้นแล้ว มะนิลาก็จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาระดับทวิภาคีกับฝ่ายปักกิ่ง [1]
รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังจะขอให้สมาคมประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ อาเซียน) ประกาศจุดยืนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเรื่องข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นการบีบคั้นกดดันจีนให้เคารพปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
จีนนั้นมีฐานะเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 4 ของอาเซียน โดยตามหลังสหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, และสหรัฐฯ มูลค่าของการค้าจีน-อาเซียนอยู่ในระดับประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์
ประธานาธิบดีดูเตอร์เต เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การที่จะทำสงครามกับจีนนั้น ถือเป็นการเดินหมากที่ไร้ประโยชน์ ตรงกันข้าม เขาต้องการให้จีนมาช่วยสร้างระบบทางรถไฟขึ้นบนเกาะมินดาเนา เกาะใหญ่ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์
ทางด้าน ดร.เอเดียน เซมอร์ลัน (Dr. Adian Semorlan) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาเอเชีย ให้ความเห็นกับเอเชียไทมส์ว่า ดูเตอร์เตนั้นไม่ได้มองจีนว่าเป็นศัตรู ทว่าเป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งในเอเชียที่จะช่วยเหลือการพัฒนาของฟิลิปปินส์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในเกาะมินดาเนา ซึ่งก็เป็นถิ่นฐานภูมิลำเนาของประธานาธิบดีดูเตอร์เตเองด้วย
สำหรับกองทัพฟิลิปปินส์ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในทรัพย์สินทางทหารที่ล้าสมัยที่สุดในภูมิภาคแถบนี้ และจมถลำอยู่ในข้อกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชั่นต่างๆ ซึ่งโยงใยพัวพันนายทหารระดับสูงกับพวกบริษัทขายอาวุธยุทโธปกรณ์
กองทัพฟิลิปปินส์ยังกำลังเผชิญงานหนักอึ้งในการยุติการสู้รบขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธกับกลุ่มอิสลามิสต์หลายๆ กลุ่มในบริเวณภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ตลอดจนกับ “กองทัพประชนชนใหม่” (New People’s Army) ที่เป็นกลุ่มฝ่ายซ้าย
ระหว่างกล่าวปราศรัยกับทหารเนื่องในวาระครบรอบ 69 ปีของการสถาปนากองทัพฟิลิปปินส์ ดูเตอร์เตได้กล่าวเรียกร้องให้จีนมาเริ่มต้นเจรจาหารือกัน
“เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้ของ ดูเตอร์เต แล้ว เขามีความต้องการที่จะริเริ่มเปิดฉากทำการสนทนาแบบทวิภาคีกับฝ่ายจีน” เซมอร์ลัน พูดย้ำ
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ก่อนที่ดูเตอร์เตจะเข้ารับตำแหน่งด้วยซ้ำ จีนก็แสดงท่าทีอ้อมๆ ว่าปรารถนาที่จะขยายไมตรีจิตมิตรภาพกับว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ เจ้า เจี้ยนหวา (Zhao Jianhua) เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ ได้เข้าเยี่ยมคำนับดูเตอร์เต เมื่อปรากฏว่าเขาเป็นฝ่ายนำแบบขาดลอยในการนับคะแนนผลการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประมุขแดนตากาล็อก ภายหลังการหย่อนบัตรเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมผ่านพ้นไปได้ 2 สัปดาห์
ระหว่างการไปเยี่ยมคำนับคราวนั้น เอกอัครราชทูตเจ้าได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคี กับทางคณะบริหารดูเตอร์เต
ในอีกด้านหนึ่ง ระหว่างรอคอยเวลาที่ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรจะประกาศคำตัดสิน รัฐบาลสหรัฐฯก็กำลังดำเนินการเรื่องการจัดตั้งสถานที่ทางทหาร 6 แห่งขึ้นในฟิลิปปินส์ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม (Enhanced Defense Cooperation Agreement) ระหว่างประเทศทั้งสอง
ถึงแม้พวกนักวิเคราะห์ต่างมองว่าสถานที่ทางทหารเหล่านี้ที่ตกลงกันไว้ระหว่างสหรัฐฯกับคณะบริหารของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน ซึ่งเพิ่งก้าวลงจากตำแหน่งไป คือความเคลื่อนไหวที่มุ่งต่อต้านจีน ทว่าสหรัฐฯก็ปฏิเสธเรื่อยมาในหลายๆ โอกาสว่าไม่เป็นความจริง
ความเคลื่อนไหวในเรื่องสถานที่ทางทหารเหล่านี้ ได้เป็นชนวนทำให้เกิดการประท้วงคัดค้านจากพวกองค์กรนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายและองค์กรระดับรากหญ้า ในหลายๆ ส่วนของประเทศ
กฎหมายของฟิลิปปินส์นั้นไม่อนุญาตให้มีฐานทัพทางทหารของต่างชาติในดินแดนของฟิลิปปินส์
โนเอล ทาร์ราโซนา เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระระหว่างประเทศซึ่งปักหลักอยู่ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา และปัจจุบันพำนักอยู่ในฟิลิปปินส์ เขายังเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสคนหนึ่งของ wikistrat ทั้งนี้สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ ntarrazona@gmail.com
หมายเหตุผู้แปล
[1]
นอกเหนือจากรัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย ของฟิลิปปินส์ จะออกมาพูดเรื่องคณะบริหารของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กำลังจะแต่งตั้งผู้แทนพิเศษขึ้นมาทำหน้าที่เจรจาหารือกับจีนเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้แล้ว ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า เขายังแสดงท่าทีด้วยว่า คณะบริหารดูเตอร์เตยังมีความปรารถนาที่จะพูดจากับฝ่ายจีน เพื่อตกลงแบ่งปันร่วมกันหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่พิพาทอีกด้วย
รายงานข่าวชิ้นนี้ (https://www.yahoo.com/news/philippines-says-willing-share-south-china-sea-083255438.html) กล่าวว่า ยาซายบอกกับเอเอฟพีในวันศุกร์ (8 ก.ค.) ว่าฟิลิปปินส์มีความยินดีที่จะแบ่งปันร่วมกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ทะเลจีนใต้ซึ่งช่วงชิงกันอยู่กับฝ่ายปักกิ่ง ถึงแม้มะนิลาจะเป็นผู้ชนะในการฟ้องร้องทางคดีความในสัปดาห์หน้า (อังคารที่ 12 ก.ค.)
ยาซายกล่าวว่า คณะบริหารดูเตอร์เตหวังว่าจะสามารถเริ่มต้นการพูดจาโดยตรงกับฝ่ายจีนได้อย่างรวดเร็วภายหลังคำตัดสินในวันที่ 12 ก.ค. โดยที่การเจรจาจะครอบคลุมถึงการร่วมกันใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรองและพื้นที่ทำประมง ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ด้วย
“เรากระทั่งพร้อมที่จะพิจารณากันถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นมาว่า เราจะสามารถร่วมกันสำรวจพื้นที่ตรงนี้ได้อย่างไร เราจะสามารถหาประโยชน์และได้รับประโยชน์ร่วมกัน จากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะนี้ซึ่งมีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่นี้ได้อย่างไร” ยาซายกล่าวในการให้สัมภาษณ์เอเอฟพี
ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลนั้น เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (exclusive economic zone) ของแต่ละประเทศ จะเท่ากับพื้นที่ทะเลภายในระยะห่างจากชายฝั่งของประเทศนั้นๆ ไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล โดยที่ประเทศนั้นๆ มีสิทธิทางอธิปไตยที่จะหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ภายในเขตพื้นที่ดังกล่าวนี้
ในยุคของประธานาธิบดีเบนีโญ อากีโน เขาปฏิเสธไม่ยอมเปิดการพูดจาโดยตรงกับปักกิ่ง นอกจากนั้นยังเคยกล่าวเปรียบเทียบความพยายามของจีนในการขยายดินแดนในทะเลจีนใต้ ว่าเหมือนกับเยอรมนียุคนาซีที่เคลื่อนทัพเข้ายึดส่วนต่างๆ ของยุโรปก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2
เอเอฟพีบอกว่า ยาซายส่งสัญญาณในการให้สัมภาษณ์คราวนี้ว่า ดูเตอร์เตจะไม่หยิบยกเปรียบเทียบอะไรเช่นนี้ พร้อมกับเน้นย้ำว่าคณะบริหารของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ มุ่งหาทางให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“คำแถลงต่างๆ ที่เราจะออกมานั้น จะมุ่งหาทางเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่กับทุกๆ คน และจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ที่จะขวางกั้นการที่เราจะเปิดการเจรจาเพื่อหาหนทางแก้ไขประเด็นปัญหานี้อย่างสันติ” ยาซาย กล่าว
เขาบอกอีกว่า หลังจากศาลอนุญาโตตุลาการถาวรเผยแพร่คำตัดสินออกมาแล้ว ฟิลิปปินส์จะนำมาศึกษาอย่างละเอียด, นำมาหารือกับพวกพันธมิตร, และจากนั้นก็จะหาทางเปิดการพูดจากกับจีน “โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้”
ยาซายระบุอย่างเป็นรูปธรรมว่า ฟิลิปปินส์เปิดกว้างสำหรับการแบ่งปันกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติในแนวปะการัง “สคาร์โบโร โชล” (Scarborough Shoal) พื้นที่ซึ่งมีสัตว์น้ำชุกชุมที่ตั้งอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ แต่จีนได้อ้างสิทธิเข้าไปควบคุมไว้ตั้งแต่ปี 2012 และสั่งห้ามไม่ให้เรือใดๆ ของฝ่ายฟิลิปปินส์เข้าไป
“ทรัพยากรต่างๆ ที่นั่นคือสิ่งที่พระเจ้าประทานให้แก่พวกเราทั้งหมด และให้ทุกๆ คนได้ใช้ประโยชน์ เราสามารถที่จะทำงานเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ในเรื่องของการใช้สอยทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ดังกล่าว” ยาซาย บอก
เขากล่าวอีกว่า ฟิลิปปินส์ยังจะพิจารณาให้ร่วมกันสำรวจขุดค้นแหล่งก๊าซธรรมชาติในแถบปากปล่องภูเขาไฟใต้น้ำ “รีด แบงก์” (Reed Bank) ซึ่งก็อยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของแดนตากาล็อกเช่นเดียวกัน และอยู่ห่างไกลมากจากผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ของจีนที่อยู่ใกล้ที่สุด
“ผมคิดว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของเรา และก็จะเป็นการก้าวไปข้างหน้าก้าวใหญ่ ถ้าทุกๆ คนสามารถตกลงกันเกี่ยวกับการเดินหน้าไปบนพื้นฐานดังกล่าวนี้” ยาซายกล่าว เมื่อถูกถามถึงเรื่องการจับมือร่วมกันพัฒนารีดแบงก์
ยาซายยืนยันว่า ฟิลิปปินส์จะไม่ยอมสละสิทธิใดๆ ของตนในทะเลจีนใต้ทั้งสิ้น
แต่เขากล่าวว่า ข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยนี้จะต้องใช้เวลานานปี โดยสามารถถือว่าเป็น “ปัญหายาวนานเป็นชั่วโคตร” ทีเดียว กว่าจะแก้ไขคลี่คลายได้ ทว่าในระหว่างนั้นฝ่ายต่างๆ ที่ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กันอยู่ จึงจะต้องร่วมไม้ร่วมมือทำงานร่วมกัน
เอเอฟพีรายงานเอาไว้ด้วยว่า ดูเตอร์เต กับ ยาซาย ได้พบปะกับ เจ้า เจี้ยนหวา เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ในวันพฤหัสบดี (7 ก.ค.) และจากนั้นก็ได้พบเห็น เจ้า อีกครั้งหนึ่งที่กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ในวันศุกร์ (8 ก.ค.)