(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Debt isn’t only potential shock to China’s economic system
By Asia Unhedged
14/06/2016
เดวิด ลิปตัน รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) นอกจากเตือนให้จีนเร่งจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคบริษัท โดยเฉพาะพวกรัฐวิสาหกิจ ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัวแล้ว เขายังระบุถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การปฏิรูปภาคการคลัง, การประสานงานร่วมมือของหน่วยงานกำกับตรวจสอบด้านต่างๆ ซึ่งปักกิ่งจะต้องเร่งรัด เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายสร้างภาวะช็อกต่อระบบเศรษฐกิจ
เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมากล่าวอย่างเปิดเผยกลายเป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อเขาบอกว่าจีนจำเป็นจะต้องเร่งรีบจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของตนบังเกิดความสมดุล (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://atimes.com/2016/06/china-must-quickly-tackle-rising-corporate-debt-warns-imf-official/ หรือ http://www.reuters.com/article/us-china-imf-debt-idUSKCN0YX029 หรือดูที่เก็บความเป็นภาษาไทยได้ที่ “หมายเหตุผู้แปล” ข้างล่างนี้ [1])
ทว่า ไมเคิล ลิปตัน (David Lipton) รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของไอเอ็มเอฟ (IMF first deputy managing director) ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เขายังแสดงความคิดเห็นในอีกรายการหนึ่งที่มีการอ้างอิงรายงานกันน้อยกว่านั้น โดยเขาเตือนว่าหน่วยงานกำกับตรวจสอบทั้งหลายของจีน จำเป็นที่จะต้องขยับก้าวเดินเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหยุดยั้งภาวะช็อกมากยิ่งกว่านี้ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ เขากล่าวว่า ผู้คุมกฎเหล่านี้จำเป็นต้องเร่งรัดมากยิ่งขึ้นอีกในการปฏิบัติตามการปฏิรูปต่างๆ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนแสดงให้เห็นความอ่อนแอต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกที ทั้งนี้เขาสำทับว่า หากไม่มีการเตรียมตัวพร้อมรับมือดังกล่าวแล้ว จีนก็จะมีหนทางลดน้อยลงในการตอบโต้รับมือ ถ้าเศรษฐกิจต้องประสบกับภาวะช็อกบางอย่างบางประการ (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.reuters.com/article/china-economy-imf-idUSL4N1962S6)
“ลู่ทางโอกาสของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น(ของจีน) ได้เปลี่ยนกลับมาในทิศทางสดใสมากขึ้น สืบเนื่องจากการใช้ความสนับสนุนเชิงนโยบายเมื่อเร็วๆ นี้” ลิปตันกล่าวเมื่อวันอังคาร (14 มิ.ย.) ในช่วงท้ายของการเดินทางมาเยือนปักกิ่งของเขาเที่ยวนี้
“อย่างไรก็ตาม ลู่ทางโอกาสของการเจริญเติบโตในระยะกลางนั้น มีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากหนี้สินที่กำลังเพิ่มขึ้น, ภาวะกำลังผลิตล้นเกินในเชิงโครงสร้าง, และภาคการเงินซึ่งทั้งมีขนาดใหญ่ คลุมเครือไม่โปร่งใส และมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้นทุกที” ลิปตันบอก
ทั้งนี้เศรษฐกิจของจีนเมื่อปีที่แล้วเติบโตขยายตัวด้วยฝีก้าวเชื่องช้าที่สุดในรอบเสี้ยวศตวรรษ โดยปัจจัยที่เป็นตัวถ่วงมีอาทิ ดีมานด์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศซึ่งอ่อนตัวลง, การลงทุนกำลังชะลอตัว, และเกิดภาวะกำลังการผลิตล้นเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอย่างเช่นเหล็กกล้าและถ่านหิน
ในเวลาเดียวกันนั้น รัฐบาลยังคงดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้มีอัตราเติบโตขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ซึ่งพวกนักวิเคราะห์มองว่ากำลังบีบคั้นให้ระดับหนี้สินของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อปริมาณหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไต่สูงทะลุทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี พวกนักวิเคราะห์จึงเกิดความวิตกเกี่ยวกับสุขภาพของระบบการธนาคารของแดนมังกรอีกด้วย
“หนี้สินภาคบรรษัท ถึงแม้ยังคงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงและก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” ลิปตันกล่าวย้ำสิ่งซึ่งเขาได้พูดเอาไว้เมื่อวันเสาร์ (11 มิถุนายน) พร้อมกับพูดต่อไปว่า จีนจำเป็นที่จะต้องมีแผนการอันครอบคลุมรอบด้านและการปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาครัฐวิสาหกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า
ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าเศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวได้ราว 6% ในปี 2017 ขณะที่ปักกิ่งกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะต้องมีอัตราเติบโตอย่างน้อย 6.5% โดยเฉลี่ยในตลอดช่วง 5 ปีจากนี้ไป ถึงแม้นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าระดับการเติบโตที่แท้จริงกำลังอยู่ในสภาพอ่อนแอกว่าที่ข้อมูลทางการบ่งบอกเอาไว้มาก
ลิปตันกล่าวว่า จีนยังจำเป็นที่จะต้องทำให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นคำนึงถึงความรับผิดชอบด้านการหารายได้ ในระดับเดียวกันกับความรับผิดชอบด้านการใช้จ่าย, ขยายระบบความมั่นคงทางสังคมให้กว้างขวางออกไป, ปฏิบัติตามกฎหมายงบประมาณฉบับใหม่ๆ , และทำให้ระบบจัดเก็บภาษีอยู่ในลักษณะก้าวหน้ามากขึ้น
ไอเอ็มเอฟยังเสนอแนะให้จัดเก็บภาษีคาร์บอน หรือภาษีถ่านหิน ซึ่งจะช่วยให้จีนลดปัญหามลพิษทางอากาศลงไปได้อย่างสำคัญ อีกทั้งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควรไปได้ 4-5 ล้านคนทีเดียวเมื่อถึงปี 2030
นอกเหนือจากการปฏิรูปทางภาคการคลังแล้ว ลิปตันบอกว่าจีนจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ระบบการคลังที่กำลังซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ของตนบังเกิดความเสี่ยงต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยที่จะต้องเพิ่มการประสานงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกำกับตรวจสอบในด้านต่างๆ กับตลาดต่างๆ ตลอดจนทำให้ทั้งธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ มีความยืดหยุ่นทางด้านเงินทุนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของจีน ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่พวกนักลงทุนทั่วโลกเกิดความวิตกอย่างสูง ภายหลังจากเงินหยวนลดค่าต่ำลงอย่างสุดเซอร์ไพรซ์เมื่อปีที่แล้ว ลิปตันกลับมองเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนของจีนกำลัง “อิงอยู่กับตลาดและมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น” โดยที่ไอเอ็มเอฟกระตุ้นส่งเสริมให้จีนกำหนด “เป้าหมายที่จะบรรลุถึงการลอยตัว (เงินหยวน) อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาสองสามปีข้างหน้า”
ลิปตันยังชี้ว่า จีนได้ปรับปรุงเรื่องตัวเลขข้อมูลของตน ตลอดจนการสื่อสารเรื่องนโยบายต่างๆ ต่อตลาดและสาธารณชนทั่วไป เขากล่าวด้วยว่า การปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ให้ดีขึ้นต่อไปจะช่วยจีนในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของตน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
หมายเหตุผู้แปล
[1]
เจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟเตือน จีนต้องเร่งจัดการกับหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังเพิ่มสูง
โดย สำนักข่าวรอยเตอร์
11/06/2016
จีนต้องลงมืออย่างรวดเร็วในการแก้ไขจัดการกับหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังพุ่งสูง และกลายเป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของแดนมังกร เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในวันเสาร์ (11 มิ.ย.)
เดวิด ลิปตัน รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของไอเอ็มเอฟ กล่าวเตือนในคำปราศรัยซึ่งเขาพูดกับนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น เมืองใหญ่ทางภาคใต้ของจีนว่า ภาวะที่บริษัทต่างๆ มีหนี้สินรุงรัง คือ “แนวรอยเลื่อนสำคัญแนวหนึ่งในเศรษฐกิจของจีน”
“ปัญหาหนี้สินภาคบรรษัทในวันนี้ สามารถที่จะกลายเป็นปัญหาหนี้สินเชิงระบบในวันพรุ่งนี้ หรือไม่ก็เป็นวิกฤตการณ์ภาคการธนาคาร หรือว่าเป็นทั้งสองอย่างนี้ก็ได้” ลิปตันกล่าว ทั้งนี้ตามสำเนาคำปราศรัยที่เขาเตรียมไว้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แบงก์ชาติของจีนซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China) ก็ได้กล่าวเตือนไว้ในรายงานกิจการงานรอบครึ่งปีของทางธนาคารว่า การที่รัฐบาลจีนกำลังผลักดันให้ลดระดับหนี้สินตลอดจนลดภาวะกำลังการผลิตล้นเกินลงมา อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดความสามารถที่จะชำระไถ่ถอนคืนหุ้นกู้ และทำให้บริษัทต่างๆ ประสบความลำบากขึ้นมากในการระดมหาเงินทุน
ลิปตันระบุว่าหนี้สินภาคบริษัทในจีนเวลานี้อยู่ที่เท่ากับประมาณ 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่สูง เขาย้ำเป็นพิเศษไปที่พวกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นตัวก่อหนี้สินภาคบริษัทถึงราว 55% ของยอดทั้งหมด ทว่าเป็นตัวสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจเพียง 22% ของจีดีพีเท่านั้น ทั้งนี้ตามการประมาณการของไอเอ็มเอฟ
เจ้าหน้าที่อาวุโสของไอเอ็มเอฟผู้นี้ หยิบยกตัวอย่างประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ มาเปรียบเทียบ และสำทับว่าจีนจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้ รวมทั้งจะต้องรับมือแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลทั้งในภาคบริษัทและภาคการธนาคาร
“บทเรียนที่จีนจำเป็นจะต้องนำมาย่อยให้กลายเป็นบทเรียนของตนเองก็คือ การที่จะหลีกเลี่ยงวงจรซ้ำๆ ซากๆ ซึ่งประกอบด้วยการเติบโตขยายตัวของสินเชื่อ, สภาวการณ์มีหนี้สินรุงรัง, และการปรับโครงสร้างของภาคบริษัท ให้ได้นั้น ก็คือการปรับปรุงธรรมาภิบาลภาคบริษัทให้กระเตื้องสูงขึ้น” เขาระบุ
Debt isn’t only potential shock to China’s economic system
By Asia Unhedged
14/06/2016
เดวิด ลิปตัน รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) นอกจากเตือนให้จีนเร่งจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคบริษัท โดยเฉพาะพวกรัฐวิสาหกิจ ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัวแล้ว เขายังระบุถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การปฏิรูปภาคการคลัง, การประสานงานร่วมมือของหน่วยงานกำกับตรวจสอบด้านต่างๆ ซึ่งปักกิ่งจะต้องเร่งรัด เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายสร้างภาวะช็อกต่อระบบเศรษฐกิจ
เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมากล่าวอย่างเปิดเผยกลายเป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อเขาบอกว่าจีนจำเป็นจะต้องเร่งรีบจัดการกับปัญหาหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของตนบังเกิดความสมดุล (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://atimes.com/2016/06/china-must-quickly-tackle-rising-corporate-debt-warns-imf-official/ หรือ http://www.reuters.com/article/us-china-imf-debt-idUSKCN0YX029 หรือดูที่เก็บความเป็นภาษาไทยได้ที่ “หมายเหตุผู้แปล” ข้างล่างนี้ [1])
ทว่า ไมเคิล ลิปตัน (David Lipton) รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของไอเอ็มเอฟ (IMF first deputy managing director) ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เขายังแสดงความคิดเห็นในอีกรายการหนึ่งที่มีการอ้างอิงรายงานกันน้อยกว่านั้น โดยเขาเตือนว่าหน่วยงานกำกับตรวจสอบทั้งหลายของจีน จำเป็นที่จะต้องขยับก้าวเดินเพิ่มขึ้นอีกเพื่อหยุดยั้งภาวะช็อกมากยิ่งกว่านี้ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ เขากล่าวว่า ผู้คุมกฎเหล่านี้จำเป็นต้องเร่งรัดมากยิ่งขึ้นอีกในการปฏิบัติตามการปฏิรูปต่างๆ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนแสดงให้เห็นความอ่อนแอต่างๆ เพิ่มขึ้นทุกที ทั้งนี้เขาสำทับว่า หากไม่มีการเตรียมตัวพร้อมรับมือดังกล่าวแล้ว จีนก็จะมีหนทางลดน้อยลงในการตอบโต้รับมือ ถ้าเศรษฐกิจต้องประสบกับภาวะช็อกบางอย่างบางประการ (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.reuters.com/article/china-economy-imf-idUSL4N1962S6)
“ลู่ทางโอกาสของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้น(ของจีน) ได้เปลี่ยนกลับมาในทิศทางสดใสมากขึ้น สืบเนื่องจากการใช้ความสนับสนุนเชิงนโยบายเมื่อเร็วๆ นี้” ลิปตันกล่าวเมื่อวันอังคาร (14 มิ.ย.) ในช่วงท้ายของการเดินทางมาเยือนปักกิ่งของเขาเที่ยวนี้
“อย่างไรก็ตาม ลู่ทางโอกาสของการเจริญเติบโตในระยะกลางนั้น มีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากหนี้สินที่กำลังเพิ่มขึ้น, ภาวะกำลังผลิตล้นเกินในเชิงโครงสร้าง, และภาคการเงินซึ่งทั้งมีขนาดใหญ่ คลุมเครือไม่โปร่งใส และมีการติดต่อเชื่อมโยงกันมากขึ้นทุกที” ลิปตันบอก
ทั้งนี้เศรษฐกิจของจีนเมื่อปีที่แล้วเติบโตขยายตัวด้วยฝีก้าวเชื่องช้าที่สุดในรอบเสี้ยวศตวรรษ โดยปัจจัยที่เป็นตัวถ่วงมีอาทิ ดีมานด์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศซึ่งอ่อนตัวลง, การลงทุนกำลังชะลอตัว, และเกิดภาวะกำลังการผลิตล้นเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอย่างเช่นเหล็กกล้าและถ่านหิน
ในเวลาเดียวกันนั้น รัฐบาลยังคงดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้มีอัตราเติบโตขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ซึ่งพวกนักวิเคราะห์มองว่ากำลังบีบคั้นให้ระดับหนี้สินของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อปริมาณหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไต่สูงทะลุทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี พวกนักวิเคราะห์จึงเกิดความวิตกเกี่ยวกับสุขภาพของระบบการธนาคารของแดนมังกรอีกด้วย
“หนี้สินภาคบรรษัท ถึงแม้ยังคงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงและก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” ลิปตันกล่าวย้ำสิ่งซึ่งเขาได้พูดเอาไว้เมื่อวันเสาร์ (11 มิถุนายน) พร้อมกับพูดต่อไปว่า จีนจำเป็นที่จะต้องมีแผนการอันครอบคลุมรอบด้านและการปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาครัฐวิสาหกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า
ไอเอ็มเอฟคาดหมายว่าเศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวได้ราว 6% ในปี 2017 ขณะที่ปักกิ่งกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะต้องมีอัตราเติบโตอย่างน้อย 6.5% โดยเฉลี่ยในตลอดช่วง 5 ปีจากนี้ไป ถึงแม้นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าระดับการเติบโตที่แท้จริงกำลังอยู่ในสภาพอ่อนแอกว่าที่ข้อมูลทางการบ่งบอกเอาไว้มาก
ลิปตันกล่าวว่า จีนยังจำเป็นที่จะต้องทำให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นคำนึงถึงความรับผิดชอบด้านการหารายได้ ในระดับเดียวกันกับความรับผิดชอบด้านการใช้จ่าย, ขยายระบบความมั่นคงทางสังคมให้กว้างขวางออกไป, ปฏิบัติตามกฎหมายงบประมาณฉบับใหม่ๆ , และทำให้ระบบจัดเก็บภาษีอยู่ในลักษณะก้าวหน้ามากขึ้น
ไอเอ็มเอฟยังเสนอแนะให้จัดเก็บภาษีคาร์บอน หรือภาษีถ่านหิน ซึ่งจะช่วยให้จีนลดปัญหามลพิษทางอากาศลงไปได้อย่างสำคัญ อีกทั้งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควรไปได้ 4-5 ล้านคนทีเดียวเมื่อถึงปี 2030
นอกเหนือจากการปฏิรูปทางภาคการคลังแล้ว ลิปตันบอกว่าจีนจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ระบบการคลังที่กำลังซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ของตนบังเกิดความเสี่ยงต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยที่จะต้องเพิ่มการประสานงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกำกับตรวจสอบในด้านต่างๆ กับตลาดต่างๆ ตลอดจนทำให้ทั้งธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ มีความยืดหยุ่นทางด้านเงินทุนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของจีน ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่พวกนักลงทุนทั่วโลกเกิดความวิตกอย่างสูง ภายหลังจากเงินหยวนลดค่าต่ำลงอย่างสุดเซอร์ไพรซ์เมื่อปีที่แล้ว ลิปตันกลับมองเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยนของจีนกำลัง “อิงอยู่กับตลาดและมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น” โดยที่ไอเอ็มเอฟกระตุ้นส่งเสริมให้จีนกำหนด “เป้าหมายที่จะบรรลุถึงการลอยตัว (เงินหยวน) อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาสองสามปีข้างหน้า”
ลิปตันยังชี้ว่า จีนได้ปรับปรุงเรื่องตัวเลขข้อมูลของตน ตลอดจนการสื่อสารเรื่องนโยบายต่างๆ ต่อตลาดและสาธารณชนทั่วไป เขากล่าวด้วยว่า การปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ให้ดีขึ้นต่อไปจะช่วยจีนในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของตน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
หมายเหตุผู้แปล
[1]
เจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟเตือน จีนต้องเร่งจัดการกับหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังเพิ่มสูง
โดย สำนักข่าวรอยเตอร์
11/06/2016
จีนต้องลงมืออย่างรวดเร็วในการแก้ไขจัดการกับหนี้สินภาคบริษัทที่กำลังพุ่งสูง และกลายเป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของแดนมังกร เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในวันเสาร์ (11 มิ.ย.)
เดวิด ลิปตัน รองกรรมการผู้จัดการคนที่หนึ่งของไอเอ็มเอฟ กล่าวเตือนในคำปราศรัยซึ่งเขาพูดกับนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งในเมืองเซินเจิ้น เมืองใหญ่ทางภาคใต้ของจีนว่า ภาวะที่บริษัทต่างๆ มีหนี้สินรุงรัง คือ “แนวรอยเลื่อนสำคัญแนวหนึ่งในเศรษฐกิจของจีน”
“ปัญหาหนี้สินภาคบรรษัทในวันนี้ สามารถที่จะกลายเป็นปัญหาหนี้สินเชิงระบบในวันพรุ่งนี้ หรือไม่ก็เป็นวิกฤตการณ์ภาคการธนาคาร หรือว่าเป็นทั้งสองอย่างนี้ก็ได้” ลิปตันกล่าว ทั้งนี้ตามสำเนาคำปราศรัยที่เขาเตรียมไว้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แบงก์ชาติของจีนซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China) ก็ได้กล่าวเตือนไว้ในรายงานกิจการงานรอบครึ่งปีของทางธนาคารว่า การที่รัฐบาลจีนกำลังผลักดันให้ลดระดับหนี้สินตลอดจนลดภาวะกำลังการผลิตล้นเกินลงมา อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดความสามารถที่จะชำระไถ่ถอนคืนหุ้นกู้ และทำให้บริษัทต่างๆ ประสบความลำบากขึ้นมากในการระดมหาเงินทุน
ลิปตันระบุว่าหนี้สินภาคบริษัทในจีนเวลานี้อยู่ที่เท่ากับประมาณ 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่สูง เขาย้ำเป็นพิเศษไปที่พวกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นตัวก่อหนี้สินภาคบริษัทถึงราว 55% ของยอดทั้งหมด ทว่าเป็นตัวสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจเพียง 22% ของจีดีพีเท่านั้น ทั้งนี้ตามการประมาณการของไอเอ็มเอฟ
เจ้าหน้าที่อาวุโสของไอเอ็มเอฟผู้นี้ หยิบยกตัวอย่างประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ มาเปรียบเทียบ และสำทับว่าจีนจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และฝ่ายลูกหนี้ รวมทั้งจะต้องรับมือแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลทั้งในภาคบริษัทและภาคการธนาคาร
“บทเรียนที่จีนจำเป็นจะต้องนำมาย่อยให้กลายเป็นบทเรียนของตนเองก็คือ การที่จะหลีกเลี่ยงวงจรซ้ำๆ ซากๆ ซึ่งประกอบด้วยการเติบโตขยายตัวของสินเชื่อ, สภาวการณ์มีหนี้สินรุงรัง, และการปรับโครงสร้างของภาคบริษัท ให้ได้นั้น ก็คือการปรับปรุงธรรมาภิบาลภาคบริษัทให้กระเตื้องสูงขึ้น” เขาระบุ