Brexit chill sends Bund yields sub zero
14/06/2016
ดีมานด์ความต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันชนิดอายุไถ่ถอน 10 ปี ซึ่งมาแรงตั้งแต่หลายวันก่อน เมื่อถึงวันอังคาร (14 มิ.ย.) ก็ทำให้อัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ซึ่งต้องเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคา ลดต่ำลงสู่แดนลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแรงซื้อสูงลิ่วเช่นนี้ ก็คือนักลงทุนรู้สึกสถานการณ์ไม่แน่นอน โดยเฉพาะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ประชามติในอังกฤษอาจเลือกที่จะให้ประเทศถอนตัวออกจากอียู ดังนั้นจึงเห็นกันว่าควรต้องหลบภัย เข้าไปอยู่ในการลงทุนที่มั่นคงสูงๆ เอาไว้ก่อน
เมื่อความหวาดกลัวที่ชาวอังกฤษอาจลงประชามติให้ถอนตัวจากสหภาพยุโรป (อียู) รวมทั้งความกังวลเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดแรงโหมกระพือเข้าพึ่งพาความปลอดภัยของตราสารหนี้เยอรมัน ในวันอังคาร (14 มิ.ย.) ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ครั้งแรกที่พวกนักลงทุนยอมรับอัตราผลตอบแทนแบบติดลบ สำหรับการเข้าถือครองพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันซึ่งแข็งแกร่งน่าเชื่อถือที่สุด
ถึงแม้แต่ไหนแต่ไรมาว่าผู้ขอกู้ย่อมต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินที่พวกเขากู้ไป ทว่าในภาวะที่เกิดความไม่แน่นอนสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ก็ไหลรูดลงมาจนอยู่ในระดับต่ำสุดประวัติการณ์ในช่วงหลังๆ นี้ เมื่อบรรดานักลงทุนต่างพยายามหนีไปหาแหล่งหลบภัยที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อพักเงินสดของพวกเขาเอาไว้ก่อน
พันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลเยอรมัน ได้รับการยอมรับมานานแล้วว่าเป็นตราสารนี้ที่มีฐานะแข็งแกร่ง ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูงลิ่ว จนกระทั่งกลายเป็นมาตรวัดตัวหนึ่งที่ใช้คำนวณความปลอดภัยทางการเงิน ทั้งนี้เมื่อมีความต้องการซื้อพันธบัตรชนิดนี้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “บุนด์” (Bunds) เพิ่มขึ้นพรวดพราด ก็ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) ของมันลงต่ำ จนกระทั่งเข้าสู่แดนลบเป็นครั้งแรก
ในการซื้อขายในตลาดแถบยุโรปเมื่อช่วงบ่ายวันอังคาร (14 มิ.ย.) ปรากฏว่ายีลด์ของพันธบัตรชนิดนี้อยู่ที่ – 0.028% ซึ่งหมายความว่าใครก็ตามที่ถือครองจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 0.028% นั่นเอง
เวลานี้การยุติความหวังใดๆ ที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนของพวกเขา ดูเหมือนกลายเป็นราคาอันสมเหตุสมผลที่นักลงทุนยอมจ่าย เพื่อหลบหนีออกจากความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นที่กำลังไหลรูด หรือจากสินค้าโภคภัณฑ์และเงินตราซึ่งเคลื่อนไหวผันผวนอย่างน่าหวาดผวา
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น พันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอายุไถ่ถอน 10 ปีนี้ ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีความปลอดภัยที่สุด ขณะที่พวกเทรดเดอร์ชี้ว่า ปัจจัยต่างๆ ซึ่งกำลังทำให้นักลงทุนขวัญหนีและหันมาถือครองตราสารชนิดนี้จนราคาขึ้นพรวดนั้น นอกจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัว, ความคาดหมายที่ว่าเขตยูโรโซนจะยังคงมีอัตราเงินเฟ้อต่ำเตี้ยแล้ว ก็ยังมีเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิด “เบร็กซิต” (Brexit) หรืออังกฤษถอนตัวออกจากอียู โดยที่การลงประชามติในเรื่องนี้กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน หรืออีกเพียงแค่ 10 วันข้างหน้า
“ปัจจัยขับดันใหญ่มหึมาอย่างหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังแนวโน้มราคาในเวลานี้ ได้แก่ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิด เบร็กซิต นี่เองกำลังขับดันพวกนักลงทุนให้เข้าสู่แหล่งหลบภัยชั้นดีอย่างพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน” อูลริช คาเตอร์ (Ulrich Kater) นักเศรษฐศาสตร์แห่ง เดคาแบงก์ (DeKaBank) แสดงความเห็น
เช่นเดียวกับ ดิดิเยร์ ดูเร (Didier Duret) ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของ เอบีเอ็น แอมโร (ABN Amro) ที่ระบุว่า “ตลาดกำลังปรับตัวให้สอดคล้องกับการแข่งขันชิงชัยในเรื่องเบร็กซิต ซึ่งคู่คี่กันเหลือเกิน และจึงกำลังกำหนดราคาโดยชี้ว่าความไม่แน่นอนนั้นอยู่ในระดับสูงสุด”
“การโหวตคราวนี้เป็นช่วงขณะแห่งประวัติศาสตร์ ... และนี่ (ความเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน) คือการสาธิตให้เห็นว่า ตราสารหนี้นั้น ถึงแม้ขณะที่ให้ผลตอบแทนอยู่แถวๆ เส้น 0% ก็จะยังคงถูกมองว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยในพอร์ตโฟลิโอ”
ผลการสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ ส่วนใหญ่ ตลอดจนแต้มต่อของบรรดาบ่อนพนันถูกกฎหมายทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่ากำลังมีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่การลงประชามติคราวนี้ ฝ่ายที่ต้องการให้ถอนตัวจากอียูจะเป็นผู้ชนะ ขณะเดียวกัน “เดอะ ซัน” (the Sun) หนังสือพิมพ์แทบล็อยด์ขายดีที่สุดของอังกฤษ ก็เพิ่งประกาศตัวว่าเชียร์ค่ายที่ให้ออกจากสหภาพยุโรป
ถึงแม้ผลโพลที่ออกมาในช่วงหลังๆ ของบางสำนักซึ่งระบุว่าฝ่ายที่ต้องการให้ถอนตัวมีคะแนนนำในระดับ 10% แล้ว ได้รับการท้วงติงว่ามีปัญหาในวิธีการสำรวจ ทว่าจากการที่มีผลโพลออกมาในทิศทางนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็สร้างความหวาดหวั่นขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้
อันที่จริงแล้ว สำนักทำสำรวจความคิดเห็นในอังกฤษนั้นมีภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากทำความผิดพลาดใหญ่โตให้เห็นมาแล้วหลายครั้งหลายหน
เป็นต้นว่า การลงประชามติในสกอตแลนด์เมื่อเดือนกันยายน 2014 เรื่องจะแยกตัวเป็นเอกราชหรือไม่ ซึ่งโพลจำนวนมากบอกว่าคะแนนเสียงคู่คี่สูสี แต่ผลจริงๆ ออกมาว่าฝ่ายไม่แยกตัวชนะถึง 10% เศษ
หรือการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2015 ผลสำรวจของสำนักต่างๆ ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งต่างบอกว่า พรรคคอนเซอร์เวทีฟของนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน สูญเสียคะแนนนิยม อาจถึงกับไม่ได้เป็นพรรคที่ได้คะแนนอันดับหนึ่ง ทว่าผลจริงๆ คือพรรคนี้ชนะได้ ส.ส. มากกว่าเดิม กระทั่งสามารถครองเสียงข้างมากในสภา และจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ด้วยซ้ำ แทนที่จะต้องหาพรรคอื่นมาเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสมอย่างสมัยก่อนหน้านั้น
กระนั้น ก็อย่างที่ ฮิเดกิ คิชิดะ นักวิเคราะห์ตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ ซีเคียวริตีส์ พูดเอาไว้ “ถึงแม้ผลสำรวจความคิดเห็นเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าจะเชื่อถือได้ ดังเช่นในกรณีการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ ทว่าตลาดก็กำลังถูกผลโพลเหล่านี้เข้ามาแกว่งไกวให้โยกไหวไปมาในช่วงหลังๆ นี้”
ปัจจัยอื่นๆ
ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่กำลังช่วยเป็นแรงขับดันตลาดพันธบัตรให้พุ่งแรง โดยเฉพาะการลงทุนประเภทอื่นๆ ดูจะมีแต่ความอึมครึม
คาดหมายกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนเอาไว้ที่เดิมอย่างน้อยที่สุดก็อีกเดือนหนึ่ง เมื่อเปิดการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของตน (เอฟโอเอ็มซี) ในวันอังคารและวันพุธ (14-15 มิ.ย.)
ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันซึ่งในช่วงหลังๆ ได้กระเตื้องฟื้นตัว ส่งผลช่วยให้มีความเชื่อมั่นกันมากขึ้นนั้น ตอนนี้ก็กลับถอยลงจนอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาหุ้นในตลาดยุโรปกำลังลดลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
ในตลาดเงินตรา เงินปอนด์อ่อนค่าลงประมาณ 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนพากันเตรียมพร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ที่สกุลเงินตราของอังกฤษจะหล่นวูบอย่างแรงถ้าเกิดเบร็กซิตขึ้นมา โดยที่พวกเขาพากันเข้าซื้อออปชั่น “put” (ขาย) ของเงินปอนด์
ความกระวนกระวายของนักลงทุนในตลาดเงินตรา ถูกแปรเข้าสู่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของราคาเงินปอนด์ หรือที่รู้จักกันว่า “ความผันผวน” (volatility) ของตลาด โดยที่นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า เปรียบเทียบได้กับความปั่นป่วนซึ่งเคยเห็นกันครั้งท้ายสุดในช่วงเกิดวิกฤตภาคการเงินปี 2008
“ความผันผวนของเงินปอนด์ในปัจจุบันอยู่ที่ 30% เหนือจุดที่เคยขึ้นไปสูงสุดในระหว่างวิกฤตภาคการเงินปี 2008/2009 ด้วยซ้ำ” คัลลัม พิกเคอริ่ง (Kallum Pickering) แห่ง เบเรนเบิร์ก (Berenberg) ชี้
เงินปอนด์ยังคงอ่อนปวกเปียกอยู่ในระดับใกล้ๆ จุดต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ส่วนตลาดหุ้นโลกก็ไหลลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ทว่าความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ที่สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่พันธบัตรรัฐบาลเยอรมันนั่นแหละ คือสิ่งที่เป็นตัวแทนความรู้สึกแห่งความไม่แน่นอนของตลาดการเงินได้ดีที่สุดในขณะนี้
14/06/2016
ดีมานด์ความต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันชนิดอายุไถ่ถอน 10 ปี ซึ่งมาแรงตั้งแต่หลายวันก่อน เมื่อถึงวันอังคาร (14 มิ.ย.) ก็ทำให้อัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ซึ่งต้องเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคา ลดต่ำลงสู่แดนลบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแรงซื้อสูงลิ่วเช่นนี้ ก็คือนักลงทุนรู้สึกสถานการณ์ไม่แน่นอน โดยเฉพาะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ประชามติในอังกฤษอาจเลือกที่จะให้ประเทศถอนตัวออกจากอียู ดังนั้นจึงเห็นกันว่าควรต้องหลบภัย เข้าไปอยู่ในการลงทุนที่มั่นคงสูงๆ เอาไว้ก่อน
เมื่อความหวาดกลัวที่ชาวอังกฤษอาจลงประชามติให้ถอนตัวจากสหภาพยุโรป (อียู) รวมทั้งความกังวลเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ กลายเป็นสาเหตุทำให้เกิดแรงโหมกระพือเข้าพึ่งพาความปลอดภัยของตราสารหนี้เยอรมัน ในวันอังคาร (14 มิ.ย.) ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ครั้งแรกที่พวกนักลงทุนยอมรับอัตราผลตอบแทนแบบติดลบ สำหรับการเข้าถือครองพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันซึ่งแข็งแกร่งน่าเชื่อถือที่สุด
ถึงแม้แต่ไหนแต่ไรมาว่าผู้ขอกู้ย่อมต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เงินที่พวกเขากู้ไป ทว่าในภาวะที่เกิดความไม่แน่นอนสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ก็ไหลรูดลงมาจนอยู่ในระดับต่ำสุดประวัติการณ์ในช่วงหลังๆ นี้ เมื่อบรรดานักลงทุนต่างพยายามหนีไปหาแหล่งหลบภัยที่มีความปลอดภัยสูงเพื่อพักเงินสดของพวกเขาเอาไว้ก่อน
พันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลเยอรมัน ได้รับการยอมรับมานานแล้วว่าเป็นตราสารนี้ที่มีฐานะแข็งแกร่ง ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูงลิ่ว จนกระทั่งกลายเป็นมาตรวัดตัวหนึ่งที่ใช้คำนวณความปลอดภัยทางการเงิน ทั้งนี้เมื่อมีความต้องการซื้อพันธบัตรชนิดนี้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “บุนด์” (Bunds) เพิ่มขึ้นพรวดพราด ก็ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) ของมันลงต่ำ จนกระทั่งเข้าสู่แดนลบเป็นครั้งแรก
ในการซื้อขายในตลาดแถบยุโรปเมื่อช่วงบ่ายวันอังคาร (14 มิ.ย.) ปรากฏว่ายีลด์ของพันธบัตรชนิดนี้อยู่ที่ – 0.028% ซึ่งหมายความว่าใครก็ตามที่ถือครองจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 0.028% นั่นเอง
เวลานี้การยุติความหวังใดๆ ที่จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนของพวกเขา ดูเหมือนกลายเป็นราคาอันสมเหตุสมผลที่นักลงทุนยอมจ่าย เพื่อหลบหนีออกจากความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นที่กำลังไหลรูด หรือจากสินค้าโภคภัณฑ์และเงินตราซึ่งเคลื่อนไหวผันผวนอย่างน่าหวาดผวา
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น พันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอายุไถ่ถอน 10 ปีนี้ ถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่มีความปลอดภัยที่สุด ขณะที่พวกเทรดเดอร์ชี้ว่า ปัจจัยต่างๆ ซึ่งกำลังทำให้นักลงทุนขวัญหนีและหันมาถือครองตราสารชนิดนี้จนราคาขึ้นพรวดนั้น นอกจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัว, ความคาดหมายที่ว่าเขตยูโรโซนจะยังคงมีอัตราเงินเฟ้อต่ำเตี้ยแล้ว ก็ยังมีเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิด “เบร็กซิต” (Brexit) หรืออังกฤษถอนตัวออกจากอียู โดยที่การลงประชามติในเรื่องนี้กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน หรืออีกเพียงแค่ 10 วันข้างหน้า
“ปัจจัยขับดันใหญ่มหึมาอย่างหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังแนวโน้มราคาในเวลานี้ ได้แก่ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิด เบร็กซิต นี่เองกำลังขับดันพวกนักลงทุนให้เข้าสู่แหล่งหลบภัยชั้นดีอย่างพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน” อูลริช คาเตอร์ (Ulrich Kater) นักเศรษฐศาสตร์แห่ง เดคาแบงก์ (DeKaBank) แสดงความเห็น
เช่นเดียวกับ ดิดิเยร์ ดูเร (Didier Duret) ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของ เอบีเอ็น แอมโร (ABN Amro) ที่ระบุว่า “ตลาดกำลังปรับตัวให้สอดคล้องกับการแข่งขันชิงชัยในเรื่องเบร็กซิต ซึ่งคู่คี่กันเหลือเกิน และจึงกำลังกำหนดราคาโดยชี้ว่าความไม่แน่นอนนั้นอยู่ในระดับสูงสุด”
“การโหวตคราวนี้เป็นช่วงขณะแห่งประวัติศาสตร์ ... และนี่ (ความเคลื่อนไหวของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน) คือการสาธิตให้เห็นว่า ตราสารหนี้นั้น ถึงแม้ขณะที่ให้ผลตอบแทนอยู่แถวๆ เส้น 0% ก็จะยังคงถูกมองว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยในพอร์ตโฟลิโอ”
ผลการสำรวจความคิดเห็นของสำนักต่างๆ ส่วนใหญ่ ตลอดจนแต้มต่อของบรรดาบ่อนพนันถูกกฎหมายทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่ากำลังมีโอกาสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่การลงประชามติคราวนี้ ฝ่ายที่ต้องการให้ถอนตัวจากอียูจะเป็นผู้ชนะ ขณะเดียวกัน “เดอะ ซัน” (the Sun) หนังสือพิมพ์แทบล็อยด์ขายดีที่สุดของอังกฤษ ก็เพิ่งประกาศตัวว่าเชียร์ค่ายที่ให้ออกจากสหภาพยุโรป
ถึงแม้ผลโพลที่ออกมาในช่วงหลังๆ ของบางสำนักซึ่งระบุว่าฝ่ายที่ต้องการให้ถอนตัวมีคะแนนนำในระดับ 10% แล้ว ได้รับการท้วงติงว่ามีปัญหาในวิธีการสำรวจ ทว่าจากการที่มีผลโพลออกมาในทิศทางนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็สร้างความหวาดหวั่นขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้
อันที่จริงแล้ว สำนักทำสำรวจความคิดเห็นในอังกฤษนั้นมีภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากทำความผิดพลาดใหญ่โตให้เห็นมาแล้วหลายครั้งหลายหน
เป็นต้นว่า การลงประชามติในสกอตแลนด์เมื่อเดือนกันยายน 2014 เรื่องจะแยกตัวเป็นเอกราชหรือไม่ ซึ่งโพลจำนวนมากบอกว่าคะแนนเสียงคู่คี่สูสี แต่ผลจริงๆ ออกมาว่าฝ่ายไม่แยกตัวชนะถึง 10% เศษ
หรือการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2015 ผลสำรวจของสำนักต่างๆ ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งต่างบอกว่า พรรคคอนเซอร์เวทีฟของนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน สูญเสียคะแนนนิยม อาจถึงกับไม่ได้เป็นพรรคที่ได้คะแนนอันดับหนึ่ง ทว่าผลจริงๆ คือพรรคนี้ชนะได้ ส.ส. มากกว่าเดิม กระทั่งสามารถครองเสียงข้างมากในสภา และจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ด้วยซ้ำ แทนที่จะต้องหาพรรคอื่นมาเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสมอย่างสมัยก่อนหน้านั้น
กระนั้น ก็อย่างที่ ฮิเดกิ คิชิดะ นักวิเคราะห์ตราสารหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ ซีเคียวริตีส์ พูดเอาไว้ “ถึงแม้ผลสำรวจความคิดเห็นเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าจะเชื่อถือได้ ดังเช่นในกรณีการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ ทว่าตลาดก็กำลังถูกผลโพลเหล่านี้เข้ามาแกว่งไกวให้โยกไหวไปมาในช่วงหลังๆ นี้”
ปัจจัยอื่นๆ
ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่กำลังช่วยเป็นแรงขับดันตลาดพันธบัตรให้พุ่งแรง โดยเฉพาะการลงทุนประเภทอื่นๆ ดูจะมีแต่ความอึมครึม
คาดหมายกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนเอาไว้ที่เดิมอย่างน้อยที่สุดก็อีกเดือนหนึ่ง เมื่อเปิดการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของตน (เอฟโอเอ็มซี) ในวันอังคารและวันพุธ (14-15 มิ.ย.)
ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันซึ่งในช่วงหลังๆ ได้กระเตื้องฟื้นตัว ส่งผลช่วยให้มีความเชื่อมั่นกันมากขึ้นนั้น ตอนนี้ก็กลับถอยลงจนอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาหุ้นในตลาดยุโรปกำลังลดลงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
ในตลาดเงินตรา เงินปอนด์อ่อนค่าลงประมาณ 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนพากันเตรียมพร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ที่สกุลเงินตราของอังกฤษจะหล่นวูบอย่างแรงถ้าเกิดเบร็กซิตขึ้นมา โดยที่พวกเขาพากันเข้าซื้อออปชั่น “put” (ขาย) ของเงินปอนด์
ความกระวนกระวายของนักลงทุนในตลาดเงินตรา ถูกแปรเข้าสู่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของราคาเงินปอนด์ หรือที่รู้จักกันว่า “ความผันผวน” (volatility) ของตลาด โดยที่นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า เปรียบเทียบได้กับความปั่นป่วนซึ่งเคยเห็นกันครั้งท้ายสุดในช่วงเกิดวิกฤตภาคการเงินปี 2008
“ความผันผวนของเงินปอนด์ในปัจจุบันอยู่ที่ 30% เหนือจุดที่เคยขึ้นไปสูงสุดในระหว่างวิกฤตภาคการเงินปี 2008/2009 ด้วยซ้ำ” คัลลัม พิกเคอริ่ง (Kallum Pickering) แห่ง เบเรนเบิร์ก (Berenberg) ชี้
เงินปอนด์ยังคงอ่อนปวกเปียกอยู่ในระดับใกล้ๆ จุดต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ส่วนตลาดหุ้นโลกก็ไหลลงเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน ทว่าความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ที่สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่พันธบัตรรัฐบาลเยอรมันนั่นแหละ คือสิ่งที่เป็นตัวแทนความรู้สึกแห่งความไม่แน่นอนของตลาดการเงินได้ดีที่สุดในขณะนี้