(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China plans to ask Fed about US rates
By Asia Unhedged
25/05/2016
ระหว่างการสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีนประจำปีซึ่งจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งวันที่ 6-7 มิถุนายน พวกเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติจีนเตรียมที่จะสอบถามรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ แจ๊ก ลิว และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เจเน็ต เยลเลน เกี่ยวกับการขยับอัตราดอกเบี้ย ณ การประชุมของเฟดในวันที่ 15 มิถุนายน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวซึ่งเป็นบุคคลที่ทราบเรื่องนี้ดี
เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็ก คุณแม่ของพวกคุณไม่เคยบอกหรอกหรือว่า ถ้าต้องการรู้อะไร ก็ให้ถามเอา ?
คราวนี้ ฝ่ายจีนต้องการทราบว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) กำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของพวกเขาเดือนมิถุนายนนี้หรือเปล่า ซึ่งในทางเป็นจริงคนอื่นๆ ในโลกก็ต้องการทราบกันทั้งนั้นแหละ ทว่าพวกเจ้าหน้าที่จีนมีช่องทางโอกาสอยู่จริงๆ ที่จะได้ใช้เวลาสนทนาเป็นการภายในเล็กๆ น้อยๆ กับรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ แจ๊ก ลิว (Jack Lew) และประธานเฟด เจเนต เยลเลน (Janet Yellen) ดังนั้นพวกเขาจึงกำลังจะสอบถามทางอเมริกันดูว่า “มันจะเป็นยังไง”? ผู้คนซึ่งทราบเรื่องนี้ดีบอกกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดข่าวของบลูมเบิร์กได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-05-25/china-said-to-plan-pressing-u-s-on-timing-of-fed-rate-increase)
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่แถลงข่าวผู้หนึ่งของแบงก์ชาติแดนมังกร ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China หรือ PBOC) ได้ออกมาปฏิเสธกับทางบลูมเบิร์กว่า จีนไม่ได้วางแผนจะสอบถามเกี่ยวกับจังหวะเวลาที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่รายงานนี้
การสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (US-China Strategic and Economic dialogue) ประจำปีนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายนในกรุงปักกิ่ง ขณะที่การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดจะมีขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน คำนวณกันว่าจากความเคลื่อนไหวของตราสารฟิวเจอร์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯในปัจจุบัน แสดงว่ามีโอกาสอยู่ 34% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟเดอรัล ฟันด์ส เรต” (federal funds rate) ขึ้นไปอีก 0.5% จากช่วงเป้าหมายในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 0.25% (เฟเดอรัล ฟันด์ส เรต เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืนระหว่างธนาคารต่างๆ ดังนั้นในทางเทคนิค เฟดจึงไม่ได้เป็นผู้ที่กำหนด เพียงแต่ระบุช่วงเป้าหมายที่อยากให้เป็นไป อย่างไรก็ตาม เฟดนั้นมีอิทธิพลบารมีที่ทำให้ธนาคารต่างๆ เคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่เฟดประสงค์อยู่แล้ว –ผู้แปล)
บลูมเบิร์กชี้ว่า การปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการตัดสินใจทางนโยบายของแต่ละฝ่าย ต้องถือว่าสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาซึ่งทั้งจีนและสหรัฐฯให้ไว้ในฐานะที่ต่างก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม 20 ประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของโลก (จี20) ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมครั้งล่าสุดที่เซี่ยงไฮ้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขุนคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี20 ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด และ “สื่อสารกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและทางนโยบายเชิงโครงสร้างของพวกตน เพื่อลดทอนความไม่แน่นอนทางนโยบายให้ลดน้อยลง” และบรรเทาผลกระทบกระเทือนต่อเนื่องให้เหลือน้อยที่สุด
ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรสำหรับพวกเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสที่จะกดดันซึ่งกันและกันในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายของพวกเขา รายงานของบลูมเบิร์กบอก พร้อมกับชี้ว่า การที่ฝ่ายจีนจะสอบถามอะไรจากทางเฟดนั้น ย่อมจะเป็นการเจริญรอยตามการที่ฝ่ายสหรัฐฯแสดงความกังวลครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับความตั้งใจของจีนในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแดนมังกร ทั้งนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯก็เพิ่งเอาจีนเข้าไปอยู่ในบัญชีเฝ้าติดตามด้านเงินตรา (currency watch list) ซึ่งจัดทำกันขึ้นมาใหม่ๆ เมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อคอยระแวดระวังว่าจะมีพฤติการณ์ในทางสร้างความได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่
อันที่จริง กระแสความคาดหมายที่ว่าสหรัฐฯกำลังจะขยับขึ้นดอกเบี้ย ก็ได้ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของจีนอ่อนตัวลงมาแล้วด้วยซ้ำ โดยที่ในเดือนนี้ สกุลเงินตราของจีนตกลงมาประมาณ 1.2% ขณะที่เมื่อวันพุธ (25 พ.ค.) เงินหยวนซื้อขายกันในระดับเกือบจะต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน หลังจากแบงก์ชาติจีนกำหนดอัตราอ้างอิงในระดับอ่อนปวกเปียกที่สุดในรอบ 5 ปี
“พวกเจ้าหน้าที่จีนมีความกระวนกระวายกันมากจริงๆ เรื่องที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ซึ่งน่าจะดันให้เงินดอลลาร์แข็งขึ้น โดยที่เรื่องเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยคราวนี้ ตลาดก็ยังไม่ใช่ว่ารับรู้และเคลื่อนไหวรับมือกันจนจะไม่ส่งผลอะไรแล้ว” เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชีย ณ บริษัทหลักทรัพย์มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) ในฮ่องกง แสดงความเห็นกับบลูมเบิร์ก “เรื่องนี้อาจกลายเป็นการคุกคามหรือทำให้เป็นการยากลำบากสำหรับ PBOC ที่จะประคับประคองอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนให้มีเสถียรภาพเอาไว้ จุดยืนของเฟดที่แข็งกร้าวลดลงมานั่นแหละ จึงจะเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายจีน”
ในปีหลังๆ มานี้ ก่อนที่พวกผู้วางนโยบายของเฟดจะดำเนินการตัดสินใจทางนโยบายของพวกเขานั้น ได้มีการพิจารณาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการตัดสินใจดังกล่าวอาจส่งผลสืบเนื่องต่อไปในทางระหว่างประเทศอย่างไรบ้าง
“เฟดย่อมจะต้องดำเนินการตัดสินใจโดยคำนึงเพียงว่ามันจะให้ผลดีที่สุดต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทว่าก็เป็นที่ชัดเจนว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อจีน ได้มีอิทธิพลต่อความคิดของพวกเขาในเรื่องดุลยภาพของความเสี่ยงต่างๆ ที่กำลังเผชิญหน้าสหรัฐฯอยู่” มาร์ก วิลเลียมส์ (Mark Williams) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชีย แห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ในกรุงลอนดอน แจกแจงกับบลูมเบิร์ก
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)
China plans to ask Fed about US rates
By Asia Unhedged
25/05/2016
ระหว่างการสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีนประจำปีซึ่งจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งวันที่ 6-7 มิถุนายน พวกเจ้าหน้าที่แบงก์ชาติจีนเตรียมที่จะสอบถามรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ แจ๊ก ลิว และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เจเน็ต เยลเลน เกี่ยวกับการขยับอัตราดอกเบี้ย ณ การประชุมของเฟดในวันที่ 15 มิถุนายน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวซึ่งเป็นบุคคลที่ทราบเรื่องนี้ดี
เมื่อสมัยที่คุณยังเป็นเด็ก คุณแม่ของพวกคุณไม่เคยบอกหรอกหรือว่า ถ้าต้องการรู้อะไร ก็ให้ถามเอา ?
คราวนี้ ฝ่ายจีนต้องการทราบว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ (เฟด) กำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของพวกเขาเดือนมิถุนายนนี้หรือเปล่า ซึ่งในทางเป็นจริงคนอื่นๆ ในโลกก็ต้องการทราบกันทั้งนั้นแหละ ทว่าพวกเจ้าหน้าที่จีนมีช่องทางโอกาสอยู่จริงๆ ที่จะได้ใช้เวลาสนทนาเป็นการภายในเล็กๆ น้อยๆ กับรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ แจ๊ก ลิว (Jack Lew) และประธานเฟด เจเนต เยลเลน (Janet Yellen) ดังนั้นพวกเขาจึงกำลังจะสอบถามทางอเมริกันดูว่า “มันจะเป็นยังไง”? ผู้คนซึ่งทราบเรื่องนี้ดีบอกกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (ดูรายละเอียดข่าวของบลูมเบิร์กได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-05-25/china-said-to-plan-pressing-u-s-on-timing-of-fed-rate-increase)
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่แถลงข่าวผู้หนึ่งของแบงก์ชาติแดนมังกร ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China หรือ PBOC) ได้ออกมาปฏิเสธกับทางบลูมเบิร์กว่า จีนไม่ได้วางแผนจะสอบถามเกี่ยวกับจังหวะเวลาที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่รายงานนี้
การสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (US-China Strategic and Economic dialogue) ประจำปีนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายนในกรุงปักกิ่ง ขณะที่การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดจะมีขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน คำนวณกันว่าจากความเคลื่อนไหวของตราสารฟิวเจอร์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯในปัจจุบัน แสดงว่ามีโอกาสอยู่ 34% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟเดอรัล ฟันด์ส เรต” (federal funds rate) ขึ้นไปอีก 0.5% จากช่วงเป้าหมายในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 0.25% (เฟเดอรัล ฟันด์ส เรต เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืนระหว่างธนาคารต่างๆ ดังนั้นในทางเทคนิค เฟดจึงไม่ได้เป็นผู้ที่กำหนด เพียงแต่ระบุช่วงเป้าหมายที่อยากให้เป็นไป อย่างไรก็ตาม เฟดนั้นมีอิทธิพลบารมีที่ทำให้ธนาคารต่างๆ เคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่เฟดประสงค์อยู่แล้ว –ผู้แปล)
บลูมเบิร์กชี้ว่า การปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการตัดสินใจทางนโยบายของแต่ละฝ่าย ต้องถือว่าสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาซึ่งทั้งจีนและสหรัฐฯให้ไว้ในฐานะที่ต่างก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม 20 ประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของโลก (จี20) ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมครั้งล่าสุดที่เซี่ยงไฮ้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขุนคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี20 ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด และ “สื่อสารกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและทางนโยบายเชิงโครงสร้างของพวกตน เพื่อลดทอนความไม่แน่นอนทางนโยบายให้ลดน้อยลง” และบรรเทาผลกระทบกระเทือนต่อเนื่องให้เหลือน้อยที่สุด
ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรสำหรับพวกเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสที่จะกดดันซึ่งกันและกันในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายของพวกเขา รายงานของบลูมเบิร์กบอก พร้อมกับชี้ว่า การที่ฝ่ายจีนจะสอบถามอะไรจากทางเฟดนั้น ย่อมจะเป็นการเจริญรอยตามการที่ฝ่ายสหรัฐฯแสดงความกังวลครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับความตั้งใจของจีนในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแดนมังกร ทั้งนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯก็เพิ่งเอาจีนเข้าไปอยู่ในบัญชีเฝ้าติดตามด้านเงินตรา (currency watch list) ซึ่งจัดทำกันขึ้นมาใหม่ๆ เมื่อเดือนที่แล้ว เพื่อคอยระแวดระวังว่าจะมีพฤติการณ์ในทางสร้างความได้เปรียบทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่
อันที่จริง กระแสความคาดหมายที่ว่าสหรัฐฯกำลังจะขยับขึ้นดอกเบี้ย ก็ได้ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของจีนอ่อนตัวลงมาแล้วด้วยซ้ำ โดยที่ในเดือนนี้ สกุลเงินตราของจีนตกลงมาประมาณ 1.2% ขณะที่เมื่อวันพุธ (25 พ.ค.) เงินหยวนซื้อขายกันในระดับเกือบจะต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน หลังจากแบงก์ชาติจีนกำหนดอัตราอ้างอิงในระดับอ่อนปวกเปียกที่สุดในรอบ 5 ปี
“พวกเจ้าหน้าที่จีนมีความกระวนกระวายกันมากจริงๆ เรื่องที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ซึ่งน่าจะดันให้เงินดอลลาร์แข็งขึ้น โดยที่เรื่องเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยคราวนี้ ตลาดก็ยังไม่ใช่ว่ารับรู้และเคลื่อนไหวรับมือกันจนจะไม่ส่งผลอะไรแล้ว” เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชีย ณ บริษัทหลักทรัพย์มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) ในฮ่องกง แสดงความเห็นกับบลูมเบิร์ก “เรื่องนี้อาจกลายเป็นการคุกคามหรือทำให้เป็นการยากลำบากสำหรับ PBOC ที่จะประคับประคองอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนให้มีเสถียรภาพเอาไว้ จุดยืนของเฟดที่แข็งกร้าวลดลงมานั่นแหละ จึงจะเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายจีน”
ในปีหลังๆ มานี้ ก่อนที่พวกผู้วางนโยบายของเฟดจะดำเนินการตัดสินใจทางนโยบายของพวกเขานั้น ได้มีการพิจารณาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการตัดสินใจดังกล่าวอาจส่งผลสืบเนื่องต่อไปในทางระหว่างประเทศอย่างไรบ้าง
“เฟดย่อมจะต้องดำเนินการตัดสินใจโดยคำนึงเพียงว่ามันจะให้ผลดีที่สุดต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทว่าก็เป็นที่ชัดเจนว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อจีน ได้มีอิทธิพลต่อความคิดของพวกเขาในเรื่องดุลยภาพของความเสี่ยงต่างๆ ที่กำลังเผชิญหน้าสหรัฐฯอยู่” มาร์ก วิลเลียมส์ (Mark Williams) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ด้านเอเชีย แห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) ในกรุงลอนดอน แจกแจงกับบลูมเบิร์ก
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged)