(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China s yuan takes leap towards joining IMF currency basket
By Asia Unhedged
13/11/2015
คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในคำแถลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ว่า ทางเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟประเมินว่า สกุลเงินหยวนของจีนได้บรรลุหลักเกณฑ์ในการเป็นสกุลเงินตรา “ที่ใช้สอยได้อย่างเสรี” แล้ว และตัวเธอเองก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เรื่องนี้ทำให้มองกันว่า เงินหยวนยิ่งขยับใกล้ได้รับการบรรจุอยู่ในตะกร้าสกุลเงินตรา SDR ของไอเอ็มเอฟแล้ว
เงินหยวนของจีนยิ่งขยับใกล้เข้าไปอีก ที่จะได้การบรรจุเข้าร่วมกับสกุลเงินตราชั้นนำอื่นๆ ของโลก ในตะกร้ามาตรวัดอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังจากที่ทั้งพวกเจ้าหน้าที่และทั้ง คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟ ต่างให้ความเห็นรับรองเห็นชอบกับเรื่องนี้เมื่อวันศุกร์ (13 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2015/11/14/us-imf-china-yuan-idUSKCN0T22OC20151114#2BT4WpL2KLYVSP7e.97 ) คำรับรองของทางเจ้าหน้าที่และของกรรมการผู้จัดการเช่นนี้ จะมีน้ำหนักอย่างมากในการจูงใจคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ลงมติตัดสินขั้นสุดท้ายในการประชุมที่กำหนดเอาไว้ว่าจะมีขึ้นวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ให้เห็นดีเห็นงามกับการยกสกุลเงินหยวนของจีน ให้มีฐานะเท่าเทียมกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ, เงินเยนญี่ปุ่น, เงินปอนด์อังกฤษ, และเงินยูโร
การได้รับบรรจุเข้าอยู่ในตะกร้าดังกล่าว ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตะกร้าสิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Rights ใช้อักษรย่อว่า SDR) ย่อมถือว่าเป็นชัยชนะสำหรับปักกิ่ง หลังจากที่ได้ลงทุนลงแรงรณรงค์อย่างหนักในเรื่องนี้ อีกทั้งยังน่าจะทำให้พวกผู้จัดการทุนสำรองทั้งหลายมีความต้องการเงินหยวนมากขึ้น ตลอดจนเป็นหลักหมายแสดงถึงการบรรลุภาวะผู้ใหญ่ประการหนึ่งสำหรับแดนมังกรที่ปัจจุบันมีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก
ลาการ์ดระบุว่า พวกเจ้าหน้าที่ของไอเอ็มเอฟพบว่า เงินหยวน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าเงินเหรินหมินปี้ (renminbi ใช้อักษรย่อว่า RMB) นั้น ได้บรรลุหลักเกณฑ์ในการเป็นสกุลเงินตรา “ที่ใช้สอยได้อย่างเสรี” แล้ว อันหมายถึงมีการใช้อย่างกว้างขวางในธุรกรรมระหว่างประเทศ และมีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแห่งใหญ่ๆ
“ดิฉันสนับสนุนข้อสรุปนี้ของทางเจ้าหน้าที่” เธอกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง ขณะเดียวกันเธอระบุด้วยว่า ทางเจ้าหน้าที่ของไอเอ็มเอฟยังแสดงความเห็นชอบกับความพยายามของปักกิ่งในการแก้ไขประเด็นปัญหาด้านการปฏิบัติการต่างๆ ตามที่ได้ถูกหยิบยกระบุเอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่งที่ออกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกกองทุนทั้ง 188 รายนั้น มองเห็นกันว่าคงไม่คัดค้านคำรับรองเห็นชอบเช่นนี้ของพวกเจ้าหน้าที่ มิหนำซ้ำหลายประเทศสมาชิก เป็นต้นว่า ฝรั่งเศส และอังกฤษ ยังได้ออกมาประกาศแล้วด้วยซ้ำว่าสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ โดยหากบอร์ดบริหารไอเอ็มเอฟอนุมัติแล้ว ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่จีนดำรงตำแหน่งประธานของกลุ่ม 20 ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (จี20) พอดิบพอดี
ในช่วงหลังๆ นี้ จีนได้รีบเร่งสาละวนดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อทำให้ตลาดของตนมีความเป็นเสรีมากขึ้น และช่วยให้เงินหยวนบรรลุหลักเกณฑ์ที่ไอเอ็มเอฟกำหนด เป็นต้นว่า การยกเลิกการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก, การออกตั๋วเงินคลังระยะไถ่ถอน 3 เดือนเป็นประจำทุกสัปดาห์, และการปรับปรุงยกระดับความโปร่งใสของข้อมูลตัวเลขต่างๆ ของเศรษฐกิจจีน
พวกนักเศรษฐศาสตร์พากันให้ความเห็นว่า มาถึงตอนนี้เรื่องที่เงินหยวนจะได้รับการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในสกุลเงินตราสำรองของไอเอ็มเอฟเช่นนี้ ดูจะเหลือเพียงแค่การรับรองอย่างเป็นทางการเท่านั้น ดังนั้นจีนจึงควรที่จะเพิ่มความพยายามในการสร้างความไว้วางใจระหว่างพวกนักลงทุนทั่วโลกกับเจ้าหน้าที่วางนโยบายของตน
ทั้งนี้ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา จีนได้ดำเนินมาตรการแทรกแซงอย่างหักหาญโจ๋งครึ่มเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ตลาดหลักทรัพย์ของตนไหลรูดฮวบฮาบ แล้วยังเคลื่อนไหวลดค่าเงินหยวนอย่างไม่มีการส่งสัญญาณล่วงหน้าในเดือนสิงหาคมอีก เหล่านี้ทำให้บางกลุ่มบางพวกแสดงความสงสัยข้องใจว่าปักกิ่งมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ จริงหรือ
โจว เฮ่า (Zhou Hao) นักเศรษฐศาสตร์ของ คอมเมิร์ซแบงก์ (Commerzbank) ที่ประจำอยู่ในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า จีนจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการปฏิรูปต่างๆ ภายในประเทศต่อไป และปรับปรุงยกระดับเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย
“ธนาคารกลางของจีน (ชื่อเรียกเป็นทางการคือ ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน People’s Bank of China ใช้อักษรย่อว่า PBOC –ผู้แปล) ควรลดความถี่ในการเข้าแทรกแซงตลาด อนุญาตให้พลังของตลาดได้แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งยวดกันจริงๆ”
ทางด้านสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ยินดีสนับสนุนการบรรจุเงินหยวนเข้าตะกร้าไอเอ็มเอฟ ถ้าทำได้ตามหลักเกณฑ์ของไอเอ็มเอฟแล้ว โฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐฯผู้หนึ่งบอก พร้อมกับเสริมว่า “เราจะพิจาณาทบทวนรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ของไอเอ็มเอฟในแง่มุมดังกล่าวนี้”
(ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ 15 พฤศจิกายน สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่ง http://uk.reuters.com/article/2015/11/15/uk-g20-turkey-usa-chinachina-idUKKCN0T40OX20151115) ซึ่งอ้างโฆษกของรัฐมนตรีคลัง แจ๊ก ลูว์ ของสหรัฐฯ แถลงว่า ระหว่างที่ ลูว์ พบปะหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังของจีน ในการประชุมนอกรอบของการประชุมซัมมิตกลุ่มจี20 ที่ตุรกีวันอาทิตย์ที่ 15 นั้น ลูว์ระบุว่าเขายินดีสนับสนุนการบรรจุเงินหยวนเข้าไปในตะกร้า SDR ของไอเอ็มเอฟ ถ้าหากเงินหยวนบรรลุหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ของกองทุนระหว่างประเทศแล้ว –ผู้แปล)
ถ้าการบรรจุเงินหยวน ได้รับเสียงโหวตรับรองจากคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟในสัดส่วนตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ก็จะเป็นครั้งแรกที่มีการขยายจำนวนสกุลเงินตราในตะกร้า SDR
“ผมเห็นว่ามีโอกาสสูงมากๆ ที่เงินหยวนของจีนจะได้เข้าสู่ตะกร้าสกุลเงินตราของไอเอ็มเอฟในปีนี้” เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำฮ่องกง ของ มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) แสดงทัศนะ
“อย่างเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้ ก็คือถ้าสหรัฐฯนำสมาชิกกลุ่มหนึ่งปฏิเสธไม่ให้รับเงินหยวน ซึ่งนั่นจะทำให้อะไรๆ ยุ่งยากขึ้นมาก แต่จุดยืนอย่างเป็นทางการในปัจจุบันของสหรัฐฯไม่ได้มีเค้าว่าจะมีท่าทีดังกล่าวนี้” เขาบอก
นักวิเคราะห์สกุลเงินตราบางรายกล่าวว่า การที่เงินหยวนได้เป็นสกุลเงินตราที่ 5 ในตะกร้า SDR นั้น ในที่สุดแล้วจะทำให้ทั่วโลกมีดีมานด์ในเงินหยวนคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
กระนั้น นักวิเคราะห์หมายคนมองว่า การที่จีนยังคงใช้มาตรการควบคุมเงินทุนอย่างกว้างขวาง ย่อมหมายความว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งทีเดียว ก่อนที่เงินหยวนจะสามารถแข่งขันกับเงินดอลลาร์ ซึ่งยังคงแสดงบทบาทครอบงำทั้งด้านการค้าและด้านการเงินของโลกอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้จีนยังคงจำกัดต่างชาติในการเข้าซื้อสินทรัพย์สกุลเงินหยวน และกำหนดเพดานเงินสดที่ผู้พำนักอาศัยในแดนมังกรสามารถนำออกนอกประเทศได้ ข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งความกังวลที่ว่าเงินหยวนมีแนวโน้มจะต้องเผชิญแรงกดดันทำให้อ่อนค่าลงเรื่อยๆ อาจกลายเป็นสาเหตุทำให้ภาคบริษัทยังคงถอยห่างจากการถือครองเงินหยวน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
China s yuan takes leap towards joining IMF currency basket
By Asia Unhedged
13/11/2015
คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในคำแถลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ว่า ทางเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟประเมินว่า สกุลเงินหยวนของจีนได้บรรลุหลักเกณฑ์ในการเป็นสกุลเงินตรา “ที่ใช้สอยได้อย่างเสรี” แล้ว และตัวเธอเองก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เรื่องนี้ทำให้มองกันว่า เงินหยวนยิ่งขยับใกล้ได้รับการบรรจุอยู่ในตะกร้าสกุลเงินตรา SDR ของไอเอ็มเอฟแล้ว
เงินหยวนของจีนยิ่งขยับใกล้เข้าไปอีก ที่จะได้การบรรจุเข้าร่วมกับสกุลเงินตราชั้นนำอื่นๆ ของโลก ในตะกร้ามาตรวัดอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังจากที่ทั้งพวกเจ้าหน้าที่และทั้ง คริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการของไอเอ็มเอฟ ต่างให้ความเห็นรับรองเห็นชอบกับเรื่องนี้เมื่อวันศุกร์ (13 พ.ย.) ที่ผ่านมา
ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.reuters.com/article/2015/11/14/us-imf-china-yuan-idUSKCN0T22OC20151114#2BT4WpL2KLYVSP7e.97 ) คำรับรองของทางเจ้าหน้าที่และของกรรมการผู้จัดการเช่นนี้ จะมีน้ำหนักอย่างมากในการจูงใจคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ลงมติตัดสินขั้นสุดท้ายในการประชุมที่กำหนดเอาไว้ว่าจะมีขึ้นวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ให้เห็นดีเห็นงามกับการยกสกุลเงินหยวนของจีน ให้มีฐานะเท่าเทียมกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ, เงินเยนญี่ปุ่น, เงินปอนด์อังกฤษ, และเงินยูโร
การได้รับบรรจุเข้าอยู่ในตะกร้าดังกล่าว ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ตะกร้าสิทธิถอนเงินพิเศษ (Special Drawing Rights ใช้อักษรย่อว่า SDR) ย่อมถือว่าเป็นชัยชนะสำหรับปักกิ่ง หลังจากที่ได้ลงทุนลงแรงรณรงค์อย่างหนักในเรื่องนี้ อีกทั้งยังน่าจะทำให้พวกผู้จัดการทุนสำรองทั้งหลายมีความต้องการเงินหยวนมากขึ้น ตลอดจนเป็นหลักหมายแสดงถึงการบรรลุภาวะผู้ใหญ่ประการหนึ่งสำหรับแดนมังกรที่ปัจจุบันมีฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก
ลาการ์ดระบุว่า พวกเจ้าหน้าที่ของไอเอ็มเอฟพบว่า เงินหยวน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าเงินเหรินหมินปี้ (renminbi ใช้อักษรย่อว่า RMB) นั้น ได้บรรลุหลักเกณฑ์ในการเป็นสกุลเงินตรา “ที่ใช้สอยได้อย่างเสรี” แล้ว อันหมายถึงมีการใช้อย่างกว้างขวางในธุรกรรมระหว่างประเทศ และมีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราแห่งใหญ่ๆ
“ดิฉันสนับสนุนข้อสรุปนี้ของทางเจ้าหน้าที่” เธอกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง ขณะเดียวกันเธอระบุด้วยว่า ทางเจ้าหน้าที่ของไอเอ็มเอฟยังแสดงความเห็นชอบกับความพยายามของปักกิ่งในการแก้ไขประเด็นปัญหาด้านการปฏิบัติการต่างๆ ตามที่ได้ถูกหยิบยกระบุเอาไว้ในรายงานฉบับหนึ่งที่ออกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับคณะกรรมการบริหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกกองทุนทั้ง 188 รายนั้น มองเห็นกันว่าคงไม่คัดค้านคำรับรองเห็นชอบเช่นนี้ของพวกเจ้าหน้าที่ มิหนำซ้ำหลายประเทศสมาชิก เป็นต้นว่า ฝรั่งเศส และอังกฤษ ยังได้ออกมาประกาศแล้วด้วยซ้ำว่าสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ โดยหากบอร์ดบริหารไอเอ็มเอฟอนุมัติแล้ว ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่จีนดำรงตำแหน่งประธานของกลุ่ม 20 ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (จี20) พอดิบพอดี
ในช่วงหลังๆ นี้ จีนได้รีบเร่งสาละวนดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ เพื่อทำให้ตลาดของตนมีความเป็นเสรีมากขึ้น และช่วยให้เงินหยวนบรรลุหลักเกณฑ์ที่ไอเอ็มเอฟกำหนด เป็นต้นว่า การยกเลิกการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก, การออกตั๋วเงินคลังระยะไถ่ถอน 3 เดือนเป็นประจำทุกสัปดาห์, และการปรับปรุงยกระดับความโปร่งใสของข้อมูลตัวเลขต่างๆ ของเศรษฐกิจจีน
พวกนักเศรษฐศาสตร์พากันให้ความเห็นว่า มาถึงตอนนี้เรื่องที่เงินหยวนจะได้รับการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในสกุลเงินตราสำรองของไอเอ็มเอฟเช่นนี้ ดูจะเหลือเพียงแค่การรับรองอย่างเป็นทางการเท่านั้น ดังนั้นจีนจึงควรที่จะเพิ่มความพยายามในการสร้างความไว้วางใจระหว่างพวกนักลงทุนทั่วโลกกับเจ้าหน้าที่วางนโยบายของตน
ทั้งนี้ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา จีนได้ดำเนินมาตรการแทรกแซงอย่างหักหาญโจ๋งครึ่มเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ตลาดหลักทรัพย์ของตนไหลรูดฮวบฮาบ แล้วยังเคลื่อนไหวลดค่าเงินหยวนอย่างไม่มีการส่งสัญญาณล่วงหน้าในเดือนสิงหาคมอีก เหล่านี้ทำให้บางกลุ่มบางพวกแสดงความสงสัยข้องใจว่าปักกิ่งมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดำเนินการปฏิรูปด้านต่างๆ จริงหรือ
โจว เฮ่า (Zhou Hao) นักเศรษฐศาสตร์ของ คอมเมิร์ซแบงก์ (Commerzbank) ที่ประจำอยู่ในสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า จีนจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการปฏิรูปต่างๆ ภายในประเทศต่อไป และปรับปรุงยกระดับเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย
“ธนาคารกลางของจีน (ชื่อเรียกเป็นทางการคือ ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน People’s Bank of China ใช้อักษรย่อว่า PBOC –ผู้แปล) ควรลดความถี่ในการเข้าแทรกแซงตลาด อนุญาตให้พลังของตลาดได้แสดงบทบาทอันสำคัญยิ่งยวดกันจริงๆ”
ทางด้านสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ยินดีสนับสนุนการบรรจุเงินหยวนเข้าตะกร้าไอเอ็มเอฟ ถ้าทำได้ตามหลักเกณฑ์ของไอเอ็มเอฟแล้ว โฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐฯผู้หนึ่งบอก พร้อมกับเสริมว่า “เราจะพิจาณาทบทวนรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ของไอเอ็มเอฟในแง่มุมดังกล่าวนี้”
(ต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ 15 พฤศจิกายน สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่ง http://uk.reuters.com/article/2015/11/15/uk-g20-turkey-usa-chinachina-idUKKCN0T40OX20151115) ซึ่งอ้างโฆษกของรัฐมนตรีคลัง แจ๊ก ลูว์ ของสหรัฐฯ แถลงว่า ระหว่างที่ ลูว์ พบปะหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลังของจีน ในการประชุมนอกรอบของการประชุมซัมมิตกลุ่มจี20 ที่ตุรกีวันอาทิตย์ที่ 15 นั้น ลูว์ระบุว่าเขายินดีสนับสนุนการบรรจุเงินหยวนเข้าไปในตะกร้า SDR ของไอเอ็มเอฟ ถ้าหากเงินหยวนบรรลุหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ของกองทุนระหว่างประเทศแล้ว –ผู้แปล)
ถ้าการบรรจุเงินหยวน ได้รับเสียงโหวตรับรองจากคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟในสัดส่วนตั้งแต่ 70% ขึ้นไป ก็จะเป็นครั้งแรกที่มีการขยายจำนวนสกุลเงินตราในตะกร้า SDR
“ผมเห็นว่ามีโอกาสสูงมากๆ ที่เงินหยวนของจีนจะได้เข้าสู่ตะกร้าสกุลเงินตราของไอเอ็มเอฟในปีนี้” เสิ่น เจี้ยนกวง (Shen Jianguang) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำฮ่องกง ของ มิซูโฮ ซีเคียวริตีส์ เอเชีย (Mizuho Securities Asia) แสดงทัศนะ
“อย่างเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ได้ ก็คือถ้าสหรัฐฯนำสมาชิกกลุ่มหนึ่งปฏิเสธไม่ให้รับเงินหยวน ซึ่งนั่นจะทำให้อะไรๆ ยุ่งยากขึ้นมาก แต่จุดยืนอย่างเป็นทางการในปัจจุบันของสหรัฐฯไม่ได้มีเค้าว่าจะมีท่าทีดังกล่าวนี้” เขาบอก
นักวิเคราะห์สกุลเงินตราบางรายกล่าวว่า การที่เงินหยวนได้เป็นสกุลเงินตราที่ 5 ในตะกร้า SDR นั้น ในที่สุดแล้วจะทำให้ทั่วโลกมีดีมานด์ในเงินหยวนคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์ทีเดียว
กระนั้น นักวิเคราะห์หมายคนมองว่า การที่จีนยังคงใช้มาตรการควบคุมเงินทุนอย่างกว้างขวาง ย่อมหมายความว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งทีเดียว ก่อนที่เงินหยวนจะสามารถแข่งขันกับเงินดอลลาร์ ซึ่งยังคงแสดงบทบาทครอบงำทั้งด้านการค้าและด้านการเงินของโลกอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้จีนยังคงจำกัดต่างชาติในการเข้าซื้อสินทรัพย์สกุลเงินหยวน และกำหนดเพดานเงินสดที่ผู้พำนักอาศัยในแดนมังกรสามารถนำออกนอกประเทศได้ ข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งความกังวลที่ว่าเงินหยวนมีแนวโน้มจะต้องเผชิญแรงกดดันทำให้อ่อนค่าลงเรื่อยๆ อาจกลายเป็นสาเหตุทำให้ภาคบริษัทยังคงถอยห่างจากการถือครองเงินหยวน
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)