(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Syria withdrawal Stakes high in Putin s game of Russian roulette
By Jim Davis
15/03/2016
ในความเห็นของผู้เขียน การที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ถอนกำลังทหารออกจากซีเรีย มีสาเหตุสำคัญจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยที่การถูกคว่ำบาตรตลอดจนราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ทำให้เศรษฐกิจแดนหมีขาวย่ำแย่ และไม่อาจแบกรับค่าใช้จ่ายการเผชิญภัยในซีเรียได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ปูตินคาดหวังว่าจะได้รับจากการเข้าไปมีบทบาทในซีเรีย โดยเฉพาะการหลุดจากฐานะโดดเดี่ยวทางการทูตนั้น ก็บรรลุผลเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
เราคงต้องยอมรับว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ช่างมีความสามารถจริงๆ ในการก้าวขึ้นสู่เวทีให้เป็นที่สนใจจับตามองของผู้คน
เขายืนยันให้เห็นถึงความหลงใหลเวทีอีกคำรบหนึ่งเมื่อวันจันทร์ (14 มี.ค.) ที่ผ่านมา ด้วยการประกาศถอนทหารรัสเซียออกจากซีเรีย มันเป็นความเคลื่อนไหวที่เสมือนกับสายฟ้าผ่าฟาดเปรี้ยงลงมาท่ามกลางท้องฟ้ากระจ่างสดใสปราศจากเมฆหมอกใดๆ เหตุการณ์นี้ถูกเตรียมการอย่างอำพรางปิดลับดียิ่งจนแม้กระทั่งพวกสำนักข่าวสารหลักๆ ของรัสเซียก็ยังตกตะลึงไม่ทันตั้งตัวและทำอะไรไม่ถูก พวกเขาได้แต่เสนอข่าวสั้นๆ เกี่ยวกับการประกาศตัดสินใจคราวนี้ และไม่ได้มีบทวิจารณ์วิเคราะห์อะไรออกมาเลยจนเวลาล่วงเลยไปแล้วร่วมๆ 2 ชั่วโมง
เมื่อพิจารณากันตามเนื้อผ้าแล้ว คำสั่งถอนทหารของปูตินช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เขาให้คำอธิบายเรื่องการถอยคราวนี้โดยบอกว่า “กองทหารรัสเซียในซีเรียได้บรรลุภารกิจของพวกเขาแล้ว” แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าพวกไอเอสยังคงยึดครองพื้นที่สำคัญต่างๆ ของดินแดนซีเรียเอาไว้ และถึงแม้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงกัน แต่ฝ่ายค้านที่ติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ของซีเรียก็ยังคงไม่ต้องการที่จะมีความเกี่ยวข้องอะไรกับประธานาธิบดีอัสซาด ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังไม่ต้องการทำความตกลงเกี่ยวกับสถาบันระยะเปลี่ยนผ่านใดๆ ทั้งนั้นในขณะที่อัสซาดยังคงอยู่ในอำนาจ ดังนั้นภารกิจอะไรกันล่ะที่กองทหารรัสเซียกระทำจนกระทั่งบรรลุแล้ว?
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกว่าปูตินกำลังคิดอะไรอยู่ในใจกันแน่ ขณะที่เขาตัดสินใจกระทำสิ่งซึ่งสร้างความตื่นตะลึงให้แก่ทุกๆ ฝ่าย รวมทั้งสหรัฐฯด้วยในคราวนี้ อย่างไรก็ดี ขอให้เราลองพิจารณาถึงสภาวการณ์แวดล้อมต่างๆ ที่อาจส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขา
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีน้ำหนักอย่างมาก
ประการแรกก่อนอื่นใดเลย วิกฤตทางเศรษฐกิจอันร้ายแรงในรัสเซีย แทบจะแน่นอนทีเดียวว่ามีส่วนต่อการตัดสินใจของปูตินในครั้งนี้ ถึงแม้คณะรัฐบาลของเขาเพียรพยายามอยู่แทบจะทุกสัปดาห์ที่จะออกมารับประกันท่ามกลางการสร้างบรรยากาศอันสดใสสวยหรูว่า “วิกฤตได้ดำเนินไปจนถึงสุดทางของมันแล้วในที่สุด” แต่แล้วเศรษฐกิจของรัสเซียก็ยังคงเลวร้ายต่อไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น ไม่ว่าวังเครมลินจะพูดจาอย่างองอาจห้าวหาญเพียงใดก็ตามที แต่ในทางเป็นจริงแล้ว ผลกระทบด้านลบจากมาตรการลงโทษคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตก กำลังปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวันที่ผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ที่จะนำเอาพันธบัตรรัสเซียกลับเข้าสู่ตลาดการเงินระดับโลกเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มอสโกประกาศผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ปรากฏว่าต้องประสบความล้มเหลวไม่เป็นท่า เนื่องจากทั้งสหรัฐฯและอียูต่างเรียกร้องให้พวกสถาบันการเงินของพวกเขาอย่าได้เข้าร่วมการซื้อขาย พูดกันอย่างสั้นๆ ก็คือ ปูตินไม่สามารถที่จะอุดหนุนการดำเนินสงครามในซีเรียต่อไปอีกแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น ยังกำลังมีความรู้สึกผิดหวังอย่างล้ำลึกต่อการเข้าไปเผชิญภัยในซีเรียคราวนี้อีกด้วย เมื่อตอนที่ปูตินเริ่มเล่นเกมพนันว่าด้วยซีเรียของเขาในเดือนกันยายน 2015 นั้น ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีบางราย แผนแม่บทที่วางกันเอาไว้ก็คือมันจะสามารถสร้างลู่ทางโอกาสอันใหญ่โตในทางการเมืองให้แก่รัสเซีย การเข้าปฏิบัติการทางทหารของมอสโก ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงแค่เพื่อช่วยชีวิตระบอบปกครองของประธานาธิบดีอัสซาดที่กำลังจะล้มคว่ำลงไปเท่านั้น แต่ยังมีความประสงค์ที่จะสถาปนาความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับสหรัฐฯและพันธมิตรของสหรัฐฯ นอกจากนั้นมอสโกยังวาดหวังคาดการณ์เอาไว้อีกว่า มันจะเปิดช่องทางให้มีการยุติภาวะที่รัสเซียถูกโดดเดี่ยวในทางการทูตและในทางเศรษฐกิจภายหลังจากแดนหมีขาวบุกเข้าผนวกดินแดนแหลมไครเมียและเริ่มต้นวิกฤตการณ์ในยูเครนขึ้นมา โดยที่วางเป้าหมายถัดไปเอาไว้ว่า จากนี้ก็จะพยายามกำจัดมาตรการลงโทษคว่ำบาตรของนานาชาติให้หมดสิ้น
ปัจจุบัน ปูตินยังเพียงแค่ประสบความสำเร็จเป็นบางส่วนในการดำเนินการไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านี้ เป็นความจริงที่สหรัฐฯและพวกพันธมิตรของสหรัฐฯ ถูกบีบบังคับให้ต้องคำนึงถึง “ปัจจัยเรื่องรัสเซีย” เมื่อพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย และทำให้มอสโกกลายเป็นเพลเยอร์รายสำคัญรายหนึ่งในการกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตาม การร่วมมือประสานงานกันระหว่างเพลเยอร์จำนวนมากมายหลายหลากเหล่านี้มีความจำกัดเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ฐานะถูกโดดเดี่ยวในทางการทูตของรัสเซียก็ยังคงดำเนินต่อไป และมาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่างๆ ก็ยังคงถูกบังคับใช้ ขอพูดย้ำถึงจุดที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ นั่นคือการที่รัสเซียจะอยู่ในซีเรียต่อไปนั้น กำลังกลายเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายแพงลิ่ว
จริงหรือที่รัสเซียกับซาอุดีอาระเบียทำความเข้าใจกันได้แล้วทั้งเรื่องอัสซาดและเรื่องน้ำมัน ?
มีข่าวลือแพร่สะพัดออกมาจากวงการต่างๆ ซึ่งใกล้ชิดมากกับทางวังเครมลิน จนเป็นการเติมแต่งทำให้แง่มุมนี้ดูมีเนื้อหาสาระจริงจังขึ้นมา ทว่ามันก็ยังคงมีฐานะเป็นข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยัน กระนั้นใจความสำคัญที่พอสรุปออกมาได้คือ เมื่อไม่นานมานี้ มอสโกกับซาอุดีอาระเบียได้มีการติดต่อกันอย่างเงียบๆ แต่คึกคักกระตือรือร้น ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการตกลงกันประเภทข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษขึ้นมา ตามข้อตกลงนี้ รัสเซียยินยอมที่จะโยกเอาอัสซาดออกไปภายหลังจากช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน โดยที่ริยาดเห็นชอบในเรื่องนี้ จากนั้นฝ่ายซาอุดียินยอมที่จะพิจารณาเรื่องตัดลดการผลิตน้ำมัน รวมทั้งส่งอิทธิพลให้พวกหุ้นส่วนของตนในอ่าวเปอร์เซียกระทำตามด้วย เรื่องนี้จะให้ประโยชน์อย่างมากแก่รัสเซียซึ่งต้องการเหลือเกินให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากการที่รายได้จากน้ำมันมีความสำคัญขนาดไหนต่อเศรษฐกิจของรัสเซียแล้ว น่าจะเชื่อได้ทีเดียวว่ามีการทำข้อตกลงลักษณะนี้ขึ้นมาจริงๆ
สำหรับเรื่องที่ฝ่ายรัสเซียให้คำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนช่วยเหลืออัสซาดนั้น เราต้องเข้าใจว่ารัสเซียคือทายาทโดยตรงของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีประวัติยาวนานในเรื่องการคิดคดทรยศต่อเหล่าพันธมิตรสนิทที่สุดของตน เพียงแค่นึกทบทวนไปถึงชะตากรรมของประธานาธิบดีนาจิบุลเลาะห์ (Najibullah) แห่งอัฟกานิสถานก็ได้ เรียกได้ว่าเขาถูกโยนไปเป็นเหยื่อสังเวยฝูงสุนัขป่าหลังจากโซเวียตถอนกองทหารของพวกเขาออกไปจากอัฟกานิสถานในช่วงปี 1988-1989
ยังมีข่าวลืออื่นๆ ที่ว่ามอสโกได้ใช้ความพยายามจนสามารถจัดทำ “สัญญาที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดมากๆ” กับผู้นำฝ่ายค้านซีเรียที่เป็นพวกสายกลาง ตลอดจนกับกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรีย มีรายงานว่ากลุ่มชาวซีเรียและชาวเคิร์ดเหล่านี้ได้ให้คำรับประกันว่า ผลประโยชน์ต่างๆ ของรัสเซียในซีเรีย “จะได้รับการสงวนรักษาและได้รับการเคารพ” หลังจากสามารถจัดตั้งรัฐบาล “สามัคคีแห่งชาติ” ขึ้นมาในกรุงดามัสกัส
ปูตินมีความเข้าใจเป็นอันดีว่า เมื่อออกไปจากซีเรียในตอนนี้แล้ว เขาจะไม่สามารถกลับมาประกอบภารกิจอย่างเดิมได้อีกอย่างน้อยก็ภายในระยะเวลาหนึ่งในอนาคต เรื่องนี้กำลังสร้างความเสียหายให้แก่เกียรติภูมิของรัสเซียและแก่ชื่อเสียงส่วนตัวของปูตินเอง ในเวลาเดียวกันนั้น รัสเซียจะทิ้งเครื่องประกอบต่างๆ ของความสนับสนุนทางทหารอันจำเป็นเอาไว้เบื้องหลังในซีเรีย ซึ่งจะช่วยประคับประคองยืดวันเวลาของอัสซาดไปได้อีกสักระยะหนึ่ง
ดังนั้นลงท้ายแล้ว มอสโกได้รับอะไรบ้างจากการเดิมพันเข้ามาเสี่ยงโชคในซีเรียคราวนี้? คำตอบคือไม่ได้มากมายอะไร รัสเซียสามารถยืดชีวิตของระบอบปกครองอัสซาดไปได้ชั่วคราว ทว่าก็ไม่ได้ยาวนานอะไร ช่วงเวลาซึ่งประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้สามารถครองอำนาจต่อไปได้นั้นยังน่าที่จะสั้นมากๆ อีกประการหนึ่งที่พอจะถือเป็นความสำเร็จได้เหมือนกันก็คือ การที่มอสโกได้กลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ เท่ากับสามารถทำลายการถูกโดดเดี่ยวทางการทูตได้ส่วนหนึ่ง ทว่าจากการนี้มอสโกก็ต้องทำความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับเพื่อนบ้านและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจผู้ใกล้ชิดที่สุดของตน ซึ่งก็คือตุรกี จนถึงจุดที่แทบจะไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขให้กลับคืนดีขึ้นมาได้
สำหรับสิ่งที่น่าจะถือเป็นสัมฤทธิผลสำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่การที่รัสเซียได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าภายในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น มอสโกสามารถที่จะสร้างและนำเอากองกำลังอาวุธสมัยใหม่ซึ่งมีสมรรถภาพ, ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี, และติดอาวุธอย่างดีครบเครื่อง เข้าประจำการในภาคสนามได้ ทั้งนี้มอสโกแสดงให้เห็นอย่างกระจ่างแจ่มแจ้งแล้วว่า สามารถที่จะแผ่แสนยานุภาพทางทหารไกลโพ้นออกไปจากพรมแดนของตนเอง และมีความพรักพร้อมที่จะทำเช่นนั้นด้วยหากเกิดความจำเป็นขึ้นมา
ปูตินจะนำทหารที่ถอนออกมาไปไว้ที่ไหน?
ดังนั้น ปูตินกำลังเดินทางกลับบ้าน ทว่ายังมีประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจมากอีกประการหนึ่งซึ่งจำเป็นที่จะต้องเฝ้าจับตาติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ กองกำลังที่กลับมาจากซีเรียจะถูกส่งไปประจำการที่ไหน ?
จากการที่ความยากลำบากทางเศรษฐกิจกำลังทำให้ระบอบปกครองรัสเซียมีเสถียรภาพลดน้อยลง รวมทั้งปีศาจที่คอยหลอกหลอนว่าจะเกิดการลุกฮือแสดงความไม่พอใจของพลเมืองอย่างเปิดเผยในรัสเซียภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้หากสิ่งต่างๆ ยังไม่มีทีท่ากระเตื้องขึ้น ดังนั้นปูตินอาจจะเลือกใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ หนทางที่จะกระทำเช่นนี้ของฝ่ายรัสเซียซึ่งผ่านการทดสอบแล้วว่าได้ผลดี ได้แก่การรวบรวมประชาชนให้สามัคคีกันต่อต้านศัตรูจากภายนอก หากเขาอยู่ในภาวะอันเลวร้ายยิ่ง และมาถึงจุดที่เขารู้สึกว่าเขาไม่มีอะไรจะสูญเสียอีกแล้ว ปูตินจะพยายามใช้กองกำลังที่กลับบ้านมาของเขา เพื่อแก้ไข “ปัญหายูเครน” ให้จบสิ้นเป็นครั้งสุดท้ายไปเลยหรือไม่?
ผมไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน นั่นคือ ปูตินนั้นถูกโดดเดี่ยว, มีความหงุดหงิดไม่พอใจ, และมีอาวุธดีครบเครื่อง นี่แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงมีอันตรายมาก
จิม เดวิส เป็นนักวิเคราะห์การเมือง และเป็นประธานกรรมการบริหารของ เซาท์ ชอร์ คอนซัลแทนส์ (South Shore Consultants)
Syria withdrawal Stakes high in Putin s game of Russian roulette
By Jim Davis
15/03/2016
ในความเห็นของผู้เขียน การที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ถอนกำลังทหารออกจากซีเรีย มีสาเหตุสำคัญจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยที่การถูกคว่ำบาตรตลอดจนราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ทำให้เศรษฐกิจแดนหมีขาวย่ำแย่ และไม่อาจแบกรับค่าใช้จ่ายการเผชิญภัยในซีเรียได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ปูตินคาดหวังว่าจะได้รับจากการเข้าไปมีบทบาทในซีเรีย โดยเฉพาะการหลุดจากฐานะโดดเดี่ยวทางการทูตนั้น ก็บรรลุผลเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
เราคงต้องยอมรับว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ช่างมีความสามารถจริงๆ ในการก้าวขึ้นสู่เวทีให้เป็นที่สนใจจับตามองของผู้คน
เขายืนยันให้เห็นถึงความหลงใหลเวทีอีกคำรบหนึ่งเมื่อวันจันทร์ (14 มี.ค.) ที่ผ่านมา ด้วยการประกาศถอนทหารรัสเซียออกจากซีเรีย มันเป็นความเคลื่อนไหวที่เสมือนกับสายฟ้าผ่าฟาดเปรี้ยงลงมาท่ามกลางท้องฟ้ากระจ่างสดใสปราศจากเมฆหมอกใดๆ เหตุการณ์นี้ถูกเตรียมการอย่างอำพรางปิดลับดียิ่งจนแม้กระทั่งพวกสำนักข่าวสารหลักๆ ของรัสเซียก็ยังตกตะลึงไม่ทันตั้งตัวและทำอะไรไม่ถูก พวกเขาได้แต่เสนอข่าวสั้นๆ เกี่ยวกับการประกาศตัดสินใจคราวนี้ และไม่ได้มีบทวิจารณ์วิเคราะห์อะไรออกมาเลยจนเวลาล่วงเลยไปแล้วร่วมๆ 2 ชั่วโมง
เมื่อพิจารณากันตามเนื้อผ้าแล้ว คำสั่งถอนทหารของปูตินช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เขาให้คำอธิบายเรื่องการถอยคราวนี้โดยบอกว่า “กองทหารรัสเซียในซีเรียได้บรรลุภารกิจของพวกเขาแล้ว” แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าพวกไอเอสยังคงยึดครองพื้นที่สำคัญต่างๆ ของดินแดนซีเรียเอาไว้ และถึงแม้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงกัน แต่ฝ่ายค้านที่ติดอาวุธกลุ่มต่างๆ ของซีเรียก็ยังคงไม่ต้องการที่จะมีความเกี่ยวข้องอะไรกับประธานาธิบดีอัสซาด ไม่เพียงเท่านั้น พวกเขายังไม่ต้องการทำความตกลงเกี่ยวกับสถาบันระยะเปลี่ยนผ่านใดๆ ทั้งนั้นในขณะที่อัสซาดยังคงอยู่ในอำนาจ ดังนั้นภารกิจอะไรกันล่ะที่กองทหารรัสเซียกระทำจนกระทั่งบรรลุแล้ว?
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะบอกว่าปูตินกำลังคิดอะไรอยู่ในใจกันแน่ ขณะที่เขาตัดสินใจกระทำสิ่งซึ่งสร้างความตื่นตะลึงให้แก่ทุกๆ ฝ่าย รวมทั้งสหรัฐฯด้วยในคราวนี้ อย่างไรก็ดี ขอให้เราลองพิจารณาถึงสภาวการณ์แวดล้อมต่างๆ ที่อาจส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขา
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีน้ำหนักอย่างมาก
ประการแรกก่อนอื่นใดเลย วิกฤตทางเศรษฐกิจอันร้ายแรงในรัสเซีย แทบจะแน่นอนทีเดียวว่ามีส่วนต่อการตัดสินใจของปูตินในครั้งนี้ ถึงแม้คณะรัฐบาลของเขาเพียรพยายามอยู่แทบจะทุกสัปดาห์ที่จะออกมารับประกันท่ามกลางการสร้างบรรยากาศอันสดใสสวยหรูว่า “วิกฤตได้ดำเนินไปจนถึงสุดทางของมันแล้วในที่สุด” แต่แล้วเศรษฐกิจของรัสเซียก็ยังคงเลวร้ายต่อไปอีกไม่รู้จักจบสิ้น ไม่ว่าวังเครมลินจะพูดจาอย่างองอาจห้าวหาญเพียงใดก็ตามที แต่ในทางเป็นจริงแล้ว ผลกระทบด้านลบจากมาตรการลงโทษคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตก กำลังปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวันที่ผ่านไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน
ความพยายามเมื่อเร็วๆ นี้ที่จะนำเอาพันธบัตรรัสเซียกลับเข้าสู่ตลาดการเงินระดับโลกเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มอสโกประกาศผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ปรากฏว่าต้องประสบความล้มเหลวไม่เป็นท่า เนื่องจากทั้งสหรัฐฯและอียูต่างเรียกร้องให้พวกสถาบันการเงินของพวกเขาอย่าได้เข้าร่วมการซื้อขาย พูดกันอย่างสั้นๆ ก็คือ ปูตินไม่สามารถที่จะอุดหนุนการดำเนินสงครามในซีเรียต่อไปอีกแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น ยังกำลังมีความรู้สึกผิดหวังอย่างล้ำลึกต่อการเข้าไปเผชิญภัยในซีเรียคราวนี้อีกด้วย เมื่อตอนที่ปูตินเริ่มเล่นเกมพนันว่าด้วยซีเรียของเขาในเดือนกันยายน 2015 นั้น ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีบางราย แผนแม่บทที่วางกันเอาไว้ก็คือมันจะสามารถสร้างลู่ทางโอกาสอันใหญ่โตในทางการเมืองให้แก่รัสเซีย การเข้าปฏิบัติการทางทหารของมอสโก ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงแค่เพื่อช่วยชีวิตระบอบปกครองของประธานาธิบดีอัสซาดที่กำลังจะล้มคว่ำลงไปเท่านั้น แต่ยังมีความประสงค์ที่จะสถาปนาความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับสหรัฐฯและพันธมิตรของสหรัฐฯ นอกจากนั้นมอสโกยังวาดหวังคาดการณ์เอาไว้อีกว่า มันจะเปิดช่องทางให้มีการยุติภาวะที่รัสเซียถูกโดดเดี่ยวในทางการทูตและในทางเศรษฐกิจภายหลังจากแดนหมีขาวบุกเข้าผนวกดินแดนแหลมไครเมียและเริ่มต้นวิกฤตการณ์ในยูเครนขึ้นมา โดยที่วางเป้าหมายถัดไปเอาไว้ว่า จากนี้ก็จะพยายามกำจัดมาตรการลงโทษคว่ำบาตรของนานาชาติให้หมดสิ้น
ปัจจุบัน ปูตินยังเพียงแค่ประสบความสำเร็จเป็นบางส่วนในการดำเนินการไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านี้ เป็นความจริงที่สหรัฐฯและพวกพันธมิตรของสหรัฐฯ ถูกบีบบังคับให้ต้องคำนึงถึง “ปัจจัยเรื่องรัสเซีย” เมื่อพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับซีเรีย และทำให้มอสโกกลายเป็นเพลเยอร์รายสำคัญรายหนึ่งในการกระบวนการเจรจาสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตาม การร่วมมือประสานงานกันระหว่างเพลเยอร์จำนวนมากมายหลายหลากเหล่านี้มีความจำกัดเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ฐานะถูกโดดเดี่ยวในทางการทูตของรัสเซียก็ยังคงดำเนินต่อไป และมาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่างๆ ก็ยังคงถูกบังคับใช้ ขอพูดย้ำถึงจุดที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ นั่นคือการที่รัสเซียจะอยู่ในซีเรียต่อไปนั้น กำลังกลายเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายแพงลิ่ว
จริงหรือที่รัสเซียกับซาอุดีอาระเบียทำความเข้าใจกันได้แล้วทั้งเรื่องอัสซาดและเรื่องน้ำมัน ?
มีข่าวลือแพร่สะพัดออกมาจากวงการต่างๆ ซึ่งใกล้ชิดมากกับทางวังเครมลิน จนเป็นการเติมแต่งทำให้แง่มุมนี้ดูมีเนื้อหาสาระจริงจังขึ้นมา ทว่ามันก็ยังคงมีฐานะเป็นข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยัน กระนั้นใจความสำคัญที่พอสรุปออกมาได้คือ เมื่อไม่นานมานี้ มอสโกกับซาอุดีอาระเบียได้มีการติดต่อกันอย่างเงียบๆ แต่คึกคักกระตือรือร้น ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการตกลงกันประเภทข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษขึ้นมา ตามข้อตกลงนี้ รัสเซียยินยอมที่จะโยกเอาอัสซาดออกไปภายหลังจากช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน โดยที่ริยาดเห็นชอบในเรื่องนี้ จากนั้นฝ่ายซาอุดียินยอมที่จะพิจารณาเรื่องตัดลดการผลิตน้ำมัน รวมทั้งส่งอิทธิพลให้พวกหุ้นส่วนของตนในอ่าวเปอร์เซียกระทำตามด้วย เรื่องนี้จะให้ประโยชน์อย่างมากแก่รัสเซียซึ่งต้องการเหลือเกินให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากการที่รายได้จากน้ำมันมีความสำคัญขนาดไหนต่อเศรษฐกิจของรัสเซียแล้ว น่าจะเชื่อได้ทีเดียวว่ามีการทำข้อตกลงลักษณะนี้ขึ้นมาจริงๆ
สำหรับเรื่องที่ฝ่ายรัสเซียให้คำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนช่วยเหลืออัสซาดนั้น เราต้องเข้าใจว่ารัสเซียคือทายาทโดยตรงของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีประวัติยาวนานในเรื่องการคิดคดทรยศต่อเหล่าพันธมิตรสนิทที่สุดของตน เพียงแค่นึกทบทวนไปถึงชะตากรรมของประธานาธิบดีนาจิบุลเลาะห์ (Najibullah) แห่งอัฟกานิสถานก็ได้ เรียกได้ว่าเขาถูกโยนไปเป็นเหยื่อสังเวยฝูงสุนัขป่าหลังจากโซเวียตถอนกองทหารของพวกเขาออกไปจากอัฟกานิสถานในช่วงปี 1988-1989
ยังมีข่าวลืออื่นๆ ที่ว่ามอสโกได้ใช้ความพยายามจนสามารถจัดทำ “สัญญาที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดมากๆ” กับผู้นำฝ่ายค้านซีเรียที่เป็นพวกสายกลาง ตลอดจนกับกลุ่มชาวเคิร์ดในซีเรีย มีรายงานว่ากลุ่มชาวซีเรียและชาวเคิร์ดเหล่านี้ได้ให้คำรับประกันว่า ผลประโยชน์ต่างๆ ของรัสเซียในซีเรีย “จะได้รับการสงวนรักษาและได้รับการเคารพ” หลังจากสามารถจัดตั้งรัฐบาล “สามัคคีแห่งชาติ” ขึ้นมาในกรุงดามัสกัส
ปูตินมีความเข้าใจเป็นอันดีว่า เมื่อออกไปจากซีเรียในตอนนี้แล้ว เขาจะไม่สามารถกลับมาประกอบภารกิจอย่างเดิมได้อีกอย่างน้อยก็ภายในระยะเวลาหนึ่งในอนาคต เรื่องนี้กำลังสร้างความเสียหายให้แก่เกียรติภูมิของรัสเซียและแก่ชื่อเสียงส่วนตัวของปูตินเอง ในเวลาเดียวกันนั้น รัสเซียจะทิ้งเครื่องประกอบต่างๆ ของความสนับสนุนทางทหารอันจำเป็นเอาไว้เบื้องหลังในซีเรีย ซึ่งจะช่วยประคับประคองยืดวันเวลาของอัสซาดไปได้อีกสักระยะหนึ่ง
ดังนั้นลงท้ายแล้ว มอสโกได้รับอะไรบ้างจากการเดิมพันเข้ามาเสี่ยงโชคในซีเรียคราวนี้? คำตอบคือไม่ได้มากมายอะไร รัสเซียสามารถยืดชีวิตของระบอบปกครองอัสซาดไปได้ชั่วคราว ทว่าก็ไม่ได้ยาวนานอะไร ช่วงเวลาซึ่งประธานาธิบดีซีเรียผู้นี้สามารถครองอำนาจต่อไปได้นั้นยังน่าที่จะสั้นมากๆ อีกประการหนึ่งที่พอจะถือเป็นความสำเร็จได้เหมือนกันก็คือ การที่มอสโกได้กลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ เท่ากับสามารถทำลายการถูกโดดเดี่ยวทางการทูตได้ส่วนหนึ่ง ทว่าจากการนี้มอสโกก็ต้องทำความเสียหายให้แก่ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับเพื่อนบ้านและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจผู้ใกล้ชิดที่สุดของตน ซึ่งก็คือตุรกี จนถึงจุดที่แทบจะไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขให้กลับคืนดีขึ้นมาได้
สำหรับสิ่งที่น่าจะถือเป็นสัมฤทธิผลสำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่การที่รัสเซียได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าภายในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น มอสโกสามารถที่จะสร้างและนำเอากองกำลังอาวุธสมัยใหม่ซึ่งมีสมรรถภาพ, ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี, และติดอาวุธอย่างดีครบเครื่อง เข้าประจำการในภาคสนามได้ ทั้งนี้มอสโกแสดงให้เห็นอย่างกระจ่างแจ่มแจ้งแล้วว่า สามารถที่จะแผ่แสนยานุภาพทางทหารไกลโพ้นออกไปจากพรมแดนของตนเอง และมีความพรักพร้อมที่จะทำเช่นนั้นด้วยหากเกิดความจำเป็นขึ้นมา
ปูตินจะนำทหารที่ถอนออกมาไปไว้ที่ไหน?
ดังนั้น ปูตินกำลังเดินทางกลับบ้าน ทว่ายังมีประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจมากอีกประการหนึ่งซึ่งจำเป็นที่จะต้องเฝ้าจับตาติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ กองกำลังที่กลับมาจากซีเรียจะถูกส่งไปประจำการที่ไหน ?
จากการที่ความยากลำบากทางเศรษฐกิจกำลังทำให้ระบอบปกครองรัสเซียมีเสถียรภาพลดน้อยลง รวมทั้งปีศาจที่คอยหลอกหลอนว่าจะเกิดการลุกฮือแสดงความไม่พอใจของพลเมืองอย่างเปิดเผยในรัสเซียภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้หากสิ่งต่างๆ ยังไม่มีทีท่ากระเตื้องขึ้น ดังนั้นปูตินอาจจะเลือกใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ หนทางที่จะกระทำเช่นนี้ของฝ่ายรัสเซียซึ่งผ่านการทดสอบแล้วว่าได้ผลดี ได้แก่การรวบรวมประชาชนให้สามัคคีกันต่อต้านศัตรูจากภายนอก หากเขาอยู่ในภาวะอันเลวร้ายยิ่ง และมาถึงจุดที่เขารู้สึกว่าเขาไม่มีอะไรจะสูญเสียอีกแล้ว ปูตินจะพยายามใช้กองกำลังที่กลับบ้านมาของเขา เพื่อแก้ไข “ปัญหายูเครน” ให้จบสิ้นเป็นครั้งสุดท้ายไปเลยหรือไม่?
ผมไม่สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจน นั่นคือ ปูตินนั้นถูกโดดเดี่ยว, มีความหงุดหงิดไม่พอใจ, และมีอาวุธดีครบเครื่อง นี่แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมเขาจึงมีอันตรายมาก
จิม เดวิส เป็นนักวิเคราะห์การเมือง และเป็นประธานกรรมการบริหารของ เซาท์ ชอร์ คอนซัลแทนส์ (South Shore Consultants)