(เก็บความอาร์ที,เอเชียไทมส์)
Russia questions US deployment of air defenses in South Korea
BY AT Editor
11/03/2016
“อาร์ที” สื่อของทางการรัสเซียรายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียและของจีนต่างเห็นสอดคล้องกันว่า วอชิงตันไม่ควรอ้างเรื่องที่เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และยิงขีปนาวุธพิสัยไกล มาเป็นเหตุผลเพื่อนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” เข้าติดตั้งในเกาหลีใต้ ขณะเดียวกัน “เสียงอเมริกา” สื่อของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ประโคมข่าวแสดงความกังวลในเรื่องที่เปียงยางอาจจะนำเอาวัสดุนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตนไปขายให้ประเทศอื่น
สถานการณ์เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไม่ควรถูกใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการที่สหรัฐฯจะติดตั้งประจำการระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธขึ้นในภูมิภาคแถบนี้ ส่วนเปียงยางก็ควรรับฟังข้อเรียกร้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และหวนกลับคืนสู่โต๊ะเจรจา รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์ ลาฟรอฟ ของรัสเซีย และรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกันที่กรุงมอสโกเมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค.) นี้
ในเวลาเดียวกัน มอสโกกับปักกิ่งต่างยืนยันว่า ไม่รับรองความทะเยอทะยานทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
“เราคาดหมายว่าเกาหลีเหนือจะบรรลุถึงข้อสรุปอันสมเหตุสมผล และรับฟังความเรียกร้องต้องการต่างๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามที ก็ควรหวนกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจา ภายในกรอบโครงแห่งคำประกาศร่วมของ 6 ฝ่ายที่เข้าร่วมการเจรจากัน ซึ่งออกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2005” รัฐมนตรีต่างประเทศลาฟรอฟ ของรัสเซียแถลง
ทางด้านปักกิ่งก็หนุนหลังการรื้อฟื้นการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของเปียงยางขึ้นมาอีกครั้ง
รัฐมนตรีต่างประเทศหวัง ของจีน เรียกร้องให้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือลงอย่างสิ้นเชิง แต่เขากล่าวด้วยว่า ทุกๆ ฝ่ายควรหลีกเลี่ยงจากการกระตุ้นปลุกปั่นให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในภูมิภาค
“เรายืนยันอย่างหนักแน่นมั่นคง ที่จะคัดค้านการนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” (Thaad ของอเมริกัน) เข้ามาติดตั้งประจำการในเกาหลีใต้ โดยใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหานิวเคลียร์ของคาบสมุทรเกาหลี” รัฐมนตรีต่างประเทศจีนกล่าว “เราเชื่อว่าการติดตั้งประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธเช่นนี้ในเกาหลีใต้ กำลังเป็นการสร้างความเสียหายโดยตรงให้แก่ความความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ (แห่งชาติ) ของฝ่ายรัสเซียและของฝ่ายจีน” หวัง บอก
รัฐมนตรีต่างประเทศจีนย้ำว่า มอสโกและปักกิ่งต่างมีทัศนคติในทางลบเหมือนๆ กัน ต่อการที่สหรัฐฯจะนำเอาระบบขีปนาวุธทาด มาติดตั้งในเกาหลีใต้
“แผนการเช่นนี้เป็นการกระทำที่เกินเลยไปกว่าความต้องการในการป้องกันของภูมิภาคแถบนี้ เป็นการละเมิดความสมดุลทางยุทธศาสตร์ และจะนำไปสู่การแข่งขันกันทางอาวุธครั้งใหม่” หวัง ระบุ
ทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียก็กล่าวสนับสนุนจุดยืนของฝ่ายจีน โดยเน้นว่าแผนการของวอชิงตันที่จะนำเอาระบบทาดไปประจำการในเกาหลีใต้นั้น ไม่ได้สอดคล้องกับขนาดขอบเขตของการคุกคามจากเปียงยางเลย
“เราเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องไม่หลบมุมแอบอยู่เบื้องหลังข้อกล่าวหาที่ว่า นี่ (การติดตั้งระบบทาด) กำลังเกิดขึ้นมา ก็เพราะการเผชิญภัยอย่างสะเพร่าของเกาหลีเหนือ” ลาฟรอฟ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า แผนการดังกล่าวนี้ แม้เมื่อพิจารณาถึงการกระทำต่างๆ ในปัจจุบันของเปียงยางแล้ว ก็ยังต้องถือว่าล้ำเกินเลยไปกว่าภัยคุกคาม “ทุกๆ อย่างที่สามารถจินตนาการนึกฝัน” ว่าจะบังเกิดขึ้นได้
“เรากำลังจะเปิดโปงให้เห็นลักษณะที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างสิ้นเชิงของแผนการเช่นนี้ ซึ่งจะบ่อนทำลายความเสมอภาค (ทางทหาร) ของทั่วโลก และบ่อนทำลายเสถียรภาพทางยุทธศาสตร์ เรากำลังจะเรียกร้องพวกหุ้นส่วนชาวอเมริกันของเรา ให้มาหารือถกเถียงกันอย่างซื่อตรงและปลอดจากอคติ” ลาฟรอฟกล่าว
“(สหรัฐฯ) ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ เลยที่จะหลีกเลี่ยงการสนทนาดังกล่าวนี้” เขาระบุ
ตามรายงานของรอยเตอร์ สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเกาหลีเหนือระบุในวันศุกร์ (11 มี.ค.) ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ได้เฝ้าชมการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี และออกคำสั่งให้ประเทศของเขาปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยดำเนินการทดสอบให้เพิ่มมากขึ้นอีก
รายงานข่าวนี้ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าการทดสอบยิงขีปนาวุธนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่น่าจะหมายถึงการที่เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 2 ลูกในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งทะยานไปเป็นระยะทางราว 500 กิโลเมตรก่อนที่จะตกลงไปในทะเล
“สหายคิม จองอึน ผู้เป็นที่รัก กล่าวว่า จักต้องทำงานเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่การปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งยังออกคำสั่งให้ดำเนินภารกิจสู้รบ ด้วยการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ต่อไปอีก เพื่อประเมินผลพลังอำนาจของหัวรบนิวเคลียร์ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาใหม่ และทำการทดสอบเพื่อปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์” สำนักข่าวเคซีเอ็นเอระบุ
ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ สื่อมวลชนของทางการได้รายงานโดยอ้างคำพูดของผู้นำเกาหลีเหนือผู้นี้ที่กล่าวว่า ประเทศของเขาสามารถทำการย่อส่วนหัวรบนิวเคลียร์ให้มีขนาดเหมาะสมแก่การติดตั้งในขีปนาวุธนำวิถีแล้ว
ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีได้พุ่งพรวดขึ้นอย่างแรง หลังจากเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 4 ของตนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แล้วจากนั้นก็ยิงจรวดพิสัยไกลอีกในเดือนที่แล้ว ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านมติใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรใหม่ๆ เพิ่มเติมต่อโสมแดง
ทั้งนี้การทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์นั้น ย่อมเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อมติลงโทษคว่ำบาตรของยูเอ็นหลายฉบับที่ออกมาก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี ถึงแม้ในเรื่องหลังนี้เปียงยางปฏิเสธไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าในครั้งนี้ตนเพียงทดลองยิงจรวดส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร
เปียงยางอาจเอาวัสดุนิวเคลียร์ไปขายแก่ประเทศอื่น
ขณะที่สหรัฐฯมีความสงสัยข้องใจต่อการกล่าวอ้างของเกาหลีเหนือที่ว่าสามารถย่อส่วนอาวุธนิวเคลียร์จนเหมาะแก่การติดตั้งบนหัวรบของขีปนาวุธได้แล้ว ก็ยังมีความวิตกกังวลกันเพิ่มมากขึ้นด้วยว่า เปียงยางอาจถ่ายโอนเทคโนโลยีนิวเคลียร์หรือขายวัสดุนิวเคลียร์ให้แก่ประเทศอื่นๆ “เสียงอเมริกา” (Voice of America หรือ VOA) สื่อของรัฐบาลสหรัฐฯรายงาน
พวกผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ของวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University’s School of Advanced International Studies) ระบุว่า เกาหลีเหนือน่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ระหว่าง 10 ถึง 16 ลูก และอาจผลิตเพิ่มเติมจนมีอาวุธชนิดนี้อยู่ในครอบครองถึง 100 ลูกได้ทีเดียวภายในปี 2020
ลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (ซีไอเอ) และอดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า เรื่องที่เกาหลีเหนือจะถ่ายโอนนิวเคลียร์ไปให้แก่ประเทศอื่นๆ “เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมากจริงๆ”
“เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เตาหนึ่งที่สร้างขึ้นในซีเรีย และมีอันเป็นไปนั้น เป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งทำขึ้นมาสำเร็จ โดยส่วนใหญ่แล้วก็เพราะได้อาศัยเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือนี่แหละ” แพเนตตากล่าวกับ “เสียงอเมริกา” ในสัปดาห์นี้ โดยอ้างอิงถึงเตาปฏิกรณ์ลับเตาหนึ่งในซีเรีย ซึ่งถูกอิสราเอลส่งเครื่องบินเข้าทิ้งระเบิดทำลายไปเมื่อปี 2007
ทางด้าน เดนนิส แบลร์ (Dennis Blair) อดีตผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) ของสหรัฐฯ กล่าวเตือนสำทับว่า เปียงยางอาจจะมีความปรารถนาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ที่จะขายวัสดุนิวเคลียร์หรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตน เพื่อหารายได้เป็นเงินสดเข้ามา ในเมื่อถูกลงโทษคว่ำบาตรเพิ่มเติมขึ้นอีกเช่นนี้
พวกนักวิเคราะห์ของกองทัพสหรัฐฯบอกว่า ความกังวลอันดับแรกสุดของวอชิงตันอยู่ที่ว่า เปียงยางมีหรือไม่มีสมรรถนะในการยิงขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป (intercontinental ballistic missile หรือ ICBM) ซึ่งไปถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯได้
พล.ร.อ.วิลเลียม กอร์ตนีย์ (Admiral William Gortney) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารภาคเหนือของสหรัฐฯ (U.S. Northern Command) บอกกับคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของวุฒิสภาเมื่อวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) ว่า เป็น “การสุขุมรอบคอบ” หากตั้งสมมุติฐานว่าเปียงยางมีความสามารถในการย่อส่วนหัวรบนิวเคลียร์และติดตั้งหัวรบดังกล่าวเอาไว้ในขีปนาวุธ ICBM ซึ่งสามารถยิงไปถึงสหรัฐฯได้
Russia questions US deployment of air defenses in South Korea
BY AT Editor
11/03/2016
“อาร์ที” สื่อของทางการรัสเซียรายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียและของจีนต่างเห็นสอดคล้องกันว่า วอชิงตันไม่ควรอ้างเรื่องที่เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และยิงขีปนาวุธพิสัยไกล มาเป็นเหตุผลเพื่อนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” เข้าติดตั้งในเกาหลีใต้ ขณะเดียวกัน “เสียงอเมริกา” สื่อของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ประโคมข่าวแสดงความกังวลในเรื่องที่เปียงยางอาจจะนำเอาวัสดุนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตนไปขายให้ประเทศอื่น
สถานการณ์เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไม่ควรถูกใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการที่สหรัฐฯจะติดตั้งประจำการระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธขึ้นในภูมิภาคแถบนี้ ส่วนเปียงยางก็ควรรับฟังข้อเรียกร้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และหวนกลับคืนสู่โต๊ะเจรจา รัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เกย์ ลาฟรอฟ ของรัสเซีย และรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกันที่กรุงมอสโกเมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค.) นี้
ในเวลาเดียวกัน มอสโกกับปักกิ่งต่างยืนยันว่า ไม่รับรองความทะเยอทะยานทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
“เราคาดหมายว่าเกาหลีเหนือจะบรรลุถึงข้อสรุปอันสมเหตุสมผล และรับฟังความเรียกร้องต้องการต่างๆ ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามที ก็ควรหวนกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจา ภายในกรอบโครงแห่งคำประกาศร่วมของ 6 ฝ่ายที่เข้าร่วมการเจรจากัน ซึ่งออกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2005” รัฐมนตรีต่างประเทศลาฟรอฟ ของรัสเซียแถลง
ทางด้านปักกิ่งก็หนุนหลังการรื้อฟื้นการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของเปียงยางขึ้นมาอีกครั้ง
รัฐมนตรีต่างประเทศหวัง ของจีน เรียกร้องให้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือลงอย่างสิ้นเชิง แต่เขากล่าวด้วยว่า ทุกๆ ฝ่ายควรหลีกเลี่ยงจากการกระตุ้นปลุกปั่นให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในภูมิภาค
“เรายืนยันอย่างหนักแน่นมั่นคง ที่จะคัดค้านการนำเอาระบบป้องกันขีปนาวุธ “ทาด” (Thaad ของอเมริกัน) เข้ามาติดตั้งประจำการในเกาหลีใต้ โดยใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหานิวเคลียร์ของคาบสมุทรเกาหลี” รัฐมนตรีต่างประเทศจีนกล่าว “เราเชื่อว่าการติดตั้งประจำการระบบป้องกันขีปนาวุธเช่นนี้ในเกาหลีใต้ กำลังเป็นการสร้างความเสียหายโดยตรงให้แก่ความความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ (แห่งชาติ) ของฝ่ายรัสเซียและของฝ่ายจีน” หวัง บอก
รัฐมนตรีต่างประเทศจีนย้ำว่า มอสโกและปักกิ่งต่างมีทัศนคติในทางลบเหมือนๆ กัน ต่อการที่สหรัฐฯจะนำเอาระบบขีปนาวุธทาด มาติดตั้งในเกาหลีใต้
“แผนการเช่นนี้เป็นการกระทำที่เกินเลยไปกว่าความต้องการในการป้องกันของภูมิภาคแถบนี้ เป็นการละเมิดความสมดุลทางยุทธศาสตร์ และจะนำไปสู่การแข่งขันกันทางอาวุธครั้งใหม่” หวัง ระบุ
ทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียก็กล่าวสนับสนุนจุดยืนของฝ่ายจีน โดยเน้นว่าแผนการของวอชิงตันที่จะนำเอาระบบทาดไปประจำการในเกาหลีใต้นั้น ไม่ได้สอดคล้องกับขนาดขอบเขตของการคุกคามจากเปียงยางเลย
“เราเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องไม่หลบมุมแอบอยู่เบื้องหลังข้อกล่าวหาที่ว่า นี่ (การติดตั้งระบบทาด) กำลังเกิดขึ้นมา ก็เพราะการเผชิญภัยอย่างสะเพร่าของเกาหลีเหนือ” ลาฟรอฟ กล่าวพร้อมกับเสริมว่า แผนการดังกล่าวนี้ แม้เมื่อพิจารณาถึงการกระทำต่างๆ ในปัจจุบันของเปียงยางแล้ว ก็ยังต้องถือว่าล้ำเกินเลยไปกว่าภัยคุกคาม “ทุกๆ อย่างที่สามารถจินตนาการนึกฝัน” ว่าจะบังเกิดขึ้นได้
“เรากำลังจะเปิดโปงให้เห็นลักษณะที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างสิ้นเชิงของแผนการเช่นนี้ ซึ่งจะบ่อนทำลายความเสมอภาค (ทางทหาร) ของทั่วโลก และบ่อนทำลายเสถียรภาพทางยุทธศาสตร์ เรากำลังจะเรียกร้องพวกหุ้นส่วนชาวอเมริกันของเรา ให้มาหารือถกเถียงกันอย่างซื่อตรงและปลอดจากอคติ” ลาฟรอฟกล่าว
“(สหรัฐฯ) ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ เลยที่จะหลีกเลี่ยงการสนทนาดังกล่าวนี้” เขาระบุ
ตามรายงานของรอยเตอร์ สำนักข่าวเคซีเอ็นเอของทางการเกาหลีเหนือระบุในวันศุกร์ (11 มี.ค.) ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ได้เฝ้าชมการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี และออกคำสั่งให้ประเทศของเขาปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยดำเนินการทดสอบให้เพิ่มมากขึ้นอีก
รายงานข่าวนี้ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าการทดสอบยิงขีปนาวุธนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่น่าจะหมายถึงการที่เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 2 ลูกในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) ที่ผ่านมา ซึ่งทะยานไปเป็นระยะทางราว 500 กิโลเมตรก่อนที่จะตกลงไปในทะเล
“สหายคิม จองอึน ผู้เป็นที่รัก กล่าวว่า จักต้องทำงานเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่การปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งยังออกคำสั่งให้ดำเนินภารกิจสู้รบ ด้วยการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ต่อไปอีก เพื่อประเมินผลพลังอำนาจของหัวรบนิวเคลียร์ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาใหม่ และทำการทดสอบเพื่อปรับปรุงยกระดับสมรรถนะการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์” สำนักข่าวเคซีเอ็นเอระบุ
ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์นี้ สื่อมวลชนของทางการได้รายงานโดยอ้างคำพูดของผู้นำเกาหลีเหนือผู้นี้ที่กล่าวว่า ประเทศของเขาสามารถทำการย่อส่วนหัวรบนิวเคลียร์ให้มีขนาดเหมาะสมแก่การติดตั้งในขีปนาวุธนำวิถีแล้ว
ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีได้พุ่งพรวดขึ้นอย่างแรง หลังจากเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 4 ของตนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แล้วจากนั้นก็ยิงจรวดพิสัยไกลอีกในเดือนที่แล้ว ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านมติใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรใหม่ๆ เพิ่มเติมต่อโสมแดง
ทั้งนี้การทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์นั้น ย่อมเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อมติลงโทษคว่ำบาตรของยูเอ็นหลายฉบับที่ออกมาก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี ถึงแม้ในเรื่องหลังนี้เปียงยางปฏิเสธไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าในครั้งนี้ตนเพียงทดลองยิงจรวดส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร
เปียงยางอาจเอาวัสดุนิวเคลียร์ไปขายแก่ประเทศอื่น
ขณะที่สหรัฐฯมีความสงสัยข้องใจต่อการกล่าวอ้างของเกาหลีเหนือที่ว่าสามารถย่อส่วนอาวุธนิวเคลียร์จนเหมาะแก่การติดตั้งบนหัวรบของขีปนาวุธได้แล้ว ก็ยังมีความวิตกกังวลกันเพิ่มมากขึ้นด้วยว่า เปียงยางอาจถ่ายโอนเทคโนโลยีนิวเคลียร์หรือขายวัสดุนิวเคลียร์ให้แก่ประเทศอื่นๆ “เสียงอเมริกา” (Voice of America หรือ VOA) สื่อของรัฐบาลสหรัฐฯรายงาน
พวกผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ของวิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University’s School of Advanced International Studies) ระบุว่า เกาหลีเหนือน่าจะมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ระหว่าง 10 ถึง 16 ลูก และอาจผลิตเพิ่มเติมจนมีอาวุธชนิดนี้อยู่ในครอบครองถึง 100 ลูกได้ทีเดียวภายในปี 2020
ลีออน แพเนตตา (Leon Panetta) อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (ซีไอเอ) และอดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า เรื่องที่เกาหลีเหนือจะถ่ายโอนนิวเคลียร์ไปให้แก่ประเทศอื่นๆ “เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลมากจริงๆ”
“เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เตาหนึ่งที่สร้างขึ้นในซีเรีย และมีอันเป็นไปนั้น เป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งทำขึ้นมาสำเร็จ โดยส่วนใหญ่แล้วก็เพราะได้อาศัยเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือนี่แหละ” แพเนตตากล่าวกับ “เสียงอเมริกา” ในสัปดาห์นี้ โดยอ้างอิงถึงเตาปฏิกรณ์ลับเตาหนึ่งในซีเรีย ซึ่งถูกอิสราเอลส่งเครื่องบินเข้าทิ้งระเบิดทำลายไปเมื่อปี 2007
ทางด้าน เดนนิส แบลร์ (Dennis Blair) อดีตผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) ของสหรัฐฯ กล่าวเตือนสำทับว่า เปียงยางอาจจะมีความปรารถนาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ที่จะขายวัสดุนิวเคลียร์หรือเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของตน เพื่อหารายได้เป็นเงินสดเข้ามา ในเมื่อถูกลงโทษคว่ำบาตรเพิ่มเติมขึ้นอีกเช่นนี้
พวกนักวิเคราะห์ของกองทัพสหรัฐฯบอกว่า ความกังวลอันดับแรกสุดของวอชิงตันอยู่ที่ว่า เปียงยางมีหรือไม่มีสมรรถนะในการยิงขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป (intercontinental ballistic missile หรือ ICBM) ซึ่งไปถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯได้
พล.ร.อ.วิลเลียม กอร์ตนีย์ (Admiral William Gortney) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารภาคเหนือของสหรัฐฯ (U.S. Northern Command) บอกกับคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของวุฒิสภาเมื่อวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) ว่า เป็น “การสุขุมรอบคอบ” หากตั้งสมมุติฐานว่าเปียงยางมีความสามารถในการย่อส่วนหัวรบนิวเคลียร์และติดตั้งหัวรบดังกล่าวเอาไว้ในขีปนาวุธ ICBM ซึ่งสามารถยิงไปถึงสหรัฐฯได้