(รวบรวมเก็บความจาก AsiaTimes/National Interest/Reuters)
Japan’s master plan to destroy the Chinese Navy in battle
02/01/2016
ญี่ปุ่นกำลังตอบโต้การแผ่ขยายแสนยานุภาพทางนาวีของจีน ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร ทั้งนี้เรือรบของจีนเมื่อออกจากชายฝั่งด้านตะวันออกของแดนมังกร จะมุ่งหน้าเข้าไปให้ถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ก็จะต้องฝ่าผ่านแนวป้องกันอันไร้รอยตะเข็บนี้เสียก่อน
ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นกำลังขะมักเขม้นในการจัดวางแผนการและลงมือปฏิบัติให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์เพื่อต่อสู้เอาชนะกำลังนาวีของกองทัพเรือจีน แผนการดังกล่าวนี้หากจะเรียกขานกันให้เป็นที่คุ้นหูของบรรดาผู้สนใจด้านการทหารของอเมริกาแล้ว ก็ต้องใช้ชื่อว่า ยุทธศาสตร์ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" strategy หรือเรียกกันย่อๆ ว่า A2/AD) ในเวอร์ชั่นของญี่ปุ่นเอง แต่ถ้าหากเรียกขานตามอดีตเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง ของญี่ปุ่น ก็ต้องหันไปใช้วลีว่า “การครองอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและการครองความเหนือกว่าทางอากาศ” (maritime supremacy and air superiority)
แผนการดังกล่าวนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ได้จัดทำเป็นรายงานข่าวเรื่อง Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China (ข่าวเอ็กซ์คลูสีฟ: ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน) พูดถึงเอาไว้อย่างละเอียด (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-japan-military-china-exclusive-idUSKBN0U107220151218 หรือดูที่เก็บความเป็นภาษาไทยแล้วใน “หมายเหตุผู้แปล” ตอนท้ายของเรื่องนี้ -ผู้แปล) [1] และ ในบทความของ แฮร์รี เจ. คาเซียนิส (Harry J. Kazianis) ตีพิมพ์เผยแพร่ใน “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ (http://nationalinterest.org/blog/the-buzz/japans-master-plan-destroy-the-chinese-navy-battle-14779) ได้ประเมินค่าเอาไว้ว่า เป็นยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง
หากจะตัดต่อรายงานข่าวของรอยเตอร์มาเรียงร้อยใหม่เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของแผนการนี้ ก็จะเป็นดังนี้:
“โตเกียวกำลังตอบสนอง ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร จากอาณาบริเวณส่วนที่เป็นแผ่นดินหลักของประเทศญี่ปุ่น ไปจนจรดเขตแดนของไต้หวัน ...
“การที่ญี่ปุ่นติดตั้งประจำการระบบขีปนาวุธตามเกาะต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความลับอะไร แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้พูดออกมาให้ฟังว่า การติดตั้งประจำการเช่นนี้จะช่วยทำให้จีนตกอยู่ในฐานะอับจนไปไหนไม่รอดในย่านแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งควรต้องถือเป็น การปฏิบัติตามหลักการ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" doctrine หรือที่นิยมเรียกกันเป็นศัพท์วงในของพวกสนใจด้านการทหารว่า "A2/AD") ในเวอร์ชั่นแบบฉบับญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจีนนั่นเองคือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามหลักการ "A2/AD" เพื่อพยายามผลักไสสหรัฐฯและพันธมิตรของอเมริกัน ออกไปให้พ้นจากภูมิภาคแถบนี้
“การที่เรือต่างๆ ของฝ่ายจีนจะสามารถแล่นออกจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของตน และเข้าไปถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ต้องผ่านทะลุแนวกำแพงไร้รอยตะเข็บแห่งระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้เสียก่อน โดยที่การเข้าถึงแปซิฟิกตะวันตกถือเป็นเรื่องทรงความสำคัญยิ่งยวดสำหรับปักกิ่ง ทั้งในฐานะที่แปซิฟิกตะวันตกคือช่องทางสำหรับการติดต่อรับส่งสัมภาระกับน่านน้ำมหาสมุทรอื่นๆ ของโลก และทั้งเพื่อเป็นการสำแดงให้เห็นว่าแดนมังกรคือมหาอำนาจทางนาวีตัวจริง”
รายงานชิ้นนี้ของรอยเตอร์ยังพูดถึงภาพใหญ่โดยรวม เกี่ยวกับการปรากฏตัวทางทหารเพิ่มมากขึ้นของญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจะต้องไม่เป็นที่ชอบใจของจีนอย่างแน่นอน ดังนี้:
“ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นวางแผนการไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนทหาร หรือที่เรียกกันในญี่ปุ่นว่า “สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเอง” ซึ่งประจำอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลจีนตะวันออก ขึ้นไปอีกราวหนึ่งในห้า ทำให้ยอดรวมอยู่ที่เกือบๆ 10,000 คน
“กองทหารเหล่านี้ ซึ่งประจำอยู่ตามหน่วยระบบขีปนาวุธและสถานีเรดาร์ต่างๆ ยังจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยนาวิกโยธินที่ประจำอยู่ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น, กองเรือดำน้ำเทคโนโลยีสเตลธ์ที่สามารถหลีกหลีกการตรวจจับของเรดาร์, เครื่องบินรบ เอฟ-35, กองยานสู้รบสะเทินน้ำสะเทินบก, กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งแต่ละลำจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 , และสุดท้ายก็คือกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองโยโกสุกะ (Yokosuka) ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว”
แผนการที่ฟังดูคุ้นหูเหลือเกิน
แฮร์รี เจ. คาเซียนิส อดีตบรรณาธิการบริหารของ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” [2] ระบุเอาไว้ในบทความของเขาว่า สำหรับผู้คนในอเมริกาซึ่งสนใจเฝ้าติดตามหัวข้อนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ย่อมจะต้องรู้สึกว่าแผนการนี้ของญี่ปุ่นช่างฟังดูคุ้นหูเหลือเกิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เพราะแนวความคิดเช่นนี้ได้ถูกเสนอได้ถูกนำเอามาถกเถียงกันในประชาคมด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯเป็นเวลาสองสามปีแล้ว
โทชิ โยชิฮาระ (Toshi Yoshihara) ศาสตราจารย์ของวิทยาลัยสงครามนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ผู้ซึ่งในอดีตเคยเขียนเรื่องให้ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” (ดูที่ http://nationalinterest.org/article/the-best-defense-is-a-good-offense-for-chinas-navy-2755) และรายงานข่าวชิ้นนี้ของสำนักข่าวรอยเตอร์ก็ได้อ้างอิงคำพูดของเขาด้วยนั้น ก็ได้เคยเสนอไอเดียทำนองนี้เอาไว้ โดยระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ A2/AD ที่มีขนาดขอบเขตกว้างกว้างยิ่งขึ้นไปอีกของญี่ปุ่น ไอเดียของ โยชิฮาระ นี้ ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับหนึ่งที่เขาจัดทำให้แก่ “ศูนย์เพื่อความมั่นคงใหม่ของอเมริกัน” (Center for New American Security ใช้อักษรย่อว่า CNAS) ตั้งแต่เมื่อปี 2014 (ดูที่ http://www.cnas.org/sites/default/files/publications-pdf/CNAS%20Maritime2_Yoshihara.pdf)
ทั้งนี้รายงานของ โยชิฮาระ ซึ่งจัดทำให้แก่ CNAS ดังกล่าว ระบุเอาไว้ดังนี้:
“หมู่เกาะริวกิว (Ryukyu Islands) [3] สามารถที่จะสนับสนุนกองกำลังของญี่ปุ่นซึ่งมุ่งปฏิบัติภารกิจต่อต้านการเข้าถึง (Japanese anti-access forces) ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการจัดส่งหน่วยขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานชนิดซึ่งสามารถยิงจากรถบรรทุก ให้กระจายออกไปทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้แล้ว ก็จะเป็นการสร้างแนวกำแพงอันน่าเกรงขามอย่างยิ่งขึ้นมา ในเวลาที่เกิดสงคราม การปฏิบัติการสกัดกั้นอย่างทรงประสิทธิภาพเช่นนี้ ย่อมจะต้องล่อใจพวกผู้บังคับบัญชาของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ให้หาทางกำจัดพวกนายทวารจอมสกัดกั้นเหล่านี้ทิ้งไป อย่างไรก็ดี การกระทำเช่นนั้นจะต้องดึงเอาสมรรถนะการสู้รบทำสงครามของจีนออกไปในสัดส่วนที่ใหญ่โตพอดูทีเดียว ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทางด้านกำลังพลและวัสดุยุทโธปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากหมู่เกาะริวกิวในตัวมันเอง ไม่ได้มีคุณค่าใดๆ สำหรับปักกิ่งเลย ดังนั้นคณะผู้นำจีนจึงอาจจะวินิจฉัยตัดสินว่า การยกระดับเพิ่มความพยายามอย่างมากมายถึงขนาดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า”
โยชิฮาระยังอธิบายด้วยว่า ถึงแม้จีนตกลงใจที่จะทำลายขีปนาวุธเหล่านี้ซึ่งกระจายอยู่ในหมู่เกาะริวกิว ก็ไม่สามารถที่จะกำจัดไปได้อย่างง่ายดายหรอก โดยเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะกำจัดภัยคุกคามจากขีปนาวุธ ASCM ของญี่ปุ่นนี้ จะทำให้กองทัพปลดแอกประชาชนจีนต้องเปิดแนวรบที่มีขนาดความยาวทางภูมิศาสตร์เป็นระยะทางประมาณ 600 ไมล์ทีเดียว ขณะเดียวกัน ยุทธการรณรงค์ปราบปรามของฝ่ายจีนยังจะต้องใช้ทั้งแสนยานุภาพทางอากาศ และการโจมตีด้วยขีปนาวุธนำวิถี ตลอดจนจรวดร่อน ซึ่งจะยิ่งเร่งอัตราความเร็วของการที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนใช้สอยบริโภคคลังอาวุธยุทโธปกรณ์, เครื่องบิน, และบุคลากรทางการบิน ซึ่งมีอยู่ในปริมาณจำกัดของตน ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงน่าที่จะเป็นไปในทางสร้างความผิดหวัง ทำนองเดียวกับกองกำลังพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เมื่อตอนที่เปิด “การไล่ล่าหาจรวดสกั๊ด” อย่างเปล่าผล ในระหว่างการทำสงครามต่อสู้กับอิรักช่วงปี 1990-91 หรือหากแดนมังกรตัดสินใจหันไปใช้การโจมตีด้วยกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งดูน่าจะเป็นวิธีการอันมั่นอกมั่นใจได้มากที่สุดในการขจัดกองทหารที่ป้องกันเกาะเล็กๆ เหล่านี้ มันก็จะกลับกลายเป็นวิธีการที่เสี่ยงภัยที่สุดไปเสียฉิบ เนื่องจากกองทหารญี่ปุ่นและกองทหารสหรัฐฯย่อมสามารถที่จะยกพลขึ้นบก และสร้างความสูญเสียหายนะให้แก่กำลังสะเทินน้ำสะเทินบกของจีนดังกล่าว”
รายงานของโยชิฮาระ ยังกล่าวต่อไปถึงประโยชน์อันชัดเจนที่จะเกิดกับฝ่ายญี่ปุ่น ดังนี้:
“ด้วยการใช้ระบบอาวุธราคาไม่แพงที่มีให้ใช้อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก โดยที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยไม่ล้มหายตายจากไปอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นดินสู่เรือแบบ 88 (Type 88), แบบ 12 (Type 12) ตลอดจนระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ระบบอื่นๆ ญี่ปุ่นย่อมสามารถชักจูงจีนให้ถลำเข้าสู่สภาพที่หมดเปลืองไปกับการใช้อาวุธเพื่อการโจมตีที่มีราคาแพงกว่าและน่าคร้ามเกรงมากกว่า แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนกลับคืนมากลับเป็นแค่เพียงดินแดนหย่อมเล็กหย่อมน้อย ตลอดจนลู่ทางโอกาสอันไร้ความแน่นอนในการเจาะผ่านเข้าไปยังน่านน้ำแปซิฟิก การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการลงทุนที่น้อยกว่านักหนาโดยเปรียบเทียบ กลับสามารถที่จะทำให้กำลังของฝ่ายจีนต้องกระจายตัวออกจนเบาบางลง เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นมีเวลาและช่องทางสำหรับการพักหายใจเพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก
“นอกเหนือจากประโยชน์ในทางยุทธวิธีเหล่านี้แล้ว ญี่ปุ่นยังจะได้รับผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์เพิ่มพูนขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ การครอบครองทางเลือกที่สามารถจะเพิ่มหน่วยขีปนาวุธต่อต้านเรือและต่อต้านอากาศยานเป็นจำนวนมากในหมู่เกาะริวกิว ภายในระยะเวลาสั้นๆ ย่อมเป็นการสาธิตให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของฝ่ายญี่ปุ่น ขณะเดียวกับที่เพิ่มพูนศักยภาพของโตเกียวในการปฏิบัติการอย่างทรงประสิทธิภาพในเวลาที่เกิดวิกฤต ด้วยการใช้กองกำลังเพื่อการสกัดกั้นเหล่านี้ของโตเกียว ควรสันนิษฐานได้ว่าจะจำกัดขนาดขอบเขตการบาดเจ็บล้มตายของหน่วยสู้รบต่างๆ ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ทั้งที่ปฏิบัติการอยู่ในดินแดนร่วมและที่ปฏิบัติการอยู่ในดินแดนญี่ปุ่น การจำกัดขนาดขอบเขตเช่นนี้ย่อมจะลดความเป็นไปได้ที่จะมีการยกระดับขยายการสู้รบ อีกทั้งยังสอดคล้องเข้ากันได้ดีกับภาพลักษณ์มุ่งเน้นหนักด้านการป้องกันตัวของโตเกียว จึงเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนน้ำหนักในทางการทูตของญี่ปุ่นบนเวทีระดับโลก”
คาเซียนิส กล่าวสรุปในตอนท้ายของบทความของเขาว่า แผนการเช่นนี้ของญี่ปุ่นที่เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในการป้องกันตนเอง แต่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการปฏิบัติการของกองทัพเรือจีน ตลอดจนเป็นไปได้ว่าจะสามารถจำกัดเสรีภาพในการปฏิบัติการของทรัพย์สินทางอากาศของแดนมังกรด้วย ต้องถือว่าเป็นการเดินหมากอันฉลาดแหลมคม อย่างไรก็ตาม โตเกียวยังคงต้องทำงานต่อไปเพื่อหาทางรับมือกับสิ่งที่อาจจะเป็นความท้าทายอันน่าหนักใจมากยิ่งกว่านี้อีก อันได้แก่การที่ปักกิ่งกำลังเพิ่มประเภทของขีปนาวุธซึ่งใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าและมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถเล็งเป้าหมายเล่นงานบรรดาฐานทัพของญี่ปุ่นและของพันธมิตรของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในรายงานที่ โยชิฮาระ จัดทำให้แก่ CNAS นั้น ได้เสนอแนะวิธีการอันหลักแหลมจำนวนหนึ่งสำหรับการรับมือกับเรื่องนี้เอาไว้ด้วย ดังนั้นรายงานของ CNAS ฉบับนี้จึงน่าที่จะศึกษากันให้ละเอียดทั้งฉบับ และก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีความสนใจนำมาศึกษากันอยู่แล้ว
เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ (The National Interest) เป็นนิตยสารอเมริกันราย 2 เดือนทางด้านกิจการระหว่างประเทศ ของ ศูนย์เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ (Center for the National Interest) ขณะที่เว็บไซต์ของนิตยสารฉบับนี้ (http://nationalinterest.org/) ก็มีการโพสต์ข่าวและบทความใหม่ๆ เป็นรายวันอีกด้วย นิตยสารฉบับนี้ก่อตั้งเมื่อปี 1985 โดย เออร์วิ่ง คริสโตล (Irving Kristol มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1920-2009) นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันผู้ได้รับฉายาว่าเป็น “ก็อดฟาเธอร์ของลัทธิอนุรักษนิยมใหม่”อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ ประกาศตัวอยู่กับสำนักสัจนิยม (Realist School) ในแนวความคิดทางด้านนโยบายการต่างประเทศ (ข้อมูลจาก Wikipedia)
หมายเหตุผู้แปล
[1] เนื่องจากข้อเขียนข้างต้นนี้ มีการอ้างอิงถึงรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์เรื่อง Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China (ข่าวเอ็กคลูซีฟ: ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน) (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-japan-military-china-exclusive-idUSKBN0U107220151218) จึงขอเก็บความรายงานชิ้นนี้มาเสนอประกอบในที่นี้ด้วย ดังนี้:
ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน
Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China
18/12/2015
ญี่ปุ่นกำลังยกระดับเสริมความแข็งแกร่งด้านกลาโหม ให้แก่หมู่เกาะจำนวนมากมายของตนที่ตั้งเรียงรายต่อเนื่องกันจนเป็นสายโซ่ยาวเหยียด ในอาณาบริเวณอันห่างไกลโพ้นในทะเลจีนตะวันออก ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ซึ่งกำลังวิวัฒนาการคลี่คลายขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืนมาจากกองทัพเรือของจีน และกีดกันไม่ให้นาวีแดนมังกรสามารถครอบงำซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้สำเร็จ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวทั้งในกองทัพญี่ปุ่นและในรัฐบาลญี่ปุ่น
สหรัฐฯนั้นแสดงความเชื่อเรื่อยมาว่า เหล่าพันธมิตรของตนในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น ต้องลงแรงแข็งขันในการเข้าช่วยเหลือการปิดล้อมจำกัดขอบเขตแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และด้วยเหตุนี้วอชิงตันจึงพยายามผลักดันให้โตเกียวโยนทิ้งยุทธศาสตร์เดิมๆ ที่ได้ยึดถือมาเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งมุ่งหน้าป้องกันเฉพาะอาณาเขตเกาะใหญ่ๆ ภายในเขตใจกลางบ้านของตน รวมทั้งพยายามเรียกร้องให้แดนอาทิตย์อุทัยต้องสำแดงแสนยานุภาพทางทหารของตนในเอเชียให้มากขึ้น
ปรากฏว่าโตเกียวกำลังตอบสนอง ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยาน ไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร จากอาณาบริเวณส่วนที่เป็นแผ่นดินหลักของประเทศญี่ปุ่น ไปจนจรดเขตแดนของไต้หวัน
จากคำให้สัมภาษณ์ของเหล่านักวางแผนทางการทหารและผู้กำหนดนโยบายของภาครัฐบาลจำนวนรวมกันสิบกว่าราย เปิดเผยให้ทราบว่า แนวความคิดในการการปรับปรุงยกระดับการทหารญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งมีเป้าหมายอันกว้างขวางยิ่ง มีการนำเอายุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งที่จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถครองฐานะครอบงำน่านน้ำและน่านฟ้ารอบๆ หมู่เกาะห่างไกลต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้รวมไว้ด้วยแล้ว
ถึงแม้การที่ญี่ปุ่นออกไปติดตั้งประจำการระบบขีปนาวุธตามเกาะต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความลับอะไร แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้พูดออกมาให้ฟังว่า การติดตั้งประจำการเช่นนี้จะช่วยทำให้จีนตกอยู่ในฐานะอับจนไปไหนไม่รอดในย่านแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งควรต้องถือเป็น การปฏิบัติตามหลักการ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" doctrine หรือที่นิยมเรียกกันเป็นศัพท์วงในของพวกสนใจด้านการทหารว่า "A2/AD") ในเวอร์ชั่นแบบฉบับญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจีนนั่นเองคือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามหลักการ "A2/AD" เพื่อพยายามผลักไสสหรัฐฯและพันธมิตรของอเมริกัน ออกไปให้พ้นจากภูมิภาคแถบนี้
การที่เรือต่างๆ ของฝ่ายจีนจะสามารถแล่นออกจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของตน และเข้าไปถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ต้องผ่านทะลุแนวกำแพงไร้รอยตะเข็บแห่งระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้เสียก่อน โดยที่การเข้าถึงแปซิฟิกตะวันตกถือเป็นเรื่องทรงความสำคัญยิ่งยวดสำหรับปักกิ่ง ทั้งในฐานะที่แปซิฟิกตะวันตกคือช่องทางสำหรับการติดต่อรับส่งสัมภาระกับน่านน้ำมหาสมุทรอื่นๆ ของโลก และทั้งเพื่อเป็นการสำแดงให้เห็นว่าแดนมังกรคือมหาอำนาจทางนาวีตัวจริง
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนนั้น ฝากความหวังแสดงความคาดหมายเอาไว้อย่างมากมาย ต่อการพัฒนากองทัพเรือ “น้ำลึก” ("blue water" navy) ของแดนมังกร ซึ่งหมายถึงการสร้างกำลังนาวีที่มีศักยภาพออกปฏิบัติการกลางมหาสมุทรไกลโพ้น เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศจีนซึ่งกำลังขยายตัวออกไปทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วที่ว่า หากเรือรบของจีนจะแล่นผ่านแนวระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้ออกไป โดยมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ พวกเขาจะไม่ถูกยับยั้งขัดขวางใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในขณะที่พวกเขาเคลื่อนผ่านไปนั้น เรือรบเหล่านี้ย่อมตกอยู่ภายในรัศมีเล็งยิงของขีปนาวุธแดนอาทิตย์อุทัยอย่างไม่ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเหล่านี้กล่าวสำทับกับรอยเตอร์
แนวสายโซ่เกาะแนวแรก
ในสภาวการณ์ที่ปักกิ่งแสดงท่าทียืนกรานแข็งกร้าวและเข้าควบคุมการเดินทางสัญจรในทะเลจีนใต้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาศัยฐานทัพต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเทียมกลางทะเลทั้งหลายที่จีนจัดการถมเกาะปะการังและแนวปะการังต่างๆ จัดสร้างขึ้นมาจนกระทั่งเวลานี้เกือบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว แนวสายโซ่ป้องกันตามเกาะต่างๆ จำนวนมากมายของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ต่อเนื่องยืดยาวในอาณาบริเวณห่างไกลของทะเลจีนตะวันออก โดยที่ทางด้านใต้ก็ยังผ่านไปตามดินแดนเกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์นั้น ก็น่าที่จะกลายเป็นตัวนิยามกำหนดเส้นแบ่งแดนระหว่างพื้นที่เขตอิทธิพลของสหรัฐฯกับพื้นที่เขตอิทธิพลของจีน ทั้งนี้พวกนักวางแผนการทางทหารเรียกแนวสายโซ่เส้นนี้ว่า “แนวสายโซ่เกาะแนวแรก” (first island chain)
“เมื่อเวลาผ่านไปอีกสัก 5 หรือ 6 ปีข้างหน้า แนวสายโซ่เกาะแนวแรกนี้จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในดุลอำนาจทางทหารระหว่างจีน กับสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น” ซาโตชิ โมริโมโตะ (Satoshi Morimoto) ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยทากุโชกุ (Takushoku) กล่าวคาดการณ์ ศาสตราจารย์ผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเมื่อปี 2012 และเวลานี้ก็ยังเป็นที่ปรึกษาของ เกน นากาตานิ (Gen Nakatani) รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ส่งเรือรบลำหนึ่งแล่นเข้าไปเพื่อแสดงการท้าทายไม่ยอมรับพื้นที่น่านน้ำอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล ซึ่งจีนประกาศกล่าวอ้างยืนยันในบริเวณรอบๆ ฐานทัพเกาะเทียมแห่งใหม่ที่พวกเขาเพิ่งจัดสร้างขึ้นในหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly archipelago)ของทะเลจีนใต้
กระนั้น เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญฝ่ายญี่ปุ่นบางคนยังคงชี้ว่า ถึงอย่างไรปักกิ่งก็ดูจะประสบความสำเร็จแล้วในการเริ่มต้นกระบวนการสถาปนา “ข้อเท็จจริงในภาคสนาม” สำหรับการที่พวกเขาสามารถเข้าควบคุมทางการทหาร เหนืออาณาบริเวณแถบนี้ของทะเลจีนใต้
“เราอาจจะชะลอเวลาในการยอมรับสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นี้ไปได้อีกสักระยะหนึ่ง แต่ความเป็นจริงก็คือขบวนรถไฟได้แล่นออกไปจากสถานีตั้งพักหนึ่งแล้ว” แหล่งข่าวรายหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสทางทหารของสหรัฐฯซึ่งมีความคุ้นเคยกับเอเชียเป็นอย่างดี กล่าวเปรียบเทียบให้สำนักข่าวรอยเตอร์ฟัง เจ้าหน้าที่ผู้นี้ตั้งเงื่อนไขว่ารอยเตอร์ต้องไม่ระบุตัวตนของเขา เนื่องจากเขาไม่ได้รับมอบอำนาจให้พูดจากับสื่อมวลชน
ขณะที่ เควิน มาเฮอร์ (Kevin Maher) ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าของสำนักงานกิจการญี่ปุ่น (Office of Japan Affairs) ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอยู่เป็นเวลา 2 ปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2011 ก็กล่าวแสดงความคิดเห็นสำทับว่า วัตถุประสงค์สูงสุดของจีนคือการครองฐานะความเป็นเจ้าเหนือทะเลจีนใต้ และการครองฐานะความเป็นเจ้าเหนือทะเลจีนตะวันออก โดยที่ “การใช้ความพยายามตลอดจนการมุ่งหน้าเอาแต่พะเน้าพะนอตามอกตามใจฝ่ายจีนนั้น มีแต่จะกลายเป็นการหนุนส่งให้ฝ่ายจีนแสดงท่าทียั่วยุท้าทายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น” มาเฮอร์กล่าว ทั้งนี้ในปัจจุบันเขาทำงานเป็นที่ปรึกษาผู้หนึ่งอยู่กับบริษัทที่ปรึกษา เอ็นเอ็มวี คอนซัลติ้ง (NMV Consulting) ในกรุงวอชิงตัน
ช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืน
อันที่จริงแล้ว ญี่ปุ่นเริ่มต้นดำเนินการตอบโต้จีนในทะเลจีนตะวันออกมาตั้งแต่ปี 2010 หรือ 2 ปีก่อนหน้าการขึ้นครองอำนาจของอาเบะ
รัฐบาลญี่ปุ่นชุดก่อนหน้าอาเบะ ซึ่งเป็นชุดที่มีพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ เจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) เป็นแกนนำ คือผู้ที่ปรับเปลี่ยนแกนหมุนสำคัญแห่งการป้องกันประเทศของแดนอาทิตย์อุทัย จากที่เคยเน้นหนักโฟกัสรอบๆ การพิทักษ์ป้องกันเกาะใหญ่ทางภาคเหนืออย่างฮอกไกโด ให้สามารถรับมือกับการรุกรานจากสหภาพโซเวียต ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วการรุกรานที่ว่านี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ก็ให้เปลี่ยนมาเป็นการพิทักษ์ป้องกันเครือข่ายสายโซ่เกาะต่างๆ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
“การที่จีนมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสหรัฐฯกำลังเสื่อมถอยลงไปโดยเปรียบเทียบ คือปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้เราต้องตัดสินใจดำเนินการปรับเปลี่ยน” อากิฮิซะ นางาชิมะ (Akihisa Nagashima) สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรค DPJ บอกกับรอยเตอร์ ทั้งนี้ในตอนนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็นรองรัฐมนตรีกลาโหม และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นมา “เราต้องการทำสิ่งที่เราสามารถทำได้ และช่วยทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า สหรัฐฯจะยังคงออกมาประจำการอยู่ที่ส่วนหน้า (หมายถึงการที่สหรัฐฯส่งกำลังทหารออกมาประจำการในย่านแปซิฟิกที่อยู่นอกสหรัฐฯ เป็นต้นว่า ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ –ผู้แปล) ต่อไปอย่างยาวนาน”
ทางฝ่ายจีนนั้น ด้วยความพยายามที่จะหาทางป้องปรามไม่ให้กองทัพเรือสหรัฐฯซึ่งมีระดับเทคโนโลยีโดยรวมเหนือชั้นกว่าตนเองมาก มีศักยภาพความสามารถที่จะเข้าๆ ออกๆ น่านน้ำหรือบินเหนือน่านฟ้าบริเวณใกล้ๆ เกาะไต้หวัน หรือในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ได้ตามแต่ใจปรารถนา เวลานี้ปักกิ่งจึงได้มุ่งเน้นทุ่มเทลงทุนในเรื่องระบบขีปนาวุธที่มีความแม่นยำสูง
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ปักกิ่งได้ใช้โอกาสเนื่องในวาระรำลึกครบรอบ 70 ปีแห่งการปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดงานตรวจพลสวนสนามครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดกันมา เพื่ออวดโอ่เผยโฉมอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่กำลังมีเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ของตน ให้เหล่าเพื่อนมิตรและผู้ที่อาจกลายเป็นศัตรู ได้มองเห็นด้วยความตื่นตาตื่นใจกันสักแวบหนึ่ง ทั้งนี้ อาวุธชนิดหนึ่งซึ่งถูกนำออกมาแสดงเป็นครั้งแรกและเป็นที่เฝ้าจับตากันมาก ได้แก่ “ตงเฟิง-21 ดี” (Dongfeng-21D) ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านเรือซึ่งแม้ยังไม่เคยผ่านการทดสอบจริงๆ แต่ก็ได้รับการประโคมว่ามีศักยภาพที่จะทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินมูลค่าลำละ 5,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ
ขีปนาวุธชนิดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคลังแสงแดนมังกรที่ทางรัฐสภาอเมริกันประมาณการว่า มีขีปนาวุธพิสัยใกล้และขีปนาวุธพิสัยกลางรวมแล้วราว 1,200 ลูก ซึ่งสามารถยิงโจมตีใส่จุดไหนก็ได้ตามแนวสายโซ่เกาะแนวแรก นอกจากนั้นจีนยังกำลังพัฒนาจรวดร่อน (cruise missiles) หลบหลีกเรดาร์ ซึ่งสามารถยิงจากเรือดำน้ำและยิงจากภาคพื้นดินอีกด้วย
โทชิ โยชิฮาระ (Toshi Yoshihara) ศาสตราจารย์ของวิทยาลัยสงครามนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ชี้ว่า การที่ญี่ปุ่นมุ่งจำกัดความสามารถของจีนในการเคลื่อนที่ผ่านจากทะเลจีนตะวันออกเข้าสู่แปซิฟิกตะวันตกนั้น ต้องถือว่าเป็นการแสดงบทบาทที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นการช่วยหนุนเสริมเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของทางฝ่ายสหรัฐฯ และซื้อเวลาสำหรับการที่พันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นจะดำเนินการตอบโต้ในเวลาที่เกิดสงครามกับจีน
“คุณสามารถพูดได้เลยว่า ญี่ปุ่นกำลังช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืนมาจากจีน” โยชิฮิระพูดสำทับ
ขณะที่ โยสุเกะ อิโซซากิ (Yosuke Isozaki) ผู้เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงเบอร์หนึ่งของอาเบะ จวบจนกระทั่งถึงเดือนกันยายนปีที่แล้ว พูดถึงแนวความคิดของฝ่ายญี่ปุ่นว่า แทนที่จะใช้คำว่า A2/AD สำหรับยุทธศาสตร์การสร้างระบบขีปนาวุธขึ้นตามแนวสายโซ่เกาะแนวแรก พวกเขากลับตัดสินใจให้ใช้วลีว่า “การครองอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและการครองความเหนือกว่าทางอากาศ” (maritime supremacy and air superiority) อิโซซากิ คือผู้เขียนตัวหลักคนหนึ่งของเอกสารยุทธศาสตร์การป้องกันแห่งชาติ (national defense strategy) ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปี 2013 โดยที่เอกสารดังกล่าวมีการใช้วลีดังกล่าวนี้เป็นครั้งแรก
“ตามความคิดของเรานั้น เราต้องการที่จะให้สามารถรับประกันได้ว่า เราจะมีอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและครองความเหนือกว่าทางอากาศ อย่างชนิดที่เหมาะสมสอดคล้องกับทางกองทัพสหรัฐฯ” เขากล่าวต่อ
การที่ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามย้ำเรื่องการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับทางฝ่ายทหารอเมริกันเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากความทรงจำเกี่ยวกับพฤติการณ์ก้าวร้าวรุกรานของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงเฝ้าหลอกหลอนความสัมพันธ์ที่โตเกียวมีอยู่กับพวกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง และความตึงเครียดเช่นนี้ดูยิ่งเพิ่มพูนและแหลมคมมากขึ้นอีกนับตั้งแต่การหวนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในคราวนี้ของอาเบะ ผู้ซึ่งถูกนักวิพากษ์วิจารณ์ตราหน้าว่าเป็นนักแก้ไขบิดเบือนประวัติศาสตร์ ที่ต้องการลดทอนบทบาทพฤติการณ์ความเลวร้ายของญี่ปุ่นในช่วงสงครามที่ผ่านมา
ทางฝ่ายจีนก็ไม่หลงลืมที่จะตอกย้ำแผลเป็นนี้ ในอีเมลตอบคำถามที่รอยเตอร์สอบถามไปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ว่าด้วยแนวสายโซ่เกาะของญี่ปุ่น กระทรวงกลาโหมจีนเขียนกลับมาว่า “แนวโน้มทางการทหารใดๆ ก็ตามของญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้บรรดาประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียต้องคอยจับตามองอย่างใกล้ชิดและอย่างเคลือบแคลงสงสัย”
“เราเรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นใช้ประวัติศาสตร์เป็นกระจกเงาส่องดูตนเอง และกระทำการต่างๆ โดยเล็งถึงผลประโยชน์ของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้มากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม สำหรับฝ่ายอเมริกันอย่าง พลเรือโท โจเซฟ ออคอยน์ (Vice Admiral Joseph Aucoin) ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ (U.S. Seventh Fleet) การที่ญี่ปุ่นปรับปรุงยกระดับความแข็งแกร่งด้านกลาโหมในทะเลจีนตะวันออก คือการหนุนช่วยอย่างสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งหวังผลอันกว้างไกลออกไป
“กระบวนการในการวางแผนของสหรัฐฯสำหรับยุทธบริเวณใดก็ตามที ย่อมต้องมีการพิจารณาถึงศักยภาพด้านต่างๆ และกองกำลังต่างๆ ทั้งของฝ่ายเพื่อนมิตร และของฝ่ายผู้ที่อาจกลายเป็นปรปักษ์” ออคอยน์ หยิกยกหลักการกว้างๆ มาบอกกับรอยเตอร์ พร้อมกับสาธยายต่อไปว่า “แผนการต่างๆ ของสหรัฐฯนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์สูงสุดอยู่ที่การธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ไม่ใช่เฉพาะสำหรับญี่ปุ่นเท่านั้น แต่สำหรับทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ด้วย”
ระบบขีปนาวุธ และสถานีเรดาร์
ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นวางแผนการไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนทหาร หรือที่เรียกกันในญี่ปุ่นว่า “สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเอง” ซึ่งประจำอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลจีนตะวันออก ขึ้นไปอีกราวหนึ่งในห้า ทำให้ยอดรวมอยู่ที่เกือบๆ 10,000 คน
กองทหารเหล่านี้ ซึ่งประจำอยู่ตามหน่วยระบบขีปนาวุธและสถานีเรดาร์ต่างๆ ยังจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยนาวิกโยธินที่ประจำอยู่ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น, กองเรือดำน้ำเทคโนโลยีสเตลธ์ที่สามารถหลีกหลีกการตรวจจับของเรดาร์, เครื่องบินรบ เอฟ-35, กองยานสู้รบสะเทินน้ำสะเทินบก, กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งแต่ละลำจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 , และสุดท้ายก็คือกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองโยโกสุกะ (Yokosuka) ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว
กองเรือนาวีของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯซึ่งมีการร่วมมือประสานงานกันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วในเวลานี้ จะยิ่งมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นไปอีกนับตั้งแต่นี้ไป หลังจากกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่อาเบะผลักดันออกมาบังคับใช้ได้สำเร็จในปี 2015 มีข้อความรับรองว่า การป้องกันตนเองแบบรวมกลุ่มรวมหมู่กับชาติอื่นๆ (collective self-defense) เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นกระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การรับรองดังกล่าวเท่ากับเป็นการเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือแก่พวกพันธมิตรทั้งหลายที่ถูกข้าศึกศัตรูโจมตีเล่นงาน
มาเฮอร์ อดีตหัวหน้าสำนักงานกิจการญี่ปุ่น ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าสำคัญอย่างยิ่งยวดประการหนึ่งสืบเนื่องจากกฎหมายฉบับใหม่นี้ ก็คือจากนี้ไปฝ่ายทหารของสหรัฐฯกับของญี่ปุ่นสามารถที่จะร่วมกันวางแผนและร่วมการฝึกซ้อมรบฝึกการทำสงครามด้วยกัน และก่อให้เกิด “ตัวคูณเพิ่มกำลัง” (force multiplier) ขึ้นมา
การมีงบประมาณรายจ่ายด้านกลาโหมเพิ่มสูงขึ้นนั้น ย่อมหมายถึงความสามารถที่มากขึ้นในการเพิ่มพูนศักยภาพสมรรถนะของกองทัพ เวลานี้ฝ่ายทหารของญี่ปุ่นกำลังหาทางให้ได้รับงบใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีหน้า ในระดับพุ่งปริ๊ดสูงสุดแตะหลัก 5 ล้านล้านเยน (40,000 ล้านดอลลาร์) เป็นครั้งแรก โดยที่ยอดดังกล่าวนี้รวมถึงเงินใช้จ่ายสำหรับการซื้อหาขีปนาวุธต่อต้านเรือที่มีพิสัยทำการไกลขึ้น, เครื่องบินไล่ล่าเรือดำน้ำ, เครื่องบินติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า, อากาศยานไร้นักบิน (โดรน) “โกลบอล ฮอว์ก” (Global Hawk), เครื่องบินลูกผสมเฮลิคอปเตอร์รุ่น “ออสเปรย์” (Osprey), ตลอดจนเครื่องบินไอพ่นขนส่งพิสัยไกลและบรรทุกหนักรุ่นใหม่
อย่างไรก็ตาม สำหรับในบางด้านแล้ว ฝ่ายทหารของญี่ปุ่นอาจจะต้องใช้วิธีการแบบประหยัดมัธยัสถ์ เป็นต้นว่า ขีปนาวุธต่อต้านเรือซึ่งออกแบบมาเมื่อ 30 ปีก่อนเพื่อใช้ทำลายยานยกพลขึ้นบกของโซเวียตที่มุ่งหน้าเข้ามายังเกาะฮอกไกโด เวลานี้กำลังถูกโยกย้ายนำไปใช้เบิกโรงการเสริมกำลังป้องกันตามแนวสายโซ่เกาะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนอาทิตย์อุทัย
ขีปนาวุธชนิดนี้สามารถที่จะนำพาหัวรบน้ำหนัก 225 กิโลกรัมไปยังเป้าหมายซึ่งอยู่ห่างออกไป 180 กิโลเมตร ดังนั้นจึงมีพิสัยทำการไกลเพียงพอที่จะอุดช่วงห่างระหว่างเกาะต่างๆ ตามแนวสายโซ่เหล่านี้ โนโบรุ ยามางูชิ (Noboru Yamaguchi) กล่าวยืนยัน ทั้งนี้ในปัจจุบัน ยามางูชิ เป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิสันติภาพ ซาซากาวะ (Sasakawa Peace Foundation) และในอดีตเขาคือนายพลที่เป็นผู้จัดซื้ออาวุธเหล่านี้เข้ามาเมื่อ 30 ปีก่อน
นักวางแผนการทางทหารของญี่ปุ่น ยังจะต้องขบคิดพิจารณาถึงวิธีการในการเปลี่ยนผ่านกองทัพแดนอาทิตย์อุทัย จากกองกำลังอาวุธที่คุ้นเคยอยู่แต่การตั้งประจำอยู่ใกล้ๆ กับค่ายของตน ให้กลายเป็นกองกำลังอาวุธเคลื่อนที่ซึ่งพรักพร้อมออกไปสู้รบยังสถานที่ไกลโพ้นให้มากขึ้น
ทั้งนี้ในสภาพที่มีการลงทุนน้อยเกินไปมาอย่างยาวนานหลายสิบปีในทางด้านการส่งกำลังบำรุง นี่ย่อมหมายความว่าญี่ปุ่นยังมีเรือขนส่งทางนาวี และเครื่องบินทหารเพื่อลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ปริมาณมากๆ ในจำนวนที่น้อยเกินไป
อย่างไรก็ดี สำหรับรัฐบาลญี่ปุ่นแล้ว ภารกิจที่ละเอียดอ่อนยิ่งกว่าเรื่องเหล่านี้เสียอีก อาจจะได้แก่การชักจูงเกลี้ยกล่อมประชาชนซึ่งพำนักอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะไกลโพ้นเหล่านี้ ให้ยอมรับการมีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปปรากฏตัวใกล้ๆ บ้านของพวกเขาเพิ่มมากขึ้น ดังที่มีตัวอย่างจากกรณีของหมู่เกาะโอกินาวา (Okinawa) โดยที่หลังจากหมู่เกาะแห่งนี้กลายเป็นเจ้าบ้านต้อนรับกองทหารอเมริกันจำนวนมากมายยิ่งกว่าดินแดนแห่งใดในเอเชียมาอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว ประชาชนชาวโอกินาวาก็กำลังออกมาแสดงการคัดค้านต่อต้านฐานทัพเหล่านี้หนักมือขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับในเวลานี้ ชุมชนต่างๆ ตามแนวสายโซ่ของเกาะต่างๆ อันยาวเหยียด ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนประมาณไม่เกิน 1.5 ล้านคนนั้น ต่างยังคงมียินดีเมื่อถูกเรียกร้องขอให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้านต้อนรับกองทหารญี่ปุ่น ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของ เรียวตะ ทาเกดะ (Ryota Takeda) สมาชิกรัฐสภาที่เคยดำรงตำแหน่งรองรัฐมนตรีกลาโหมอยู่จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน 2014 และเป็นผู้ที่เดินทางไปยังอาณาบริเวณเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง เพื่อโน้มน้าวให้ชาวบ้านยอมรับกองทหารใหม่ๆ ที่เข้าไปตั้งประจำการในท้องถิ่นของพวกเขา
“ไม่เหมือนกับพวกเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังนั่งกันอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในโตเกียวหรอก ชาวบ้านเหล่านี้มีความเข้าใจมากกว่าและสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที่พวกเขาเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันได้ดีกว่า” เขากล่าว
[2] แฮร์รี เจ. คาเซียนิส (Harry J. Kazianis) เป็นบรรณาธิการบริหารของ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” จนกระทั่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้ เขายังทำหน้าที่เป็นนักวิจัยอาวุโส (ประเภทไม่ประจำ) ของ ศูนย์เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ (Center for the National Interest) และนักวิจัยอาวุโส (ประเภทไม่ประจำ) ที่ สถาบันนโยบายจีน (China Policy Institute) ตลอดจนเป็นนักวิจัยด้านกิจการความมั่นคงแห่งชาติให้แก่ มูลนิธิโปโตแมค (Potomac Foundation) เขายังเคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร “เดอะ ดีโพลแมต” (The Diplomat) และเคยเป็นนักวิจัย WSD Handa Fellow ที่ Pacific Forum, Center for Strategic and International Studies (CSIS) (ข้อมูลจาก เดอะเนชั่นแนล อินเทอเรสต์)
[3]หมู่เกาะริวกิว (Ryukyu Islands) เป็นที่รู้จักกันในภาษาญี่ปุ่นว่า หมู่เกาะนันเซ (Nansei Islands) ซึ่งตามตัวอักษรแปลว่าหมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ริวกิว อาร์ค (Ryukyu Arc) ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะริวกิวหมายถึงหมู่เกาะต่างๆ ของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่เรียงรายต่อเนื่องกันเป็นสายยาวเหมือนสายโซ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากเกาะกิวชู (Kyushu) ไปจนถึง เกาะไต้หวัน โดยประกอบด้วยหมู่เกาะ โอซูมิ (Osumi), โทการะ (Tokara), อามามิ (Amami), โอกินาวา (Okinawa), และ ซากิชิมะ (Sakishima) (ซึ่งในเวลาต่อมายังถูกแบ่งออกไปเป็นหมู่เกาะมิยาโกะ Miyako กับหมู่เกาะยาเอยามะ Yaeyama) โดยที่มีหมู่เกาะ โยนางูนิ (Yonaguni) อยู่ทางใต้สุด หมู่เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic islands) และมีส่วนน้อยที่เป็นหมู่เกาะปะการัง (coral islands) สำหรับหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ โอนิกาวา
หมู่เกาะโอซูมิ และ โทการะ ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือสุด ถือว่าอยู่ภายใต้เขตวัฒนธรรมของภูมิภาคคิวชูของญี่ปุ่น ประชาชนที่นี่เป็นคนชาติพันธุ์ญี่ปุ่น และพูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงคาโงชิมะ (Kagoshima) ที่ในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างผิดแผกกันไปอีก สำหรับประชาชนบนหมู่เกาะ อามามิ, โอกินาวา, มิยาโกะ, และ ยาเอยามะ เรียกกันว่าชาวริวกิว ตามชื่อของอดีตราชอาณาจักรริวกิวที่เคยเป็นผู้ปกครองพวกเขา ผู้คนของหมู่เกาะเหล่านี้ตามประเพณีนิยมแล้วพูดภาษาริวกิวสำเนียงต่างๆ กัน นอกจากนั้นในหมู่เกาะใหญ่ๆ ยังมีภาษาของพวกเขาเองแยกออกไปต่างหาก สำหรับในยุคสมัยใหม่ ภาษาญี่ปุ่นถือเป็นภาษาแรกของหมู่เกาะเหล่านี้ โดยที่ภาษาญี่ปุ่นสำเนียงโอกินาวา มีการพูดกันอย่างกว้างขวางที่สุด หมู่เกาะไดโตะ (Daito) ซึ่งอยู่รอบนอก ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยจวบจนกระทั่งถึงสมัยเมจิ (Meiji) เมื่อเริ่มมีการพัฒนาหมู่เกาะนี้โดยผู้คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากหมู่เกาะอีซุ (Izu Islands) ที่อยู่ทางด้านใต้ของโตเกียว โดยที่ในปัจจุบันผู้คนที่นั่นพูดกันด้วยสำเนียงฮาชิโจ (Hachijo)
ในด้านการบริหารปกครอง หมู่เกาะเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 จังหวัด นั่นคือ พวกหมู่เกาะส่วนทางเหนือเป็นจังหวัดคาโงชิมะ และพวกหมู่เกาะส่วนทางใต้เป็นจังหวัดโอกินาวา พวกหมู่เกาะทางเหนือ (คาโงชิมะ) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ในชื่อว่า หมู่เกาะซัตสึนัน (Satsunan Islands) ขณะที่พวกหมู่เกาะทางด้านใต้ (จังหวัดโอกินาวา) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ในชื่อว่าหมู่เกาะริวกิว
(ข้อมูลจาก Wikipedia)
Japan’s master plan to destroy the Chinese Navy in battle
02/01/2016
ญี่ปุ่นกำลังตอบโต้การแผ่ขยายแสนยานุภาพทางนาวีของจีน ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร ทั้งนี้เรือรบของจีนเมื่อออกจากชายฝั่งด้านตะวันออกของแดนมังกร จะมุ่งหน้าเข้าไปให้ถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ก็จะต้องฝ่าผ่านแนวป้องกันอันไร้รอยตะเข็บนี้เสียก่อน
ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นกำลังขะมักเขม้นในการจัดวางแผนการและลงมือปฏิบัติให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์เพื่อต่อสู้เอาชนะกำลังนาวีของกองทัพเรือจีน แผนการดังกล่าวนี้หากจะเรียกขานกันให้เป็นที่คุ้นหูของบรรดาผู้สนใจด้านการทหารของอเมริกาแล้ว ก็ต้องใช้ชื่อว่า ยุทธศาสตร์ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" strategy หรือเรียกกันย่อๆ ว่า A2/AD) ในเวอร์ชั่นของญี่ปุ่นเอง แต่ถ้าหากเรียกขานตามอดีตเจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง ของญี่ปุ่น ก็ต้องหันไปใช้วลีว่า “การครองอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและการครองความเหนือกว่าทางอากาศ” (maritime supremacy and air superiority)
แผนการดังกล่าวนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ได้จัดทำเป็นรายงานข่าวเรื่อง Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China (ข่าวเอ็กซ์คลูสีฟ: ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน) พูดถึงเอาไว้อย่างละเอียด (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-japan-military-china-exclusive-idUSKBN0U107220151218 หรือดูที่เก็บความเป็นภาษาไทยแล้วใน “หมายเหตุผู้แปล” ตอนท้ายของเรื่องนี้ -ผู้แปล) [1] และ ในบทความของ แฮร์รี เจ. คาเซียนิส (Harry J. Kazianis) ตีพิมพ์เผยแพร่ใน “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ (http://nationalinterest.org/blog/the-buzz/japans-master-plan-destroy-the-chinese-navy-battle-14779) ได้ประเมินค่าเอาไว้ว่า เป็นยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างยิ่ง
หากจะตัดต่อรายงานข่าวของรอยเตอร์มาเรียงร้อยใหม่เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของแผนการนี้ ก็จะเป็นดังนี้:
“โตเกียวกำลังตอบสนอง ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร จากอาณาบริเวณส่วนที่เป็นแผ่นดินหลักของประเทศญี่ปุ่น ไปจนจรดเขตแดนของไต้หวัน ...
“การที่ญี่ปุ่นติดตั้งประจำการระบบขีปนาวุธตามเกาะต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความลับอะไร แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้พูดออกมาให้ฟังว่า การติดตั้งประจำการเช่นนี้จะช่วยทำให้จีนตกอยู่ในฐานะอับจนไปไหนไม่รอดในย่านแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งควรต้องถือเป็น การปฏิบัติตามหลักการ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" doctrine หรือที่นิยมเรียกกันเป็นศัพท์วงในของพวกสนใจด้านการทหารว่า "A2/AD") ในเวอร์ชั่นแบบฉบับญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจีนนั่นเองคือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามหลักการ "A2/AD" เพื่อพยายามผลักไสสหรัฐฯและพันธมิตรของอเมริกัน ออกไปให้พ้นจากภูมิภาคแถบนี้
“การที่เรือต่างๆ ของฝ่ายจีนจะสามารถแล่นออกจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของตน และเข้าไปถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ต้องผ่านทะลุแนวกำแพงไร้รอยตะเข็บแห่งระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้เสียก่อน โดยที่การเข้าถึงแปซิฟิกตะวันตกถือเป็นเรื่องทรงความสำคัญยิ่งยวดสำหรับปักกิ่ง ทั้งในฐานะที่แปซิฟิกตะวันตกคือช่องทางสำหรับการติดต่อรับส่งสัมภาระกับน่านน้ำมหาสมุทรอื่นๆ ของโลก และทั้งเพื่อเป็นการสำแดงให้เห็นว่าแดนมังกรคือมหาอำนาจทางนาวีตัวจริง”
รายงานชิ้นนี้ของรอยเตอร์ยังพูดถึงภาพใหญ่โดยรวม เกี่ยวกับการปรากฏตัวทางทหารเพิ่มมากขึ้นของญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจะต้องไม่เป็นที่ชอบใจของจีนอย่างแน่นอน ดังนี้:
“ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นวางแผนการไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนทหาร หรือที่เรียกกันในญี่ปุ่นว่า “สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเอง” ซึ่งประจำอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลจีนตะวันออก ขึ้นไปอีกราวหนึ่งในห้า ทำให้ยอดรวมอยู่ที่เกือบๆ 10,000 คน
“กองทหารเหล่านี้ ซึ่งประจำอยู่ตามหน่วยระบบขีปนาวุธและสถานีเรดาร์ต่างๆ ยังจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยนาวิกโยธินที่ประจำอยู่ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น, กองเรือดำน้ำเทคโนโลยีสเตลธ์ที่สามารถหลีกหลีกการตรวจจับของเรดาร์, เครื่องบินรบ เอฟ-35, กองยานสู้รบสะเทินน้ำสะเทินบก, กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งแต่ละลำจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 , และสุดท้ายก็คือกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองโยโกสุกะ (Yokosuka) ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว”
แผนการที่ฟังดูคุ้นหูเหลือเกิน
แฮร์รี เจ. คาเซียนิส อดีตบรรณาธิการบริหารของ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” [2] ระบุเอาไว้ในบทความของเขาว่า สำหรับผู้คนในอเมริกาซึ่งสนใจเฝ้าติดตามหัวข้อนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ย่อมจะต้องรู้สึกว่าแผนการนี้ของญี่ปุ่นช่างฟังดูคุ้นหูเหลือเกิน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เพราะแนวความคิดเช่นนี้ได้ถูกเสนอได้ถูกนำเอามาถกเถียงกันในประชาคมด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯเป็นเวลาสองสามปีแล้ว
โทชิ โยชิฮาระ (Toshi Yoshihara) ศาสตราจารย์ของวิทยาลัยสงครามนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ผู้ซึ่งในอดีตเคยเขียนเรื่องให้ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” (ดูที่ http://nationalinterest.org/article/the-best-defense-is-a-good-offense-for-chinas-navy-2755) และรายงานข่าวชิ้นนี้ของสำนักข่าวรอยเตอร์ก็ได้อ้างอิงคำพูดของเขาด้วยนั้น ก็ได้เคยเสนอไอเดียทำนองนี้เอาไว้ โดยระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ A2/AD ที่มีขนาดขอบเขตกว้างกว้างยิ่งขึ้นไปอีกของญี่ปุ่น ไอเดียของ โยชิฮาระ นี้ ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับหนึ่งที่เขาจัดทำให้แก่ “ศูนย์เพื่อความมั่นคงใหม่ของอเมริกัน” (Center for New American Security ใช้อักษรย่อว่า CNAS) ตั้งแต่เมื่อปี 2014 (ดูที่ http://www.cnas.org/sites/default/files/publications-pdf/CNAS%20Maritime2_Yoshihara.pdf)
ทั้งนี้รายงานของ โยชิฮาระ ซึ่งจัดทำให้แก่ CNAS ดังกล่าว ระบุเอาไว้ดังนี้:
“หมู่เกาะริวกิว (Ryukyu Islands) [3] สามารถที่จะสนับสนุนกองกำลังของญี่ปุ่นซึ่งมุ่งปฏิบัติภารกิจต่อต้านการเข้าถึง (Japanese anti-access forces) ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการจัดส่งหน่วยขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยานชนิดซึ่งสามารถยิงจากรถบรรทุก ให้กระจายออกไปทั่วทั้งหมู่เกาะแห่งนี้แล้ว ก็จะเป็นการสร้างแนวกำแพงอันน่าเกรงขามอย่างยิ่งขึ้นมา ในเวลาที่เกิดสงคราม การปฏิบัติการสกัดกั้นอย่างทรงประสิทธิภาพเช่นนี้ ย่อมจะต้องล่อใจพวกผู้บังคับบัญชาของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ให้หาทางกำจัดพวกนายทวารจอมสกัดกั้นเหล่านี้ทิ้งไป อย่างไรก็ดี การกระทำเช่นนั้นจะต้องดึงเอาสมรรถนะการสู้รบทำสงครามของจีนออกไปในสัดส่วนที่ใหญ่โตพอดูทีเดียว ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทางด้านกำลังพลและวัสดุยุทโธปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากหมู่เกาะริวกิวในตัวมันเอง ไม่ได้มีคุณค่าใดๆ สำหรับปักกิ่งเลย ดังนั้นคณะผู้นำจีนจึงอาจจะวินิจฉัยตัดสินว่า การยกระดับเพิ่มความพยายามอย่างมากมายถึงขนาดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า”
โยชิฮาระยังอธิบายด้วยว่า ถึงแม้จีนตกลงใจที่จะทำลายขีปนาวุธเหล่านี้ซึ่งกระจายอยู่ในหมู่เกาะริวกิว ก็ไม่สามารถที่จะกำจัดไปได้อย่างง่ายดายหรอก โดยเขาเขียนเอาไว้ดังนี้:
“ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะกำจัดภัยคุกคามจากขีปนาวุธ ASCM ของญี่ปุ่นนี้ จะทำให้กองทัพปลดแอกประชาชนจีนต้องเปิดแนวรบที่มีขนาดความยาวทางภูมิศาสตร์เป็นระยะทางประมาณ 600 ไมล์ทีเดียว ขณะเดียวกัน ยุทธการรณรงค์ปราบปรามของฝ่ายจีนยังจะต้องใช้ทั้งแสนยานุภาพทางอากาศ และการโจมตีด้วยขีปนาวุธนำวิถี ตลอดจนจรวดร่อน ซึ่งจะยิ่งเร่งอัตราความเร็วของการที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนใช้สอยบริโภคคลังอาวุธยุทโธปกรณ์, เครื่องบิน, และบุคลากรทางการบิน ซึ่งมีอยู่ในปริมาณจำกัดของตน ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงน่าที่จะเป็นไปในทางสร้างความผิดหวัง ทำนองเดียวกับกองกำลังพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐฯ เมื่อตอนที่เปิด “การไล่ล่าหาจรวดสกั๊ด” อย่างเปล่าผล ในระหว่างการทำสงครามต่อสู้กับอิรักช่วงปี 1990-91 หรือหากแดนมังกรตัดสินใจหันไปใช้การโจมตีด้วยกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งดูน่าจะเป็นวิธีการอันมั่นอกมั่นใจได้มากที่สุดในการขจัดกองทหารที่ป้องกันเกาะเล็กๆ เหล่านี้ มันก็จะกลับกลายเป็นวิธีการที่เสี่ยงภัยที่สุดไปเสียฉิบ เนื่องจากกองทหารญี่ปุ่นและกองทหารสหรัฐฯย่อมสามารถที่จะยกพลขึ้นบก และสร้างความสูญเสียหายนะให้แก่กำลังสะเทินน้ำสะเทินบกของจีนดังกล่าว”
รายงานของโยชิฮาระ ยังกล่าวต่อไปถึงประโยชน์อันชัดเจนที่จะเกิดกับฝ่ายญี่ปุ่น ดังนี้:
“ด้วยการใช้ระบบอาวุธราคาไม่แพงที่มีให้ใช้อยู่แล้วเป็นจำนวนมาก โดยที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยไม่ล้มหายตายจากไปอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นดินสู่เรือแบบ 88 (Type 88), แบบ 12 (Type 12) ตลอดจนระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ระบบอื่นๆ ญี่ปุ่นย่อมสามารถชักจูงจีนให้ถลำเข้าสู่สภาพที่หมดเปลืองไปกับการใช้อาวุธเพื่อการโจมตีที่มีราคาแพงกว่าและน่าคร้ามเกรงมากกว่า แต่สิ่งที่ได้ตอบแทนกลับคืนมากลับเป็นแค่เพียงดินแดนหย่อมเล็กหย่อมน้อย ตลอดจนลู่ทางโอกาสอันไร้ความแน่นอนในการเจาะผ่านเข้าไปยังน่านน้ำแปซิฟิก การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการลงทุนที่น้อยกว่านักหนาโดยเปรียบเทียบ กลับสามารถที่จะทำให้กำลังของฝ่ายจีนต้องกระจายตัวออกจนเบาบางลง เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นมีเวลาและช่องทางสำหรับการพักหายใจเพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก
“นอกเหนือจากประโยชน์ในทางยุทธวิธีเหล่านี้แล้ว ญี่ปุ่นยังจะได้รับผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์เพิ่มพูนขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ การครอบครองทางเลือกที่สามารถจะเพิ่มหน่วยขีปนาวุธต่อต้านเรือและต่อต้านอากาศยานเป็นจำนวนมากในหมู่เกาะริวกิว ภายในระยะเวลาสั้นๆ ย่อมเป็นการสาธิตให้เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของฝ่ายญี่ปุ่น ขณะเดียวกับที่เพิ่มพูนศักยภาพของโตเกียวในการปฏิบัติการอย่างทรงประสิทธิภาพในเวลาที่เกิดวิกฤต ด้วยการใช้กองกำลังเพื่อการสกัดกั้นเหล่านี้ของโตเกียว ควรสันนิษฐานได้ว่าจะจำกัดขนาดขอบเขตการบาดเจ็บล้มตายของหน่วยสู้รบต่างๆ ของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ทั้งที่ปฏิบัติการอยู่ในดินแดนร่วมและที่ปฏิบัติการอยู่ในดินแดนญี่ปุ่น การจำกัดขนาดขอบเขตเช่นนี้ย่อมจะลดความเป็นไปได้ที่จะมีการยกระดับขยายการสู้รบ อีกทั้งยังสอดคล้องเข้ากันได้ดีกับภาพลักษณ์มุ่งเน้นหนักด้านการป้องกันตัวของโตเกียว จึงเป็นการส่งเสริมเพิ่มพูนน้ำหนักในทางการทูตของญี่ปุ่นบนเวทีระดับโลก”
คาเซียนิส กล่าวสรุปในตอนท้ายของบทความของเขาว่า แผนการเช่นนี้ของญี่ปุ่นที่เป็นการเพิ่มพูนความสามารถในการป้องกันตนเอง แต่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการปฏิบัติการของกองทัพเรือจีน ตลอดจนเป็นไปได้ว่าจะสามารถจำกัดเสรีภาพในการปฏิบัติการของทรัพย์สินทางอากาศของแดนมังกรด้วย ต้องถือว่าเป็นการเดินหมากอันฉลาดแหลมคม อย่างไรก็ตาม โตเกียวยังคงต้องทำงานต่อไปเพื่อหาทางรับมือกับสิ่งที่อาจจะเป็นความท้าทายอันน่าหนักใจมากยิ่งกว่านี้อีก อันได้แก่การที่ปักกิ่งกำลังเพิ่มประเภทของขีปนาวุธซึ่งใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าและมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถเล็งเป้าหมายเล่นงานบรรดาฐานทัพของญี่ปุ่นและของพันธมิตรของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในรายงานที่ โยชิฮาระ จัดทำให้แก่ CNAS นั้น ได้เสนอแนะวิธีการอันหลักแหลมจำนวนหนึ่งสำหรับการรับมือกับเรื่องนี้เอาไว้ด้วย ดังนั้นรายงานของ CNAS ฉบับนี้จึงน่าที่จะศึกษากันให้ละเอียดทั้งฉบับ และก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีความสนใจนำมาศึกษากันอยู่แล้ว
เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ (The National Interest) เป็นนิตยสารอเมริกันราย 2 เดือนทางด้านกิจการระหว่างประเทศ ของ ศูนย์เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ (Center for the National Interest) ขณะที่เว็บไซต์ของนิตยสารฉบับนี้ (http://nationalinterest.org/) ก็มีการโพสต์ข่าวและบทความใหม่ๆ เป็นรายวันอีกด้วย นิตยสารฉบับนี้ก่อตั้งเมื่อปี 1985 โดย เออร์วิ่ง คริสโตล (Irving Kristol มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1920-2009) นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันผู้ได้รับฉายาว่าเป็น “ก็อดฟาเธอร์ของลัทธิอนุรักษนิยมใหม่”อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์ ประกาศตัวอยู่กับสำนักสัจนิยม (Realist School) ในแนวความคิดทางด้านนโยบายการต่างประเทศ (ข้อมูลจาก Wikipedia)
หมายเหตุผู้แปล
[1] เนื่องจากข้อเขียนข้างต้นนี้ มีการอ้างอิงถึงรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์เรื่อง Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China (ข่าวเอ็กคลูซีฟ: ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน) (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-japan-military-china-exclusive-idUSKBN0U107220151218) จึงขอเก็บความรายงานชิ้นนี้มาเสนอประกอบในที่นี้ด้วย ดังนี้:
ญี่ปุ่นวางแผนป้องกันโดยอาศัยเกาะที่อยู่ไกลโพ้น เพื่อมุ่งชิงความได้เปรียบคืนมาจากจีน
Exclusive: Japan's far-flung island defense plan seeks to turn tables on China
18/12/2015
ญี่ปุ่นกำลังยกระดับเสริมความแข็งแกร่งด้านกลาโหม ให้แก่หมู่เกาะจำนวนมากมายของตนที่ตั้งเรียงรายต่อเนื่องกันจนเป็นสายโซ่ยาวเหยียด ในอาณาบริเวณอันห่างไกลโพ้นในทะเลจีนตะวันออก ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ซึ่งกำลังวิวัฒนาการคลี่คลายขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืนมาจากกองทัพเรือของจีน และกีดกันไม่ให้นาวีแดนมังกรสามารถครอบงำซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกได้สำเร็จ ทั้งนี้ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวทั้งในกองทัพญี่ปุ่นและในรัฐบาลญี่ปุ่น
สหรัฐฯนั้นแสดงความเชื่อเรื่อยมาว่า เหล่าพันธมิตรของตนในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่น ต้องลงแรงแข็งขันในการเข้าช่วยเหลือการปิดล้อมจำกัดขอบเขตแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และด้วยเหตุนี้วอชิงตันจึงพยายามผลักดันให้โตเกียวโยนทิ้งยุทธศาสตร์เดิมๆ ที่ได้ยึดถือมาเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งมุ่งหน้าป้องกันเฉพาะอาณาเขตเกาะใหญ่ๆ ภายในเขตใจกลางบ้านของตน รวมทั้งพยายามเรียกร้องให้แดนอาทิตย์อุทัยต้องสำแดงแสนยานุภาพทางทหารของตนในเอเชียให้มากขึ้น
ปรากฏว่าโตเกียวกำลังตอบสนอง ด้วยการนำระบบขีปนาวุธต่อสู้เรือและต่อสู้อากาศยาน ไปติดตั้งประจำการตามหมู่เกาะต่างๆ ของตนในทะเลจีนตะวันออกที่มีอยู่ประมาณ 200 เกาะ จนกระทั่งกลายเป็นเส้นเป็นแนวสายโซ่เพื่อการป้องกัน อันต่อเนื่องยาวเหยียด 1,400 กิโลเมตร จากอาณาบริเวณส่วนที่เป็นแผ่นดินหลักของประเทศญี่ปุ่น ไปจนจรดเขตแดนของไต้หวัน
จากคำให้สัมภาษณ์ของเหล่านักวางแผนทางการทหารและผู้กำหนดนโยบายของภาครัฐบาลจำนวนรวมกันสิบกว่าราย เปิดเผยให้ทราบว่า แนวความคิดในการการปรับปรุงยกระดับการทหารญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งมีเป้าหมายอันกว้างขวางยิ่ง มีการนำเอายุทธศาสตร์ซึ่งมุ่งที่จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถครองฐานะครอบงำน่านน้ำและน่านฟ้ารอบๆ หมู่เกาะห่างไกลต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้รวมไว้ด้วยแล้ว
ถึงแม้การที่ญี่ปุ่นออกไปติดตั้งประจำการระบบขีปนาวุธตามเกาะต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความลับอะไร แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้พูดออกมาให้ฟังว่า การติดตั้งประจำการเช่นนี้จะช่วยทำให้จีนตกอยู่ในฐานะอับจนไปไหนไม่รอดในย่านแปซิฟิกตะวันตก รวมทั้งควรต้องถือเป็น การปฏิบัติตามหลักการ “ต่อต้านการเข้าถึง/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่” ("anti-access/area denial" doctrine หรือที่นิยมเรียกกันเป็นศัพท์วงในของพวกสนใจด้านการทหารว่า "A2/AD") ในเวอร์ชั่นแบบฉบับญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าจีนนั่นเองคือผู้ที่กำลังปฏิบัติตามหลักการ "A2/AD" เพื่อพยายามผลักไสสหรัฐฯและพันธมิตรของอเมริกัน ออกไปให้พ้นจากภูมิภาคแถบนี้
การที่เรือต่างๆ ของฝ่ายจีนจะสามารถแล่นออกจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของตน และเข้าไปถึงอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกได้นั้น ต้องผ่านทะลุแนวกำแพงไร้รอยตะเข็บแห่งระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้เสียก่อน โดยที่การเข้าถึงแปซิฟิกตะวันตกถือเป็นเรื่องทรงความสำคัญยิ่งยวดสำหรับปักกิ่ง ทั้งในฐานะที่แปซิฟิกตะวันตกคือช่องทางสำหรับการติดต่อรับส่งสัมภาระกับน่านน้ำมหาสมุทรอื่นๆ ของโลก และทั้งเพื่อเป็นการสำแดงให้เห็นว่าแดนมังกรคือมหาอำนาจทางนาวีตัวจริง
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนนั้น ฝากความหวังแสดงความคาดหมายเอาไว้อย่างมากมาย ต่อการพัฒนากองทัพเรือ “น้ำลึก” ("blue water" navy) ของแดนมังกร ซึ่งหมายถึงการสร้างกำลังนาวีที่มีศักยภาพออกปฏิบัติการกลางมหาสมุทรไกลโพ้น เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศจีนซึ่งกำลังขยายตัวออกไปทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นเรื่อยๆ
เป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วที่ว่า หากเรือรบของจีนจะแล่นผ่านแนวระบบขีปนาวุธของญี่ปุ่นนี้ออกไป โดยมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ พวกเขาจะไม่ถูกยับยั้งขัดขวางใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในขณะที่พวกเขาเคลื่อนผ่านไปนั้น เรือรบเหล่านี้ย่อมตกอยู่ภายในรัศมีเล็งยิงของขีปนาวุธแดนอาทิตย์อุทัยอย่างไม่ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเหล่านี้กล่าวสำทับกับรอยเตอร์
แนวสายโซ่เกาะแนวแรก
ในสภาวการณ์ที่ปักกิ่งแสดงท่าทียืนกรานแข็งกร้าวและเข้าควบคุมการเดินทางสัญจรในทะเลจีนใต้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาศัยฐานทัพต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเทียมกลางทะเลทั้งหลายที่จีนจัดการถมเกาะปะการังและแนวปะการังต่างๆ จัดสร้างขึ้นมาจนกระทั่งเวลานี้เกือบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว แนวสายโซ่ป้องกันตามเกาะต่างๆ จำนวนมากมายของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ต่อเนื่องยืดยาวในอาณาบริเวณห่างไกลของทะเลจีนตะวันออก โดยที่ทางด้านใต้ก็ยังผ่านไปตามดินแดนเกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์นั้น ก็น่าที่จะกลายเป็นตัวนิยามกำหนดเส้นแบ่งแดนระหว่างพื้นที่เขตอิทธิพลของสหรัฐฯกับพื้นที่เขตอิทธิพลของจีน ทั้งนี้พวกนักวางแผนการทางทหารเรียกแนวสายโซ่เส้นนี้ว่า “แนวสายโซ่เกาะแนวแรก” (first island chain)
“เมื่อเวลาผ่านไปอีกสัก 5 หรือ 6 ปีข้างหน้า แนวสายโซ่เกาะแนวแรกนี้จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในดุลอำนาจทางทหารระหว่างจีน กับสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น” ซาโตชิ โมริโมโตะ (Satoshi Morimoto) ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยทากุโชกุ (Takushoku) กล่าวคาดการณ์ ศาสตราจารย์ผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นเมื่อปี 2012 และเวลานี้ก็ยังเป็นที่ปรึกษาของ เกน นากาตานิ (Gen Nakatani) รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ส่งเรือรบลำหนึ่งแล่นเข้าไปเพื่อแสดงการท้าทายไม่ยอมรับพื้นที่น่านน้ำอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล ซึ่งจีนประกาศกล่าวอ้างยืนยันในบริเวณรอบๆ ฐานทัพเกาะเทียมแห่งใหม่ที่พวกเขาเพิ่งจัดสร้างขึ้นในหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly archipelago)ของทะเลจีนใต้
กระนั้น เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญฝ่ายญี่ปุ่นบางคนยังคงชี้ว่า ถึงอย่างไรปักกิ่งก็ดูจะประสบความสำเร็จแล้วในการเริ่มต้นกระบวนการสถาปนา “ข้อเท็จจริงในภาคสนาม” สำหรับการที่พวกเขาสามารถเข้าควบคุมทางการทหาร เหนืออาณาบริเวณแถบนี้ของทะเลจีนใต้
“เราอาจจะชะลอเวลาในการยอมรับสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นี้ไปได้อีกสักระยะหนึ่ง แต่ความเป็นจริงก็คือขบวนรถไฟได้แล่นออกไปจากสถานีตั้งพักหนึ่งแล้ว” แหล่งข่าวรายหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสทางทหารของสหรัฐฯซึ่งมีความคุ้นเคยกับเอเชียเป็นอย่างดี กล่าวเปรียบเทียบให้สำนักข่าวรอยเตอร์ฟัง เจ้าหน้าที่ผู้นี้ตั้งเงื่อนไขว่ารอยเตอร์ต้องไม่ระบุตัวตนของเขา เนื่องจากเขาไม่ได้รับมอบอำนาจให้พูดจากับสื่อมวลชน
ขณะที่ เควิน มาเฮอร์ (Kevin Maher) ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าของสำนักงานกิจการญี่ปุ่น (Office of Japan Affairs) ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯอยู่เป็นเวลา 2 ปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2011 ก็กล่าวแสดงความคิดเห็นสำทับว่า วัตถุประสงค์สูงสุดของจีนคือการครองฐานะความเป็นเจ้าเหนือทะเลจีนใต้ และการครองฐานะความเป็นเจ้าเหนือทะเลจีนตะวันออก โดยที่ “การใช้ความพยายามตลอดจนการมุ่งหน้าเอาแต่พะเน้าพะนอตามอกตามใจฝ่ายจีนนั้น มีแต่จะกลายเป็นการหนุนส่งให้ฝ่ายจีนแสดงท่าทียั่วยุท้าทายเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น” มาเฮอร์กล่าว ทั้งนี้ในปัจจุบันเขาทำงานเป็นที่ปรึกษาผู้หนึ่งอยู่กับบริษัทที่ปรึกษา เอ็นเอ็มวี คอนซัลติ้ง (NMV Consulting) ในกรุงวอชิงตัน
ช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืน
อันที่จริงแล้ว ญี่ปุ่นเริ่มต้นดำเนินการตอบโต้จีนในทะเลจีนตะวันออกมาตั้งแต่ปี 2010 หรือ 2 ปีก่อนหน้าการขึ้นครองอำนาจของอาเบะ
รัฐบาลญี่ปุ่นชุดก่อนหน้าอาเบะ ซึ่งเป็นชุดที่มีพรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ เจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) เป็นแกนนำ คือผู้ที่ปรับเปลี่ยนแกนหมุนสำคัญแห่งการป้องกันประเทศของแดนอาทิตย์อุทัย จากที่เคยเน้นหนักโฟกัสรอบๆ การพิทักษ์ป้องกันเกาะใหญ่ทางภาคเหนืออย่างฮอกไกโด ให้สามารถรับมือกับการรุกรานจากสหภาพโซเวียต ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วการรุกรานที่ว่านี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ก็ให้เปลี่ยนมาเป็นการพิทักษ์ป้องกันเครือข่ายสายโซ่เกาะต่างๆ ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
“การที่จีนมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสหรัฐฯกำลังเสื่อมถอยลงไปโดยเปรียบเทียบ คือปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้เราต้องตัดสินใจดำเนินการปรับเปลี่ยน” อากิฮิซะ นางาชิมะ (Akihisa Nagashima) สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรค DPJ บอกกับรอยเตอร์ ทั้งนี้ในตอนนั้นเขาดำรงตำแหน่งเป็นรองรัฐมนตรีกลาโหม และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นมา “เราต้องการทำสิ่งที่เราสามารถทำได้ และช่วยทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า สหรัฐฯจะยังคงออกมาประจำการอยู่ที่ส่วนหน้า (หมายถึงการที่สหรัฐฯส่งกำลังทหารออกมาประจำการในย่านแปซิฟิกที่อยู่นอกสหรัฐฯ เป็นต้นว่า ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ –ผู้แปล) ต่อไปอย่างยาวนาน”
ทางฝ่ายจีนนั้น ด้วยความพยายามที่จะหาทางป้องปรามไม่ให้กองทัพเรือสหรัฐฯซึ่งมีระดับเทคโนโลยีโดยรวมเหนือชั้นกว่าตนเองมาก มีศักยภาพความสามารถที่จะเข้าๆ ออกๆ น่านน้ำหรือบินเหนือน่านฟ้าบริเวณใกล้ๆ เกาะไต้หวัน หรือในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ได้ตามแต่ใจปรารถนา เวลานี้ปักกิ่งจึงได้มุ่งเน้นทุ่มเทลงทุนในเรื่องระบบขีปนาวุธที่มีความแม่นยำสูง
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ปักกิ่งได้ใช้โอกาสเนื่องในวาระรำลึกครบรอบ 70 ปีแห่งการปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดงานตรวจพลสวนสนามครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดกันมา เพื่ออวดโอ่เผยโฉมอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่กำลังมีเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ของตน ให้เหล่าเพื่อนมิตรและผู้ที่อาจกลายเป็นศัตรู ได้มองเห็นด้วยความตื่นตาตื่นใจกันสักแวบหนึ่ง ทั้งนี้ อาวุธชนิดหนึ่งซึ่งถูกนำออกมาแสดงเป็นครั้งแรกและเป็นที่เฝ้าจับตากันมาก ได้แก่ “ตงเฟิง-21 ดี” (Dongfeng-21D) ขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านเรือซึ่งแม้ยังไม่เคยผ่านการทดสอบจริงๆ แต่ก็ได้รับการประโคมว่ามีศักยภาพที่จะทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินมูลค่าลำละ 5,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ
ขีปนาวุธชนิดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคลังแสงแดนมังกรที่ทางรัฐสภาอเมริกันประมาณการว่า มีขีปนาวุธพิสัยใกล้และขีปนาวุธพิสัยกลางรวมแล้วราว 1,200 ลูก ซึ่งสามารถยิงโจมตีใส่จุดไหนก็ได้ตามแนวสายโซ่เกาะแนวแรก นอกจากนั้นจีนยังกำลังพัฒนาจรวดร่อน (cruise missiles) หลบหลีกเรดาร์ ซึ่งสามารถยิงจากเรือดำน้ำและยิงจากภาคพื้นดินอีกด้วย
โทชิ โยชิฮาระ (Toshi Yoshihara) ศาสตราจารย์ของวิทยาลัยสงครามนาวีของสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ชี้ว่า การที่ญี่ปุ่นมุ่งจำกัดความสามารถของจีนในการเคลื่อนที่ผ่านจากทะเลจีนตะวันออกเข้าสู่แปซิฟิกตะวันตกนั้น ต้องถือว่าเป็นการแสดงบทบาทที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นการช่วยหนุนเสริมเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของทางฝ่ายสหรัฐฯ และซื้อเวลาสำหรับการที่พันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นจะดำเนินการตอบโต้ในเวลาที่เกิดสงครามกับจีน
“คุณสามารถพูดได้เลยว่า ญี่ปุ่นกำลังช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืนมาจากจีน” โยชิฮิระพูดสำทับ
ขณะที่ โยสุเกะ อิโซซากิ (Yosuke Isozaki) ผู้เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงเบอร์หนึ่งของอาเบะ จวบจนกระทั่งถึงเดือนกันยายนปีที่แล้ว พูดถึงแนวความคิดของฝ่ายญี่ปุ่นว่า แทนที่จะใช้คำว่า A2/AD สำหรับยุทธศาสตร์การสร้างระบบขีปนาวุธขึ้นตามแนวสายโซ่เกาะแนวแรก พวกเขากลับตัดสินใจให้ใช้วลีว่า “การครองอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและการครองความเหนือกว่าทางอากาศ” (maritime supremacy and air superiority) อิโซซากิ คือผู้เขียนตัวหลักคนหนึ่งของเอกสารยุทธศาสตร์การป้องกันแห่งชาติ (national defense strategy) ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในปี 2013 โดยที่เอกสารดังกล่าวมีการใช้วลีดังกล่าวนี้เป็นครั้งแรก
“ตามความคิดของเรานั้น เราต้องการที่จะให้สามารถรับประกันได้ว่า เราจะมีอำนาจเหนือล้ำในทางทะเลและครองความเหนือกว่าทางอากาศ อย่างชนิดที่เหมาะสมสอดคล้องกับทางกองทัพสหรัฐฯ” เขากล่าวต่อ
การที่ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามย้ำเรื่องการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับทางฝ่ายทหารอเมริกันเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากความทรงจำเกี่ยวกับพฤติการณ์ก้าวร้าวรุกรานของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงเฝ้าหลอกหลอนความสัมพันธ์ที่โตเกียวมีอยู่กับพวกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง และความตึงเครียดเช่นนี้ดูยิ่งเพิ่มพูนและแหลมคมมากขึ้นอีกนับตั้งแต่การหวนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในคราวนี้ของอาเบะ ผู้ซึ่งถูกนักวิพากษ์วิจารณ์ตราหน้าว่าเป็นนักแก้ไขบิดเบือนประวัติศาสตร์ ที่ต้องการลดทอนบทบาทพฤติการณ์ความเลวร้ายของญี่ปุ่นในช่วงสงครามที่ผ่านมา
ทางฝ่ายจีนก็ไม่หลงลืมที่จะตอกย้ำแผลเป็นนี้ ในอีเมลตอบคำถามที่รอยเตอร์สอบถามไปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ว่าด้วยแนวสายโซ่เกาะของญี่ปุ่น กระทรวงกลาโหมจีนเขียนกลับมาว่า “แนวโน้มทางการทหารใดๆ ก็ตามของญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้บรรดาประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียต้องคอยจับตามองอย่างใกล้ชิดและอย่างเคลือบแคลงสงสัย”
“เราเรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นใช้ประวัติศาสตร์เป็นกระจกเงาส่องดูตนเอง และกระทำการต่างๆ โดยเล็งถึงผลประโยชน์ของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันให้มากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม สำหรับฝ่ายอเมริกันอย่าง พลเรือโท โจเซฟ ออคอยน์ (Vice Admiral Joseph Aucoin) ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ (U.S. Seventh Fleet) การที่ญี่ปุ่นปรับปรุงยกระดับความแข็งแกร่งด้านกลาโหมในทะเลจีนตะวันออก คือการหนุนช่วยอย่างสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งหวังผลอันกว้างไกลออกไป
“กระบวนการในการวางแผนของสหรัฐฯสำหรับยุทธบริเวณใดก็ตามที ย่อมต้องมีการพิจารณาถึงศักยภาพด้านต่างๆ และกองกำลังต่างๆ ทั้งของฝ่ายเพื่อนมิตร และของฝ่ายผู้ที่อาจกลายเป็นปรปักษ์” ออคอยน์ หยิกยกหลักการกว้างๆ มาบอกกับรอยเตอร์ พร้อมกับสาธยายต่อไปว่า “แผนการต่างๆ ของสหรัฐฯนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์สูงสุดอยู่ที่การธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ไม่ใช่เฉพาะสำหรับญี่ปุ่นเท่านั้น แต่สำหรับทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ด้วย”
ระบบขีปนาวุธ และสถานีเรดาร์
ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีข้างหน้า ญี่ปุ่นวางแผนการไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนทหาร หรือที่เรียกกันในญี่ปุ่นว่า “สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเอง” ซึ่งประจำอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลจีนตะวันออก ขึ้นไปอีกราวหนึ่งในห้า ทำให้ยอดรวมอยู่ที่เกือบๆ 10,000 คน
กองทหารเหล่านี้ ซึ่งประจำอยู่ตามหน่วยระบบขีปนาวุธและสถานีเรดาร์ต่างๆ ยังจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยนาวิกโยธินที่ประจำอยู่ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น, กองเรือดำน้ำเทคโนโลยีสเตลธ์ที่สามารถหลีกหลีกการตรวจจับของเรดาร์, เครื่องบินรบ เอฟ-35, กองยานสู้รบสะเทินน้ำสะเทินบก, กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งแต่ละลำจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเรือบรรทุกเครื่องบินยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 , และสุดท้ายก็คือกองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองโยโกสุกะ (Yokosuka) ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว
กองเรือนาวีของญี่ปุ่นกับสหรัฐฯซึ่งมีการร่วมมือประสานงานกันอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วในเวลานี้ จะยิ่งมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นไปอีกนับตั้งแต่นี้ไป หลังจากกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่อาเบะผลักดันออกมาบังคับใช้ได้สำเร็จในปี 2015 มีข้อความรับรองว่า การป้องกันตนเองแบบรวมกลุ่มรวมหมู่กับชาติอื่นๆ (collective self-defense) เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นกระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย การรับรองดังกล่าวเท่ากับเป็นการเปิดทางให้ญี่ปุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือแก่พวกพันธมิตรทั้งหลายที่ถูกข้าศึกศัตรูโจมตีเล่นงาน
มาเฮอร์ อดีตหัวหน้าสำนักงานกิจการญี่ปุ่น ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุด้วยว่า ความเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าสำคัญอย่างยิ่งยวดประการหนึ่งสืบเนื่องจากกฎหมายฉบับใหม่นี้ ก็คือจากนี้ไปฝ่ายทหารของสหรัฐฯกับของญี่ปุ่นสามารถที่จะร่วมกันวางแผนและร่วมการฝึกซ้อมรบฝึกการทำสงครามด้วยกัน และก่อให้เกิด “ตัวคูณเพิ่มกำลัง” (force multiplier) ขึ้นมา
การมีงบประมาณรายจ่ายด้านกลาโหมเพิ่มสูงขึ้นนั้น ย่อมหมายถึงความสามารถที่มากขึ้นในการเพิ่มพูนศักยภาพสมรรถนะของกองทัพ เวลานี้ฝ่ายทหารของญี่ปุ่นกำลังหาทางให้ได้รับงบใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีหน้า ในระดับพุ่งปริ๊ดสูงสุดแตะหลัก 5 ล้านล้านเยน (40,000 ล้านดอลลาร์) เป็นครั้งแรก โดยที่ยอดดังกล่าวนี้รวมถึงเงินใช้จ่ายสำหรับการซื้อหาขีปนาวุธต่อต้านเรือที่มีพิสัยทำการไกลขึ้น, เครื่องบินไล่ล่าเรือดำน้ำ, เครื่องบินติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า, อากาศยานไร้นักบิน (โดรน) “โกลบอล ฮอว์ก” (Global Hawk), เครื่องบินลูกผสมเฮลิคอปเตอร์รุ่น “ออสเปรย์” (Osprey), ตลอดจนเครื่องบินไอพ่นขนส่งพิสัยไกลและบรรทุกหนักรุ่นใหม่
อย่างไรก็ตาม สำหรับในบางด้านแล้ว ฝ่ายทหารของญี่ปุ่นอาจจะต้องใช้วิธีการแบบประหยัดมัธยัสถ์ เป็นต้นว่า ขีปนาวุธต่อต้านเรือซึ่งออกแบบมาเมื่อ 30 ปีก่อนเพื่อใช้ทำลายยานยกพลขึ้นบกของโซเวียตที่มุ่งหน้าเข้ามายังเกาะฮอกไกโด เวลานี้กำลังถูกโยกย้ายนำไปใช้เบิกโรงการเสริมกำลังป้องกันตามแนวสายโซ่เกาะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแดนอาทิตย์อุทัย
ขีปนาวุธชนิดนี้สามารถที่จะนำพาหัวรบน้ำหนัก 225 กิโลกรัมไปยังเป้าหมายซึ่งอยู่ห่างออกไป 180 กิโลเมตร ดังนั้นจึงมีพิสัยทำการไกลเพียงพอที่จะอุดช่วงห่างระหว่างเกาะต่างๆ ตามแนวสายโซ่เหล่านี้ โนโบรุ ยามางูชิ (Noboru Yamaguchi) กล่าวยืนยัน ทั้งนี้ในปัจจุบัน ยามางูชิ เป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิสันติภาพ ซาซากาวะ (Sasakawa Peace Foundation) และในอดีตเขาคือนายพลที่เป็นผู้จัดซื้ออาวุธเหล่านี้เข้ามาเมื่อ 30 ปีก่อน
นักวางแผนการทางทหารของญี่ปุ่น ยังจะต้องขบคิดพิจารณาถึงวิธีการในการเปลี่ยนผ่านกองทัพแดนอาทิตย์อุทัย จากกองกำลังอาวุธที่คุ้นเคยอยู่แต่การตั้งประจำอยู่ใกล้ๆ กับค่ายของตน ให้กลายเป็นกองกำลังอาวุธเคลื่อนที่ซึ่งพรักพร้อมออกไปสู้รบยังสถานที่ไกลโพ้นให้มากขึ้น
ทั้งนี้ในสภาพที่มีการลงทุนน้อยเกินไปมาอย่างยาวนานหลายสิบปีในทางด้านการส่งกำลังบำรุง นี่ย่อมหมายความว่าญี่ปุ่นยังมีเรือขนส่งทางนาวี และเครื่องบินทหารเพื่อลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ปริมาณมากๆ ในจำนวนที่น้อยเกินไป
อย่างไรก็ดี สำหรับรัฐบาลญี่ปุ่นแล้ว ภารกิจที่ละเอียดอ่อนยิ่งกว่าเรื่องเหล่านี้เสียอีก อาจจะได้แก่การชักจูงเกลี้ยกล่อมประชาชนซึ่งพำนักอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะไกลโพ้นเหล่านี้ ให้ยอมรับการมีกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ไปปรากฏตัวใกล้ๆ บ้านของพวกเขาเพิ่มมากขึ้น ดังที่มีตัวอย่างจากกรณีของหมู่เกาะโอกินาวา (Okinawa) โดยที่หลังจากหมู่เกาะแห่งนี้กลายเป็นเจ้าบ้านต้อนรับกองทหารอเมริกันจำนวนมากมายยิ่งกว่าดินแดนแห่งใดในเอเชียมาอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว ประชาชนชาวโอกินาวาก็กำลังออกมาแสดงการคัดค้านต่อต้านฐานทัพเหล่านี้หนักมือขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับในเวลานี้ ชุมชนต่างๆ ตามแนวสายโซ่ของเกาะต่างๆ อันยาวเหยียด ซึ่งรวมๆ แล้วเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนประมาณไม่เกิน 1.5 ล้านคนนั้น ต่างยังคงมียินดีเมื่อถูกเรียกร้องขอให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้านต้อนรับกองทหารญี่ปุ่น ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของ เรียวตะ ทาเกดะ (Ryota Takeda) สมาชิกรัฐสภาที่เคยดำรงตำแหน่งรองรัฐมนตรีกลาโหมอยู่จนกระทั่งถึงเดือนกันยายน 2014 และเป็นผู้ที่เดินทางไปยังอาณาบริเวณเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง เพื่อโน้มน้าวให้ชาวบ้านยอมรับกองทหารใหม่ๆ ที่เข้าไปตั้งประจำการในท้องถิ่นของพวกเขา
“ไม่เหมือนกับพวกเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังนั่งกันอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในโตเกียวหรอก ชาวบ้านเหล่านี้มีความเข้าใจมากกว่าและสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที่พวกเขาเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันได้ดีกว่า” เขากล่าว
[2] แฮร์รี เจ. คาเซียนิส (Harry J. Kazianis) เป็นบรรณาธิการบริหารของ “เดอะ เนชั่นแนล อินเทอเรสต์” จนกระทั่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้ เขายังทำหน้าที่เป็นนักวิจัยอาวุโส (ประเภทไม่ประจำ) ของ ศูนย์เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ (Center for the National Interest) และนักวิจัยอาวุโส (ประเภทไม่ประจำ) ที่ สถาบันนโยบายจีน (China Policy Institute) ตลอดจนเป็นนักวิจัยด้านกิจการความมั่นคงแห่งชาติให้แก่ มูลนิธิโปโตแมค (Potomac Foundation) เขายังเคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร “เดอะ ดีโพลแมต” (The Diplomat) และเคยเป็นนักวิจัย WSD Handa Fellow ที่ Pacific Forum, Center for Strategic and International Studies (CSIS) (ข้อมูลจาก เดอะเนชั่นแนล อินเทอเรสต์)
[3]หมู่เกาะริวกิว (Ryukyu Islands) เป็นที่รู้จักกันในภาษาญี่ปุ่นว่า หมู่เกาะนันเซ (Nansei Islands) ซึ่งตามตัวอักษรแปลว่าหมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ริวกิว อาร์ค (Ryukyu Arc) ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะริวกิวหมายถึงหมู่เกาะต่างๆ ของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่เรียงรายต่อเนื่องกันเป็นสายยาวเหมือนสายโซ่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากเกาะกิวชู (Kyushu) ไปจนถึง เกาะไต้หวัน โดยประกอบด้วยหมู่เกาะ โอซูมิ (Osumi), โทการะ (Tokara), อามามิ (Amami), โอกินาวา (Okinawa), และ ซากิชิมะ (Sakishima) (ซึ่งในเวลาต่อมายังถูกแบ่งออกไปเป็นหมู่เกาะมิยาโกะ Miyako กับหมู่เกาะยาเอยามะ Yaeyama) โดยที่มีหมู่เกาะ โยนางูนิ (Yonaguni) อยู่ทางใต้สุด หมู่เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic islands) และมีส่วนน้อยที่เป็นหมู่เกาะปะการัง (coral islands) สำหรับหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ โอนิกาวา
หมู่เกาะโอซูมิ และ โทการะ ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือสุด ถือว่าอยู่ภายใต้เขตวัฒนธรรมของภูมิภาคคิวชูของญี่ปุ่น ประชาชนที่นี่เป็นคนชาติพันธุ์ญี่ปุ่น และพูดภาษาญี่ปุ่นสำเนียงคาโงชิมะ (Kagoshima) ที่ในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างผิดแผกกันไปอีก สำหรับประชาชนบนหมู่เกาะ อามามิ, โอกินาวา, มิยาโกะ, และ ยาเอยามะ เรียกกันว่าชาวริวกิว ตามชื่อของอดีตราชอาณาจักรริวกิวที่เคยเป็นผู้ปกครองพวกเขา ผู้คนของหมู่เกาะเหล่านี้ตามประเพณีนิยมแล้วพูดภาษาริวกิวสำเนียงต่างๆ กัน นอกจากนั้นในหมู่เกาะใหญ่ๆ ยังมีภาษาของพวกเขาเองแยกออกไปต่างหาก สำหรับในยุคสมัยใหม่ ภาษาญี่ปุ่นถือเป็นภาษาแรกของหมู่เกาะเหล่านี้ โดยที่ภาษาญี่ปุ่นสำเนียงโอกินาวา มีการพูดกันอย่างกว้างขวางที่สุด หมู่เกาะไดโตะ (Daito) ซึ่งอยู่รอบนอก ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยจวบจนกระทั่งถึงสมัยเมจิ (Meiji) เมื่อเริ่มมีการพัฒนาหมู่เกาะนี้โดยผู้คนซึ่งส่วนใหญ่มาจากหมู่เกาะอีซุ (Izu Islands) ที่อยู่ทางด้านใต้ของโตเกียว โดยที่ในปัจจุบันผู้คนที่นั่นพูดกันด้วยสำเนียงฮาชิโจ (Hachijo)
ในด้านการบริหารปกครอง หมู่เกาะเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 จังหวัด นั่นคือ พวกหมู่เกาะส่วนทางเหนือเป็นจังหวัดคาโงชิมะ และพวกหมู่เกาะส่วนทางใต้เป็นจังหวัดโอกินาวา พวกหมู่เกาะทางเหนือ (คาโงชิมะ) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ในชื่อว่า หมู่เกาะซัตสึนัน (Satsunan Islands) ขณะที่พวกหมู่เกาะทางด้านใต้ (จังหวัดโอกินาวา) ในภาษาญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ในชื่อว่าหมู่เกาะริวกิว
(ข้อมูลจาก Wikipedia)