(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China December exports beat expectations as yuan slides
By Asia Unhedged
13/01/2016
ทางการจีนแถลงว่ายอดส่งออกในเดือนธันวาคม 2015 ลดลงมาเพียง 1.4% ตัวเลขนี้ทั้งดีกว่าที่พวกนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กัน และดีกว่าตัวเลขของเดือนพฤศจิกายน ปรากฏว่าข้อมูลนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียหลายแห่งคลายความกังวล และพากันขยับเพิ่มสูงขึ้น ทว่ากลับไม่ได้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นในแดนมังกรเอง ซึ่งพากันดำดิ่งติดลบ
สัญญาณอีกอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นจีนนั้น ไม่ได้เป็นเครื่องสะท้อนภาพของระบบเศรษฐกิจวงกว้างของแดนมังกรเอาเสียเลย ทางการจีนรายงานเมื่อวันพุธ (13 ม.ค.) ว่า การส่งออกในเดือนธันวาคม 2015 ของตนนั้น ทำได้ดีกว่าเพื่อนบ้านจำนวนมากในภูมิภาคเดียวกัน ถึงแม้ยอดรวมยังคงลดต่ำลงกว่าปีก่อน ทั้งนี้ภายหลังจากที่แดนมังกรปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างแรง (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-china-economy-trade-idUSKCN0UR0AZ20160113)
ทางด้าน แดเนียล มาร์ติน (Daniel Martin) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสดูแลด้านเอเชียของ แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) กล่าวในรายงานสั้นซึ่งส่งถึงลูกค้าว่า “ข้อมูลการค้าที่เผยแพร่ออกมานี้ สนับสนุนความเห็นของเราที่ว่า ถึงแม้เกิดความปั่นป่วนผันผวนในตลาดการเงินของจีน แต่เศรษฐกิจวงกว้างของจีนนั้นไม่ได้มีการเสื่อมถอยอย่างสำคัญอะไรในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา”
ตามรายงานของสำนักงานใหญ่ศุลกากร (General Administration of Customs) ของจีนระบุว่า การส่งออกในเดือนธันวาคมนี้ลดต่ำลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น 1.4% นับเป็นการลดถอยที่ต่ำกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับระดับติดลบ 8% ซึ่งเป็นความเห็นการประมาณการของพวกนักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์เป็นผู้รวบรวม ตลอดจนการดำดิ่งลง 6.8% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
ถ้าเปรียบเทียบกับไต้หวันและเกาหลีใต้ 2 เพื่อนบ้านในภูมิภาคซึ่งก็กำลังรู้สึกถึงผลกระทบจากดีมานด์ในต่างแดนที่อ่อนตัวลงเช่นกัน จีนก็มีผลงานที่ดีกว่าเพื่อนบ้านทั้ง 2 รายนี้เป็นอย่างมาก
ในเวลาเดียวกัน ยอดนำเข้าในเดือนธันวาคมของจีน ได้ลดต่ำลงมา 7.6% ถือเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 14 กระนั้นตัวเลขนี้ยังคงดีกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับการติดลบ 11.5% ซึ่งพวกนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันไว้ และการลดลง 8.7% ในเดือนพฤศจิกายน เรื่องนี้อาจจะเนื่องมาจากพวกโรงงานต่างๆ ฉวยใช้ประโยชน์จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ กำลังตกลงมา จึงพากันเพิ่มสต็อกทั้งน้ำมันดิบ, แร่เหล็ก, และวัตถุดิบอื่นๆ โดยที่ตามรายงานของรอยเตอร์ การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนอยู่ในระดับสูงสุดทำลายสถิติทีเดียว ขณะที่การนำเข้าทองแดงก็ติดสถิติสูงสุดเป็นอันดับสอง
ตามรายงานของรอยเตอร์ จากยอดส่งออกและนำเข้าดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในเดือนธันวาคมจีนมียอดได้เปรียบดุลการค้า 60,090 ล้านดอลลาร์ ดีกว่าการคาดการณ์ของพวกนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งอยู่ที่ 53,000 ล้านดอลลาร์ และตัวเลขได้เปรียบดุลในเดือนพฤศจิกายนซึ่งอยู่ที่ 54,100 ล้านดอลลาร์
“การได้เปรียบดุลการค้าจำนวนมากอีกครั้งหนึ่งเช่นนี้ ย่อมเป็นการจัดหาเครื่องมือกันกระแทกให้ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China แบงก์ชาติของแดนมังกร) ในการเผชิญหน้ากับกระแสเงินทุนไหลออกซึ่งกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ” มาร์ตินแห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าว
ขณะที่ตลาดหุ้นแถบเอเชียอื่นๆ ต่างแสดงความดีอกดีใจต่อข้อมูลตัวเลขอันน่าแปลกใจของจีนคราวนี้ หุ้นจีนเองกลับตกวูบ ทั้งนี้ในวันพุธ (13 ม.ค.) ดัชนีสำคัญของญี่ปุ่นทั้ง นิกเกอิ 225 และ โทปิกส์ ต่างบวกขึ้นมาราว 2.9% ส่วนดัชนี เอสแอนด์พี/เอเอสเอ็กซ์ 200 ของออสเตรเลีย และดัชนีโคปี ของเกาหลีใต้ ก็ขยับเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3%
อย่างไรก็ตาม ความยินดีปรีดาเช่นนี้กลับไม่ได้แพร่กระจายเข้าสู่แวดวงการซื้อขายหุ้นประเภท เอ (A-shares) ของจีน โดยที่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซี่ยงไฮ้ในวันดังกล่าวติดลบ 2.4% มาอยู่ที่ 2,950 และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซินเจิ้นก็ร่วง 3.5% มาอยู่ที่ 1,791 ทางด้านดัชนี ซีเอสไอ 300 ของหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 300 ตัวในจีน ก็หล่นลง 1.9% อยู่ที่ 3,156
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
China December exports beat expectations as yuan slides
By Asia Unhedged
13/01/2016
ทางการจีนแถลงว่ายอดส่งออกในเดือนธันวาคม 2015 ลดลงมาเพียง 1.4% ตัวเลขนี้ทั้งดีกว่าที่พวกนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กัน และดีกว่าตัวเลขของเดือนพฤศจิกายน ปรากฏว่าข้อมูลนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นในเอเชียหลายแห่งคลายความกังวล และพากันขยับเพิ่มสูงขึ้น ทว่ากลับไม่ได้ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นในแดนมังกรเอง ซึ่งพากันดำดิ่งติดลบ
สัญญาณอีกอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นจีนนั้น ไม่ได้เป็นเครื่องสะท้อนภาพของระบบเศรษฐกิจวงกว้างของแดนมังกรเอาเสียเลย ทางการจีนรายงานเมื่อวันพุธ (13 ม.ค.) ว่า การส่งออกในเดือนธันวาคม 2015 ของตนนั้น ทำได้ดีกว่าเพื่อนบ้านจำนวนมากในภูมิภาคเดียวกัน ถึงแม้ยอดรวมยังคงลดต่ำลงกว่าปีก่อน ทั้งนี้ภายหลังจากที่แดนมังกรปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างแรง (ดูรายละเอียดข่าวนี้ได้ที่ http://www.reuters.com/article/us-china-economy-trade-idUSKCN0UR0AZ20160113)
ทางด้าน แดเนียล มาร์ติน (Daniel Martin) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสดูแลด้านเอเชียของ แคปิตอล อีโคโนมิกส์ (Capital Economics) กล่าวในรายงานสั้นซึ่งส่งถึงลูกค้าว่า “ข้อมูลการค้าที่เผยแพร่ออกมานี้ สนับสนุนความเห็นของเราที่ว่า ถึงแม้เกิดความปั่นป่วนผันผวนในตลาดการเงินของจีน แต่เศรษฐกิจวงกว้างของจีนนั้นไม่ได้มีการเสื่อมถอยอย่างสำคัญอะไรในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา”
ตามรายงานของสำนักงานใหญ่ศุลกากร (General Administration of Customs) ของจีนระบุว่า การส่งออกในเดือนธันวาคมนี้ลดต่ำลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น 1.4% นับเป็นการลดถอยที่ต่ำกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับระดับติดลบ 8% ซึ่งเป็นความเห็นการประมาณการของพวกนักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์เป็นผู้รวบรวม ตลอดจนการดำดิ่งลง 6.8% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
ถ้าเปรียบเทียบกับไต้หวันและเกาหลีใต้ 2 เพื่อนบ้านในภูมิภาคซึ่งก็กำลังรู้สึกถึงผลกระทบจากดีมานด์ในต่างแดนที่อ่อนตัวลงเช่นกัน จีนก็มีผลงานที่ดีกว่าเพื่อนบ้านทั้ง 2 รายนี้เป็นอย่างมาก
ในเวลาเดียวกัน ยอดนำเข้าในเดือนธันวาคมของจีน ได้ลดต่ำลงมา 7.6% ถือเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 14 กระนั้นตัวเลขนี้ยังคงดีกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับการติดลบ 11.5% ซึ่งพวกนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์กันไว้ และการลดลง 8.7% ในเดือนพฤศจิกายน เรื่องนี้อาจจะเนื่องมาจากพวกโรงงานต่างๆ ฉวยใช้ประโยชน์จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ กำลังตกลงมา จึงพากันเพิ่มสต็อกทั้งน้ำมันดิบ, แร่เหล็ก, และวัตถุดิบอื่นๆ โดยที่ตามรายงานของรอยเตอร์ การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนอยู่ในระดับสูงสุดทำลายสถิติทีเดียว ขณะที่การนำเข้าทองแดงก็ติดสถิติสูงสุดเป็นอันดับสอง
ตามรายงานของรอยเตอร์ จากยอดส่งออกและนำเข้าดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในเดือนธันวาคมจีนมียอดได้เปรียบดุลการค้า 60,090 ล้านดอลลาร์ ดีกว่าการคาดการณ์ของพวกนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งอยู่ที่ 53,000 ล้านดอลลาร์ และตัวเลขได้เปรียบดุลในเดือนพฤศจิกายนซึ่งอยู่ที่ 54,100 ล้านดอลลาร์
“การได้เปรียบดุลการค้าจำนวนมากอีกครั้งหนึ่งเช่นนี้ ย่อมเป็นการจัดหาเครื่องมือกันกระแทกให้ธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People’s Bank of China แบงก์ชาติของแดนมังกร) ในการเผชิญหน้ากับกระแสเงินทุนไหลออกซึ่งกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ” มาร์ตินแห่ง แคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าว
ขณะที่ตลาดหุ้นแถบเอเชียอื่นๆ ต่างแสดงความดีอกดีใจต่อข้อมูลตัวเลขอันน่าแปลกใจของจีนคราวนี้ หุ้นจีนเองกลับตกวูบ ทั้งนี้ในวันพุธ (13 ม.ค.) ดัชนีสำคัญของญี่ปุ่นทั้ง นิกเกอิ 225 และ โทปิกส์ ต่างบวกขึ้นมาราว 2.9% ส่วนดัชนี เอสแอนด์พี/เอเอสเอ็กซ์ 200 ของออสเตรเลีย และดัชนีโคปี ของเกาหลีใต้ ก็ขยับเพิ่มขึ้นประมาณ 1.3%
อย่างไรก็ตาม ความยินดีปรีดาเช่นนี้กลับไม่ได้แพร่กระจายเข้าสู่แวดวงการซื้อขายหุ้นประเภท เอ (A-shares) ของจีน โดยที่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซี่ยงไฮ้ในวันดังกล่าวติดลบ 2.4% มาอยู่ที่ 2,950 และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซินเจิ้นก็ร่วง 3.5% มาอยู่ที่ 1,791 ทางด้านดัชนี ซีเอสไอ 300 ของหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 300 ตัวในจีน ก็หล่นลง 1.9% อยู่ที่ 3,156
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)