(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Chinese regulator suspends use of circuit breakers
By Asia Unhedged
07/01/2016
หน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ของจีนออกประกาศตอนดึกวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ระงับใช้กลไก “เซอร์กิตเบรกเกอร์” ซึ่งเพิ่งนำออกมาบังคับใช้ได้เพียง 4 วัน นักวิเคราะห์มองว่าปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่กลไกตัวนี้ หากอยู่ที่รายละเอียดของมาตรการซึ่งแดนมังกรกำหนดขึ้นมา
โอเค มันเกิดปัญหาขึ้นบางประการในระบบ
คณะกรรมการจัดระเบียบหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulatory Commission หรือ CSRC) หน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ของจีนประกาศเมื่อตอนดึกของวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ระงับใช้กลไกหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว หรือ “เซอร์กิตเบรกเกอร์” (circuit breaker) ทั้งๆ ที่เพิ่งนำออกมาบังคับใช้เพียงแค่ 4 วัน ซึ่งก็คือการยอมรับโดยปริยายว่า หนทางแก้ไขนี้ดูจะเลวร้ายยิ่งกว่าตัวปัญหาเสียอีก (ดูข่าวของบลูมเบิร์กที่พูดถึงเรื่องการระงับใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-01-07/china-stock-regulator-said-to-call-unscheduled-meeting-on-market)
ทั้งนี้เมื่อวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ ได้บังคับให้ตลาดหลักทรัพย์ทั้งหลายของจีนแผ่นดินใหญ่ ต้องปิดการซื้อขายลงก่อนกำหนดเวลา เป็นวันที่ 2 ในสัปดาห์นี้
สืบเนื่องจากดัชนีหุ้น CSI 300 (ดัชนีหุ้นซึ่งออกแบบมาเพื่อมุ่งสะท้อนผลประกอบการของหุ้น 300 ตัวที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น –ผู้แปล) ได้ดำดิ่งลงมาถึง 7.2% ในช่วงเปิดตลาดของวันพฤหัสบดี จึงเป็นชนวนทำให้มีการปิดการซื้อขายชั่วคราวตลอดทั้งวันนั้นโดยอัตโนมัติ ทั้งๆ ที่ตลาดเปิดทำการมาได้ไม่ถึง 30 นาที ทั้งนี้กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ของจีน ซึ่งเพิ่งนำออกมาบังคับใช้กันเมื่อวันจันทร์ (4 ม.ค.) ที่ผ่านมา กำหนดกฎเกณฑ์ว่า ให้ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งระงับการซื้อขายเป็นเวลา 15 นาทีเมื่อดัชนีหุ้น CSI 300 ตกลงมา 5% และให้ปิดไปตลอดทั้งวันนั้นหากไหลรูดลง 7% เมื่อจำแนกออกมาเป็นแต่ละตลาดแล้ว ในช่วงไม่ถึง 30 นาทีของวันพฤหัสบดี ดัชนีหุ้นคอมโพสิต (Composite Index) ของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ หล่นลง 7% อยู่ที่ 3,125 ขณะที่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของเซินเจิ้นดิ่ง 8.2% อยู่ที่ระดับ 1,958
นักวิเคราะห์จำนวนมากบอกว่า กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ของจีนนี่แหละกลับเป็นตัวการทำให้ตลาดเกิดการดำดิ่งยิ่งกว่าที่ควรจะเป็น สืบเนื่องจากพวกนักลงทุนต่างพากันแตกตื่นเทขายหลักทรัพย์ในมือออกไป ก่อนที่จะต้องติดหุ้นเมื่อตลาดระงับการซื้อขายอย่างสมบูรณ์
ตามรายงานข่าวของบลูมเบิร์ก CSRC ประกาศระงับการใช้กลไกนี้เอาไว้ ในบัญชีเว่ยโป๋ (ไมโครบล็อก) อย่างเป็นทางการของตนเมื่อตอนดึกของคืนวันพฤหัสบดี การตัดสินใจนี้มีขึ้นภายหลังพวกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้คุมกฎหลักทรัพย์แดนมังกรแห่งนี้ จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือกันเกี่ยวกับสภาวการณ์ในตลาดหุ้นของประเทศที่อยู่ในอาการเซถลา ทั้งนี้บลูมเบิร์กอ้างคำบอกเล่าของบุคคลผู้หนึ่งซึ่งทราบเรื่องการหารือถกเถียงคราวนี้ ทว่าไม่ได้รับมอบอำนาจให้พูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน
ขณะที่เมื่อวันจันทร์ (4 ม.ค.) ดัชนีหุ้น CSI 300 ดำดิ่งลงกว่า 7% จนทำให้ต้องหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวในวันนั้น มีสาเหตุจากรายงานข่าวที่ว่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมของจีนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 แต่การไหลรูดในวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) จุดชนวนขึ้นจากการอ่อนตัวอย่างแรงของค่าเงินหยวน
ทางด้าน มาร์เตน-ยาน บัคคุม (Maarten-Jan Bakkum) นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ของ เอ็นเอ็น อินเวสต์เมนต์ พาร์ตเนอร์ส (NN Investment Partners) ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ให้ความเห็นกับบลูมเบิ ร์ก ว่า เวลานี้ดูเหมือนกับทางผู้คุมกฎของจีนเฝ้าเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งดูจะทำให้ความเสี่ยงมีเพิ่มมากขึ้น
อันที่จริงแล้ว ตัวกลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์เองนั้นไม่ใช่ตัวปัญหา กลไกนี้ดูทำงานได้ดีทีเดียวในตลาดหุ้นใหญ่ๆ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของจีนนั้น ระยะห่างกันระหว่างจุดที่ให้หยุดการซื้อขาย 15 นาทีกับจุดที่ให้หยุดการซื้อขายไปตลอดทั้งวัน ดูจะกระชั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ในตลาดหุ้นอื่นๆ
ในสหรัฐฯ การซื้อขายจะหยุดลงชั่วคราว ถ้าดัชนีหุ้นสแตนดาร์แอนด์พัวร์ส 500 (Standard & Poor’s 500 Index) ไหลรูดลงมา 7% และ 13% ตลาดต้องดำดิ่งลงมาถึง 20% ทีเดียวจึงจะมีการระงับการซื้อขายตลอดทั้งวันนั้น
ฮิวจ์ ยัง (Hugh Young) กรรมการจัดการผู้หนึ่ง ณ อาเบอร์ดีน แอสเสต แมเนจเมนต์ (Aberdeen Asset Management) บอกกับบลูมเบิร์กว่า ความพยายามของทางการจีนในการเข้าแทรกแซงตลาดหลักทรัพย์เช่นนี้ กำลังก่อให้เกิดผลในทางลบ
“บ่อยครั้งทีเดียวที่เรื่องจะกลายเป็นว่า ยิ่งรัฐบาลประกาศใช้มาตรการควบคุมมากขึ้นเท่าไร ก็กลับยิ่งกลายเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนคิดต่อต้านมาตรการเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น” ยัง กล่าว “พวกเขาควรจัดระเบียบตลาดโดยเน้นที่การกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ออกมาให้ชัดเจน และให้ผู้คนทำตามระเบียบกฎเกณฑ์เหล่านี้ พวกเขาไม่ควรไปวิตกกังวลว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือจะลง”
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Chinese regulator suspends use of circuit breakers
By Asia Unhedged
07/01/2016
หน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ของจีนออกประกาศตอนดึกวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ระงับใช้กลไก “เซอร์กิตเบรกเกอร์” ซึ่งเพิ่งนำออกมาบังคับใช้ได้เพียง 4 วัน นักวิเคราะห์มองว่าปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่กลไกตัวนี้ หากอยู่ที่รายละเอียดของมาตรการซึ่งแดนมังกรกำหนดขึ้นมา
โอเค มันเกิดปัญหาขึ้นบางประการในระบบ
คณะกรรมการจัดระเบียบหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (China Securities Regulatory Commission หรือ CSRC) หน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ของจีนประกาศเมื่อตอนดึกของวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ระงับใช้กลไกหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว หรือ “เซอร์กิตเบรกเกอร์” (circuit breaker) ทั้งๆ ที่เพิ่งนำออกมาบังคับใช้เพียงแค่ 4 วัน ซึ่งก็คือการยอมรับโดยปริยายว่า หนทางแก้ไขนี้ดูจะเลวร้ายยิ่งกว่าตัวปัญหาเสียอีก (ดูข่าวของบลูมเบิร์กที่พูดถึงเรื่องการระงับใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ ได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-01-07/china-stock-regulator-said-to-call-unscheduled-meeting-on-market)
ทั้งนี้เมื่อวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ ได้บังคับให้ตลาดหลักทรัพย์ทั้งหลายของจีนแผ่นดินใหญ่ ต้องปิดการซื้อขายลงก่อนกำหนดเวลา เป็นวันที่ 2 ในสัปดาห์นี้
สืบเนื่องจากดัชนีหุ้น CSI 300 (ดัชนีหุ้นซึ่งออกแบบมาเพื่อมุ่งสะท้อนผลประกอบการของหุ้น 300 ตัวที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น –ผู้แปล) ได้ดำดิ่งลงมาถึง 7.2% ในช่วงเปิดตลาดของวันพฤหัสบดี จึงเป็นชนวนทำให้มีการปิดการซื้อขายชั่วคราวตลอดทั้งวันนั้นโดยอัตโนมัติ ทั้งๆ ที่ตลาดเปิดทำการมาได้ไม่ถึง 30 นาที ทั้งนี้กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ของจีน ซึ่งเพิ่งนำออกมาบังคับใช้กันเมื่อวันจันทร์ (4 ม.ค.) ที่ผ่านมา กำหนดกฎเกณฑ์ว่า ให้ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งระงับการซื้อขายเป็นเวลา 15 นาทีเมื่อดัชนีหุ้น CSI 300 ตกลงมา 5% และให้ปิดไปตลอดทั้งวันนั้นหากไหลรูดลง 7% เมื่อจำแนกออกมาเป็นแต่ละตลาดแล้ว ในช่วงไม่ถึง 30 นาทีของวันพฤหัสบดี ดัชนีหุ้นคอมโพสิต (Composite Index) ของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ หล่นลง 7% อยู่ที่ 3,125 ขณะที่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของเซินเจิ้นดิ่ง 8.2% อยู่ที่ระดับ 1,958
นักวิเคราะห์จำนวนมากบอกว่า กลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์ของจีนนี่แหละกลับเป็นตัวการทำให้ตลาดเกิดการดำดิ่งยิ่งกว่าที่ควรจะเป็น สืบเนื่องจากพวกนักลงทุนต่างพากันแตกตื่นเทขายหลักทรัพย์ในมือออกไป ก่อนที่จะต้องติดหุ้นเมื่อตลาดระงับการซื้อขายอย่างสมบูรณ์
ตามรายงานข่าวของบลูมเบิร์ก CSRC ประกาศระงับการใช้กลไกนี้เอาไว้ ในบัญชีเว่ยโป๋ (ไมโครบล็อก) อย่างเป็นทางการของตนเมื่อตอนดึกของคืนวันพฤหัสบดี การตัดสินใจนี้มีขึ้นภายหลังพวกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้คุมกฎหลักทรัพย์แดนมังกรแห่งนี้ จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือกันเกี่ยวกับสภาวการณ์ในตลาดหุ้นของประเทศที่อยู่ในอาการเซถลา ทั้งนี้บลูมเบิร์กอ้างคำบอกเล่าของบุคคลผู้หนึ่งซึ่งทราบเรื่องการหารือถกเถียงคราวนี้ ทว่าไม่ได้รับมอบอำนาจให้พูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน
ขณะที่เมื่อวันจันทร์ (4 ม.ค.) ดัชนีหุ้น CSI 300 ดำดิ่งลงกว่า 7% จนทำให้ต้องหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวในวันนั้น มีสาเหตุจากรายงานข่าวที่ว่าผลผลิตทางอุตสาหกรรมของจีนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 แต่การไหลรูดในวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) จุดชนวนขึ้นจากการอ่อนตัวอย่างแรงของค่าเงินหยวน
ทางด้าน มาร์เตน-ยาน บัคคุม (Maarten-Jan Bakkum) นักยุทธศาสตร์อาวุโสด้านชาติเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ของ เอ็นเอ็น อินเวสต์เมนต์ พาร์ตเนอร์ส (NN Investment Partners) ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ให้ความเห็นกับบลูมเบิ ร์ก ว่า เวลานี้ดูเหมือนกับทางผู้คุมกฎของจีนเฝ้าเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งดูจะทำให้ความเสี่ยงมีเพิ่มมากขึ้น
อันที่จริงแล้ว ตัวกลไกเซอร์กิตเบรกเกอร์เองนั้นไม่ใช่ตัวปัญหา กลไกนี้ดูทำงานได้ดีทีเดียวในตลาดหุ้นใหญ่ๆ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของจีนนั้น ระยะห่างกันระหว่างจุดที่ให้หยุดการซื้อขาย 15 นาทีกับจุดที่ให้หยุดการซื้อขายไปตลอดทั้งวัน ดูจะกระชั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ในตลาดหุ้นอื่นๆ
ในสหรัฐฯ การซื้อขายจะหยุดลงชั่วคราว ถ้าดัชนีหุ้นสแตนดาร์แอนด์พัวร์ส 500 (Standard & Poor’s 500 Index) ไหลรูดลงมา 7% และ 13% ตลาดต้องดำดิ่งลงมาถึง 20% ทีเดียวจึงจะมีการระงับการซื้อขายตลอดทั้งวันนั้น
ฮิวจ์ ยัง (Hugh Young) กรรมการจัดการผู้หนึ่ง ณ อาเบอร์ดีน แอสเสต แมเนจเมนต์ (Aberdeen Asset Management) บอกกับบลูมเบิร์กว่า ความพยายามของทางการจีนในการเข้าแทรกแซงตลาดหลักทรัพย์เช่นนี้ กำลังก่อให้เกิดผลในทางลบ
“บ่อยครั้งทีเดียวที่เรื่องจะกลายเป็นว่า ยิ่งรัฐบาลประกาศใช้มาตรการควบคุมมากขึ้นเท่าไร ก็กลับยิ่งกลายเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนคิดต่อต้านมาตรการเหล่านี้มากขึ้นเท่านั้น” ยัง กล่าว “พวกเขาควรจัดระเบียบตลาดโดยเน้นที่การกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ออกมาให้ชัดเจน และให้ผู้คนทำตามระเบียบกฎเกณฑ์เหล่านี้ พวกเขาไม่ควรไปวิตกกังวลว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือจะลง”
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)